ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday 18 February 2012

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: Jan Palach ความตายเพื่อปลุกจากความอปกติ

ที่มา ประชาไท

วันที่ 16 มกราคม สำหรับประเทศไทยแล้วถูกกำหนดว่าเป็นวันครู แต่สำหรับประเทศสาธารณรัฐเชคมันเป็นวันที่สะเทือนจิตใจและเป็นบาดแผลกับทุก คนในชาติ และเป็นวันที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 1969หรือเมื่อ 43 ปีที่แล้ว เวลาประมาณ บ่ายสามโมง Jan Palach นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Charles ได้ตัดสินใจกระทำการต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ด้วยการทำร้ายตัวเอง คือ การเผาตัวตาย

เมื่อชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์ต่างมีสัญชาติญาณในการรักษาตัวรอดและกลัวความตาย การเสียสละชีวิตจึงเป็นสิ่งสุดท้ายที่มนุษย์จะยินยอมละทิ้งไปได้ การที่มนุษย์ตัดสินใจจะทำลายตัวเองและพลีชีพนั้นต้องมีอะไรบางอย่างที่เลว ร้ายเกินกว่าความตายเข้ามาบีบบังคับ สำหรับ Jan Palach แล้วเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในการบีบคั้นการตัดสินใจครั้งนี้คือ การที่รัฐสภาเชคโกสโลวาเกียลงมติให้กองทัพโซเวียตยกกองทัพเข้ามาประเทศเมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 1968

ชีวิตวัยรุ่นวัย 20 ปี ควรเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานและรอยยิ้ม หากทว่าสภาพการณ์ขแงประเทศดำเนินการอย่างผิดปกติในขณะนั้นแล้ว ส่งผลให้ Jan Palach ตั้งคำถามกับความ อปกติขึ้นมา สิ่งที่เขาต้องการจากรัฐบาลเพียงแค่ การมีเสรีภาพในการสื่อสาร โดยปราศจากการแทรกแซง และโฆษณาจากรัฐบาล

ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในสังคม และคนส่วนใหญ่ในวัยทำงานถูกกลืนกินจากระบบความคิดจากส่วนกลางและมุ่งมั่นต่อ การทำงานเพื่อสร้างชาติและปากท้องตัวเอง พวกเขาเคยชินกับความอปกติที่เป็นอยู่ในทุกเมื่อเชื่อวัน ภาระที่สาหัสจึงตกอยู่กับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในการชี้ให้เห็นและกระตุ้นให้คน ในสังคมรู้สึกถึงความไม่ปกตินี้ Jan Palach และเพื่อนร่วมชั้นหลายๆคนออกมาประท้วงเมื่อ พฤศจิกายน ๑๙๖๙ และเพื่อนๆเขาหลายคนถูกจับกุมและสอบสวน การประท้วงครั้งนี้ประสบความล้มเหลวและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา Jan Palach คิดว่าต้องมีการกระทำอื่นเพื่อปลุกให้ทุกคนในชาติตื่นขึ้นมาจากความอปกติ การกระทำที่ต้องส่งผลมากๆเท่าที่ทำได้

ในตอนแรก Jan Palach วางแผนจะเข้ายึดสถานีกระจายข่าว Czechoslovak Radio โดยส่งจดหมายชักชวนสมาชิกนักศึกษาคนอื่นๆ แต่ทว่าไม่ได้รับคำตอบใดๆ ดังนั้นเขาจึงนึกมาตรการอื่นที่สามารถทำได้คนเดียวและส่งผลกระทบจิตใจคน อื่นๆอย่างใหญ่หลวง หลังจากวันที่ 15 มกราคม 1969 เมื่อเขาไปร่วมงานศพของลุง

เช้าวันที่ 16 มกราคม 1969 เขาได้เขียนจดหมายไปยังเพื่อนเขาที่มหาวิทยาลัยถึงจุดประสงค์ของการกระทำ ครั้งนี้ และออกจากหอพักตอนเที่ยง ในมือสองข้างถือขวดพลาสติคเพื่อเตรียมไว้ไปซื้อน้ำมันเบนซิน เขาตรงไปถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอันเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองเวลาบ่ายสอง ครึ่ง ท่ามกลางความหนาวยะเยือก Jan Palach ถอดเสื้อโค้ทของเขาออก นำมีดมากรีดปากขวดพลาสติกที่เต็มไปด้วยน้ำมันเบนซิน และเทมันชโลมทั่วกาย หลังจากนั้นแสงสว่างจากไฟก็เจิดจ้าที่ลานน้ำพุ เขาเผาตัวเองและวิ่งจากรางรถไฟมุ่งไปสู่อนุสาวรีย์ St Wenceslas ท่ามกลางฝูงชนจำนวนมากที่เป็นพยานเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งนี้ และไปหยุดที่หน้าร้านอาหารแห่งหนึ่ง พนักงานเสริฟไม่คาดคิดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และออกมาเพื่อช่วยกันดับไฟออกจากร่าง Jan Palach แต่ทว่าเขากลับร้องขอให้พนักงานเสริฟไปเปิดกล่องจดหมายที่เขาวางอยู่ข้าง น้ำพุและอ่านข้อความที่เขียนไว้ในนั้นว่า “ ณ ที่แห่งนี้มีนักศึกษาวัย 20 ปีได้พลีชีพตนเอง” และในขณะที่อยู่ในรถพยาบาล เขายังมีสติอยู่และกล่าวกับพยาบาลว่า “นี่ไม่ใช่เป็นการฆ่าตัวตาย แต่เป็นการจุดไฟเผาตัวเองเพื่อต่อต้านรัฐบาล เหมือนที่พระที่เวียดนามกระทำ”

Jan Palach ถูกแอดมิตที่โรงพยาบาลสองสามวันและเสียชีวิตตามมา ในขณะแอดมิต เขาประกาศเจตจำนงค์ต่อการกระทำครั้งนี้ว่า “ ผมต้องการแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยต่อสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ เพื่อให้คนในสังคมตื่นขึ้นมา” “มันยังมีทางเป็นไปได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับจุดยืนของ ส.ส. รัฐบาล และ พรรคการเมือง” อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้มุ่งหวังว่าให้คนอื่นๆกระทำตามเป็นเยี่ยงอย่างแต่สิ่ง ที่เขาต้องการคือให้ทุกคนลุกขึ้นสู้กับความไม่ชอบธรรม “ ประชาชนต้องต่อสู้กับความชั่วร้ายที่เรารู้สึกได้ ณ ขณะนี้” “การกระทำของผมครั้งนี้บรรลุตามหน้าที่ แต่คนอื่นๆต้องอย่าทำตามผม นักเรียนคนอื่นๆต้องรักษาชีวิตตัวเอง และอุทิศชีวิตเพื่อสำเร็จเป้าหมาย พวกเขาต้องสู้โดยมีชีวิตอยู่”

Jan Palach’s legacy.

การพลีชีพของ Jan Palach ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ภายหลังการเสียชีวิตของเขาได้เกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศหลายๆครั้ง ในหลายๆเมืองประชาชนร่วมหมื่นเข้าร่วมการเดินขบวนประท้วงซึ่งส่วนใหญ่จัด ขึ้นโดยองค์กรนักศึกษาโดยที่ฝ่ายกองกำลังรักษาความสงบไม่กล้าเข้ามาขัดขวาง เช่น 20 มกราคม 1969 สหภาพนักศึกษาโบฮีเมียนและโมราวีเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ St Wenceslas และสิ้นสุดที่หน้าตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์ วันที่ 27มกราคม 1969 กลุ่มคนหนุ่มสาวราวสองพันคนรวมตัวที่หน้า St Wenceslas อีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย

นอกจากเกิดการประท้วงขึ้นแล้ว เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนจำนวนมากในสังคม Jaroslava Moserova แพทย์ผู้ดูแล Jan Palach ให้สัมภาษณ์กับ radio czech “ ฉันเป็นคนแรกที่เข้ามารักษาเขาและแน่นอนฉันไม่มีวันลืม เราต่างรู้สึกเศร้ากับชะตากรรมไม่เพียงแต่ของเด็กหนุ่มคนนี้แต่เป็นชะตากรรม ของชาติ และฉันคิดว่าคนอื่นๆต่างเข้าใจในทันที เขาพยายามบอกเราว่าการที่โซเวียตเข้ามายึดครองมันไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่ากับ การที่เรากำลังจะถูกลดความเป็นมนุษย์ ผู้คนไม่เพียงแต่ยอมแพ้สภาพที่เป็นอยู่แต่เรายังยอมให้มันมาเป็นส่วนหนึ่ง ของเรา และแจนต้องการหยุดยั้งกระบวนการลดความเป็นมนุษย์นี้ และฉันคิดว่าคนอื่นๆที่ออกมาตามท้องถนนก็เข้าใจ มันเต็มไปด้วยความเงียบ ความเศร้าในแววตา ใบหน้าที่เคร่งเครียด และเมื่อเรามองใบหน้าคนอื่นที่อยู่ด้วยกันเราก็รู้ได้ว่าทุกคนเข้าใจสภาพ การณ์ที่เกิดขึ้น”

เหตุการณ์ของเขาส่งผลต่อการล้มระบอบคอมมิวนิสต์ด้วยเช่นกัน เมื่อมกราคม 1989 อันเป็นวันครอบรอบ 20 ปีการจากไปของแจน มีการรวมตัวขึ้นอีกครั้งที่หน้า St Wenceslas โดยกลุ่ม Czech children, Charter 77, The John Lennon Peace Club, The Independent Peace Association, The society of friends of the USA ซึ่งการรวมตัวเพื่อรำลึกถึงแจนนั้นเป็นการกระทำที่ถูกห้ามภายใต้รัฐบาล คอมมิวนิสต์ ผู้คนมากกว่า 1,400 คนถูกจับกุมข้อหาเป็นปฏิปักษ์กับระบอบ และเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์

ถึงแม้เหตุการณ์จะผ่านพ้นมา 43 ปีแล้ว การพลีชีพของ Jan Palach ก็ยังคงปรากฏอยู่ในความทรงจำของคนในสังคม หลังจาก พฤศจิกายน 1989 เรื่องของ Jan Palach ซึ่งเคยถูกห้ามในสมัยระบอบคอมมิวนิสต์ ก็เป็นเรื่องที่สามารถพูดกันได้อิสระในสังคม วันที่ 20 ธันวาคม 1990 ตึกคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยชาร์ลสได้เปลี่ยนชื่อ เป็นตึก Jan Palach เพื่อรำลึกถึงเขา โดยมีรูปแกะสลักใบหน้าของ Jan Palach ที่หน้าตัวตึก ปี 2000 ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานที่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นเพื่อรำลึกการจาก ไปของ Jan Palach และ Jan Zajic นักศึกษาอีกคนที่เผาตัวเองตายเช่นกันหลังจากเหตุการณ์เผาตัวตายของ Jan Palach เพียงหนึ่งเดือน ทุกๆวันที่ 16 มกราคมของทุกปี จะมีการรวมตัวขึ้นที่หน้าอนุสรณ์แห่งนี้ และสถานีวิทยุ Radio Czech จะจัดรายการพิเศษเพื่อรำลึกถึงการจากไปของเขา และในปี 2007 ได้มีการเริ่มต้นโปรเจคสร้างเวปไซต์ www.janpalach.cz ซึ่งบทความนี้ได้นำข้อมูลส่วนใหญ่มาจากเวปไซต์ โครงการสร้างเวปไซต์นี้เป็นผลงานของ คณะกรรมการนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชาร์ลส์

บทส่งท้าย

การพลีชีพเผาตัวตายเพื่อประท้วงรัฐบาลในการปิดกั้นเสรีภาพการสื่อสารที่ Jan Palach กระทำขึ้นมานั้นส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในสังคมหรืออาจพูดได้ว่า ทุกคนรู้สึกช็อคกับความสูญเสียครั้งนี้และเป็นบาดแผลจนถึงทุกวัน อย่างไรก็ตามการพลีชีพของเขาส่งผลพวงให้คนในสังคมตื่นขึ้นมาจากความไม่ปกติ ในสังคมและลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนเป็นผลสำเร็จ

แต่ทว่าการพลีชีพตัวเองนั้นไม่ได้ผลสำเร็จทุกครั้งไป มิใช่มีเพียงแจนเท่านั้นที่ตัดสินใจทำ เมื่อเรามองที่ประเทศอื่นๆก็ปรากฎเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ทำไมมันกลับไม่ส่งผลอะไรเลยในสังคม หลายๆคนในสังคมยังคงหลับและชื่นชอบที่จะอยู่กับความไม่ปกตินี้เสมือนมันเป็น ส่วนหนึ่งในร่างกายไปแล้ว หลายครั้งที่การพลีชีพตัวเองกลายเป็นการถูกกล่าวหาว่าบ้าจากคนในสังคม ในสายตาของคนในสังคมไทยหลายๆคนที่มองการอดข้าวประท้วงของ ไท ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข คงไม่แตกต่างจากสายตาที่คนในสังคมจีนและรัฐบาลจีนมองพระธิเบตเผาตัวตายเป็น รายที่ 20

หรือว่าการหลับครั้งนี้มันเป็นการหลับลึกเกินจะเยียวยา

ท้ายสุด
“คนเราอยากจะให้คนอื่นจดจำเราแบบไหนขึ้นอยู่กับว่าทั้งชีวิตกระทำอะไรมาบ้าง”
16 กุมภาพันธ์ 2012 ครบรอบ 43 ปี และ 1 เดือน
เหตุการณ์เผาตัวเองเพื่อประท้วงของ Jan Palach

เชิงอรรถ
www.janpalach.cz
www.radio.cz