เลขาธิการ ปปง. เตรียมแถลงข่าวกรณีคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับ การฟอกเงิน (FATF) ขึ้นบัญชีดำประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่าง ประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงิน วันจันทร์ที่ 20 ก.พ.นี้
17 ก.พ. 55 - สำนักข่าวไทยรายงาน ว่าหลังจากคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอก เงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering – FATF) ขึ้นบัญชีดำไทย รวมทั้งประเทศอื่น คือ ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, กานา และแทนซาเนีย ในรายชื่อประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอก เงิน และการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย
รายงานข่าวจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แจ้งว่า ขณะนี้ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ปปง.อยู่ระหว่างการร่วมประชุม คณะทำงา FATF ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-20 ก.พ.นี้ และจะกลับมาแถลงข่าวกรณีดังกล่าวในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13.00 น.โดยจะแถลงข่าวใน 3 ประเด็น คือ 1.การดำเนินงานในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของไทย 2.ปัญหาข้อบกพร่องของประเทศไทยที่สำคัญๆ ประเด็นเหล่านี้เป็นข้อสังเกตจาก FATF ว่าฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 3. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย ที่ถูกขึ้นบัญชีดำเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับ สนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism - AML/CFT)
ทั้งนี้ เนื้อข่าวตามเว็บไซต์ของ FATF ระบุว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีการรับรองจากฝ่ายการเมืองที่จะดำเนินความร่วมมือกับ FATF และ กลุ่มความร่วมมือต่อด้านในการฟอกเงินเอเชีย-แปซิฟิก (The Asia-Pacific Group on Money Laundering-APG) ในการปรับปรุงข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) แต่ไม่มีความคืบหน้าอย่างเพียงพอในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ และยังคงมีข้อบกพร่องทางยุทธศาสตร์ แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อขั้นตอนการตรากฎหมายที่ จำเป็นตั้งแต่ พ.ศ. 2552 - 2554 ประเทศไทยมีการดำเนินการปรับปรุงระบบ AML/CFT และมีการประเมินความเสี่ยงในภาคการเงินแล้วเสร็จ ประเทศไทยควรดำเนินการตามแผนปฏิบัติการในการปรับปรุงข้อบกพร่องทาง ยุทธศาสตร์ที่เหลือ รวมถึง (1) การกำหนดให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่าง เหมาะสม (ข้อแนะนำพิเศษที่ II) (2) กำหนดและดำเนินมาตรการที่เหมาะสมในการระบุและยึด/อายัดทรัพย์สินของผู้ก่อ การร้าย (ข้อแนะนำพิเศษที่ III) และ (3) มีการกำกับดูแลด้าน AML/CFT ที่เข้มข้นขึ้น (ข้อแนะนำที่ 23) FATF กระตุ้นเตือนให้ประเทศไทยดำเนินการกับข้อบกพร่องที่เหลืออยู่ และดำเนินการตามแผนปฏิบัติการต่อไป