ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 14 February 2012

ธงชัย: ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง

ที่มา Thai E-News


ธงชัย วินิจจะกูล
Department of History
University of Wisconsin-Madison, USA
Asia Research Institute
National University of Singapore
ปาฐกถาในรายการสนทนาเพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์จัดโดยกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ 11 กุมภาพันธ์ 2555

หมายเหตุ: รูปเล่มจัดทำโดยมิตรออนไลน์ท่านหนึ่ง



"เพราะมาตรา 112 เป็นมากกว่ากฎหมายอาญามาตราหนึ่ง คือเป็นเครื่องมือบังคับควบคุมความคิดของลัทธิ Hyper Royal-ism สามารถใช้ได้หลายทาง ได้แก่ การลงโทษเพื่อขีดเส้นเป็นบรรทัดฐานว่าแค่ไหนเป็นความผิด การสร้างความกลัวทั้งในแง่กฏหมาย (เพราะโทษรุนแรงและกระบวนการผิดปกติ) และกลัวถูกสังคมลงโทษ ก่อให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง ไปจนถึงใช้ปลุกความบ้าคลั่งไล่ล่า ทำร้ายคนอื่นทั้งอย่างตักเตือนและอย่างโหดร้ายทารุณ การใช้มาตรา 112 ยังเปลี่ยนไปตามเวลาด้วย เช่น แต่ก่อนชาวต่างชาติที่ทำผิดจะโดนเนรเทศทันทีโดยไม่จำคุก เพิ่งโดนจำคุกในระยะหลัง การใช้มาตรา 112ในแบบล่าสุดระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือใช้ทำลายจิตวิญญาณหมายถึงการใช้ อย่างไร้ความปรานีจนกว่าจะยอมรับสารภาพคือมักจับไว้ก่อน ไม่ให้ประกันตัว พิจารณาลับ ลงโทษรุนแรงแต่ให้ความหวังว่าจะพ้นคุกได้เร็วถ้ายอมรับสารภาพ จนหลายคนยอมแพ้ในที่สุด นี่คือการทำร้ายถึงจิตวิญญาณ หากต้องการอิสรภาพทางกายต้องยอมแพ้ราบคาบทางมโนสำนึก ชีวิตที่มีอิสระทางกายต้องขังจิตวิญญาณเสรีไว้ข้างในตลอดไป"

"เคยคิดไหมว่า อีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันอย่างไร จะบันทึกความขัดแย้งกรณีมาตรา 112 ว่าสะท้อนภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยอย่างไร ประวัติศาสตร์จะมองย้อนกลับมาแล้วประเมินและวิเคราะห์ปัจจุบันจากความรู้และ ทัศนะของอนาคตอย่างไร"

"สื่อมวลชนส่วนข้างมากคุณภาพตกต่ำไร้ความรับผิด ชอบอย่างน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง ในชั้นต้นอาจเริ่มจากความกลัว แต่ต่อมากลายเป็นความเคยชิน การละทิ้งจรรยาบรรณทางวิชาชีพเป็นภาวะปกติ แรกๆ ก็แก้ตัวว่าต้องทำเพื่อความอยู่รอด นานวันเข้าพวกเขาต้องปกป้องตัวเองว่าทำถูกต้องแล้ว ลงท้ายพวกเขาถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโกหกตอแหล ไม่ใช่เพื่อความอยู่รอดอีกต่อไป แต่เพื่อให้ความชอบธรรมแก่สิ่งที่ตนเป็นและกระทำ ในที่สุดพวกเขาจึงร่วม “ไล่ล่าแม่มด” อย่างสนิทใจ กลายเป็นกลไกโฆษณาชวนเชื่อของลัทธิกษัตริย์นิยมทำร้ายประชาชนอย่างสนิทใจ"

"แต่ข้อสังเกตสำคัญมากก็คือ ก่อนการรัฐประหาร 2549 คนที่คิดต่างมักเป็นผลของอุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่าง เช่น นิยมเก็กเหม็ง สังคมนิยม มาร์กซิสม์ หรือเป็นเสรีนิยมที่ยึดมั่นว่าคนเราควรเท่าเทียมกัน แต่คนที่คิดต่างหลัง 2549 คือผลผลิตของ Hyper-royalism นั่นเอง กล่าวคือพวกเขาถูกทำร้าย ถูกละเมิดสิทธิเสียง และลงท้ายถึงขนาดถูกฆาตกรรมกลางเมืองหลวงโดยพวกกษัตริย์นิยม จึงเกิดปฎิกิริยาตอบโต้ลัทธิกษัตริย์นิยม ครั้นคนเหล่านี้ตื่นพ้นจากภวังค์กล่อมประสาทของ Hyper-royalism ไม่ยากเลยที่เขาจะ “ตาสว่าง” ตระหนักถึงการกระทำและผลของ Hyper-royalism ที่กล่าวมาข้างต้น Hyper-royalism เองนั่นแหละเป็นสาเหตุและผู้สร้างปรากฏการณ์ “ตาสว่าง”"