ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday 12 February 2012

วิญญาณหลอนของการล้อมสังหาร

ที่มา ประชาไท

เมื่อนั่งอยู่ใต้ร่มเงาของต้นโพธิ์ใหญ่แสนร่มเย็นในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์กลางกรุงเทพมหานครอันเก่าแก่ ยากยิ่งที่จะจินตนาการถึงภาพความรุนแรงชวนคลื่นไส้ที่แทบจะกลืนกินทั้งธรรม ศาสตร์ในปี 1976 ปีซึ่งผมเพิ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่เมืองโกลกาต้า

เทียบกับปัจจุบันแล้ว เวลานั้นแทบจะเป็นอีกโลกหนึ่งเลยก็ว่าได้ สงครามเวียดนามพึ่งจบสิ้นลง แต่สงครามเย็นยังคงร้อนระอุ ไม่มีอะไรที่อย่างเคเบิ้ลทีวี ในหลายประเทศยังไม่มีแม้แต่ทีวีด้วยซ้ำ เวลานั้นเป็นยุคสมัยของวิทยุ

ในวันที่ 6 ตุลาคมปีดังกล่าว กองกำลังติดอาวุธ ตำรวจ และ กลุ่มผู้ชุมนุมขวาจัดได้บุกเข้าทำร้ายเหล่านักศึกษาฝ่ายซ้ายนับพันอย่างโหด ร้ายป่าเถื่อน ในขณะที่เหล่านักศึกษากำลังชุมนุมประท้วงการกลับมาของถนอม กิตติขจร อดีตผู้นำเผด็จการทหารที่ถูกขับออกนอกประเทศหลังการลุกฮือขึ้นต่อต้านใน เหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อปี 1973

คุณสามารถหาดูคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ในวันนั้นได้ไม่ยากทางอินเตอร์เน็ต ยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการคือ 46 คน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงนั้นเป็นที่สงสัยว่าอาจจะมากกว่านั้นกว่า เท่าตัว การประกาศนิรโทษกรรมอย่างทั่วไปทำให้ไม่มีการจับกุมกลุ่มผู้กระทำผิดมาลงโทษ

บรรยากาศในวันนั้นที่เหล่านักศึกษาถูกยิง ทุบตี กระทืบ ลากไปกับพื้นสนามหลวง และ แขวนคอบนต้นไม้ โดยมีกลุ่มคนโห่ร้องสนับสนุน แม้แต่พาเด็กเล็กมายืนชมอย่างเพลิดเพลิน อันเป็นผลมาจากการปลุกระดมโดยแกนนำฝ่ายขวากล่าวหาว่าเหล่านักศึกษาต้องการ ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ บรรยากาศน่าหวาดหวั่นของช่วงเวลาอำมหิตนั้นได้กลับมาอีกครั้ง

ณ วันนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้กลับมาเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งอีกครั้ง กลุ่มอาจารย์กฎหมาย 7 คนซึ่งเรียกตัวเองว่า “นิติราษฎร์” หรือ “นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” ได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย นอกจากนี้ยังเสนอว่าในอนาคตพระมหากษัตริย์ควรจะต้องสาบานตนว่าจะรักษารัฐ ธรรมนูญก่อนขึ้นรับตำแหน่งเพื่อป้องกันมิให้การรับรองคณะรัฐประหารเกิดขึ้น

ข้อเสนอของนิติราษฎร์นี้นำมาสู่การโต้เถียงอย่างดุเดือด แม้ประเทศไทยจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐ ธรรมนูญภายหลังจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 1932 แล้ว แต่อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งมีพระชนมายุกว่า 84 พรรษานั้น ได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจสูงสุดของประเทศ และ อาจเรียกได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ราชวงศ์จักรีรุ่งเรืองเป็นที่สุด

แม้ว่าสถาบันกษัตริย์จะอยู่เหนือการเมืองอย่างเป็นทางการ แต่ในความเป็นจริงการถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันฯยังเป็นอาวุธทาง การเมืองที่ร้ายแรงของกลุ่มอำนาจต่างๆ รวมทั้งพรรคการเมือง และ กองทัพซึ่งมีรากฐานความจงรักภักดีมิใช่ต่อรัฐบาลพลเรือน แต่เป็นสถาบันกษัตริย์

ในวันที่ 30 มกราคม สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำการห้ามกลุ่มนิติราษฎร์ไม่ให้จัดการ รณรงค์เรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย ด้วยกลัวว่าจะเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายขึ้นถ้ายังให้ดำเนินการต่อ จากวันนั้นภายในธรรมศาสตร์ได้มีการชุมนุมประท้วงเล็กน้อยทั้งจากฝ่ายที่สนับ สนุน และ ต่อต้านนิติราษฎร์ หลายวันถัดมาอธิการบดีจึงต้องยอมถอยครึ่งก้าวโดยกล่าวว่าถ้าเป็นการเสวนาทาง วิชาการสามารถจัดได้

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกผู้ทรงอิทธิพลได้แสดงตัวชัดเจนว่าคัดค้านกลุ่มนิติราษฎร์ โดยเตือนให้รีบยุติการรณรงค์โดยเร็ว ในสัปดาห์นี้ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ. สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ก็ได้ตบเท้าออกมาค้านนิติราษฎร์ด้วยว่า “ทุกกองทัพได้จับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดหวั่นว่าอาจกระทบ ต่อความมั่นคงของชาติ ผมเห็นด้วยกับคนส่วนใหญ่ว่าการรณรงค์นี้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรเลย”

ไม่ชัดเจนว่าเขาได้ใช้หลักการอะไรมาสรุปว่าคน “ส่วนใหญ่” เห็นว่าเป็นการรณรงค์ที่ไม่เกิดประโยชน์ เพราะเท่าที่ทราบยังเคยมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนหรือประชามติอย่าง แท้จริงในประเด็นนี้

พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า “อย่าใช้มาตรา 112 มาทำให้เกิดความวุ่นวาย ผมอยากจะถามว่าท่านรับได้ไหมถ้ามีใครมาด่าว่าผู้ปกครองท่าน”

”ผู้ปกครอง”คือคำที่มีความหมายซ่อนคือกษัตริย์และราชินี

รัฐบาลซึ่งพยายามสุดชีวิตที่จะหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าต่อต้านสถาบันได้แถลงการณ์อย่างเด็ดขาดว่าจะไม่แก้ไขมาตรา 112

อย่างไรก็ตามการรณรงค์ก็ยังดำเนินต่อไป บทความหนึ่งในบางกอกโพสท์ อ้างคำสัมภาษณ์ของ พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้กล่าวว่าคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) กำลังจะรวบรวมรายชื่อให้ครบ 10,000 เพื่อยื่นแก้ไขมาตรานี้ โดยปัจจุบันได้มาแล้วหลายพันรายชื่อ

อาจารย์พวงทองยังกล่าวว่าผู้บัญชาการกองทัพบกอาจไม่ได้ศึกษารายละเอียดของข้อเสนอแก้ไขนี้ให้ดีก่อนวิพากษ์วิจารณ์

“สิ่งที่เรากำลังทำไม่ใช่เรื่องใหม่ กลุ่มประชาชนเคยรวบรวมรายชื่อเพื่อเรียกร้องให้แก้กฎหมาย นี่เป็นสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ”

“ท่านมีอำนาจอะไรที่จะมาหยุดพวกเรา? หรือกองทัพคิดว่าหน้าที่หลักของตนคือการก่อการรัฐประหารเพื่อปกป้อง สถาบัน(กษัตริย์)? กองทัพไม่มีความชอบธรรมที่จะก่อการรัฐประหารอีกต่อไปแล้ว”

นักวิเคราะห์จำนวนมากต่างเห็นว่าบรรยากาศในปัจจุบันชวนให้หวนนึกถึงช่วงเริ่มต้นของเหตุการณ์วิปโยคในเดือนตุลาคมเมื่อ 36 ปีก่อน

“ข้อแตกต่างที่สำคัญอย่างเดียวระหว่างปัจจุบัน กับเหตุการณ์เมื่อปี 1976 ก็คือ การไม่มีสงครามเย็น” คือความเห็นของ ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ประเทศไทยมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่รุนแรงที่สุดในโลก ภายใต้กฎหมายนี้ใครก็ตามที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาตรร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และ ผู้สำเร็จราชการ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี การกล่าวว่าผู้อื่นว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถทำโดยใครก็ได้ มีคดีตามมาตรานี้นับร้อยๆคดีนับจากการรัฐประหารเมื่อปี 2006 ซึ่งโค่นล้มทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง ซึ่งแม้จะมีลักษณะอำนาจนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างสูง

(เขาถูกศาลตัดสินให้จำคุก 2 ปี พรรคของเขาถูกยุบ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ถูกยึด แต่นั่นก็ไม่สามารถหยุด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของเขาไม่ให้ขึ้นมาครองอำนาจโดยอาศัยความนิยมของเขา แม้ตัวเขาจะต้องลี้ภัยอยู่ต่างแดนก็ตาม)

ย้อนไปในปี 1976 บทเพลงยอดนิยมเพลงหนึ่งของฝ่ายขวา ที่ร้องเพื่อลดความเป็นคนของนักศึกษาฝ่ายซ้ายก็คือเพลง “หนักแผ่นดิน”

ในปี 2010 ผมมีโอกาสได้ยินเพลงนี้เป็นครั้งแรกในการชุมนุมเล็กๆของกลุ่มคลั่งเจ้าที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในกรุงเทพฯ พวกเขารวมตัวกันเพื่อต่อต้านกลุ่ม “เสื้อแดง” ที่ได้มารวมตัวกันในกรุงเทพเพื่อประท้วงคนชั้นนำ

วันนี้เพลงนี้ถูกร้องอีกครั้งหนึ่งโดยกลุ่มคลั่งเจ้าเพื่อนิยามใครก็ตาม ที่คิดจะแตะเรื่องสถาบันกษัตริย์ การเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 โดยมีเหตุผลที่ว่ามาตรานี้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และ ส่งผลร้ายต่อชื่อเสียงของสถาบันกษัตริย์เสียมากกว่าผลดี ข้อเรียกร้องนี้กลับไม่ต่างจากการพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์

ในปี 1976 มีการปลุกระดมอย่างชัดเจนให้ใช้กำลังจัดการกับนักศึกษา ในปัจจุบันการปลุกระดมคล้ายกันกลับมาอีกครั้ง มีผู้ฟังโทรเข้าไปแสดงความคิดเห็นในรายการวิทยุว่าเขาอยากจะ “เอาพวก(นิติราษฎร์)ไปตัดคอให้หมด” ก่อนที่จะยอมรับเมื่อโดนผู้ดำเนินรายการไล่บี้ว่ายังไม่ได้แม้แต่จะอ่านข้อ เสนอให้เข้าใจ

“หลายคนหวังว่าผู้ฟังรายการท่านนั้นเป็นเพียงคนส่วนน้อยมากในสังคมไทยใน ปัจจุบัน แต่จากประวัติศาสตร์ที่เพิ่งผ่านมาดูเหมือนจะไม่เป็นอย่างนั้น” นี่คือความเห็นของคอลัมนิสต์ที่มีนามปากกาว่าแก้วมาลา

“ความโหดร้ายในปี 1976 เกิดขึ้นจากการกระทำของเพื่อนร่วมชาติ ความเกลียดชังต่อนักศึกษาถูกปลุกเร้าขึ้นโดยอาศัยหลายปัจจัยอันตรายเช่น ความงมงาย ศรัทธาอย่างคนตาบอด ความกลัวที่เกินจริง และข้อมูลเท็จที่ถูกกระพือ”

“กลุ่มเจ็ดอาจารย์กฎหมายนี้กำลังถูกกล่าวหาว่ามีแผนการร้ายที่จะโค่นล้ม สถาบันกษัตริย์บ้าง เป็นทาสทักษิณบ้าง เป็นพวก (เสื้อ) แดง หรือกล่าวหาง่ายๆว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์แอบแฝงอยู่”

Tyrell Haberkorn นักวิจัยจากภาควิชาการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ประชาไทว่า ถ้อยคำที่ใช้กับกลุ่มนักศึกษาในช่วงก่อนการสังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม 1976 นั้นเมื่อเทียบกับถ้อยคำที่ใช้กับกลุ่มนิติราษฎร์ในวันนี้ มีท่วงทำนองที่คล้ายกันมาก ต่างก็เหยียดหยามความเป็นคน และ เรียกร้องให้ใช้ความรุนแรงอย่างเปิดเผย

และ “เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณะว่าบรรดากลุ่มนิติราษฎร์ควร จะออกไปจากประเทศนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องถามว่านี่เป็นการส่งสัญญาณทางตรงหรือสัญญาณทางอ้อมแบบไหน ไปสู่ประชาชน”

ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ชาวไทยที่ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน สหรัฐฯ ในอดีตเขาเป็นหนึ่งในนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น เหตุการณ์ซึ่งในแบบเรียนการศึกษาไทยยังเรียกกว่าเป็น “เหตุการณ์จลาจล” หรือ “เหตุการณ์วุ่นวาย”

ธงชัยได้กล่าวผ่านทางอีเมลล์ว่า “ประเทศไทยไม่เคยเรียนรู้จากความขัดแย้งในอดีต การทำความเข้าใจไม่ใช่วิธีที่ประเทศนี้ทำกับเรื่องในประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์จะถูกกรองให้พูดแต่เฉพาะเรื่องที่สอดคล้องกับอุดมการณ์กระแส หลักเสมอมา เหตุการณ์สังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลา อาจเป็นความแปลกแยกที่เสียงดังกระหึ่มที่สุด เป็นเสียงหลอกหลอนจากในอดีตที่ยังคงโหยหวนตราบเท่าที่ความยุติธรรมจะ บังเกิด”

เมื่อนั่งอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มันยากที่จะเชื่อว่าประวัติศาสตร์อย่างนั้นจะสามารถซ้ำรอยเกิดขึ้นได้อีก ครั้ง ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงบริบทที่ต่างจากเดิม แต่บางทีอาจจะเป็นอย่างสำนวนที่ว่า “plus ça change, plus c'est la même chose” "ยิ่งเปลี่ยนแปลงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเหมือนเดิมมากเท่านั้น" มันอาจเป็นเพียงลางสังหรณ์ แต่เป็นลางสังหรณ์จากนักวิเคราะห์ผู้ช่ำชอง

คงมีแต่เพียงสายลมที่โบกพัดใต้กิ่งใบแห่งต้นบรมโพธิ์เท่านั้นที่จะรู้คำตอบ

แปลจาก Nirmal Ghosh. Ghosts of a Massacre. ST Blogs, 9/2/55.