ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 12 February 2012

รายงานเสวนา สถาบันกษัตริย์ กับสังคมประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท

มุมมองจากพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เวียงรัฐ เนติโพธิ์ และสุรพศ ทวีศักดิ์ กรณีสถาบันกษัตริย์กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยผ่านการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ศาสนาพุทธ และ ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านของจักรพรรดิญี่ปุ่น

วันที่ 11 ก.พ. 2555 กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญจัดงานปาฐกถาและเสวนา เพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอนิติราษฎร์ โดย ช่วงแรกเป็นการปาฐกถาเรื่อง “ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง โดย ธงชัย วินิจจะกูล

และช่วงต่อมาคือ สถาบันกษัตริย์กับสังคมประชาธิปไตย โดย เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรพศ ทวีศักดิ์-นักปรัชญาชายขอบ และพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: อำนาจเหนือโลก VS อำนาจที่มาจากประชาชน

โดยพิชิตกล่าวเปรียบเทียบตำแหน่งแห่งที่ ของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดศูนย์กลางก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์มาสูอำนาจได้โดยอ้างอำนาจเหนือโลก อ้างสิทธิในการปกครองไพร่ฟ้าทั้งหลายโดยอ้างอำนาจเหนือโลกราษฎรจะชอบหรือไม่ นั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็น องค์พระหากษัตริย์นั้นสัมบูรณ์ เป็น Absolute Monarchy กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงเป็นต้นกำเนิดของกฎหมาย เป็นจอมทัพ เป็นสิ่งเดียวกับความเป็นชาติหรือรัฐ ราษฎรที่ถูกปกครองเรียกว่า Subject หรือไพร่ มีความสัมพันธ์กันสองทาง คือ ทางหนึ่งพระมหากษัตริย์ผูกพันว่าจะให้แกราษฎรด้วยความเมตตา-Grace ขณะที่ราษฎรก็ต้องตอบแทนด้วย Royalty คือ ความจงรักภักดี

ขณะที่ระบอบประชาธิปไตย เกิดจากความคิดความเชื่อและวัฒนธรรมที่ต่อต้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต้นกำเนิดที่มาของอำนาจปกครองมาจากประชาชน และประชาชนคือจุดเริ่มต้น ประชาชนมีสิทธิตามธรรมชาติ แต่เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมก็ต้องมีการจำกัดสิทธิตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญและ มีตัวแทน รวมถึงมีประมุขเพื่อดำเนินการแทนประชาชน เมื่อประชาชนเป็นที่มาของอำนาจ ดังนั้นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงมีความผูกพันตน ปกครองได้โดยความเห็นชอบของประชาชน โดยผ่านรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและสถาบันกษัตริย์จึงมีหน้าที่ในการรักษาและจำกัดสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนเฉพาะในกรณีที่มีการละเมิดกัน

ภายใต้ระบอบประชิปไตยประชาชนมีภาระต่อสถาบันกษัตริย์คือความเคารพ เพราะประชาชนและกษัตริย์นั้เนป็นคนเหมือนกันและเท่ากัน ความต่างไม่ได้อยู่ที่เชื้อสาย หรือชาติตระกูล แต่อยู่ที่ความรับผิดชอบเพราะพระมหากษัตริบย์มีความรับผิดชอบมากกว่าประชาชน ทั่วไป

ประชาชนเคารพ แต่ไม่ใช่ Royalty สิ่งที่สถาบันกษัตริย์กระทำเป็นภาระมอบแก่ประชาชนจึงไม่ใช่เปนเรื่องของพระ บรมโพธิสมภาร แต่เป็นเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบที่ประชาชนมอบหมายให้ด้วยความยินยอม

พิชิตกล่าวว่า เมื่อลำดับการสิทธิและการได้มาซึ่งอำนาจตามประบอบประชาธิปไตยแล้ว ประชาชนอยู่ในลำดับที่มีความสำคัญก่อนผู้ปกครอง และผู้ปกครองต้องผูกพันตนอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น สถาบันกษัตริย์จึงต้องอยูใต้รัฐธรรมนูญ
เขากล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยในหลายประเทศจึงต้องมีการปฏิญาณตน เช่น รัฐธรรมนูญเดนมาร์กมาตรา 8 ระบุว่า ผู้จะขึ้นดำรงตำแหน่งกษัตริย์จะต้องปฏิญาณตนเป็นลายลักษณ์อักษี สองฉบับ ฉบับหนึ่งส่งให้ Council of State คือเก็บไว้ที่รัฐสภา และอีกอีกที่คือ Public Record office ซึ่งเป็นสถาบันที่เก็บเอกสารราชการทั้งหมดที่ประชาชนมีสิทธิจะเดินเข้าไปขอ ดูได้

ประเด็นต่อมา เมื่อสถาบันกษัตริย์ผูกพันตนอยูภายใต้รัฐธรรมนูญ การสืบราชบัลลังก์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสภาสามารถแก้ไขได้ด้วยเสียงข้างมาก

ประการถัดมา การใช้อำนาจอธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ แต่ไม่บริหารปกครอง ฉะนั้นในกรณีของการกระทำใดทั้งปวงจึงต้องกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราช โองการทุกประการ

และประการสุดท้าย ในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย เมื่อกษัตริย์ดำรงสถานะเป็นประมุขของรัฐ การประพฤติส่วนพระองค์ย่อมถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญและสภาผู้แทนราษฎรเช่น รัฐธรรมนูญสวีเดนกำหนดว่า การปราศรัยในที่สาธาณณะต้องปรึกษาคณะรัฐมนตรี ในบางประเทศกำหนดข้อความละเอียดกว่านั้นอีก เช่น รัฐธรรมนูญเดนมาร์ก (หมวด5 มาตรา 5) บัญญัติว่า หากพระมหากษัตริย์ไม่ปฏิบติหน้าที่ด้วเยหตใดต่อนเอง 6 เดือน ให้รัฐสภาประชุมกันเพื่อพิจารณาว่าจะให้ทรงสละราชย์หรือไม่

สุดท้าย พิชิตกล่าวว่า รัฐธรรมนูญในลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยของไทยนั้นเคยมี โดยเฮพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็มีการบัญญัติเป็นไปตามหลักการที่ได้กล่าวมานี้ เช่น การสืบราชสมบัติให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาบลและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทน ราษฎร ไม่มีการกำหนดองคมนตรี เพราะในระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์มีที่ปรึกษาอยู่แล้วคือคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

สุรพศ ทวีศักดิ์: จะเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นธรรมราชา ก็ต้องไปให้สุดทาง

สุรพศ ทวีศักดิ์ กล่าวว่า รธน. มาตรา 9 กำหนดว่าพระมหากษัตริยผ์ทรงเป็นพุทธมามกะ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการคำนึงมิติทางประวัติศาสตร์ที่ศาสนาพุทธกับสถาบัน กษัตริย์พึ่งพากันมาตลอด อุดมการณ์สถาบันกษัตริย์จึงต้องเป็นอุดมกาณ์ธรรมราชา คือทศพิธราชธรรม แต่ทพิธราชธรรมแบบดั้งเดิม ไม่ใช่ธรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเครื่องมือปกป้องสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ของ สถาบันกษัตริย์ แต่เป็นเครื่องมือปกป้องราษฎร

ขณะที่มาตรา 9 บอกว่ากษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะ ต้องมีทศพิธราชธรรม ต้องตรวจสอบได้ แม้แต่นักวิชาการฝ่ายกษัตริย์นิยมยังบอกว่าหมายถึงหลักธรรมภิบาล อย่างไรก็ตาม มาตรา 8 รัฐธรรมนูญไทยกำหนดว่า องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่นฐานะละเมิดมิได้ เป็นมาตราที่สะท้อนอุดมการณ์สมมติเทพ ซึ่ง ไม่มีในคำสอนของรพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม แต่ได้รับอิทธิพลจากเขมรมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะหลักธรรมนะพุทธศาสนาต้องพิสูจน์ด้วยนหลักกาลามสูตรทั้งหมด ใจความของกาลามสูตรสรุปสั้นๆ คือเราจะยอมรับอะไรว่ามันจริงก็ต่อเมื่อเราพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นจริง

สำหรับมาตรา 112 ก็คือเครื่องมือปกป้องอุดมการณ์สมมติเทพ มาตรา 8, 9 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้อุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์นั้นขัดแย้งกัน คือเป็นอุดมการณ์ธรรมราชาภายใต้สมมติเทพ ทำให้ความหมายของธรรมราชาเบี่ยงเบนไป

เช่น อวิโรธนะ คือหลักคุณธรรมที่ว่าพระราชามีความยุติธรรม แต่เมื่ออากฎหมายมาตรา 112 มาใช้ภายใต้อุดมกาณ์แบสมมติเทพ ก็ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น

หลัก อโกธะ คือ พระราชาย่อมไม่โกรธ แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้ว่า พระราชาโกรธหรือไม่โกรธ เพราะวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ แม้แต่ตั้งคำถามยังทำไม่ได้ นี่คือตัวอย่างของการใช้กฎหมายกับอุดมการณ์ที่ขัดแย้งสับสนไปหมด และหลักทศพิธราชธรรมนั้นเสียไป นอกจากนี้ หลักทศพิธราชธรรมยังมีเรื่องการุณยธรรม คือการเคารพ การไม่เบียดเบียน แต่ภายใต้มาตรา 112 ไม่เป็นเช่นนั้น

สุรพศกล่าวว่า หนทางแก้ไขก็คือ ต้องไปให้สุดทางทั้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยและอุดมการณ์ธรรมราชา

“มาตรา 8 เราต้องตีความให้ถูกอย่างที่อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์กล่าวคือต้องตีความตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยว่าสถาบันกษํติย์อยู่ เหนือการเมือง พ้นไปจากการเมือง เมื่อไม่เกี่ยวข้องกับควาเมป็นฝักฝ่ายทางการเมือง เช่นนั้นแล้วสถาบันกษัตริย์ก็อยู่ในรฐานะที่เคารพสักการะ ไม่มีใครไปวิพากษ์วิจารณ์ไปล่วงละเมิดอะไรทั้งสิ้น ถ้าไม่มีการนำสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ปัจจุบันเราไปตีความแบบสมมติเทพ แตะต้องไม่ได้ ...ไปให้สุดคือตีความว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงๆ”

แต่การไปให้สุดทางอุดมการณ์ธรรมราชา คือการมีทศพิธราชธรรม ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ พระมหากษัตริย์เป็นสมมติราช ไม่ใช่สมมติเทพ คือ เป็นคนธรรมดาที่ราษฎรสมมติขึ้นมาให้ปกครอง และมีความรับผิดชอบมีทศพิธราชธรรม คือเป็นจรรยาบรรณของกษัตริย์ เมหือนจรรยาบรรณแพทย์ ครู

เวียงรัฐ เนติโพธิ์: จักรพรรดิญี่ปุ่นสมัยใหม่ เปลี่ยนผ่านจากสมบูรณาญาสิทธิ์มาสู่ประชาธิปไตยด้วยระเบิดปรมาณู

ตามความเชื่อของญี่ปุ่น เชื่อว่า จักรพรรดิองค์ปัจจุบันสืบเชื้อสายลูกรพะอาทิตย์มาโดยไม่ขาดตอน โดยความเชื่อดังกล่าวนั้นถือกำเนิดมายาวนานกว่า 660 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิคงทนถาวรอยู่ในฐานะสัญลักษณ์ของสังคม และมีบทบาทจำกัดมาก อยู่ในฐานะเทพเจ้า แต่มีบทบาทสำคญในการเปลี่ยนสังคมญี่ปุ่นเข้าสังคมสมัยใหม่

ทั้งนี้แต่โบราณกาล จักรพรรดิมีความเป็นเทพโดยตัวเอง ใม่ใช่สมมติเทพ คือไม่มีอำนาจทางการเมือง แต่เป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่น่าสนใจของระบอบของญี่ปุ่น คือ ถ้าไปพระราชวังจะมีอาคารชั้นเดียว มีก้อนหินล้อมรอบ แต่ถ้าไปปราสาทโชกุน จะยิ่งใหญ่กว่ามาก ฉะนั้นอำนาจจึงอยู่ที่โชกุนและกองทัพ การสืบเนื่องของราชวงศ์ จึงไม่มีใครสนใจไปรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งชิงกันเพราะไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจ ทางการเมือง แต่มีสถานะเป็นเทพโดยตัวเอง

ต่อมาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยเมจิ พยายามทำให้อำนาจอยู่ที่จักรพรรดิพระองค์เดียว สมัยเมจิมีสิ่งประดิษฐ์อันหนึ่งที่สมบูรณาญาสิทธิราชไทยไม่มี คือรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นการบัญญัติรัฐธรรมนูญในเวลาใกล้เคียงกับประเทศตะวันตก ในรัฐธรรมนูญนี้ให้อำนาจปกครองแก่กษัตริย์ไว้สูงสุด ละเมิดไม่ได้ ทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของจักรพรรดิ และนำพาประเทศญี่ปึ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการผนวกรวมระหว่างความเชื่อเรื่องจักรพรรดิคือเทพเจ้าและอำนาจทหาร
แต่นักวิชาการก็วิเคราะห์ว่าการเปลี่ยนผ่านช่วงสงครามโลก ไม่ได้รวมศูนย์อำนาจที่จักรพรรดิเท่านั้น แต่มีกลุ่มอำนาจอื่นด้วย คือการรวมตัวเป็นรัฐสภา แต่เป็นรัฐสภาที่มีการเลือกตั้งมีพรรคการเมือง มีกลุ่มที่เข้ามาแข่ง เช่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพราะข้าราชการเหล่านั้นไมได้เป็นลูกหลานจักรพรรดิ แต่เป็นชนชั้นนำที่เข้ามาแข่งขันกับจักรพรรดิ นั่นคือ แม้จะมีการรวมศูนย์อำนาจแต่ก็มีอำนาจอื่นๆ เข้ามาแทรกแซงด้วย

การเปลี่ยนผ่านจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยนั้น สิ่งที่ทำให้จักรพรรดิยินยอมพร้อมใจคืนอำนาจสูประชาชนคือระเบิดปรมาณู ทำให้สังคมญี่ปุ่นทั้งสังคมได้หันกลับมาตรวจสอบระบอบที่นำพาประเทศไปสู่ภาวะ อับจน และมีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีเป็นอาชญากรสงคราม แต่ขณะเดียวกัน อำนาจจากภายนอกคืออเมริกาก็ต้องการผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ด้วยดี เป็นที่มาของพระราชดำรัสของจักรพรรดิญี่ปุ่นต่อจักรพรรดินายพลแมคอาเธอร์ ณ สถานทูตสหรัฐประจำญี่ปุ่นในเวลานั้น ว่าพระองค์มอบอำนาจให้กับแมคอาเธอร์แต่เพียงผู้เดียวเหมือนที่เคยให้ความชอบ ธรรมแก่โชกุนทุกยุคสมัยมาแล้ว

และในวันที่ 1 ม.ค. ค.ศ.1946 จักรพรรดิทรงประกาศว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิกับประชาชนอยู่ที่ความรักไม่ใช่ตำนานหรือ มายาคติ ไม่ควรอยู่บนความเชื่อผิดๆ ว่าจักรพรรดิคือสิ่งศักดิ์สิทธิ และไม่ควรเชื่อว่าเราเป็นเลิศเหนือดินแดนอื่นๆ ที่เราจะต้องไปครอบครอง นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังประกาศให้เลิกสนับสนุนลัทธิชินโตที่ทำให้เชื่อว่า ตายแทนจักรภรรดิได้ และเปลี่ยนเนื้อหาแบบเรียนทั้งระดับประถมและมัธยมต้น

สำหรับรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นนั้นนอกจากจำกัดอำนาจทางทหารหลังสงครามโลก ยังจำกัดสถานะของจักรพรรดิให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ มีหน้าที่ทำพิธีกรรมแห่งชาติและต้องได้รับความเห็นของคนในชาติ การสืบสันตติวงศ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

จักรพรรดิปรับตัวกลับมาสู่สังคมสมัยใหม่ได้ เพราะความสืบเนื่องของราชวงศ์ประการหนึ่ง อีกประการคือ จักรพรรดิก็ไม่ได้แอคทีฟมากนัก ไม่ปรากฏตัวแก่สาธารณะมาก จึงไม่เกิดความสงสัยนินทาในหมู่ประชาชนมากนัก ปัจจุบันจักรพรรดิจึงเป็นสัญลักษณ์ของเอกราชของชาติด้วย ซึ่งเป็นเอกราชที่ต่างจากไทยที่เหมือนเป็นสิ่งประดิษฐ์เรื่องเอกราชของชาติ เพราะเอกราชของชาติคือ Independence น่าจะเริ่มจากรัฐสมัยใหม่

โดยสรุป ญี่ปุ่นมีสถานภาพเป็นเทพเจ้าก่อนเข้าสู่สมัยใหม่ ไม่มีอำนาจทางโลก ไม่เกี่ยวข้องกับทางโลก มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นประชาธิปไตยได้เพราะเข้าไปสู่ความเป็นเทพเจ้าเหมือน เดิม

แน่นอนว่าประชาชนญี่ปุ่นไม่ได้เห็นด้วยกันทั้งหมด ยังมีคนที่จงรักภักดีสูงมาก มีคนที่สะสมรูปจักพรรดิ แต่เขาสามารถอยู่ได้ร่วมกัน มีการรณรงค์ให้เอาระบอบจักรพรรดิกลับมา แต่คนจำนวนมากก็ต้องการอยู่กับจักรพรรดิภายใต้รธน.แบบนี้ คือเป็นเทพเจ้าที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอำนาจทางการเมืองใดๆ