ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 1 February 2012

ผู้เชี่ยวชาญสื่อกังวลไทยหนุนนโยบายเซ็นเซอร์ของทวิตเตอร์

ที่มา ประชาไท

สืบเนื่องจากกรณีการที่นางจิราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา ถึงการสนับสนุนนโยบายการ “เลือกเซ็นเซอร์” (selective censorship) ของ ทวิตเตอร์ที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ ที่จะเซ็นเซอร์ข้อความที่ไม่เหมาะสมตามกฎหมายภายในตามคำร้องขอจากทางการ ประเทศต่างๆ ทำให้เกิดความกังวลจากหลายฝ่ายว่านโยบายดังกล่าวอาจถูกใช้โดยรัฐเพื่อปิด กั้นข้อมูลข่าวสารมากกว่าเดิมนั้น

ทาง Gayathry Venkiteswaran ผู้อำนวยการองค์กร “พันธมิตรสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Southeast Asian Press Alliance - SEAPA) ซึ่งรณรงค์เรื่องเสรีภาพสื่อในระดับนานาชาติ ได้ให้ความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า ถึงแม้นโยบายการเลือกเซ็นเซอร์ของทวิตเตอร์จะไม่ใช่สิ่งใหม่ในหมู่โซเชียลมี เดียรายอื่นๆ เพราะกูเกิ้ลหรือเฟซบุ๊กก็ใช้วิธีแบบเดียวกัน แต่การที่ประเทศซึ่งมีกฎหมายริดรอนสิทธิเสรีภาพนำนโยบายดังกล่าวไปใช้ อาจทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเสี่ยงต่อการเผชิญการปิดกั้นข้อมูลที่เข้มข้นมาก ขึ้น

Gayathry มองว่า ถึงแม้ทวิตเตอร์จะยืนยันในหลักการความโปร่งใสด้วยการเปิดเผยคำร้องขอจาก รัฐบาล และเนื้อหาที่ถูกปิดกั้น แต่ในท้ายที่สุด รัฐบาลอาจจะหาข้ออ้างเพื่อปิดกั้นข้อมูลดังกล่าวได้อยู่ดี เช่น อ้างว่าเป็นข้อมูลในระหว่างการสืบสวนคดี เป็นต้น

“เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง ภาคประชาสังคมควรจับตาดูนโยบายนี้อย่างใกล้ชิด” Gayathry กล่าว

ทั้งนี้ ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์ได้ประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาว่า จะเริ่มใช้นโยบาย “เลือกเซ็นเซอร์” ข้อความที่ไม่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ เช่น การแบนเนื้อหาที่สนับสนุนนาซีในเยอรมนี และฝรั่งเศส เป็นต้น โดยทวิตเตอร์ระบุถึงข้อดีนโยบายนี้ว่า จะปิดกั้นการเข้าถึงข้อความนั้นๆ เฉพาะจากภายในประเทศ แต่ผู้ใช้จากประเทศอื่นๆ ยังคงสามารถเข้าถึงได้อยู่ ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้ที่ผู้ให้บริการจำเป็นต้องลบข้อความออกจากฐานข้อมูล สากลทั้งหมด

Twitter selective censorship

หลังจากที่ทวิตเตอร์ประกาศ นโยบายดังกล่าว ก็เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้ทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองในประเทศที่มีเสรีภาพสื่อ และการแสดงออกจำกัด พร้อมกับการนัดประท้วงออนไลน์เพื่อคัดค้านนโยบายนี้ด้วย อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินวิพากษ์สังคมชื่อดังของจีน ก็ได้ทวีตข้อความที่ระบุว่า “หากทวิตเตอร์จะเซ็นเซอร์ ผมก็จะหยุดใช้”

“ทวิตเตอร์นั้นถูกนำเข้า มาใช้ในขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองอย่างแยกไม่ออก มันเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันไปแล้ว ฉะนั้น ทวิตเตอร์ก็ไม่ควรจะแยกตัวเองออกไปจากหลักการขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน นั่นคือเสรีภาพในการแสดงออก” Gayathry ให้ความคิดเห็น

สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง เช่น The Guardian, The Next Web ก็ได้รายงานกรณีที่ทางการไทยกลายเป็นที่แรกในโลกที่ออกมาขานรับนโยบายใหม่ นี้อย่างเปิดเผย และตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนโยบายการปิดกั้นข้อมูลและเสรีภาพการแสดงออกรุนแรง ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ทางด้านปลัดกระทรวงไอซี ทียืนยันว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้าหากเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตไปกระทบกับสถาบันฯ และหมิ่นเบื้องสูง ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใช้กฎหมายเข้ามาจัดการ

"เรายืนยันว่ายังให้ สิทธิ์แสดงเสรีภาพ แต่หากการแสดงนั้นไปละเมิดเรื่องที่คนไทยเคารพ หรือเกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือเชื้อพระวงศ์ ก็เป็นสิ่งที่กระทรวงยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น เราได้อธิบายกับผู้ดูแลทวิตเตอร์รับทราบอย่างดีถึงสถาบันกษัตริย์ของไทยที่ ใครจะละเมิดไม่ได้ เรายอมรับว่าได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือไปให้ผู้ดูแลทวิตเตอร์จริง และทางนั้นก็ยินดีจะให้ความร่วมมือกับเรา แต่อาจบังเอิญว่าเป็นจังหวะเดียวกับที่ทางทวิตเตอร์ได้ประกาศจะเข้มข้นกับ เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมด้วย ส่วนบางคนที่โพสต์ด้วยถ้อยคำหรือสำนวนที่ทางทวิตเตอร์แปลแล้วไม่เข้าใจ ก็จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีทีในการติดตามและเอาผิดทางกระบวนการยุติธรรม" นางจิราวรรณ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา