โดย ดวงจำปา
ที่มา Doungchampa Spencer
อ้างอิงจากบทความ: Wikileaks: more on HRW and the coup I
โพสต์เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
เมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา เวปของ PPT ได้เข้าไปอ่านความคิดเห็นซึ่งเขียนโดยกลุ่มองค์กรฮิวแมนไรท์วอชท์, เรื่องของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ เรื่องการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549
เค เบิ้ลของวิกิลีกค์ได้กล่าวอ้างถึงผู้แทนขององค์กรฮิวแมนไรท์วอชท์คือ คุณสุนัย ผาสุก เกี่ยวกับเรื่องของ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นว่า เป็นเรื่องที่ “ไม่มีความน่าดึงดูดใจ” และการพุ่งความสนใจมากับเรื่องนี้อาจจะนำความเสียหายในชื่อเสียงต่อผลงานของ คุณสุนัยว่า เป็นผู้ปกป้องต่อสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่แน่นอนที่สุดในการกล่าวถึงข้อพันธกิจขององค์กรฮิวแมนไรท์วอชท์ที่ว่า “จะยืนอยู่เคียงข้างผู้ประสบเคราะห์กรรมและนักกิจกรรมเพื่อการต่อสู้ เพื่อปกป้องการเลือกปฎิบัติ (และ)ส่งเสริมเสรีภาพทางการเมือง” คุณสุนัยควรที่จะทำการปกป้องผู้ประสบเคราะห์กรรมในเรื่องของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแทนที่จะบ่นพึมพำทำการแก้ตัวอย่างขยาดๆ
ในการโพสต์อีกเรื่องหนึ่ง เราได้เอ่ยถึงเคเบิ้ลอีกหนึ่งฉบับที่บ่งบอกให้ทราบถึงความคิดเห็นของคุณสุ นัย ในเรื่องการสนับสนุนการกระทำรัฐประหารและการเห็นอกเห็นใจต่อทางฝ่ายกองทัพบก ฉบับหนึ่ง ตามที่เขาได้เผย ถึงความโล่งอกที่ “รัฐบาลของนายกฯ ทักษิณ ได้ถูกขับไล่ออกไป” และเขา “ให้ความเคารพต่อทางฝ่ายกองทัพอย่างสูงสุดโดยเสมอมา...” ดูเหมือนว่าคุณสุนัยจะได้โยนเรื่องความกังวลของสิทธิมนุษยชน และในมุมมองของอดีตนั้นออกไปและตนเองได้เข้ามาสู่รูปแบบทางการเมืองด้วยการ เลือกคบกับอีกฝ่ายหนึ่งแทน
เคเบิ้ลฉบับอื่นๆ ของวิกิลีกค์ได้เพิ่มมุมมองต่างๆ ซึ่งเสริมด้วยถ้อยคำที่กล่าวไว้ข้างต้น เคเบิ้ลลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาคือคุณ อีริค จอห์น (ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำ ประเทศไทย) ได้พบกับคุณสุนัย ระหว่างการเยี่ยมเยือนที่กรุงเทพมหานคร
คุณ สุนัยได้อธิบายว่า “เขาเป็นหนึ่งในจำนวนของนักกิจกรรมที่ต้องฝืนใจต่อการยอมรับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายนว่า ‘เป็นทางเลือกเดียวเท่านั้น’ ” แต่เป็นผู้ที่เริ่มรู้สึก “ผิดหวัง” ต่อความล้มเหลวซึ่งรัฐบาลรักษาการซึ่งนำโดยองคมนตรีพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ เนื่องจากว่า รัฐบาลยังคงไม่สามารถที่จะอธิบายอย่างเพียงพอว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ (ชินวัตร) ได้ทำอะไรลงไปบ้างถึงสามารถอ้างถึงความชอบธรรมในการกระทำรัฐประหาร
มัน ยากที่ฟังแล้ว ดูเหมือนกับบุคคลใดๆ ซึ่งต้อง “ฝืนใจ” ต่อการยอมรับการก่อการรัฐประหาร จากนั้น คุณสุนัยยังยอมรับว่า “การสอบสวนในเรื่องของการคอรัปชั่นนั้น มัน “ยากแสนจะยาก” ต่อการพิสูจน์ ขณะที่การยอมรับเป็นที่น่าสนใจในเนื้อหาของมันเอง จากนั้นยังได้กล่าวต่อด้วยว่า
องค์กรฮิวแมนไรท์ วอชท์ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการ ในเรื่องการฆาตกรรมสังหารหมู่ซึ่งละเมิดต่อกระบวนการยุติธรรม แรกเรี่มตั้งแต่สงครามปราบปรามยาเสพติดในปี พ.ศ. 2546 เพื่อที่จะทำการฟ้องรัฐบาลชุดก่อนในการกระทำผิดนั้นๆ
ขณะ ที่การฆาตกรรมในสงครามปราบปรามยาเสพติดเป็นเรื่องที่เสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นอย่างยิ่ง (และยังไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้องอย่างเหมาะสม) ฟังดูแล้วเหมือนกับว่า องค์กรฮิวแมนไรท์วอชท์กำลังเป็นโค้ชให้กับคณะผู้ก่อการรัฐประหาร
มัน เป็นเรื่องที่น่าตกตะลึงที่คุณสุนัยเอง เห็นด้วยกับเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าเมื่อตัวเขาเองจะมีความสงสัยว่ารัฐบาลซึ่งหนุนหลังโดยฝ่ายเผด็จการ ทหารนั้น ไม่น่าจสร้าง “รัฐธรรมนูญฉบับที่ดีให้เสร็จสื้น เพื่อจะได้มีการเลือกตั้งที่ดีเกิดขึ้นตามมา....”
มีการกล่าว ว่า คุณสุนัยได้วิจารณ์อย่างหนักหน่วงต่อ “ วิธีการของรัฐบาลในเรื่องการยุบพรรคการเมือง ในตอนนี้มีคดีต่างๆ ยังค้างอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ..... เขาเชื่อว่าคดีที่ฟ้องร้องที่มีอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ควรที่จะถูกถอดถอนยกเลิกออกไปเสีย....”
คุณสุนัยยังได้เปิด เผยต่อไปอีกว่า รัฐบาลรักษาการที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเผด็จการทหารนั้น มีกลไกพิเศษอย่างแบบไม่ต้องมีพิธีรีตองใดๆ ในการปรึกษากับกลุ่มประชาสังคม เขาอ้างว่า “ตัวรัฐมนตรี (คนหนึ่ง) ของที่ทำงานอยู่กับนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นบุคคลที่ได้รับความเคารพนบนอบเป็นอย่างสูงและยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน งานระหว่างรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ อีกด้วย”
ท่านผู้อ่านอาจจะสรุปเรื่องนี้โดยตัวของท่านเองในเรื่องของความถูกต้องอย่างแท้จริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการเปิดเผยข้อความเหล่านี้
เรายังมีเคเบิ้ลอีกหลายฉบับที่จะโพสต์ให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องของ ฮิวแมนไรท์วอชท์และเหตุการณ์อื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางการเมือง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นของผู้แปล:
ดิฉันได้อ่านเรื่องของ Human Rights Watch ใน Wikipedia จะเห็นได้ว่า มีการวิพากย์วิจารณ์ทั้งสองฝ่าย
เมื่ออ่านข่าวของไทย มีแนวโน้มออกมา ฮิวแมนไรท์วอทช์ ว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะถูกองค์กรนี้โจมตีหนัก มากกว่าสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์เสียด้วยซ้ำไป ถึงแม้ว่า ข่าวจะออกมาในแนวทางที่สนับสนุนต่อสิทธิมนุษยชน เป็นต้นว่า การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้มีวี่แววออกมาในเรื่องการสังหารหมู่เมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 เลย
ไม่ทราบว่า คุณสุนัย ไปอยู่ที่ไหน เมื่อสมัยนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี การเป็นนักสิทธิมนุษยชนที่ดี คุณจะเลือกข้างไม่ได้ ต้องว่าไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
คุณสุนัยเขียนรายงานไปอย่างไรในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ น่าจะนำมาเผยแพร่ให้ประชาชนเขาทราบบ้างก็ดีนะคะ....
Doungchampa Spencer
(ปล. ภาคที่สองและภาคอื่นๆ กำลังจะโพสต์ในวันถัดไปค่ะ)
-------------------------------------------------------------------------
บทความเกี่ยวเนื่อง:
บทความแปล: วิกิลีกค์, กองทัพทำรัฐประหาร และ องค์กร “สิทธิมนุษยชน”