24 มกราคม 2555
โดยทีมข่าวไทย อีินิวส์
ขอบอก ต่อด่วนต่อผู้อ่านไทยอีนิวส์ที่จะเข้าชมภาพยนตร์ที่เครือเมเจอร์ ตอนนี้มีการมอบหน้าที่เพิ่มเติมอีกตำแหน่งให้กับพนักงานโรงภาพยนตร์ ให้ทำหน้าที่เป็นตำรวจจำเป็น คอยตรวจเช็คการยื่นทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีของผู้เข้าชมภาพยนตร์ อย่างเคร่งครัด
เพื่อ ร่วมแสดงความรักล้นเกินกับเครือเมเจอร์ ไทย อีนิวส์ เห็นข่าวดีงามเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องรีบบอกต่อผู้อ่านทุกท่านด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อผู้ อ่านไทย อีนิวส์ทุกท่านเช่นกัน
ขอ ให้ทุกท่านดูหนังเลือดสาดกันด้วยความสนุกสนาน เมามันส์ในอารมณ์ และออกจากโรงหนังด้วยความภาคภูมิใจว่าคุ้มค่าความเป็นไทย ที่ซื้อหนึ่งได้ของแถม คือนอกจากได้ทั้งความสนุกและความมันส์แล้ว ยังได้แสดงความเคารพต่อพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา เพื่อนร่วมชาติ
ทั้ง นี้ไทยอีนิวส์ ขอร่วมเผยแพร่ข้อมูลที่มาที่ไปเกี่ยวกับที่มาของเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อที่ทุกท่านจะได้เข้าโรงภาพยนตร์ด้วยความเข้าใจถึงความสำคัญของเพลงนี้ มากยิ่งขึ้น
ที่มาและขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลงสรรเสริญพระบารมี | |
---|---|
โปสการ์ดโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี สมัยรัชกาลที่ 5 | |
เพลงชาติของ | สยาม (พ.ศ. 2431 - 2482) ไทย (พ.ศ. 2482 - ปัจจุบัน) |
ชื่ออื่น | เพลงชาติสยาม เพลงสรรเสริญพระบารมี |
เนื้อร้อง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, พ.ศ. 2456 |
ทำนอง | ปโยตร์ ชูรอฟสกี้, พ.ศ. 2431 |
ประกาศใช้ | พ.ศ. 2431 (ทำนองและเนื้อร้องเดิม) พ.ศ. 2456 (เนื้อร้องปัจจุบัน) |
เพลงสรรเสริญพระบารมี บรรเลงโดยวงดุริยางค์กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา |
เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ เดิมทีเพลงสรรเสริญพระบารมีใช้เป็นเพลงประจำชาติของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431 - 2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ของไทย ทำนองโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย[ต้องการอ้างอิง] (บ้างก็ว่าเป็นครูเพลงชาวฮอลันดาชื่อ เฮวุดเซน[ต้องการอ้างอิง]) ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
ในตอนแรกคำร้องดังกล่าวในท่อนสุดท้าย ใช้คำว่า ฉะนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า ฉะนี้ เมื่อร้องตามทำนองของเพลงแล้ว คนมักจะออกเสียงเพี้ยนเป็นคำว่า ชะนี ทำให้พระองค์ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงเปลี่ยนจากคำว่า ฉะนี้ เป็น ชโย ซึ่งแผลงมาจากคำว่า ไชโย และ ชย[1]
ประวัติ
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" [2]
จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลง เดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"[3]
คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 จนถึง พ.ศ. 2431[4] (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6[5]
ต่อ มาจึงมีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับที่เป็นผลงานของ ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน[6] ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือ เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ[7]
เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว
เนื้อเพลง
เนื้อเพลงนี้ คือเนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในปัจจุบัน
ข้าวรพุทธเจ้า | เอามโนและศิระกราน | |
นบพระภูมิบาล | บุญดิเรก | |
เอกบรมจักริน | พระสยามินทร์ | |
พระยศยิ่งยง | เย็นศิระเพราะพระบริบาล | |
ผลพระคุณ ธ รักษา | ปวงประชาเป็นสุขศานต์ | |
ขอบันดาล | ธ ประสงค์ใด | |
จงสฤษดิ์ดัง | หวังวรหฤทัย | |
ดุจถวายชัย | ชโย |
วาระและโอกาสในการใช้
- พิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
- พิธี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมกับประมุขต่างประเทศ ให้บรรเลงเพลงชาติของประมุขต่างประเทศ ก่อน แล้วจึง บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี รับเสด็จฯ เมื่อประมุขต่างประเทศเสด็จฯ กลับ หรือไปตามลำพัง ให้บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้น เพื่อ ส่งเสด็จฯ
- พิธีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนิน ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
- พิธีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
- พิธีที่ผู้แทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในงานเสด็จพระราชดำเนินต่างๆ
- ถ้าผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
- ถ้า ผู้แทนพระองค์เป็นบุคคลอื่น เมื่อผู้แทนพระองค์มาถึง ไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ และเมื่อผู้แทนพระองค์นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการเปิดงานและปิดงาน เมื่อผู้แทนพระองค์กลับไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ
- การใช้ในช่วงเวลาก่อนฉายภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์หรือสถานที่ที่มีการฉายภาพยนตร์ ตลอดจนถึงการแสดงคอนเสิร์ต ดนตรี และมหรสพต่างๆ
- ใช้ในช่วงยุติการกระจายเสียงประจำวันของสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย
- ใช้ ในช่วงเริ่มต้นและยุติการแพร่ภาพออกอากาศประจำวัน ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย หรือในช่วงเปลี่ยนแปลงวันออกอากาศไปสู่วันใหม่ (ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานี)
สื่อ
| บันทึกเสียงลงในกระบอกเสียงไขผึ้งของบริษัทเอดิสัน บรรเลงโดยคณะละครนายบุศย์มหินทร์ (บุศย์ เพ็ญกุล) ซึ่งได้เปิดการแสดง ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2443 ทำนอง: ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ คำร้อง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ บรรเลงและขับร้องโดย วงออร์เคสตราสี่เหล่าทัพ และวงดุริยางค์กรมศิลปากร จัดทำโดย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี |
หากไม่ได้ยินเสียงไฟล์เหล่านี้ โปรดดูเพิ่มที่ วิธีใช้สื่อ |
การบันทึกเสียง
เพลงสรรเสริญพระบารมีมีการบันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นการบรรเลงโดยวงดนตรีคณะละครนายบุศมหินทร์ที่ประเทศเยอรมนี บันทึกลงบนกระบอกเสียงชนิดไขผึ้งของบริษัทเอดิสัน [8] และมีการบันทึกเสียงโดยมีการขับร้องประกอบครั้งแรกโดยเป็นเสียงร้องของแม่ ปุ่น (ไม่ทราบนามสกุล) และแม่แป้น (แป้น วัชโรบล) ในแผ่นเสียงปาเต๊ะร่องกลับทางของบริษัทปาเต๊ะ ประเทศฝรั่งเศส ส่งแตรวงกรมทหารราบที่ 3 (ปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์) เมื่อ พ.ศ. 2450 [9]
0 0 0 0 0