ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 29 January 2012

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์: น้ำท่วมปากเกษตรกร

ที่มา ประชาไท

หลังภาวะภัยพิบัติธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สายน้ำได้พัดพาเอาความฝัน ความหวังของเกษตรกรในปีที่ผ่านมาลอยไปกับตา เปรียบเสมือน คนเอาเงินแสนใส่กระเป๋าแต่มารู้ตัวอีกทีเงินก็หายไปแล้วเพราะก้นกระเป๋าขาด

เกษตรกรจำนวนมากอยู่ในภาวะน้ำปริ่มจะท่วมปากท่วมจมูกด้วยภาวะหนี้สินที่ ต้องพยายามปลดเปลื้องกันปีต่อปี และหากปีใดเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือจับสัตว์เลี้ยงไม่ได้แม้แต่ฤดูกาลเดียว นั่นหมายถึงหนี้สินก้อนโตที่จะเข้ามาทับถมเพิ่ม จนอาจจะต้องสูญเสียปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ออกไป เพราะเกษตรกรต้องใช้ที่ดินของตนจำนองหรือค้ำประกันหนี้สินที่กู้ยืมมาเพื่อ ลงทุนทำการผลิตในฤดูกาลนั้นแล้วหวังว่าสิ้นฤดูกาลจะมาเก็บผลผลิตเพื่อใช้ หนี้แล้วเหลือเงินบางส่วนได้ใช้จ่ายในครอบครัว หรือสะสมเอาไว้เป็นทุนส่งเสียลูกหลานเรียนต่อเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่ง ขันตามระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

หลังวิกฤตน้ำท่วมสิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่กับเกษตรกรจึงมิใช่เพียงเรื่องการ สูญเสียรายได้และมีหนี้สินพอกพูนขึ้นมากเท่านั้น แต่ปัญหาที่สำคัญกว่าถึงขั้นต้องเลิกทำเกษตรกรรมกันเลยทีเดียว ก็คือ การสูญเสียปัจจัยการผลิต

การสูญเสียปัจจัยการผลิตที่สังคมตระหนักดีและเป็นห่วงกันอยู่มาก ก็คือ ปัญหาการสูญเสียที่ดินทำกิน รัฐบาลก็ได้เล็งถึงปัญหาเหล่านี้มาต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัยโดยมีการผลักดัน กฎหมาย นโยบาย และงบประมาณจำนวนมากมาแก้ไขปัญหาผ่านโครงการร่วมกับสถาบันการเงินที่เกี่ยว ข้องกับเกษตรกรโดยตรง หรือแม้กระทั่งการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูหนี้สินให้แก่เกษตรกร

อย่างไรก็ดีปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรกำลังสูญเสียไปและอาจจะหมายถึงการสูญ เสียความสามารถในการดำรงวิถีชีวิตเกษตรกรที่สามารถพึ่งพากันเองไปตลอดกาลก็ คือ การสูญเสียสิทธิในพันธุกรรมพืช และสัตว์ที่ใช้ทำการผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้บรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรทั่วโลกเล็งเห็นความสำคัญของพันธุกรรมทางการ เกษตรมายาวนานโดยลงทุนวิจัยและจดสิทธิบัตรเพื่อหวงกันสิทธิเพื่อขายต่อให้ เกษตรกรในราคาที่ตนกำหนดโดยกดดันให้รัฐทั้งหลายออกกฎหมายมารับรองสิทธิบัตร เหนือสิ่งมีชีวิตให้กับเอกชน ซึ่งประเด็นนี้เป็นการคุกคามสิทธิเกษตรกร และอธิปไตยเหนืออาหารของคนทั้งโลกอย่างร้ายแรง

เมื่อผนวกเข้ากับภาวะภัยพิบัติน้ำท่วมที่กวาดเอาพืชและสัตว์รวมทั้งเมล็ด พันธุ์ตัวอ่อนที่เกษตรกรรักษาหายไปกับน้ำจนหมดเกลี้ยง เกษตรกรจึงตกในภาวะเสี่ยงที่จะไม่มีปัจจัยการผลิตมากยิ่งขึ้น

จะด้วยความโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่อาจทราบได้ ความหวังดีของภาครัฐและเอกชนที่ต้องการจะช่วยเหลือเกษตรกรให้พ้นจากภาวะล้ม ละลายและพลิกฟื้นกลับมาทำการผลิตได้อีกครั้ง ด้วยการระดมเมล็ดพันธุ์พืช และตัวอ่อนสัตว์มารวมกันแล้วนำไปมอบให้เกษตรกรเป็นการกุศล อาจทำให้เกิดปัญหาอย่างที่ผู้หวังดีคาดไม่ถึง

หากคิดในเชิงสมคบคิดก็อาจจะเห็นความแยบคายของกลยุทธ์ที่บรรษัทอุตสาหกรรม เกษตรกรฉกฉวยเอาวิกฤตมาพลิกเป็นโอกาสอย่างชัดเจน เนื่องจากบรรษัทเหล่านี้หวังที่จะนำเมล็ดพันธุ์ และตัวอ่อนของบรรษัทตนไปขายให้เกษตรกรใช้จนติดและต้องมาซื้อไปผลิตซ้ำๆแล้ว ซ้ำเล่าในฤดูกาลต่อไป แต่เกษตรกรจำนวนมากที่มีการเก็บรักษาพันธุกรรมเหล่านั้นหลุดรอดพ้นบ่วงมาได้ ด้วยพันธุกรรมที่ตนสะสมไว้หลายชั่วอายุคน

เมื่อน้ำท่วมขังต่อเนื่องยาวนานทำให้พันธุกรรมเหล่านี้สูญหายไปอย่างมาก บรรษัทเกษตรสามารถยื่นพันธุกรรมพืชและสัตว์ของตนให้ภาคเอกชนและภาครัฐนำไป ทำการกุศลโดยแจกจ่ายไปยังเกษตรกรหลายพื้นที่ จนเกษตรกรต้องใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ของบรรษัทที่ตัดแต่งพันธุกรรมให้เป็น หมันทำให้ต้องซื้อใหม่ทุกฤดูกาลเพราะของบรรพบุรุษก็สูญหาย ส่วนของบรรษัทก็เก็บมาใช้ในฤดูกาลถัดไปไม่ได้เพราะเป็นหมัน หรือต้องเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชซึ่งเหมาะที่จะเลี้ยงด้วยอาหารและยาของบรรษัท และเป็นหนี้สินกับบรรษัทมากยิ่งขึ้น มีอำนาจต่อรองน้อยลงไปทุกที

หากเราเป็นห่วงเกษตรกรจริงก็ขอความกรุณาทุกท่านที่มีจิตอันเป็นกุศลช่วย นำพาพันธุ์พืชพันธ์สัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่อื่นมามอบให้แก่เกษตรกรด้วยกัน เพื่อรักษาสายใยเกษตรกรรมที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและธรรมชาติ แทนที่จะนำพันธุกรรมของบรรษัทมามอบให้เกษตรกร

ไม่อย่างนั้นความหวังดีของทุกท่านก็อาจเป็นความประสงค์ร้ายต่อเกษตรกร เมื่อท่านได้อ่านและรับรู้เรื่องราวผ่านบทความนี้แต่ยังไม่เปลี่ยนวิธีการ ส่งมอบพันธุกรรมให้แก่เกษตรกร

น้ำที่ท่วมเรือกสวนไร่นาของเกษตรกรที่แห้งไปแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นหนี้สินที่จะพอกพูนเพิ่มขึ้นมาท่วมปากเกษตรกรต่อไป