ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 1 January 2012

ภาษาอังกฤษของนายกฯปู...อะไรกันนักกันหนา!

ที่มา vattavan

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

ทนำของหนังสือพิมพ์ ‘มติชน’ ฉบับประจำวันศุกร์ ที่ 23 ธันวาคม 2554 ได้นำเสนอเรื่อง ‘โครงการสปีกอิงลิช’ ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งทาง ‘มติชน’ แสดงความเห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะเมืองไทยของเรา กำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความเป็นเสรีของประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก
ก่อนหน้าที่จะมี ‘โครงการสปีกอิงลิช’ ภาษา อังกฤษได้กลายเป็นประเด็นในบ้านเมือง เพราะบังเอิญนายกฯปูของเรา พูดภาษานี้ผิดพลาดไป ในระหว่างการกล่าวปราศรัยต้อนรับบุคคลสำคัญต่างชาติ ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ได้กระดี๊กระด๊ากันใหญ่ เพราะสบโอกาสในการวิพากษ์วิจารณ์กันดูถูกเหยียดหยามนายกฯปูกันอย่างสนุกสนาน ทำราวกับว่า
นายกฯปูทำความผิดขั้นอุกฤษฏ์ ร้ายแรงถึงขั้น ‘ขายชาติ’ ขนาดนั้นเลย...โถ!

นี่เอง ทำให้ผมนึกถึงบทความของตัวเอง ชื่อ ผ่อนที่ให้ฝรั่ง…ผ่อนวังให้จระเข้ ที่เคยเขียนลงในเว็บ www.manager.co.th เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 และมีผู้อ่านชอบกันมาก แต่ทางเว็บ ‘ผู้จัดการ’ไม่ได้เก็บบทความตอนนี้เอาไว้ (เขาเก็บแค่ 200 ตอน) เลยขอนำมา ให้ท่านที่อาจยังไม่เคยเห็นบทความนี้ได้อ่าน เพราะผมคิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน และท่านผู้อ่านที่สนใจภาษาอังกฤษด้วย
ลองอ่านดูกัน บทความมดังต่อไปนี้ครับ…

...ด้รับสำเนาบทความจากหนังสือพิมพ์ “มติชน” รายสัปดาห์ เขียนโดยฝรั่งซึ่งอยู่เมืองไทยมานานหลายปี คือคุณ ไมเคิล ไร้ท ผู้ มีความเชี่ยวชาญในภาษาไทย ซึ่งผมเคยอ่านข้อเขียนของคุณไมเคิล ไรท์ เรื่องโองการแช่งน้ำในหนังสือศิลปวัฒนธรรม และบทความอื่นๆในหนังสื่อพิมพ์ ‘มติชน’ เป็นบางครั้ง รวมทั้งเคยฟังเวลาคุณไมเคิล ไรท์ บรรยายครั้งหนึ่งด้วย
คุณไมเคิล ไรท์ ผู้นี้เป็นนักคิดนักเขียนชาวอังกฤษ มาอยู่เมืองไทยราว 30 ปี มีผู้เล่าให้ฟังว่า เคยเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ ต่อเมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย เคยบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วย จึงนับว่ามีประสพการณ์หลากหลาย

บทความของ คุณไมเคิล ไรท์ ใช้ชื่อว่า “ทำไมคนไทยจึงเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้เรื่องสักที” เขียนเป็นตอน ๆ โดยบอกว่า
‘ลักชื่อเรื่อง’ มาจากงานประพันธ์ของ อ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ชื่อ “ทำไมคนไทยจึงเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้เรื่องสักที” ที่เขียนเป็นตอนลงในมติชนรายวัน (อ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ก็เรียนภาษามาจากวชิราวุธ วิทยาลัย เช่นเดียวกับผม แต่รุ่นหลังหลายปี) ในเอกสารภาพถ่ายที่ผมได้รับมา ไม่ได้ระบุวันที่ที่ตีพิมพ์ แต่เข้าใจว่าคงไม่กี่เดือนมานี้

คุณไมเคิล ไรท์ เขียนบทความ เป็นตอนๆ แล้วมีบทสรุปแต่ละตอน มีรวมด้วยกัน 6 ตอน ในตอนที่ 1 ซี่งใช้ชื่อว่า “ทำไมคนไทยจึงเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้เรื่องสักที (1) ปัญหาประวัติศาสตร์ชนชั้น ” และได้สรุปตอนที่ 1 เอาไว้ว่า

“ในเมื่อภาษาอังกฤษเข้ามาในฐานะภาษาการปกครองอาณานิคม และชนชั้นสยามสงวนไว้เป็นเครื่องประดับบารมี ก็ไม่แปลกที่คนไทยตาดำ ๆ หลายคนเห็นภาษาอังกฤษว่า ไม่ใช่เครื่องมือธรรมดาๆสำหรับทุกคน, หากเป็นของสูง,ของขลัง,ที่ตนเอื้อมไม่ถึง……..”

และเขียนไว้ในตอนที่ (2) โดยใช้ชื่อตอนว่า “ทำไมคนไทยจึงเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้เรื่องสักที (2) ร.6 และภาษาเสมียน” มีบทสรุปตอนนี้ว่า

“ในรัชกาลที่ 6 สังคมไทยได้เปลี่ยนไปบ้าง และระบบการศึกษาได้ขยายตัวมาก (ทั้งโรงเรียนรัฐและโรงเรียนคริสต์) แต่ภาษาอังกฤษยังดำรงตำแหน่งพิเศษ,เป็นของสูงที่คนชั้นบ่าวไพร่เอื้อมถึงได้ ยาก น่าเห็นใจนักเรียนไทย (ที่ไม่ใช่อภิสิทธิ์ชน) ถูกระบบการศึกษากั้นไม่ให้คนปัญญาดีๆ เข้าใจภาษาซึ่งเป็นกุญแจของโลกสมัยใหม่ได้โดยง่าย….”
ตรงนี้เป็นความคิดเห็นของคุณไมเคิล ไรท์ แต่มุมมองของผมในเรื่องนี้แตกต่างออกไป เพราะผมกลับเห็นว่า

ภาษาอังกฤษนั้น เพิ่งถูกนำเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 และคนไทยบางคนเริ่มการศึกษา รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังทรงผนวชก็ได้เรียนภาษาลาตินจากบาทหลวงปาลกัว และเมื่อรัชกาลที่ 3 ไม่ทรงโปรดในการที่ท่านบาทหลวงปาลกัว คบหาสมาคมกับรัชกาลที่ 4 ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังครองเพศบรรพชิตอยู่ ได้ผู้ที่ถวายการสอนภาษาอังกฤษเป็นเหล่าศาสนทูตชาวอเมริกัน ทำให้ทรงเริ่มสนใจศึกษาภาษาอังกฤษ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสายพระเนตรยาวไกล ทรงตระหนักว่าการรู้ภาษาอื่น นอกจากภาษาไทย เป็นความจำเป็น โดยเฉพาะภาษาของชาติที่กำลังมีอำนาจ

เมื่อพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ มีการสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง โดยพระราชโอรสและพระราชธิดาได้รับการถวายการสอนจากชาวต่างประเทศ
คนอังกฤษอย่างแหม่ม แอนนา ลีโอโนเวนส์ ที่เขียนเรื่องราวของเธอไว้และต่อมา มากาเร็ต แลนดอน ก็เอามาแต่งเป็นเรื่อง แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า
มร.มัตตูน กับภริยา ผู้สอนศาสนา เพรสไบทีเรียน เล่าให้เธอฟังว่า เคยสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง โดยระบุว่า

"เราได้รับเชิญจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอง ให้ไปสอนภาษาอังกฤษพวกผู้หญิงในวังนั่นเป็นราว ๆ ปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ คือปีพ.ศ.๒๓๙๔.....”

บทบาทในการเผยแพร่ภาษาอังกฤษในประเทศไทยนั้น ผมฟันธงลงไปได้เลยว่า
บรรดาศาสนทูตชาวอเมริกัน ในศาสนาโปรเตสแตนท์ มีส่วนสำคัญมากในการเผยแพร่ภาษาอังกฤษ จะมากกว่าฝ่ายคาทอลิกเสียด้วยซ้าไป เพราะศาสนาคาทอลิคที่มาเผยแพร่ในประเทศไทย ภาษาลาติน ฝรั่งเศส น่าจะเป็นภาษาหลัก และบรรดาเหล่าภราดาและแม่ชีหรือมาแมร์ส่วนใหญ่ ล้วนมาจากยุโรปแทบทั้งสิ้น ส่วนภาษาอังกฤษนั้นมีความสำคัญในลำดับรองลงมา
ในโรงเรียนที่ดำเนินการโดยเหล่านักบวช อย่างอัสสัมชัญ มาแตร์เดอี (รวมทั้งโรงเรียนในเครือ) ถ้าเราลองไปดูในประวัติ ก็จะเห็นได้ว่ามีการเรียนควบทั้งสองภาษา(นอกจากภาษาไทย) คือภาษาฝรั่งเศส มีอังกฤษ เป็นภาษารอง ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งโรงเรียนมา
สำหรับศาสนทูตชาวอเมริกันนั้น ภาษาหลักที่ใช้ในโรงเรียนสตรีแห่งแรกของประเทศ คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง สืบมาจนถึงโรงเรียนวัฒนา นอกจากภาษาไทย คือภาษาอังกฤษ

มเป็นนักเรียนเก่า โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย (สมัย นั้นยังมีเด็กผู้ชายเรียนอนุบาล หรือ KG ย่อมาจาก Kindergarten พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน และในหลวงอานันท์ ก็เคยทรงศึกษาที่โรงเรียนนี้) แม่ผมเรียนที่วัฒนา วิทยาลัย คุณยายเรียนที่ กุลสตรีวังหลัง เลยสนใจศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับทั้งสองโรงเรียนนี้เป็นอันมาก (ดูกาแฟขม…ขนมหวานตอนที่ 7 ที่ผมเขียนเกี่ยวกับวังหลังวัฒนาวิทยาลัย)
โรงเรียนวัฒนา วิทยาลัยนั้น ภาษาดีอังกฤษดีก็เพราะเริ่มจากครูชาวอเมริกัน ส่วนโรงเรียนมาแตร์ฯนั้น แม้ภาษาฝรั่งเศสจะมีความสำคัญมากในยุคต้น แต่ก็มีมาแมร์อเมริกัน ที่ทำให้การศึกษาภาษาอังกฤษของโรงเรียนนี้เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
หนังสือครบรอบมาแตร์เดอี ปีที่ 72 ค.ศ 2000 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับมาแมร์ คนหนึ่งซึ่งเป็นชาวอเมริกันคนสำคัญไว้ โดยคุณ มทนา ดวงรัตน์ ศิษย์เก่าคนหนึ่งเล่าเอาไว้ว่า

"เมื่อมาแมร์ทีโอดอร์มาประเทศไทยใหม่ ๆ ท่านอายุเพียง 25 ปี มีท่าทางเดินที่งามสง่าผ่าเผย ผิวแก้มแดงปลั่งเหมือนลูกท้อ เวลามาแมร์หัวเราะเราจะรู้สึกว่าโลกทั้งโลกจะเบิกบานตามเสียงหัวเราะของท่าน เวลาล่วงมา 50 ปี กว่าแล้ว แม้สีลูกท้อที่แก้มมาแมร์จะจางไปบ้าง แต่เสียงหัวเราะของมาแมร์ก็ยังเบิกบานแจ่มใสเหมือนเดิม" สดใส (อ.สดใส วานิชวัฒนา) เสริมว่า
".....ท่านเป็นผู้ริเริ่มการสอนภาษาอังกฤษแบบใหม่โดยใช้หนังสือ grammar และ รัดดิงบุคส์ ที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกา เป็นอะไรที่แปลกใหม่ ทันสมัย ไม่ต้องท่องจำ แต่เข้าใจ grammar โดยวิธีการกระจายประโยค หรือวิธีทำ diagram ดูเหมือนยากแต่ไม่ยากเท่าที่คิด ทราบมาว่านักเรียนมาแตร์หลายคนเมื่อไปเรียนต่อที่เมืองนอก กลับไปคะแนนระดับ Top ของชั้น ขนาดเด็กฝรั่งยังสู้ไม่ได้ "

ถึงตรงนี้อยากให้ท่านผู้อ่านลองค้นคว้าหลักฐานเพิ่มเติมดู จะเห็นได้ชัดว่า
ชาวอเมริกัน นั่นเอง ที่มีคุณูปการในการศึกษาภาษาอังกฤษในประเทศนี้ มากกว่าชาวต่างประเทศอื่น ๆ แม้แต่ชาวอังกฤษเจ้าของภาษา ซึ่งกลับมีบทบาทน้อยมากอย่างไม่น่าเชื่อเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในประเทศของเรา ส่วนใหญ่ชาวอังกฤษเข้ามาในฐานะครูที่ถูกจ้างให้เข้ามาสอนภาษา ไม่มีความผูกพันกับเมืองไทยมาก และก็ไม่ปรากฏว่า
มี ครูสัญชาติอังกฤษคนใดเลย ที่โดดเด่นทัดเทียมกับ แหม่มโคล์ แห่งวังหลัง-วัฒนา หรือคุณพ่อฮีแลร์ แห่งโรงเรียนอัสสัมชัญ แม้แต่เพียงคนเดียว!

นสมัย รัชกาลที่ 5 นั้น ระบบการศึกษาของประเทศเพิ่งเริ่มโดยแท้ การศึกษาระบบใหม่แบบการศึกษาที่มีระดับประถม มัธยม การขาดแคลนครูมีอยู่ทั่ว จนต้องมีการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู การศึกษาภาษาอังกฤษนั้น อาจกล่าวได้ว่า โรงเรียนกุลสตรีวังหลังเป็นแหล่งผลิตครูที่สำคัญ รวมทั้งครูภาษาอังกฤษด้วย

content/picdata/341/data/photo6.jpg

นอก จาการขาดแคลนครูแล้ว ยังแทบจะไม่มีตำรับตำราภาษาอังกฤษสำหรับใช้เล่าเรียนกันอีกด้วย แม้จะมีพจนานุกรมมาตั้งแต่สมัยหมอปลัดเล และของมิสเตอร์แมคฟาแลนด์ แต่กว่า คุณ ส.เสถบุตร จะพิมพ์พจนานุกรมไทย-อังกฤษ ซึ่งเป็นที่รู้จักก็เป็นปี พ.ศ. 2480 เข้าไปแล้ว ซึ่งก็ยังมีใช้กันอยู่ในวงจำกัด นักเรียนโรงเรียนชั้นนำในกรุงเทพพอจะได้เห็นกัน แต่ก็หาได้ยากในต่างจังหวัด กว่าจะแพร่หลายและมีใช้กันอย่างกว้างขวางกันอย่างกว้างขวาง เวลาก็ล่วงมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าไปแล้ว

เคยเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังว่า คุณยายของผมกับ หม่อมเจ้าหญิง พิจิตรจิราภา เทวกุล ครูสองท่านจากโรงเรียนราชินี ได้วุฒิ ปม.คือประโยคครูมัธยม คู่แรกของประเทศไทย จะเล่าเพิ่มอีกนิดหนึ่งว่า
เมื่อคุณยายของผมท่านจบการศึกษาจากโรงเรียนวังหลัง กระทรวงธรรมการจัดให้มีการสอบภาษาอังกฤษสอบกันระหว่างนักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งก็มีโรงเรียนสวนกุหลาบรวมอยู่ด้วย ท่านเข้าสอบแข่งขันด้วยในนามของโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ปรากฏว่าท่านสอบได้ที่ 1 และสอบได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มด้วย เป็นที่ฮือฮาในกรุงเทพมากในยุคนั้น
ในตอนนั้นเองคุณตาที่ของผมเพิ่งได้รับทุนเล่าเรียนหลวง ไปศึกษาที่สหรัฐ (เป็นนักศึกษาไทยคนแรกของมหาวิทยาลัยดาร์ธมัธ) ท่าน ก็ไปเรียนภาษาอังกฤษเสริม และเรียนรู้มารยาทของคนอเมริกันจากคุณยายของผมเพิ่มเติม เพราะคุณตาท่านเป็นลูกพ่อค้าจีนธรรมดา แต่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงเพราะเรียนเก่ง ทำให้ท่านรู้จักกัน และอีกนับสิบปีต่อมากว่าคุณตาผมจะเรียนสำเร็จ ถึงตอนนั้นคุณยายผมเป็นครูโรงเรียนราชินีทำหน้าที่ครูใหญ่แล้ว เมื่อคุณตากลับมาประเทศไทย ท่านจึงได้แต่งงานกัน
ตรงนี้อยากบอกว่า ทั้งคุณตาและคุณยายผมเป็นลูกชาวบ้านธรรมดา หรือเรียกง่าย ๆ ว่าชนชั้น “ไพร่” ก็มีโอกาสที่จะเรียนภาษาอังกฤษได้ ไม่มีเจ้านายที่ไหนมาคอยกีดคอยกัน
หากแต่ยังส่งเสริม ให้ได้เรียนอีกด้วย!

พูดแล้วทำนึกถึงหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ชื่อ “ความรัก-ชีวิตและงาน ของ ส่ง เทภาสิต ต้นแบบของ สันต์ เทวรักษ์” เขียน โดยคุณ ส.พลายน้อย นักเขียนที่ผมนับถืออย่างยิ่ง เพราะท่านเขียนหนังสือ ค้นคว้าเรื่องไทย ๆ ไว้เป็นสมบัติของชาติหลายเรื่องน่าสนใจทั้งสิ้น ท่านเขียนเล่าว่า

คุณส่ง เทภาสิต เป็นคนเมืองเพชรบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2442 เข้ามาเป็นนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ จบมัธยมแปดแล้วเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเดิม ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษา) เพราะตอนนั้นมีนโยบายที่จะส่งครูที่มีความรู้ดีไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ นายนอร์แมน ซัตตัน (Norman Sattan) อาจารย์ใหญ่ขณะนั้น เสนอชื่อให้กระทรวงธรรมการไป โดยมีหนังสือว่าเป็นผู้มีความรู้ ความประพฤติดี ท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี อ่านหนังสือรับรองของมิสเตอร์ซัตตันแล้ว มีบัญชาว่า
“นายส่ง เทภาษิต เป็นครูดี เป็นนักกีฬา แต่หลักฐานอ่อน รูปร่างแข็งแรงดี ให้ส่งไปเรียนต่างประเทศได้”
ท่านผู้อ่านคงจะสงสัยเหมือนผมตรง คำว่า หลักฐานอ่อน นั้น หมายความว่างอย่างไร ?
คำตอบในเรื่องนี้ไปปรากฎเอาตอนที่นายส่ง เทภาษิต ขออนุญาตกระทรวงธรรมการไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ท่านบันทึกความเห็นเอาไว้ว่า

“นายส่ง เทภาสิต เคยแต่งพงศาวดารและโคลงมาให้ดู ก็แสดงว่ามีวิสัย ข้อรังเกียจมี ๒ อย่าง คือแกเถนอย่างหนึ่งกับจนอย่างหนึ่ง ข้อต้นไม่เป็นไร เพราะถ้าแกเป็นนักปราชญ์เสียแล้วแกก็เถนได้ และเราก็ไม่ต้องใช้ในทางธุรการ ใช้แต่ทางวิชาของแก แต่ข้อหลังนั่นแหละจะขัดกับไปอยู่ออกซฟอร์ดเพียงใดบอกก็ไม่ถูก ได้เงินหลวงที่แกจะอยู่ได้อย่างครึๆ และแกก็เต็มใจจะทนเช่นนั้นก็ไม่ได้รังเกียจที่จะให้ไป”

ตรงนี้ผมต้องขอเรียนว่า
สมัยนั้น หลวงท่านจ่ายให้นักเรียนทุนที่ไปเรียนอังกฤษทั้งค่าเล่าเรียน และค่ากินอยู่ เพียงเดือนละ 150 ปอนด์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการอยู่อย่างประหยัดคือ “พอกิน” แต่ไม่ “พอโก้” อย่างนักเรียน Oxford (สมัยนั้น) ส่วนใหญ่ทางผู้ปกครองต้องส่งเงินไปช่วย แต่คุณส่ง เทภาสิต ท่านมาจากครอบครัวชาวต่างจังหวัดที่ยากจน มาอาศัยใบบุญของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านอยู่ในบ้าน “วิสุทธคาม” ซึ่งเป็นของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
(ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) อยู่ คำว่า “หลักฐานอ่อน” ก็คือ “ยากจน” หรือ “ฐานะไม่ดี” นั่นเอง
หากหลวงท่านจะกีดกั้นคนชั้น “ไพร่” แถมยังยากจนอย่างนายส่ง เทภาษิต ไม่มีโอกาสได้ไปเรียนอ๊อกซฟอร์ด หรอกครับ!
เรื่องระบบการศึกษาของไทยนั้น ก้าวไปได้ไม่เร็วนักเพราะประเทศเรานั้น ถ้าเป็นคนก็เรียกว่าหลักฐานอ่อน ก็ว่าได้!!

มัย ก่อน คนไทยที่อยู่ติดกับประเทศอาณานิคมคือมาลายูในตอนนั้น (หรือมาเลย์เซียในตอนนี้) จึงมักจะนิยมส่งลูกได้เรียนปีนัง เพื่อจะให้ได้ภาษาตรงนี้ก็มีหลักฐานอีกเหมือนกัน ลองดูซิครับ
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ (ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯเป็น ท่านผู้หญิง) ท่านให้สัมภาษณ์นิตยสารคุณหญิง ปักษ์หลังกรกฎาคม 2543 ว่า
เมื่อปี ค.ศ. 1953 หลังจากที่ท่านจบปริญญาโท จาก สหรัฐ เดินทางกลับเมืองไทย คุณหลวงพรหมโยธีขอให้ท่านไปสอนที่ภูเก็ต เพราะเพิ่งเปิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้นมา รัฐบาลไม่ต้องการให้ราษฎรทางภาคใต้ ต้องส่งลูกหลานข้ามไปเกาะปีนัง เพราะจะไปรับแนวคิดด้านอังกฤษมา
เห็นไหมครับ นี่แค่ 50 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง ยังไม่มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในจังหวัดสำคัญอย่างภูเก็ตเลย แล้วในสมัยรัชกาลที่ 5และรัชกาลที่ 6 จะไปเอาครูภาษาอังกฤษเก่ง ๆ มาจากไหนกัน ดังนั้นที่บอกว่าการศึกษาขยายตัวในสมัย ร.6 นั้น มีข้อจำกัดอยู่อย่างมาก มาถึงสมัยปัจจุบันนี้ ครูภาษาอังกฤษที่มีความสามารถในกรุงเทพยังหาไม่ได้ง่าย ยิ่งในต่างจังหวัดยิ่งไปกันใหญ่

นอกจากนั้นผมอยากตอบคุณ ไมเคิล ไร้ท ที่เขียนในบทความว่า

…เรามักจะได้ยินคนแก้ตัวเสมอ ๆ ว่า “ คนไทยพูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง เพราะไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร” คำแก้ตัวนี้น่าฟังอยู่มาก เพราะทำให้คนฟังโล่งใจ,สบายใจ,และภาคภูมิใจ

แต่เป็นความจริงหรือ ?
คำตอบผมก็คือ
จริงครับ! จริง…เพราะอะไรนั่นหรือ?

อดีตรัฐมนตรีศึกษาของมาเลย์เซียชื่อ นาย ตุน ราซัค เคยออกมาตอกย้ำว่า
คนที่มาอยู่ในวงการเทคโนโลยี ธุรกิจและการทูต ว่าต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ จึงจะสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี และท่านรัฐมนตรียังบอกอีกว่า หลังจากที่มาเลเซียเป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษแล้ว การศึกษาภาษาอังกฤษแย่ลงมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ จะต้องปรับปรุงการศึกษาภาษาอังกฤษเป็นการใหญ่ทีเดียว
นี่เห็นไหมครับ!
แสดงว่าตอนอังกฤษปกครอง ต้องเคี่ยวเข็ญชาวพื้นเมืองน่าดู ตามประสา
“ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส
เคียวเข็นเย็นค่ำร่ำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย”

คนมาเลย์จึงต้องเรียนภาษาอังกฤษให้แตกฉาน เพื่อให้สื่อสารกับเจ้าอาณานิคมได้ แต่เมื่อไม่มีเจ้าของภาษาอังกฤษคอยกดขี่แล้ว การเรียนภาษาอังกฤษก็ย่อหย่อนลง จนรัฐมนตรีที่เคยศึกษาเล่าเรียนเมื่อตัวยังเยาว์ ในขณะที่ประเทศของตนยังเป็นเมืองขึ้น ถึงกับออกปากกัน ผมเข้าใจเรื่องนี้ดี เพราะเคยศึกษาหลักสูตรผู้บริหารชั้นสูง ของกรมตำรวจในมาเลเซียด้วย

ผมอยากบอกคุณไมเคิล ไรท์ ว่า

พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีนั้น น้ำพระทัยกว้างขวางยิ่งนัก เมื่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน รัชกาลที่ 5 ทรงมีรับสั่งว่า
“เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ลงไปถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะได้มีโอกาสเล่าเรียนเสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้นขอบอกไว้ว่า
การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจัดขึ้น ให้เจริญขึ้นได้”

น้ำพระราชหฤทัยขนาด ‘ทาส’ ยังทรงเลิกเสียได้ แล้วจะทรงกีดกันเรื่องการศึกษาภาษาอังกฤษได้อย่างไรกัน ผมคิดไม่ออก
ยิ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงรักในการศึกษา น้ำพระราชหฤทัยกว้างขวาง จะไม่มีทางที่พระองค์จะทรงกดขี่ ไม่ยอมราษฎรของพระองค์พูดภาษาอังกฤษแบบที่ถูกต้อง อย่าง เดอะ คิงส์ อิงลิช อะไรที่คุณไมเคิล ไรท์ เขียนเอาไว้ว่า

…ไทยพึ่งเริ่มมีความแตกแยกและเหยียดหยามทางภาษาในยุคจักรวรรดินิยม (รัชกาลที่ 4-5-6-7) นั่นแน่ ๆ ขึ้นต้นโดยเอาเยี่ยงอย่างเจ้านายอังกฤษ ที่ยกย่องภาษาหลวงของผู้ดี (The King’s English) เพื่อเหยียดหยามและบังคับบัญชาสามัญชน (อังกฤษ) ที่พูดต่างกันตามท้องถิ่น เจ้านายสยามครั้ง ร.5-6 พูดจาและเขียนอย่าง The King’s English ดังที่ปรากฏในเอกสารของท่าน…

ตรงนี้อ่านแล้ว ผมรับไม่ได้เลยครับ!

ก็ภาษาอังกฤษเองนั้นมีสำเนียงมากมายขนาด George Bernard Shaw ยอดนักเขียนเลือดไอริชมือโนเบล ยังเอามาเขียนล้อไว้ในบทละครเรื่อง Pygmalion (ที่ต่อมากลายเป็นละครเพลงยิ่งใหญ่ My Fair Lady แล้วอาจารย์มัทนีรับมาดัดแปลงเป็น บุษบาริมทาง อีกต่อหนึ่ง) แต่ละสำเนียงนั้นจำกัดเฉพาะท้องถิ่น รู้เรื่องกันเองอยู่ในวงแคบๆ
ภาษาหลวงนั้น จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่อกลาง ทำให้ทุกคนเข้าใจกันได้!

อ้าว…ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราจะเสียเงินเสียทอง ส่งลูกหลานเราไปเรียนภาษาอังกฤษท้องถิ่น ซึ่งมีวงใช้จำกัดทำไมกันเล่าครับ!?
แปลกแท้ๆเชียว!!

ผมว่าคนไทยสมัยนั้นทำถูกแล้ว ที่เลือกไปเรียนสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อกลับมาจะได้ใช้ประโยชน์ที่สุด คุ้มค่าเงินที่ประเทศเล็กๆอย่างเราต้องเสียไป
ขอให้ข้อสังเกตว่า
พระเจ้าแผ่นดินของเรา ก็ไม่ได้นำการใช้ภาษามาเป็นเครื่อง “เหยียดหยามบังคับสามัญชน” ทำนอง “verbal class distinction” อย่างที่คุณไมเคิล ไรท์ บอกว่าเจ้าเมืองอังกฤษเขาทำกัน และพระเจ้าอยู่หัวของเมืองไทยทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ทรงตรัสภาษาไทยอย่างชาวบ้านธรรมดา ไม่ใช่...
King’s Thai!
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงรับสั่งด้วยภาษาเดียวกันกับพระราชบิดาคือรัชกาลที่ 5 ที่อ้างข้างต้น ซึ่งก็เป็นภาษาชาวบ้าน
ผมมีตัวอย่าง จะยกให้เห็น ดังนี้

ท่าน ศาสตราจารย์ พิมล กลกิจ อดีตอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น นักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัย ผู้ล่วงลับไปแล้ว เขียนไว้ในหนังสือ “เราจะตรองตรึกระลึกความครั้งกระโน้น” ของโรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัย ถึงพระบรมราโชวาทของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงสอนเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ความตอนหนึ่งว่า
…ข้า ต้องการให้เอ็งทุกคนเป็นสุภาพบุรุษ-เจนเทิลแมน ให้รู้จักคำว่า “ผู้ดี” ผู้ดีไม่ได้หมายถึงคนมีทรัพย์ ไม่ได้หมายถึงคนมีสกุล แต่หมายถึงคนที่ประพฤติปฏิบัติดี ทั้งกาย วาจา และที่สำคัญคือ ใจ ขอทานเขาก็เป็นผู้ดีได้ สุภาพบุรุษ-เจนเทิลแมน ก็เช่นเดียวกัน…

เห็นไหมครับว่า ภาษาที่ตรัสสอน ไม่เห็นมีท่าทีว่าจะเป็น “คิงส์ ไทย” ที่ไหนกัน และก็เป็นภาษาไทยแสนจะธรรมดาที่คนไทยอย่างเราๆท่านๆพูดกันทุกเมื่อเชื่อวัน
และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงที่มีน้ำพระราชหฤทัยกว้าง และลึกดุจมหาสมุทร เช่นนี้น่ะหรือ จะทรงกีดกั้นเพียงแค่การศึกษาภาษาอังกฤษกับราษฎรของพระองค์ได้ ?
ช่างน่าขันเสียจริงๆ !

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน เมื่อจะทรงมีรับสั่งกับราษฎร ก็ตรัสด้วยภาษาไทย ที่ประชาชนของพระองค์ใช้พูดกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันวัน ไม่ได้ทรงรับสั่งด้วยราชาศัพท์ ที่เป็นศัพท์ที่คนไทยที่เป็นนักปราชญ์ราชสำนัก ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติ ซึ่งเป็นถ้อยคำหรือคำพูด ที่ยกย่องฐานะของพระมหากษัตริย์ หรือใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์นุวงศ์เท่านั้น
เราจึงไม่ได้ยินเจ้านายตรัส ว่า

“วันนี้ให้รุ่มร้อนร้อนพระราชหฤทัยยิ่งนัก จำจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังตำหนักพระลูกยา เพื่อชักพาไปเที่ยวป่าพนาสนธ์ให้สำเริงสำราญพระะอารมณ์ชมชื่นด้วยกันทั้งสอง พระองค์… ”

เพราะถ้าอย่างนี้เป็นสำนวนที่ “ยี่เก” ใช้กันเท่านั้น ตัวอย่างที่พูดแบบนาฏดนตรีนี้ก็มีให้เห็น จากเรื่องที่เผยแพร่กัน ผมเลยลอกเอามาทั้งข้อความเป็นดังนี้

…..อีกครั้งหนึ่งที่ภาคอีสานเมื่อเสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมบนบ้านของราษฎรผู้ หนึ่งที่คณะผู้ตามเสด็จทั้งหลายออกแปลกใจในการกราบบังคมทูลที่คล่องแคล่วและ ใช้ราชาศัพท์ได้อย่างน่าฉงน
เมื่อในหลวงมีพระราชปฏิสันถารถึงการใช้ราชาศัพท์ได้ดีนี้ จึงมีคำกราบทูลว่า
"ข้าพระพุทธเจ้าเป็นโต้โผลิเกเก่า บัดนี้มีอายุมากจึงเลิกรามาทำนาทำสวน พระพุทธเจ้าข้า.."
มาถึงตอนสำคัญที่ทรงพบนกในกรงที่เลี้ยงไว้ที่ชานเรือน ก็ทรงตรัสถามว่าเป็นนกอะไรและมีกี่ตัว..พ่อลิเกเก่ากราบบังคมทูลว่า
"มีทั้งหมดสามตัว พระมเหสีมันบินหนีไป ทิ้งพระโอรสไว้สองตัว ตัวหนึ่งที่ยังเล็ก ตรัสอ้อแอ้อยู่เลย และทิ้งให้พระบิดาเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว" เรื่องนี้ดร.สุเมธเล่าว่าเป็นที่ต้องสะกดกลั้นหัวเราะกันทั้งคณะไม่ยกเว้น แม้ในหลวง…..

ระ วัติศาสตร์ชาติไทยนั้น เคยเจ็บช้ำในเรื่องฝรั่งมามาก พูดอย่างนี้ไม่ได้ฟื้นฝอยหาตะเข็บอะไรอีก เพราะเวลาก็ผ่านมานมนานแล้ว และโดยเฉพาะฝรั่งอังกฤษชาติเดียวกับคุณ ไมเคิล ไรท์ นี่แหละครับ ที่รวมหัวกับฝรั่งเศส รุมแทะแผ่นดินสยามเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 จนต้องยอมยกดินแดนให้ เพราะหากสู้ไปก็ต้องเสียหายมากมาย
ถึงอย่างนั้นชาติไทยของเราก็รอดมาได้ ไม่ต้องเป็นขี้ข้าเขา เลยไม่ถูกบังคับให้เรียนภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใช้ภาษาแม่ของคุณ
ไมเคิล ไรท์ เป็นภาษาของทางราชการ เหมือนประเทศเพื่อนบ้านของไทยเรา ซึ่งกำลังต้องปรับปรุงการเรียนภาษานายเก่ากันอีก เพราะ...
ไม่มีฝรั่งอังกฤษ คอยกดกระบาลแล้ว!

พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า ผมจะต่อต้านการเรียนภาษาอังกฤษ แต่เราต้องเรียนภาษาอังกฤษให้เข้มแข็งเอาไว้ เพราะเป็น ‘ภาษาเปิดโลก’ ออกไปสื่อสารกับคนในชาติอื่น และสำหรับศึกษาศิลปวิทยาการสมัยใหม่ อีกทั้งยังเป็นภาษาสำคัญต้องเรียนรู้เอาไว้เพื่อกันฝรั่งเอาเปรียบด้วย ซึ่งพระราชกระแสของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสสั่งเสียสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ไว้ก่อนเสด็จสวรรคต คงจะยืนยันได้ว่าทรงคาดการณ์ข้างหน้าในเรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจคนไทยเราได้ดี ดังปรากฏตามความดังนี้

“…การต่อไปภายหน้าเห็นแต่เอ็งจะรับราชการเป็นอธิบดีผู้ใหญ่ต่อไป การศึกข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีอีกแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีเขา การงานสิ่งใดของเขาทีดีควรจะร่ำเรียนเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว...."
(จากพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี -ขำ บุนนาค)

มอยากเรียนท่านผู้อ่าน ให้ทราบเพิ่มเติมทั่วกันว่า
เรื่องถูกฝรั่งรังแกนั้น คนไทยในสมัย รัชกาลที่ 5 ก็ได้แต่เก็บความช้ำชอกไว้ในหัวอก แต่แสดงออกมาไม่ได้ เพราะตอนนั้นฝรั่งอังกฤษเขาเป็นเจ้าโลก
แต่ถึงกระนั้น คนไทยก็ยังเก็บอาการไว้ไม่หมด ต้องหลุดออกมาทางปากเป็นสำนวนไทยทำนองประชดประชัน ว่า

“ผ่อนที่ให้ฝรั่ง…ผ่อนวังให้จระเข้!”

คือ ยอมเสียผืนแผ่นดิน ที่เป็นดินแดนส่วนน้อยให้ฝรั่งมันเอาไป เพื่อรักษาพื้นที่และประชาชนคนในชาติส่วนใหญ่เอาไว้ให้มั่นคงนั่นเอง คนสมัยนั้นเรียกว่า “ผ่อนที่” (ดินแดน) ให้กับฝรั่งผู้รุกราน เป็นการสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
เหมือน “ผ่อนวัง”หรือที่อยู่ของจระเข้ร้ายอย่าง “ชาละวันกุมภีล์” ให้อยู่อาศัย มันจะได้ไม่โผล่หัวออกมาทำร้าย ขบกัดชาวเรานั่นเอง

มาถึงยุคนี้ไม่มีใครกลัวใครแล้ว หากฝรั่งหน้าไหนดันทะลึ่ง มาหาเรื่องด่าคนไทย กระแนะกระแหนวิพากษ์วิจารณ์ ชอบพูดจาแขวะหรือผูกเรื่องอย่างมีอคติ ไม่เข้าท่า

คนไทยไม่ยอมแน่...จะบอกให้ !!

ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ

ทั้งหมดนั้น คือสิ่งที่ผมเขียนเอาไว้ หลายปีแล้ว แต่ที่นำมาเสนอวันนี้ เพราะภาษาอังกฤษ ได้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปแล้ว และสำหรับผม กลับเห็นว่า
การที่นายกฯปูพูดภาษาปะกิตผิดพลาดไปบ้าง ไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องโตอะไร
จนต้องออกมาแสดงอาการ ‘ฟูมฟาย’ กันมากมายปานนั้น!
จะเอาอะไรนักหนา ขนาด คุณบรรหาร ศิลปอาชา ไม่ พูดจาภาษาอังกฤษเลยแม้แต่คำเดียว แต่ก็เคยบริหารบ้านเมืองบนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ อย่างที่เห็นกัน มิหนำซ้ำยังคงกระพันชาตรี อยู่ในวงการเมืองจนทุกวันนี้
ไม่เห็นใครวิพากษ์วิจารณ์ ที่เถ้าแก่เติ้ง...ไม่สปี๊กอิงลิช!

การที่นายกฯปู พูดภาษาอังกฤษที่คลาดเคลื่อนนั้น แปลกตรงที่คนต่างชาติเขากลับไม่ถือสา ดูได้จากการที่สื่อต่างชาติไม่ได้นำเรื่องราวเหล่านี้มาเป็นประเด็นเลย แต่คนบางกลุ่มในบ้านเราแท้ๆ กลับเห่าหอนง่องๆแง่งๆ จะเป็นจะตาย ทั้งๆที่มีข้อพิสูจน์ ว่า

content/picdata/341/data/photo5.jpg

นายกฯปูยังพูดปะกิตผิดพลาด น้อยกว่าบุคคลสำคัญอื่น เช่น นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ด้วยซ้ำ
แต่...
ถึงแม้ว่าเลขาฯสหประชาชาติชาวเกาหลี พูดภาษาอังกฤษผิดๆถูกๆอย่างนั้น แต่ยังมีแนวโน้มชัดเจน ที่คุณ บัน คี มูน จะได้รับเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งอีกครั้งด้วยซ้ำ
เพราะ ‘ผลงาน’ ของเขานั่นเอง!

จึงอยากจะบอกไปถึง พวกไอ้ห้อยไอ้โหน ไอ้สื่อกาลี ‘ขี้อิจฉา’ ทั้งหลายว่า...

ให้พวกเอ็งเตรียม ‘อกหัก ซ้ำซาก’ กัน ได้เลย เห็นนายกฯปูพูดภาษาอังกฤษฟุดๆฟิตๆ อย่างนี้แหละ แต่เลือกตั้งคราวหน้า เธอจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ต่อไปอีกหนึ่งสมัย อย่างแน่นอน และ...
จะเป็นต่อๆไป อีกหลายสมัยด้วย!

ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะจนถึงวันนี้ ยังไม่มีไอ้หน้าไหน ในพรรคดักดาน จะหาญขึ้นมาเทียบ ‘บารมี’ กับนายกฯที่ใส่รองเท้าส้นสูงสองนิ้วครึ่งคนนี้ ได้เลยจริงๆ

ที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ก็มีแต่ไอ้พวกเหลือเดน ประเภท ‘กากตด’ ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น!!

ประชาชนเขาไม่เลือก ไอ้พวกเวรตะไล ให้มาทำร้ายบ้านเมืองที่รักของเราอีกแล้ว!!!

โชคดีปีใหม่ครับ
ด้วยความเคารพ

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

…………………….

( ***บทความประจำสัปดาห์ ตอน ภาษาอังกฤษของนายกฯปู...อะไรกันนักกันหนา! ออนไลน์ วันเสาร์ ที่ 31 ธันวาคม 2554)