ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 11 January 2012

“เพราะรัก” เสียงจากเหยื่อการสลายการชุมนุมเสื้อแดง เมษายน 53

ที่มา ประชาไท

กลุ่ม Redfam Fund เดินทางไปอัมพวา เพื่อเยี่ยมสมจิตต์ เปรมวงษ์ และ ประชา ศรีคุณ คนขับแท็กซี่ที่เจ็บป่วยเรื้อรังเนื่องจากแก๊สน้ำตา ในการสลายการชุมนุม 10 เม.ย. 53

“รัก” คำสั้นๆ คำเดียวที่ทำให้เราได้เห็น ว่าชีวิตของพวกเขา 3 คน เดินมาถึงจุดนี้ในวันนี้ได้อย่างไร

เพราะภาพและข้อความของ จิตตรา คชเดช [1] ที่ กึ๋ย รักพี่ต้องหนีพ่อ เสื้อแดงแกนนอน เอามาแชร์ใน FB พร้อมตั้งคำถามง่ายๆ ว่า “เราจะทำอะไรได้มากกว่าแชร์” ทำให้เรา Redfam Fund [2] ได้ออกไปพบเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน คือ 1 คุณลุง และ 2 คุณป้า ที่อัมพวา [3] พื้นที่ที่ว่ากันว่าเป็นถิ่นที่ของคนเสื้อเหลือง และ ส.ส.ดาวเด่นของสภาปี 55

แรกเจอ

เที่ยงวันเสาร์ที่ 7 มกราคม ป้าสมจิตต์ เปรมวงษ์ ยืนรอเราที่หน้าร้าน “อัมพวาตามสั่ง” ร้านอาหารเพิงหมาแหงนเล็กๆ ข้างสถานีตำรวจอัมพวา ตามที่นัดหมายซึ่งจิตตราช่วยประสานให้วันก่อน แล้วเธอก็พาเราไปที่โรงพยาบาลนภาลัย อ.อัมพวา ทันที

ที่นั่น ป้าจิตตรา ศรีคูณ นั่งเฝ้าสามีที่สมองไม่รับรู้อะไร[4] ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันของเธอตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา

ประชา ศรีคุณ อายุ 61 ปี ผิวสีขาวซีด นอนเอียงข้างโดยมีหมอนหนุนขาและสะโพกเอาไว้ ทั้งตัว มีเพียงแขนข้างขวาที่ยังมีความรู้สึกและขยับมือเคลื่อนไหวได้ แต่มักใช้ดึงสายยางให้อาหารที่ต่อไว้ที่จมูก พยาบาลจึงใช้อุปกรณ์ดัดแปลงจาก ขวดน้ำเกลือครอบไว้ ดวงตาที่มองมายังเราผู้แปลกหน้านั้นไร้ความรู้สึกตอบสนองใดๆ

ป่วยเรื้อรังจากแก๊สน้ำตา

ก่อนหน้านั้นลุงประชาขับรถแท็กซี่อยู่ในกรุงเทพฯ และป้าจิตตรามีร้านขายอาหารตามสั่งร้านเล็ก ๆ ลุงเคยมีรายได้ดี สมัยที่การท่องเที่ยวคึกคัก ทั้งยังเคยเข้าไปคุยกับนายกฯทักษิณสมัยที่ท่านขอพบคนขับแท็กซี่ แต่หลังจากเกิดรัฐประหารทุกอย่างก็ย่ำแย่ลง เมื่อการทำมาหากินฝืดเคืองป้าจิตตราก็เริ่มขยับกลับมาเช่าห้องที่อัมพวาและ ปรับปรุงเพิงร้านเก่า ๆ ที่หน้าสถานีตำรวจซึ่งครอบครัวเคยใช้ประโยชน์มานาน 15 ปี และไม่นานต่อมาลุงก็เลิกขับแท็กซี่และย้ายตามกลับมา

พอเริ่มมีการชุมนุม นปก. ตั้งแต่ 19 กันยายน 49 ลุงและป้า และป้าสมจิตต์ก็เข้าร่วมด้วยเสมอเพราะว่าเห็นว่ามีความไม่ถูกต้องและความไม่ ยุติธรรมเกิดขึ้น แม้จะกลับมาอยู่อัมพวาแต่ทั้งลุงและป้าก็ยังไปร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และบ่อยครั้งที่ลุงแอบไปร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ทั้ง ๆ ที่มีเงินติดตัวไม่กี่สิบบาท

วันที่ 10 เมษายน 53 ที่มีการสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา ลุงประชาและป้าสมจิตต์อยู่ในที่ชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน ทั้งคู่ถูกแก๊สน้ำตา และสัมผัสอาการปวดแสบปวดร้อนตามเนื้อตัวไม่ต่างจากคนอื่น

“ตอนอยู่ ที่ราชดำเนิน น้องชายเราเป็นตำรวจ บอกว่าให้เรากลับ ฝ่ายนั้นเขาเตรียมไว้แล้วจะสลาย แต่เราก็ไม่กลับ กลับได้ไง ไม่ชนะเราไม่กลับ มาถึงขั้นนี้แล้ว” ป้าสมจิตต์กล่าวด้วยใจนักเลง

วันรุ่งขึ้นป้าสมจิตต์ส่งลุงประชากลับบ้านที่อัมพวาให้ไปพักผ่อนเพราะ เกรงว่า โรคภูมิแพ้ที่เป็นโรคประจำตัวจะกำเริบ แต่แล้ว ตีหนึ่งของวันที่ 12 เมษายน ลุงมีอาการชักและหมดสติ ป้าจิตตราซึ่งอยู่กับลุงเพียงลำพังจึงต้องเรียกรถฉุกเฉินของโรงพยาบาลแม่ กลองมารับเข้าห้องไอซียู

ลุงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแม่กลอง 2 เดือน โดยที่ทางโรงพยาบาลไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของลุงมากนัก นอกเสียจากจะบอกให้มารับลุงกลับกลับไปดูแลเองที่บ้านและให้เตรียมใจรับ สภาพ... อีก 1 เดือนถัดมาลุงประชาก็ชักและเข้าโรงพยาบาลด้วยรถฉุกเฉินอีกครั้ง และต่อมาทางโรงพยาบาลแม่กลองก็ส่งตัวลุงมาโรงพยาบาลที่อัมพวา

“ตอนที่เอาลุง เข้าโรงพยาบาลตอนแรกไม่ได้บอกเขาว่าเราเป็นเสื้อแดง เพราะที่นี่เป็นที่ของคนเสื้อเหลืองกันทั้งจังหวัด จนกระทั่งลุงป่วยนานถึง 7 เดือนแล้วจึงค่อยทำเรื่องแจ้งไปยัง นปช. ที่เขาเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ได้เงินมา 10,000 บาทหลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไรอีก เราก็ดูแลกันเองมาโดยตลอด 20 เดือนแล้ว” ป้าสมจิตต์กล่าว

หลังจากที่ส่งเรื่องร้องเรียนกับศูนย์ฯ แล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้จ่ายค่าดูแลให้กับลุงประชาอีกวันละ 200 บาท เป็นเวลา 365 วัน และค่าชดเชยความเสียหายอื่นๆ อีก 30,000 บาท รวมทั้งสิ้น 103,000 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลของคนเสื้อแดง เงินช่วยเหลือในส่วนนี้ก็ขาดหายไป

ปัจจุบัน เนื่องจากต้องดูแลลุง และด้วยอาการปวดแข้งปวดขาของตนเองทำให้ป้าจิตตราไม่สามารถทำร้านอาหารต่อไป ได้ จึงให้พี่หมูน้องสาวทำแทน[5]

สู้เพื่อให้รู้ว่ารักทักษิณ

ก่อนหน้านี้ป้าสมจิตต์มีอาชีพค้าขายเสื้อผ้า ในช่วงการชุมนุมของคนเสื้อแดงเธอมีหน้าที่รวบรวมคนรักทักษิณในเขตคู้บอน 27 และมีกลุ่มเสื้อแดงแม่กลองซึ่งเป็นญาติพี่น้องมาร่วมสมทบ

“มันไม่ถูกต้อง อะไรๆ ที่ทางฝ่ายนี้ทำ ที่ทักษิณทำ ฝ่ายนั้นว่าทำผิดหมด มันไม่ยุติธรรมเลย เราเองก็เป็นลูกตำรวจน้ำดีเหมือนกัน เราก็ต้องออกไปสู้ เลือดตำรวจเหมือนกัน"

ป้าสมจิตต์ชื่นชมผลงานของรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค พี่สาวของเธอที่กลับมาจากต่างประเทศก็ใช้สิทธินี้ผ่าตัดรักษาโรคหัวใจ และโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลรักษาต่อเนื่องอย่างโรคภูมิแพ้และสะเก็ดเงิน ทุกวันนี้ลุงประชาเองก็รักษาด้วยสิทธิดังกล่าวด้วยเช่นกัน

หลังการชุมนุมปิดสนามบินของคนเสื้อเหลืองทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ การค้าขายของป้าสมจิตต์ก็ย่ำแย่ตามไปด้วย แต่นั่นยังไม่เท่ากับที่ทำให้นายกทักษิณฯผู้ที่ทั้งเธอ พี่สาว และพี่เขย รักและชื่นชอบไม่ได้กลับมาเมืองไทยอีก

“รักทักษิณมาก ฉันรักมาก ฉันสู้มาตลอด สู้เพื่อให้กลับมา” เสียงป้าจิตตราขาดหายเป็นห้วง ๆ ก่อนจะก้มลงซับน้ำตา

คำฝากจากคนรักทักษิณ นปช. และเพื่อนเสื้อแดงที่ยังถูกจำคุก

จนถึงวันนี้ป้าสมจิตต์รับภาระดูแลพี่สาวและพี่เขย ที่ผ่านมาเธอต้องวิ่งเต้นอย่างหนักเพื่อจะทำให้ลุงประชาได้รับการช่วยเหลือ เยียวยา แต่เงินที่ได้มาก็เป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ลุงเจ็บ ป่วย

ป้าสมจิตต์กล่าวซ้ำ ๆ ว่าอยากให้ลุงประชาได้รับการดูแลที่ดีกว่านี้ อยากให้มีคนมาช่วยดูแลกันบ้าง เพราะไม่รู้ว่าจะป่วยแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน

ความจริงเธอจะไม่อยากเรียกร้องอะไรมากเพราะเข้าใจดีว่าพี่น้องเสื้อแดงก็ ร่วม ต่อสู้ด้วยกันมา ไม่อยากกล่าวหาว่าร้ายเพราะเชื่อว่าแต่ละคนก็เต็มที่กันแล้ว และพวกเธอก็ยอมเสียสละไปร่วมต่อสู้กันเองจะเรียกร้องอะไรก็คงไม่เหมาะไม่ควร แต่เธอก็รู้สึกไม่ค่อยชอบใจเมื่อไปศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาฯแล้วถูกทำให้มี ลักษณะเหมือนขอทาน

ป้าสมจิตต์และป้าจิตตราฝากบอกถึงรัฐบาล ชุดนี้ว่าปัญหาใหญ่ๆ อย่างน้ำท่วมผ่านไปแล้ว พวกเธอจึงอยากให้รัฐบาลที่มาจากคนเสื้อแดงได้หันมาช่วยเหลือดูแลสองพันกว่า คนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 ได้แล้ว ทั้งยังจะต้องตามเรื่องการสะสางหาผู้รับผิดชอบต่อคนที่เสียชีวิตจากการสลาย การชุมนุมทั้ง 91 ศพ

การเฝ้าติดตามข่าวสารของพี่น้องเสื้อแดงจากเอเชียอัพเดท ทำให้ป้าสมจิตต์และป้าจิตตราทราบข่าวทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้ต้องขัง เสื้อแดง น้องก้านธูป คุณสมยศ ฯลฯ ทั้งสองคนรู้สึกเห็นใจทั้งฝากความห่วงใยและกำลังใจไปถึงทุกคน และอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือพวกเขา และพี่น้องเสื้อแดงที่ยังถูกจับกุมคุมขังอยู่ได้รับอิสรภาพด้วย

ส่วนป้าจิตตรานั้น ถึงตอนนี้ หวังเพียงแค่อยากให้ทักษิณรับรู้เรื่องของลุงประชา ศรีคูณ คนที่ลุงกับป้าไปต่อสู้เพื่อให้ได้กลับมาประเทศไทย ว่ายังรักและเป็นห่วง แม้จะอยากให้กลับประเทศไทยโดยไวๆ แต่... ถ้ายังไม่ปลอดภัยก็ยังไม่ต้องกลับมา

ดูคลิปสัมภาษณ์ เพราะรัก (1) ลุงประชา-ป้าจิตตรา-ป้าสมจิต ความยาว:: ‎5:57

หมายเหตุ

[1]
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150458331067895&set=a.115714592894.102440.657712894&type=1

[2] Redfam Fund : กลุ่มผู้ช่วยเหลือญาติผู้ต้องหาคดีการเมือง จ.อุบลราชธานี และ จ.เชียงใหม่

[3] หลังจากการที่จิตตรา คชเดช พบกับพี่สมจิตโดยบังเอิญที่อัมพวา เมื่อ 2 มกราคม 55 ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ก็ไปเยี่ยมลุงประชาและป้าจิตตรา ศรีคูณ ในวันรุ่งขึ้น พร้อมเงินช่วยเหลือส่วนตัว 5,000 บาท แต่ที่มากกว่านั้นสำหรับป้าจิตตราคือกำลังใจที่ได้รับกับคนที่แกบอกว่ารัก มาก เหมือนลูกชายคนโต จนพี่สมจิตต้องปรามว่าอย่าดึงเขาลงมา

[4] สมทบทุนช่วยเหลือ ลุงประชา – ป้าจิตตรา ศรีคูณได้ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดแม่กลอง ชื่อบัญชี นางจิตตรา ศรีคูณ เลขที่บัญชี 709-012-764-8

[5] เพื่อนเสื้อแดงที่ไปเที่ยวอัมพวา แวะไปอุดหนุนและให้กำลังใจกันได้ที่ ร้านอัมพวาตามสั่ง ข้างสถานีตำรวจอัมพวาได้ทุกวัน ศุกร์ – เสาร์ – อาทิตย์