ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 29 January 2012

ข้ามไม่พ้น"ดีแต่พูด"? เปรียบเทียบ"ปู-มาร์ค" "2 เดือน" เทียบกับ "2 ปี"

ที่มา thaifreenews

โดย NuDang




เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้ หรือที่เรียกว่า" "ไฟใต้"" นั้น

พรรค ประชาธิปัตย์หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นโจมตีรัฐบาลเพื่อไทย หลังจากที่ประชุม ครม. วันที่ 10 มกราคม 2555 มีมติเห็นชอบให้ตั้งวงเงินงบประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ถึงพฤษภาคม 2553 สูงสุดรายละ 7,750,000 บาท

กล่าวกันว่า 2,000 ล้านบาทเป็นเพียง 1 ใน 3 ของเงินที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ใช้ปราบปรามม็อบเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน

กระนั้นก็ตาม ประชาธิปัตย์ไม่เพียงไม่ตระหนักถึงความรับผิดชอบดังกล่าว

เมื่อ รัฐบาลเพื่อไทยประกาศนโยบายสร้างความปรองดอง และลงมือปฏิบัติเป็นรูปธรรมที่จะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทาง การเมือง ครอบคลุมคนทุกกลุ่มทุกสี

ประชาธิปัตย์ทางหนึ่งได้ยื่นระงับยับยั้งแผนเยียวยาดังกล่าวต่อศาลปกครอง

ทางหนึ่งระดมนักพูดฝีปากกล้าประสานเข้ากับ ส.ว.บางกลุ่ม เรียกร้องให้เยียวยาไปไกลถึงเหตุการณ์เดือนตุลาคมปี 2516 และ 2519

ทางหนึ่งยื่นกระทู้ถามในสภาว่า เหตุใดรัฐบาลไม่เยียวยาประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้

ถึง ขนาดขุดเอา ""จ่าเพียร"" พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา อดีต ผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา ขึ้นมาอ้างว่าได้รับเงินชดเชยน้อยกว่า" "ม็อบเสื้อสี" "เสียด้วยซ้ำ

โดย ไม่ทันคิดว่าจะเกิดคำถามย้อนกลับมาทิ่มแทงตนเองว่า ช่วง" "รัฐบาลอภิสิทธิ์" "ครองอำนาจนาน 2 ปีครึ่งได้กระทำในสิ่งที่ตนเองเรียกร้องเอากับ ""รัฐบาลยิ่งลักษณ์"" อย่างไรหรือไม่

กรณี ""จ่าเพียร"" ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการโยกย้าย กระทั่งเสียชีวิตจากเหตุลอบวางระเบิดในที่สุด ก็เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์

การเยียวยาครอบครัว"จ่าเพียร"ที่ว่าน้อยนั้น ก็เป็นฝีมือของรัฐบาลประชาธิปัตย์



อย่างไรก็ตาม ที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์เกิดอาการนะจังงังก็คือ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เพียงสั่งการให้ทุกหน่วยงานยึดหลัก" "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"" อันเป็นแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาภาคใต้

แต่ ยังลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 197/2554 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 แต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ดังนี้

1.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ประธานกรรมการ 2.นายบัญฑูร สุภัควณิช เลขาธิการนายกฯ รองประธานกรรมการ

กรรมการ ประกอบด้วย 3.พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ 4.นายพระนาย สุวรรณรัฐ 5.นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ 6.ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ 7.พล.อ.ขวัญชาติ กล้าหาญ

8.รศ.โคทม อารียา 9.นายจิราพร บุนนาค 10.นายเจริญ หมะเห 11.นายถิรชัย วุฒิธรรม 12.น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ 13.ผศ.ปิยะ กิจถาวร 14.พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา

15.นางเมตตา กูนิง 16.รศ.รัตติยา สาและ 17.นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ 18.นายวรวีร์ มะกูดี 19.น.ส.ศุภวรรณ พึ่งรัศมี 20.พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว 21.นพ.อนันต์ชัย ไทยประทาน

22.นาง อังคณา นีละไพจิตร 23.นายอิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา 24.ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา 25.ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม

26.เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กรรมการและเลขานุการ 27.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการร่วม 28.นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

29.กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จำนวนไม่เกิน 3 คน ที่เลขาธิการ ศอ.บต. แต่งตั้ง



กําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบคือ

1.สำรวจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง จัดทำฐานข้อมูล และ/หรือศูนย์กลางข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบตั้งแต่วัน ที่ 1 มกราคม 2547 รวมทั้งความต้องการความช่วยเหลือเยียวยา โดยเฉพาะผู้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือการช่วยเหลือเยียวยาที่ดำเนินการไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือตามหลักสากล

2.จัด ให้มีเวทีสาธารณะ ประชุมกับผู้ได้รับผลกระทบและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังข้อมูลและความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการ

3.กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการเยียวยาเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

4.มอบ หมาย ศอ.บต. จังหวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

5.เสนอความเห็นต่อนายกฯ และ ครม. เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา การพัฒนาและการคุ้มครองสิทธิของประชาชน

6.แต่ง ตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อสำรวจ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความต้องการความช่วยเหลือเยียวยา จัดเวทีสาธารณะและประชุมรับฟังความคิดเห็นวิชาการ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ประชาสัมพันธ์และการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

7.เชิญผู้แทนหน่วยงานรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้จัดส่งเอกสารหรือขอข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา

8.วินิจฉัย คำร้องกรณีผู้ได้รับผลกระทบ ไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยา และคำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

9.จัดให้มีการประชุมร่วมกับคณะ ทูตประเทศมุสลิม คนไทยในประเทศมุสลิม ผู้แทนองค์dkiความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เสริมสร้างความร่วมมือและเผยแพร่ การเยียวยา สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามนโยบายรัฐบาล เพื่อให้ประชาชน รัฐบาลและประชาคมระหว่างประเทศ มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ไทยกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการดำเนินให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นายกฯ ลงนามคำสั่ง



พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ระบุการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟใต้นั้น เนื่องจากไม่เคยมีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินมาก่อน

รัฐบาลจึงมอบหมาย ศอ.บต. ดำเนินการโดยมีคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการเยียวยาฯ รวม 8 คณะ

1.คณะกรรมการยุทธศาสตร์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การประเมินผล และการเยียวยากรณีเฉพาะเหตุการณ์ ได้แก่

เห ตุการณ์กรือเซะ และสะบ้าย้อย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 เหตุการณ์ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เหตุการณ์ไอร์ปาแย กรณีถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีโรงเรียนตาดีกาและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ถูกปิด

2.คณะ อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นกรณีเฉพาะที่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยากรณีการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ใช้มาตรฐานเดียวกับเหตุการณ์ทางการเมือที่รัฐบาลมีมติเมื่อไม่นานนี้

3.คณะอนุกรรมการบูรณาการให้ความช่วยเหลือเด็กกำพร้า ผู้สูญเสียคู่ครองและผู้พิการ

4.คณะอนุกรรมการด้านการศาสนา การแพทย์ สาธารณสุข และการเยียวยาด้านจิตใจ

5.คณะอนุกรรมการเพื่อการเยียวยาด้านอาชีพ การศึกษาและการกีฬา

6.คณะอนุกรรมการการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน

7.คณะอนุกรรมการด้านการต่างประเทศและกิจการฮัจญ์

และ 8.คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบความเป็นธรรม การคุ้มครองสิทธิและการป้องกันภัยพิบัติฝ่ายพลเรือน

ขณะ ที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงการวางกรอบการชดเชยเยียวยาเหยื่อไฟใต้ ว่าอาจใช้กรอบเดียวกับกรณีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากความขัดแย้งทางการเมือง

ทั้ง หมดนี้หากดูจากคำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2554 นั่นหมายความว่ามีขึ้นภายหลังรัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศไม่ทันถึง 2 เดือนด้วยซ้ำ

ดังนั้น เมื่อเทียบกับ 2 ปีครึ่งของรัฐบาลประชาธิปัตย์

ก็ จะยิ่งเห็นถึงความเป็น"ผู้นำ"ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนว่า ใครคือผู้นำที่ถนัดลงมือทำ แต่ไม่ถนัดพูด ใครคือผู้นำที่ถนัดพูด แต่ไม่เคยลงมือทำ



..........




ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 27 ม.ค.-2ก.พ.2555