ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 19 December 2011

ข้อคิดจากเกตตีสเบิร์ก แอดเดรส (Gettysburg Address)

ที่มา Thai E-News



โดย สายสัมพันธ์
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔

ใน สถานการณ์บ้านเมืองของทุกวันนี้ที่ “รัฐบาลถูกเลือกมาจากประชาชน” แต่ “ยังไม่ได้เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” อย่างแท้จริง การมารำลึกถึงสุนทรพจน์ของประธานาธิปดีลินคอนล์ที่ให้ไว้ ณ เมืองเกตตีสเบิร์ก น่าจะเป็นสิ่งเหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะสุนทรพจฯนี้กล่าวถึงวลีอันสำคัญของประชาธิปไตย และอาจจะให้ข้อคิดบางประการแก่เราผู้ร่วมขบวนการแสวงหาประชาธิปไตยที่แท้ จริงได้ไม่มากก็น้อย

ในบรรดาสุนทรพจน์ทั้งหลายของ ประธานาธิบดีสหรัฐ สุนทรพจน์ “เกตตีสเบิร์ก แอดเดรส” ของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอนล์ เป็นสุนทรพจน์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุนทรพจน์ที่ดีที่สุด มีชื่อเสียงมากที่สุด และกินใจมากที่สุด ขนาดที่เด็กนักเรียนนักศึกษาจำกันขึ้นใจ

ลินคอนล์ได้กล่าวสุนทรพจนี้ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ย. คศ. ๑๘๖๓ เนื่องในโอกาสเปิดสุสานทหารแห่งชาติอันใหม่ที่เมืองเกตตีสเบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา สี่เดือนให้หลังการชนะศึกกับ “คอนเฟดเดอเรดท์” กองทัพฝ่ายใต้

ศึกครั้งนี้เป็นศึกสำคัญในบรรดาศึก สองพันกว่าครั้ง เพราะเป็นจุดเปลี่ยนจากการตั้งรับของฝ่ายเหนือมาเป็นฝ่ายรุก และเป็นตัวกำหนดให้เห็นว่าฝ่ายเหนือจะเป็นฝ่ายชนะในที่สุด

ภายใน ๓ วันของการทำศึก นับตั้งแต่วันที่ ๑-๓ ก.ค. ๑๘๖๓ มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่าย ๕๑,๐๐๐ คน เสียม้าศึก ๕,๐๐๐ ตัว

เป็นที่แปลกแต่จริงว่าสุนทรพจน์นี้สั้นมาก แค่ ๒๖๘ คำ ลินคอนล์ใช้เวลาปราศรัยไม่ถึงสามนาที

ที่ แปลกอีกประการหนึ่งของสุนทรพจน์นี้คือแทบไม่ได้กล่าวถึงเรื่องรูปธรรมความ กล้าหาญของทหารเหล่านั้นในการทำศึกครั้งนี้เลย จะกล่าวก็กล่าวอย่างสั้นๆ กว้างๆว่า What they did here (พวกเขาทำอะไรที่นี่)

คงเป็นเพราะลิ นคอนล์เห็นพลังของ “หลักการและเหตุผล” หรือ “ความคิด” อันเป็นสากลของมนุษย์กระมัง ที่เขานำเอา “หลักการและเหตุผล” ของ “บรรพบุรุษ” สมัยการต่อสู้เพื่ออิสรภาพมาเป็นหัวใจของสุนทรพจน์ รวมทั้งการโยงอดีตสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันสู่อนาคต

พลังอีกอันหนึ่งของ สุนทรพจน์นี้คือการเรียกร้อง “ความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมประหนึ่งคนครอบครัวเดียวกันกับผู้ที่จากไป” ของประชาชนทั้งหลายเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

“เก็ตตี้สเบอร์ก แอดเดรส” จะมีความงามกินใจแค่ไหน จะมีข้อคิดอย่างไร ขอเชิญผู้อ่านพิจารณาเองครับ

0 0 0 0 0

Four score and seven years ago our fathers brought forth on this continent, a new nation, conceived in Liberty, and dedicated to the proposition that all men are created equal.

เมื่อ แปดสิบเจ็ดปีที่แล้ว บรรพบุรุษของเราได้ให้กำเนิดประเทศใหม่บนทวีปนี้บนพื้นฐานของเสรีภาพและ อุทิศการสร้างชาติบนหลักการที่ว่ามวลมนุษย์ทั้งหลายมีความเสมอภาคเท่าเทียม กัน

Now we are engaged in a great civil war, testing whether that nation, or any nation so conceived and so dedicated, can long endure.

ณ ขณะนี้เราอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองอันสำคัญ ซึ่งกำลังทดสอบประเทศที่ว่านี้ หรือประเทศใดๆก็ตามที่กำเนิดบนพื้นฐานดังกล่าวนี้ จะสามารถดำรงค์อยู่ต่อไปได้หรือไม่

We are met on a great battle-field of that war. We have come to dedicate a portion of that field, as a final resting place for those who here gave their lives that that nation might live. It is altogether fitting and proper that we should do this.

เราได้มาพบ กันบนสนามรบอันสำคัญนี้ เพื่อมอบพื้นที่ส่วนหนึ่ง เป็นสถานพักพิงสุดท้ายของเหล่าวีรชนผู้สละแม้ชีวิตให้ประเทศนี้อยู่รอดต่อไป การนัดพบกันครั้งนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมสมควรยิ่ง

But, in a larger sense, we can not dedicate -- we can not consecrate -- we can not hallow -- this ground. The brave men, living and dead, who struggled here, have consecrated it, far above our poor power to add or detract.

แต่ ในภาพรวมที่ใหญ่กว่านี้ คือ เราไม่สามารถที่จะให้อะไร... เราไม่สามารถ “ปลุกเสกแบบไหน” ที่จะทำให้สถานที่นี้ “ศักดิ์สิทธิ์” กว่า“ความศักดิ์สิทธิ์” ของการเสียสละของเหล่าวีรชนผู้กล้าที่เสียชีวิตหรือยังมีชีวิตอยู่นี้ได้ มันเกินความสามารถอันน้อยนิดของเราที่จะแต่งเสริมเพิ่มเติม

The world will little note, nor long remember what we say here, but it can never forget what they did here.

ชาว โลกคงจะรู้น้อยมาก หรือถ้าจะรู้ คงจะจำสิ่งที่เราพูด ณ ที่นี้ไม่ได้ แต่ที่สำคัญสำหรับเรา เราจะต้องไม่ให้โลกนี้ลืมสิ่งที่วีรชนเหล่านี้ได้กระทำณ ที่นี้

It is for us the living, rather, to be dedicated here to the unfinished work which they who fought here have thus far so nobly advanced.

มันเป็นภาระกิจของเราผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ต้องอุทิศตนทำงานอย่างต่อเนื่อง งานอันทรงเกียรติที่ยังไม่สำเร็จของผู้กล้าต่อไป

It is rather for us to be here dedicated to the great task remaining before us -- that from these honored dead we take increased devotion to that cause for which they gave the last full measure of devotion -- that we here highly resolve that these dead shall not have died in vain -- that this nation, under God, shall have a new birth of freedom -- and that government of the people, by the people, for the people, shall not perish from the earth.

สมควร แล้วที่เราผู้มาชุมนุม ณ ที่นี้ ต้องทุ่มเทตนทำงานอันสำคัญที่อยู่เบื้องหน้าอย่างตั้งใจ เสมือนผู้วายชนม์อันทรงเกียรติทั้งหลายที่ยอมสละทุกอย่าง เราต้องค้ำประกันว่าการตายของเขาจะไม่ศูนย์เปล่า โดยตั้งปฎิธานว่า —ประเทศนี้บ้านเมืองนี้ ซึ่งอยู่ภายใต้พระผู้เป็นเจ้า จะต้องมีการเกิดใหม่ของเสรีภาพ—ที่รัฐอันเป็นของประชาชน-โดยประชาชน-เพื่อ ประชาชน จักไม่สูญหายตายจากไปในโลกนี้

0 0 0 0 0