โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 ธันวาคม 2554
วันว่างๆ มีเวลา ไทยอีนิวส์ ขอแนะนำอ่าน "เอกสารประวัติศาสตร์" ของ เวบไซด์นิติราษฎร์ ซึ่งมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย สำหรับผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพื่อทำความเข้าใจความวุ่นวายทางการเมืองแห่งปัจจุบันสมัย
พระราชบัญญิติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ๒๔๗๕
พระ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเก้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญิติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้
...
มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดจองประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
- - - - - - - - - -
ประกาศตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
เนื่อง ด้วยปรากฏว่า รัฐบาลอันมีจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้บริหารราชการแผ่นดิน ไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนทั้ง ทั้งไม่สามารถรักษาคสวามสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะนายทหารซึ่งมี จอมพล ...
- - - - - - - - - -
ประกาศคณะราษฏร
"ราษฎร ทั้งหลาย เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัติสืบจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่า กษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎร์ให้ร่มเย็ย แต่การก็หาได้เป็นไปจามที่คิดหวังไม่ ..." - คณะราษฎร
- - - - - - - - - -
คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง 1789
โดย ที่พิจารณาเห็นว่า ความเขลาเบาปัญญา ความหลงลืมหรือความละเลยเพิกเฉยต่อสิทธิประการต่าง ๆ ของมนุษย์นั้น เป็นสาเหตุแต่เพียงประการเดียวของความหายนะที่เกิดมีขึ้นแก่ส่วนรวมและของ ความฉ้อฉลที่เกิดมีขึ้นในรัฐบาลชุดต่าง ๆ บรรดาผู้แทนปวงชนชาวฝรั่งเศสซึ่งรวมตัวกันเป็นสภาแห่งชาติ จึงเห็นพ้องต้องกันในอันที่จะออกประกาศอย่างเป็นทางการซึ่งปฏิญญาว่าด้วย สิทธิทั้งหลายตามธรรมชาติอันมิอาจถ่ายโอนแก่กันได้และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของมนุษย์ เพื่อว่าเมื่อปฏิญญาฉบับนี้ได้ปรากฏแก่สมาชิกทั้งมวลอันประกอบกันขึ้นเป็น สังคมจงทุกคนแล้ว จะกระตุ้นให้สมาชิกเหล่านั้นได้ตระหนักอยู่เสมอถึงบรรดาสิทธิและหน้าที่ของ พวกเขา เพื่อว่าเมื่อพิจารณาถึงการกระทำ แห่งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจปกครองบริหาร ไม่ว่าจะในคราใดก็ตาม ประกอบกันเข้ากับวัตถุประสงค์แห่งสถาบันทางการเมืองทุกสถาบัน
- - - - - - - - - -
Beantwortung der Frage : Was ist Aufklärung? (1784)
"ความ รุ่งโรจน์ทางปัญญา ได้แก่ การที่มนุษย์สลัดตนออกมาเสียได้จากความไร้เดียงสาที่พันธนาการปัญญาญาณของตน เองไว้1 ความไร้เดียงสา (immaturity) ย่อมได้แก่ การขาดศักยภาพที่จะใช้ปัญญาญาณของตนเองได้ โดยไร้การชี้นำจากผู้อื่น ความไร้เดียงสาเช่นว่านี้เป็นดั่งพันธนาการ (self-imposed) ด้วยว่าสาเหตุความไร้เดียงสา (ของบุคคล) นั้นมิได้เกิดจากการขาดปัญญาความเข้าใจแต่อย่างใด แต่กลับมีสาเหตุมาจากการขาดความคิดพินิจที่หนักแน่นและความกล้าหาญที่จะใช้ ปัญญาญาณของตน โดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น Sapere Aude ! จงกล้าที่จะใช้ปัญญาญาณของตนด้วยตนเอง นี่แหละคำขวัญของความรุ่งโรจน์ทางปัญญา"
- - - - - - - - - -
พระราชนิยมเรื่องคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน
หมายเลขเอกสาร ม.๗ บ. ทับ ๑๐ รหัสเอกสาร บ ๑.๕ ทับ ๗๐ ชื่อชุด พระราชนิยมเรื่องคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน
"...อนึ่ง ทรงพระราชดำหริเห็นว่า เืมืองเราใช้วิธีปกครองอย่าง Dictatorship แต่ไม่ใช้วิธีการอื่น ๆ ของ Dictator กลับใช้ลักษณะของการ Democracy หลายอย่าง จึงเป็นการครึ่ง ๆ กลาง ๆ และยังไม่ตกลงใจกันจริง ๆ ว่าจะเอาอย่างไรด้วย..."
- - - - - - - - - -
เอกสารประวัติศาสตร์ : กรณีดร.หยุด แสงอุทัย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ
รวมเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้องในกรณีดร.หยุด แสงอุทัย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
บรรณานุกรม : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ก/ป๗/๒๔๙๙/มท.๑๙ [เอกสารเย็บเล่ม]. ประมวลข่าวเหตุการณ์สำคัญ เรื่องกรณี ดร.หยุด แสงอุทัย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (พ.ศ.๒๔๙๙).
- - - - - - - - - -
ร่างและพระราชกฤษฎีกาฉบับ ๑ ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม
สำหรับ "ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับ ๑ ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม" คงเคยผ่านสายตาของผู้ศึกษาสายประวัติศาสตร์การปกครอง และนักกฎหมายมหาชน เป็นต้น หลายสิบปีแล้ว แต่ "พระราชกฤษฎีกาฉบับ ๑ ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม" เป็นเอกสารที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพิ่งค้นพบตกสำรวจโดยยังไม่ได้ทำเป็นไมโครฟิล์ม ในโครงสร้างของตัวบทเป็นที่น่าวิเคราะห์วิจารณ์ในทางเนื้อหาเป็นอย่างยิ่ง.
- - - - - - - - - -
พระบรมราโชวาท เรื่องพระราชดำรัสสด ขัดต่อประเพณีการปกครอง
"...ขอ ยกตัวอย่างประเพณีที่ดีและไม่ดี ตามประเพณีการปกครองประเทศ โอวาทของพระมหากษัตริย์หรือพระราชดำรัสต้องเขียนเพื่อให้รัฐมนตรีรับสนอง แต่เดี๋ยวนี้ก็กำลังพูดไม่ใช่อ่าน เพราะว่าได้ทำตามประเพณีอันหนึ่งของคนไทยไม่สู้ดี คือ ทำเกินประเพณีฝรั่ง โอวาทนี้เพิ่งเตรียมเมื่อบ่าย ๒ โมงนี้เท่านั้นเอง ควรจะเตรียมมานานแล้ว แต่เห็นว่าไม่จำเป็น อาจจะไม่รู้เรื่องเท่าไรนัก นี่ตัวอย่างประเพณีที่ไม่ดีที่เราไม่ควรจะทำตาม..."
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๐๒ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓
- - - - - - - - - -
เอกสารประวัติศาสตร์ : ร่างรัฐธรรมนูญของรัชกาลที่ ๗ ฉบับพระยากัลยาณไมตรี- - - - - - - - - -
บันทึกส่วนตัวของ พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เรื่องรัฐธรรมนูญ (๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕)
"...อย่าประมาทอย่างรัฐบาลเก่าที่เสียรู้คณะราษฎร..."
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)
- - - - - - - - - -
เอกสารประวัติศาสตร์ : หนังสือพิมพ์สามสมัย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รัชกาลที่ ๖
เอกสาร ประวัติศาสตร์ฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่าการริเริ่มคดี ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั้น กษัตริย์ต้องอนุมัติกลั่นกรองเสียก่อน โดยดุลยพินิจวินิจฉัยว่าจะให้กระทรวงนครบาล ฟ้องบุคคลนั้นในความผิดฐานนั้นหรือไม่ มิใช่ว่าบุคคลทั่วไป สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีได้ตามอำเภอใจ
ผลของกรณีหมิ่นฯ ตามเอกสารนี้คือ สั่งปิดโรงพิมพ์ และภาคทัณฑ์โทษ ไว้ก่อน.
ดาวน์โหลดเอกสารฉบับนี้
บรรณานุกรม : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. มร ๖ บ/๓๙ . เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๖ เบ็ดเตล็ด. เรื่องหนังสือพิมพ์สามสมัยลงข่าวเรือพระที่นั่งเกยศิลาที่ช่องแสมสารใช้ถ้อย คำสำนวนหยาบช้า (๒-๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔).
- - - - - - - - - -
เอกสารประวัติศาสตร์ : คู่มือระบอบใหม่ (๒๔๗๗)
"ถ้า พระมหากษัตริย์ทรงแสดงพระราชดำริเปนการเปิดเผยประการใดแล้ว มหาชนย่อมมีสิทธิที่จะติชมได้ ถ้าเปนข้อราชการแผ่นดิน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว การติชมก็เปนการติชมเจ้าหน้าที่ แต่ถ้าไม่เปนการแผ่นดินแล้ว ไม่มีใครรับผิดชอบแทน เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ จึ่งไม่ทรงแสดงพระราชดำริเปนการเปิดเผยในข้อซึ่งจะเปนที่ทุ่มเถียงกันได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เคยพระราชทานพระบรมราโชวาทเปนที่จับใจมาหลายคราวแล้ว แต่ต่อไปภายหน้า ถ้าจะทรงปฏิบัติตามลัทธิรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องไม่พระราชทานในข้อซึ่งอาจเปนที่ทุ่มเถียงกันได้ เพราะว่าถ้าจะไม่ให้ออกความเห็นประการใดหรือให้ออกความเห็นแต่ในทางชมในพระ ราชดำรัสต่าง ๆ แล้ว จะเปนการขัดกับเสรีภาพของประชาชนมาตรา ๑๔" (คู่มือระบอบใหม่ , หน้า ๒๕ - ๒๖)
- - - - - - - - - -
[นิติสาส์น] ความหมายของคำว่า "รัฐ" โดย นายสายหยุด แสงอุทัย (๒๔๘๓)
บท ความนี้ได้รวบรวมความหมายของ "รัฐ" ตามที่ใช้อยู่ในที่ต่าง ๆ เป็นผลของการค้นคว้าของนายสายหยุด แสงอุทัย หรือ นายหยุด แสงอุทัย ในบทความนี้ หยุด ได้วิเคราะห์ว่า "รัฐ" ย่อมมีความหมายแตกต่างกันในการปกครองระบอบต่าง ๆ โดยใช้ฐานทางตำราของรัฐในระบอบนั้นๆ เป็นฐานในการพิจารณาโดยตรง สำหรับการเขียนบทความนี้ หยุด ได้อ้างอิงตำราต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมาก เราประมวลหัวข้อการนำเสนอของบทความ ความหมายของคำว่า "รัฐ" มีดังนี้ (๑) ประวัติคำว่า "รัฐ" , (๒) คำว่า "รัฐ" ในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช , (๓) คำว่า "รัฐ" ในการปกครองระบอบประชาธิปตัย , (๔) คำว่า "รัฐ" ในการปกครองระบอบโซเวียตรัสเซีย , (๕) คำว่า "รัฐ" ในการปกครองระบอบฟัสซิสม์ , (๖) รัฐในการปกครองระบอบแนชชั่นแนลโซเชียลลิสม์ , (๗) ชื่อของรัฐต่าง ๆ แบ่งเป็น ก.รัฐเด็ดขาด , ข.รัฐตำรวจ , ค.รัฐเสรีนิยม , ง.นิติรัฐ , จ.รัฐยุตติธรรม , ฉ.รัฐรอบด้าน , ช.รัฐที่มีผู้นำ , ซ.รัฐที่มีพรรคการเมืองคณะเดียว
- - - - - - - - - -
รัฐธรรมนูญคำกลอน - พระราชธรรมนิเทศ (๒๔๗๘)
หนังสือรัฐธรรมนูญคำกลอน เป็นงานวรรณกรรมในสมัยระบอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับ "เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ" (๒๔๗๕) โดยตรง
- - - - - - - - - -
คำอธิบายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.๒๔๗๕ (เรียงมาตรา)
"คำ อธิบายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.๒๔๗๕ (เรียงมาตรา)" ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารนิติสาส์น แผนกสามัญ ปีที่ ๕ เล่ม ๕ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๕ โดยไม่ปรากฎชื่อผู้เขียน เป็นการอธิบายข้อความสำคัญในบทกฎหมายที่เผยแพร่ในวารสารนิติสาส์น แผนกกฤษฎีกา ในคำอธิบายส่วนนี้ทั้งหมดไม่ปรากฎชื่อผู้เขียนแต่อย่างใด
ในด้านสำนวนการเขียนและวิธีอธิบายทางทฤษฎี สันนิษฐานว่า นายเดือน บุนนาค หรือนายไพโรจน์ ชัยนาม เป็นผู้จัดทำ
- - - - - - - - - -
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณียึดทรัพย์ทั้งหมดของสมเด็จพระปกเกล้าฯ[ภาคแรก]คำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีดำที่ ๑๙๗/๒๔๘๒ คดีแดงที่ ๒๗๘/๒๔๘๒ ความแพ่งระหว่าง กระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่๑ และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่๒ จำเลย
"จำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยดั่งคำฟ้องของโจทก์" [ความตอนหนึ่งของข้อเท็จจริงในคำพิพากษา]
- - - - - - - - - -
โทรเลขของพระราชชนนีศรีสังวาลย์ : กรณีกรมขุนชัยนาทฯต้องโทษก่อกบฏล้มล้างรัฐธรรมนูญ
"ได้ ทราบว่า กรมขุนชัยนาทถูกพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแทนที่จะลงโทษจำคุกไว้ตลอดชีวิต ขอท่านได้ช่วยพิจารณาว่า จะมีทางที่จะเนรเทศไปต่างประเทศเสียตลอดชีวิตได้หรือไม่ ถ้ามีทางเช่นนั้น หม่อมฉันจะรู้สึกเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ถ้าจำเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเซ็นหนังสือขอร้องมาโดยพระองค์เอง โดยให้ทราบโดยเร็วที่สุด"
สังวาลย์ มหิดล (Sangwal Mahidol) , วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๒ เวลา ๐๑.๒๕ นาฬิกา
- - - - - - - - - -
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ นายฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คมช.และพวก ฐานกบฎล้มล้างรัฐธรรมนูญฯ
คำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ ๓๔๙๔/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๗๘๔๑/๒๕๕๓ ระหว่าง เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร (โจทก์) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพวก (จำเลย)
"โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จนถึงวันฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ กระทำผิดกฎหมายด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บิดเบือนหรือบิดผันระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย..."
- - - - - - - - - -
ความเห็นในการวินิจฉัยคดีของนายกีรติฯในคดีจงใจยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จ
"ปัญหา ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้หรือไม่ เห็นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชน ศาลจึงต้องใช้อำนาจดังกล่าวเพื่อประชาชนอย่างสร้างสรรค์ในการวินิจฉัยคดี เพื่อให้เกิดผลในทางที่ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หากศาลไม่รับใช้ประชาชน ย่อมทำให้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกท้าทายและสั่นคลอน นอกจากนี้ศาลควรมีบทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายรวมถึงพันธะกรณีในการ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบและพันธะกรณีในการ ปกปักรักษาประชาธิปไตยด้วย การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบ ประชาธิปไตย กล่าวคือ การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ย่อมเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ของระบอบประชาธิปไตย หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติ หรือรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปัก รักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความ ฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ ร่ำไป ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ยืมมือกฎหมายเข้ามาจัดการสิ่งต่าง ๆ...ศาลจึงไม่อาจที่จะรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือ รัฐประหาร ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น"
ความเห็นในการวินิจฉัยคดีของ นายกีรติ กาญจนรินทร์ คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๙/๒๕๕๒
เรื่อง คำว่า "ราชการ" ควรเปลี่ยนศัพท์เป็น "รัฏฐการ" หรือ "รัฐการ"