ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 19 December 2011

สู้เพื่อเป้าหมาย ประชาธิปไตยสมบูรณ์ "ไม่ชนะไม่เลิก" แค่ไหน-อย่างไร?

ที่มา thaifreenews

โดย เสรีชน คนใต้

คอลัมน์ เปิดหน้าปล่อยการ์ด เขียนโดย อริน

ข้อเสนอ 6 ข้อ สร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ (ปรับปรุงครั้งที่ 4)

1. รัฐประชาธิปไตยที่แยกอำนาจอธิปไตย ออกเป็น 3 ส่วนอย่างเด็ดขาด บนหลักตรวจสอบและคานอำนาจ ในระบบ "งูกินหาง" หรืออธิบายแบบภาษารากหญ้า คือ "ข้าไล่เอ็ง เอ็งไล่มัน และมันไล่ข้า" ไม่ใช่แบบ "อำนาจอภิอธิปไตย" อันเรียกขานกันในรอบ 3 ปีมานี้ว่า "ตุลาการวิบัติ" และแทบจะดำรงคงอยู่ในลักษณะ "แตะต้องไม่ได้" ประการสำคัญที่สุด "ผู้แทนปวงชน" ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น โดย "สภาผู้แทนราษฎร" เลือกตั้งมาจากเขตการเลือกตั้งตามจำนวนประชากร และ "สภาผู้แทนจังหวัด" เลือกตั้งโดยตรงประกอบด้วยผู้แทนจังหวัดละ 2 คน ทำหน้าที่ "วุฒิสภา" แบบเดิม

2. สิทธิของประชาชนในการเลือกตั้ง ประการแรก "ประมุขฝ่ายบริหาร" หรือ "นายกรัฐมนตรี" โดยตรง และเป็นตำแหน่งที่อยู่บนหลักการที่ว่า ไม่สามารถดำเนินการอย่างอื่นในการถอดถอนได้ เว้นไว้เสียแต่ด้วยกระบวนการอันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในทำนองเดียวกับกระบวนการยื่นถอดถอน (impeachment) โดยสภาผู้แทนฯในสหรัฐอเมริกา และให้ "สภาผู้แทนจังหวัด" กับ "ศาลฎีกา" ดำเนินการพิจารณาถอดถอนร่วมกัน และประการที่สอง การเลือกตั้ง "ผู้ว่าราชการจังหวัด" โดยตรง และรับรองใน "สิทธิอัตวินิจฉัยทางประชาชาติ" โดยยึดหลักท้องถิ่นมีความแตกต่างจากส่วนกลาง ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

3. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ซึ่งเคยเสนอความคิดเห็นเบื้องต้น - ไม่ใช่ในฐานะนักกฎหมาย - ไว้ในบทความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน ความเห็น 3 ประการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม http://sameskyboard.com/index.php?showtopic=40257) โดยที่ผมเรียกร้องในประเด็นหลักถึง "ระบบกล่าวหา" ที่พิจารณาจาก "ผู้ต้องหาผิด จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์" ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่แทบไม่พบในอารยะประเทศและเป็นประชาธิปไตย อีกต่อไปแล้ว; ประเด็นถัดมา คือความเป็นไปได้ของการนำ "ระบบลูกขุน" มาใช้ในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้พิจารณาคดีที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการความเสมอภาคและหลักการ เสรีภาพ ด้วยการ "ลงคะแนนเสียง" อย่างเป็น "ประชาธิปไตย"; ประเด็นถัดมา การรับรอง "ประมุขฝ่ายตุลาการ" ที่ผ่าน "รัฐสภา"; และประเด็นสุดท้าย การนำ "ระบบศาลเดี่ยว" มาใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย ศาลชั้นต้น ศาลชั้นกลาง คือ "ศาลอุทธรณ์" และศาลสูง คือ "ศาลฎีกา" ทั้งนี้หมายความว่า "ศาลอื่น" ไม่มีอำนาจในการพิพากษาอรรถคดี

4. "องค์กรอิสระทั้งหมด" ต้องออกจากรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่ได้เป็นอำนาจอธิปไตย ไม่สามารถใช้อำนาจที่เป็นของปวงชนได้ตามเจตนารมณ์ประชาธิปไตย นั่นคือองค์การทางการเมืองการปกครองใด "ต้อง" เกิดขึ้นและดำเนินงานภายใต้การตรวจสอบได้โดยผู้แทนปวงชน

5. ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยอำนาจหน้าที่อขง "องคมนตรี" อยู่ใน รัฐธรรมนูญ โดยอาศัย "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน" ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475; "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม" ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 นั้น ปรากฏว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ปราศจาก "องคมนตรี" ทั้งนี้บทบัญญัติว่าด้วย "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" นั้นบัญญัติไว้ดังนี้

ในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน (ชั่วคราว)

มาตรา ๕ ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในพระนคร ให้คณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ใช้สิทธิแทน

รัฐธรรมนูญ 2475
มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ไซร้ ท่านให้สภาผู้แทนราษฎรยังมิได้ตั้งผู้ใด ท่านให้คณะรัฐมนตรีกระทำหน้าที่นั้นไปชั่วคราว

ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2489
มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ ให้รัฐสภาปรึกษากันตั้งขึ้นและในระหว่างที่รัฐสภายังมิได้ตั้งผู้ใด ให้สมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุดสามคน ประกอบเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว

นั่นคือ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (แห่งรัฐ) นั้น องค์กรทุกองค์กร รวมทั้งองค์กรที่ปฏิบัติพระราชภาระแทนพระองค์ ล้วนมาจากกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น

ทั้งนี้ใน ส่วน "องคมนตรี" นั้น เป็นพระราชอำนาจในพระองค์ ที่จะทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย เพื่อเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยหาได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เช่นในอดีตที่ประเทศสยามและหรือประเทศไทยในเวลาต่อมา มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศมาแล้วถึง 2 ฉบับ รวมทั้งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองอีก 1 ฉบับ โดยเป็นที่รับรองกันไม่เพียงในเฉพาะแวดวงรัฐศาสตร์ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเสียยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญในสมัยหลัง ซึ่งมักจะมีรากฐาน หรืออิงแนวคิดพื้นฐานมาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว 2490 ที่เกิดจากการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ที่นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม"

6. การประกาศไว้ใน "บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ" (ไม่ใช่เพียงใน "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" ที่อาจถูก "ฉีก" โดยการทำรัฐประหาร) ยืนยันอำนาจอธิปไตยที่ "เป็นของปวงชนชาวไทย" ซึ่งกินความไปถึง "รูปแบบ" และ "กระบวนการ" ทางการเมืองการปกครองทั้งมวลที่มีที่มาอยู่บนหลักการ "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" จึงสมควรให้มีบทบัญญัติที่อยู่เหนือ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" ให้ประชาชน "มีสิทธิเสรีภาพเต็มสมบูรณ์ ในอันที่จะลุกขึ้นต่อต้าน คัดค้านและตอบโต้ ทุกความพยายามในอันที่จะทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ทั้งนี้มีบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นการประกาศเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ให้การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย เป็นความผิดซึ่งประชาชนทุกคนสามารถกล่าวโทษและต่อต้านคัดค้านได้; นอกจากนี้ โดยหลักการประชาธิปไตยสมบูรณ์ ให้มีการรณรงค์ทั้งในและนอกสภา ในอันที่จะกำจัดอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง "คำสั่งทั้งหลายโดยการรัฐประหารซึ่งไม่ชอบด้วยหลักการประชาธิปไตย" ซึ่งได้แก่ "ประกาศคณะปฏิวัติ" และ/หรือ คำสั่งหรือประกาศอื่นใดในทำนองเดียวกัน

ถึงตรงนี้ เราควรต้องย้ำกับทุกคนทุกฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นรู้ดีอยู่แล้วว่า เลือกกี่ครั้งกี่ครั้งก็คนที่เอื้อประโยชน์รูปธรรมให้แก่ประชาชน ย่อมได้รับความสนับสนุนจากประชาชนผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอย่าง แน่นอน

คำถามคือ แล้ว "เรา" ประชาชนผู้ยืนอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย กับบุคลากรทางการเมืองในระบบ จะทำอย่างไร - เพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากอย่างเช่น... การรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) …หรือ การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

หลักประกันที่ว่านี้ มีเงื่อนไขที่ถึงพร้อม 2 ประการด้วยกัน คือ

1. การบัญญัติเป็นกฎหมายสูงสุด ที่ไม่อาจทำลายได้ และกฎหมายนั้นมีลักษณะเป็น "สัญญาประชาคม" นั่นคือ "รัฐธรรมนูญประชาชน ที่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์"

2. สำนึกประชาธิปไตยในหมู่ประชาชน ที่ก่อรูปและพัฒนาทั้งในด้านกว้างและระดับลึก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้าใจลึกซึ้งและยึดกุม ความหมายของวลีที่ว่า "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน"...

นั่นหมายความว่า... ถ้าเพียงแต่ได้อำนาจรัฐมาโดยผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สามารถมีหลักประกันที่จะพิทักษ์อำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เอาไว้ได้ ก็ป่วยการที่จะยืนยันถึงสิ่งที่เรียกกันว่า "ประชาธิปไตยกินได้"

พูด อย่างถึงที่สุด สำหรับ พ.ศ. นี้ คงไม่ใช่เรื่องยากเย็นแสนเข็นอีกต่อไป ที่จะทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในประเด็นอันเป็นหัวใจของ "การเมืองการปกครอง"

คำถามมีประการเดียว - ก็พวกเราที่ตระหนักรู้ในเหตุและปัจจัยของอุปสรรคในการสร้างประชาธิปไตยนั้น เอง - มีความเข้าใจและยึดกุมความสำคัญของ "อำนาจรัฐ" แค่ไหนมากกว่า

ด้วยภราดรภาพ
รุ่งโรจน์ 'อริน' วรรณศูทร
22 เมษายน 2554

Re:

(ปรับปรุงย่อย)

3. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ซึ่งเคยเสนอความคิดเห็นเบื้องต้น - ไม่ใช่ในฐานะนักกฎหมาย - ไว้ในบทความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน ความเห็น 3 ประการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม http://sameskyboard.com/index.php?showtopic=40257) โดยที่ผมเรียกร้องในประเด็นหลักถึง "ระบบกล่าวหา" ที่พิจารณาจาก "ผู้ต้องหาผิด จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์" ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่แทบไม่พบในอารยะประเทศและเป็นประชาธิปไตย อีกต่อไปแล้ว โดยยืนยันหลักการ "ผู้ต้องหาบริสุทธิ์ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ได้อย่างถ่องแท้ว่ามีความผิด"; ประเด็นถัดมา คือความเป็นไปได้ของการนำ "ระบบลูกขุน" มาใช้ในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้พิจารณาคดีที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการความเสมอภาคและหลักการ เสรีภาพ ด้วยการ "ลงคะแนนเสียง" อย่างเป็น "ประชาธิปไตย"; ประเด็นถัดมา การรับรอง "ประมุขฝ่ายตุลาการ" ที่ผ่าน "ฝ่ายนิติบัญญัติ" ด้วยการเสนอโดย "ฝ่ายบริหาร" ทั้งนี้เพื่อให้อำนาจตุลาการยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยอีก 2 อำนาจ; การนำ "ระบบศาลเดี่ยว" มาใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย ศาลชั้นต้น ศาลชั้นกลาง คือ "ศาลอุทธรณ์" และศาลสูง คือ "ศาลฎีกา" ทั้งนี้หมายความว่า "ศาลอื่น" ไม่มีอำนาจในการพิพากษาอรรถคดี; และบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดมี "สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมโดยเปิดเผย" และได้รับหลักประกันบรรดาที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้คดีรวมทั้งสิทธิในการได้ รับ "การปล่อยตัวชั่วคราว