ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 13 December 2011

ACT4DEM:ร่อนอีเมล์แถลงข่าว 10 ธันวาคม 2554 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ที่มา Thai E-News

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา Timeup Thailand
12 ธันวาคม 2554

หลัง จากเปิดรณรงค์ให้มีผู้ร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย ครม. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ยกเลิกมาตรา 112 และปล่อยนักโทษการเมืองและนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคน ร่วมทั้งยุติคดีความมาตรา 112 ทั้งหมด ผ่านไป 2 สัปดาห์ มีผู้ร่วมลงชื่อ 52 องค์กร และ 1,700 รายชื่อ

ACT4DEM ยังคงรณรงค์ให้ลงชื่อในข้อเรียกร้องต่อไป เพื่อจะส่งมอบให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ไม่สามารถมารับข้อเรียกร้องในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ได้ เพราะติดภาระกิจอันขาดมิได้อยู่"


10 ธันวาคม 2554

กระทู้ แรกที่ เห็นที่หน้าเฟสบุ๊ควันนี้ คือ โพสต์ของทนายอานนท์ นำภา "ปิดหู ปิดตา กันต่อไป ถุย. . " พร้อมภาพคลิปคำประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ถูกปิดโดย YouTube ด้วยข้อความ "เนื้อหานี้ใช้งานไม่ได้ในประเทศของคุณ เนื่องจากมีการขอให้ลบจากรัฐบาล"

ประกาศคณะราษฎร ที่ประกาศเปลี่ยนแปลงประเทศจาก "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช" มาสู่ "การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยสภาผู้แทนราษฎร(ประชาชน)" เป็นข้อความที่รัฐบาลขอลบ จะมีอะไรน่าสะเทือนใจในวันรัฐธรรมนูญไทยและวันสิทธิมนุษยชนสากล ยิ่งไปกว่าเรื่องนี้อีกหรือในวันนี้?

ตาม มาด้วยข่าวจากเมืองไทยว่าไม่สามารถยื่นหนังสือและข้อเรียกร้องยังนายก รัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ในงานวันรัฐธรรมนูญไทย ที่ลานพระรูป ร. 7 ได้ เนื่องจาก "พิธีรีตรองที่ไม่สมควรจะล่วงละเมิด . . " จึงได้มีการไปยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ที่สำนักเลขารัฐสภา เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

ส่วนข้อเรียก ร้องและเอกสารประกอบต่างๆ จะมีการพยายามนำยื่นต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าข้อเรียกร้องของประชาชนหลายพันคน จะนำส่งถึงมือนายกรัฐมนตรี

* * * * * * * * *

แถลงข่าว 10 ธันวาคม 2554

การรณรงค์เพื่อยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112) และให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองและนักโทษคดีหมิ่นฯ ในประเทศไทย

* * * * * * * * *

ใน วันที่ 10 ธันวาคม ได้มีความพยายามที่จะนำเสนอข้อเรียกร้องของกลุ่มแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยใน ประเทศไทย (ACT4DEM) ที่ให้มีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ​ (มาตรา 112) พร้อมด้วยฎีกาเพื่อขอให้ในหลวงยกเลิกมาตรา 112 ของคุณเจริญขัย แซ่ตั้ง รวมทั้งข้อเรียกร้องขององค์กรต่างๆ ที่เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และปล่อยตัวนักโทษการเมืองในประเทศไทย ต่อนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

วัน ที่ 10 ธันวาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนสากล และก็ตรงกันอย่างบังเอิญกับวันรัฐธรรมนูญของไทย ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าพระเจ้าอยู่หัว ได้ลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับแรกของประเทศไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตย (ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญอีก 16 ฉบับหลังจากนั้น!)

แม้ว่าจะ ถูกก่อกวนและเซ็นเซอร์อย่างหนักจากรัฐไทย แต่ก็มีผู้ร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้อง 52 องค์กร กับ 1,700 คน นับตั้งแต่ ACT4DEM เปิดให้สาธารณชนร่วมลงชื่อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 ทั้งนี้ ผู้ร่วมลงชื่อหลายคนเป็นที่รู้จักในสังคม ทั้งนักวิชาการ นักเขียน คนทำภาพยนตร์ นักเขียน สื่อมวลชน นักสหภาพแรงงาน และนักศึกษา ที่กล้ายืนหยัด ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย ที่ยังจำเป็นต้องใช้ความกล้าหาญกันอยู่มากในประเทศไทย

ข้อเรียกร้อง ของ ACT4DEM จะถูกนำเสนอพร้อมกับฎีกาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงโปรดให้ ทรงพิจารณายกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของคุณเจริญชัย แซ่ตั้งและคณะ และข้อเรียกร้องขององค์กรอื่นๆ รวมทั้งข้อเรียกร้องที่ ACT4DEM จัดทำเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เรียกร้องให้สหประชาชาติและนานาชาติกดดันให้รัฐบาลไทย ยุติการใช้กองกำลังทหารปราบปรามประชาชน ซึ่งได้ยื่นให้ ฯพณฯ บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติเมื่อเดือนตุลาคม 2553 แม้ว่าข้อเรียกร้องนี้จะถูกบล๊อคโดย ศอฉ. เกือบจะทันที แต่ก็ยังมีผู้ร่วมลงชื่อ 9,500 คน

เมื่อรวมจำนวนผู้ร่วม ลงชื่อในข้อเรียกร้องและฎีกาต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายหมิ่นฯ และให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่จะนำยื่นต่อรัฐบาลไทยในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ มีจำนวนรวมกันกว่า 14,000 คน

รัฐบาล ใหม่ของไทยไม่มีความจริงใจอย่างแท้จริงที่จะปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็น ในทางตรงกันข้าม กลับเพิ่มมาตรการเข้มงวดและรุนแรงมากยิ่งขึ้นในการควบคุมการใช้พื้นที่ใน อินเตอร์เนต และการตัดสินคดีีมาตรา 112 ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

รัฐบาล ยิ่งลักษณ์มุ่งหน้าเต็มที่เพื่อดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ตามคำแนะนำของทักษิณ และสนับสนุนการผูกขาดแนวนโยบายการจัดการน้ำของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ จะพูดอีกนัยยะหนึ่งก็ได้ว่าเพื่อหล่อเลี้ยงระบบคอรัปชั่นวิถีเดิมกับ อิฐ หิน ปูน ทราย ที่สร้างผลกำไรอย่างมหาศาลให้กับชนชั้นนำ

กระนั้นก็ตาม การไม่มีความเกรงกลัวในการเร่งดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล กลับไม่ได้ขยายครอบคลุมไปถึงประเด็นที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้มอบหมาย ให้กับรัฐบาลเข้ามาดำเนินการ: การเปิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, เสรีภาพสื่อ, เสรีภาพในการชุมนุมสมาคม, และเพื่อความยุติธรรมทางการเมือง รัฐบาลไทยบอกประชาชน เช่นเดียวกับรัฐบาลที่ผ่านมาว่า “เศรษฐกิจต้องมาก่อน” และไม่สามารถดูหรือจัดการเรื่องนี้ได้ในขณะนี้ และประชาชนจำต้องให้เวลากับรัฐบาล เป็นต้น

ชน ชั้น นำของไทยจินตนาการว่าประชาชนชาวไทยจะสามารถอดทน และยอมรับการโฆษณาชวนเชื่อว่า “Forgive and Forget (ให้อภัยและลืมมันเถอะ)” ไปได้อีกนานแค่ไหน ในขณะที่ผู้พิพากษาต่างก็็ดูกระตือรือร้นเหลือเกินที่จะพิพากษาชายสูงอายุ วัย 61 ปี เช่นอากง ให้เข้าไปอยู่ในห้องขังเป็นเวลา 20 ปี เพราะคิดว่ามีความคิดที่แตกต่างกับฝ่ายนิยมกษัตริย์?

ประชาชน ชาวไทยจะต้องเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งอีกกี่ครั้ง ก่อนที่จะได้รัฐบาลที่มีความกล้าหาญพอที่จะดำเนินนโยบายที่มุ่งประโยชน์สุข ของประชาชนเป็นอันดับแรก?

ถ้า ประเทศไทยจะมุ่งหน้าสู่อนาคตอย่างยั่งยืนและสันติสุข ความสับสนทางการเมืองในปัจจุบันจะต้องถูกปลดล๊อคและการคลายน๊อตจะต้องเริ่ม ด้วยการยกเลิกมาตรา 112 เพื่อให้ประชาชนร่วมนำเสนอข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาชาติโดยไม่ต้อง เสี่ยงกับการถูกสังหาร ส่งเข้าคุก หรือคุกคามจากฟากรอยัลลิสต์ ราวกับว่าประเทศไทยยังอยู่ในยุคกลางสมัยโบราณเช่นนี้

ราช อาณาจักร ไทยไม่สามารถแสดงได้อย่างเปิดเผยว่าปฏิเสธเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และไม่สามารถปิดกั้นการรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 อย่างเปิดเผยได้

แต่ นับตั้งแต่เปิดตัวข้อเรียกร้องให้มีผู้ร่วมลงชื่อเมื่อร่วมสองสัปดาห์ ที่ผ่านมา รัฐไทยได้พยายามที่จะปิดกั้นการลงชื่อ ทั้งการก่อกวนเวบไซด์ที่โพสต์ข้อเรียกร้องในหลายๆ กรณี ไฟล์ข้อมูล “60 ปีแห่งการคุกคามสิทธิและเสรีภาพ ในประเทศไทย” ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาผู้เสียชีวิต 11,135 คน เพราะแนวนโยบายการเมืองไทยนับตั้งแต่ปี 2490 ที่อยู่ใน ‘4Share’ ถูกลบ อีเมล์ savethailand@gmai.com ถูก google ล๊อค และจนบันนี้ก็ยังไม่ยอมปลดล๊อค อาจบางทีเราต้องถาม Google ว่าด้วยเหตุผลใด จะตอบมาว่าอย่างไร?

กระทรวง ICT ได้พยายามเจรจากับ Google, Facebook, Youtube เป็นเวลา 5 เดือนมาแล้ว เพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบว่าควรจะลบข้อความอะไรที่เป็นข้อความที่หมิ่นฯ ที่กระทรวง ICT พิจารณาว่า “ไม่เหมาะสม”

เราหวังว่า Google, Facebook และ Youtube จะรู้วิธีการจัดการกับวิถีชนชั้นสูงของไทย?

ประชาชน ใน ประเทศไทย ยังคงไม่กล้าพูดในสิ่งที่คิดและรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา และความกลัวก็เป็นสิ่งที่จริง สำหรับคนไทย วิธีการที่พวกเขาจะแสดงความรู้สึกนึกคิดอย่างตรงไปตรงมา ก็ต้องทำใต้ดิน และภายใต้การใช้นามแฝง

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการเลือกตั้งมาบริหารประเทศเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 โดยได้รับมอบอำนาจจากประชาชน เธอปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับวิถีการเมืองไทยที่ผ่านมา และแนวนโยบายและยุทธวิธีที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดที่ของเธอ เริ่มเป็นที่น่าหวั่นเกรง และจำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยทันที

ขณะ นี้ พวกเราได้เริ่มตระหนักถึงปฏิกริยาของประชาคมนานาชาติเกี่ยวกับการละเมิด สิทธิมนุษยชน และการไร้ซึ่ง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเทศไทย มีกว่า 20 ประเทศในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่ตั้งคำถามกับรัฐบาลไทยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องการใช้มาตรา 112 และความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้

แม้จะมีความ พยายามของชนชั้นนำที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นในประเทศไทยและจาก นานาชาติต่อแนวนโยบายการบริหารของรัฐบาลไทย - โดยไม่แตะต้องมาตรา 112 - แต่เจตจำนงค์และการต่อสู้ของประชาชนจะชนะในที่สุด

ไม่มี ทางที่การรณรงค์นี้จะถูกบล๊อคได้ ถนนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่สามารถมุ่งหน้าไปได้เลยถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยัง อยู่ในความกลัวว่าจะถูกทำให้เป็นเหยื่อ ไม่กล้าแม้แต่จะลงชื่อในข้อเรียกร้องให้แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย แม้แต่มาตราเดียวเช่นนี้ และในปัจจุบัน แค่การลงชื่อในข้อเรียกร้องยกเลิกมาตรา 112 ก็ได้สร้างความหวาดหวั่นให้กับผู้ลงชื่อและครอบครัวมากทีเดียว

พวกเรา จำต้องสร้างกองกำลังสันติภาพแห่งผู้ที่มีสติและเหตุผล ให้มีจำนวนมากพอที่จะสามรถทะลายวัฒนธรรม แห่งความกลัวที่ค่ายรอยัลลิสม์ ได้สร้างครอบสังคมไทยเอาไว้ เพื่อที่เราจะได้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและสนุกสนานในประเทศไทยท่ีเป็น อิสระและมีอิสระภาพอย่างแท้จริง

ไม่ว่าผลของการยื่นข้อเรียกร้องในวัน ที่ 10 ธันวาคม - วันสิทธิมนุษยชนสากล จะเป็นเช่นไร การรณรงค์เพื่อยกเลิกมาตรา 112 จะขยายวงกว้างมากขึ้น ข้อมูลต่างๆ จะได้รับการแปลในหลายภาษาเพิ่มมากข้ึน เพื่อที่จะยืนยันถึงการปลดปล่อยตัวเราจากกรงขังแห่งมาตรา 112 และปลดปล่อยพี่สาว พี่ชายจากห้องขัง เพียงเพราะพวกเขาและเธอรักหรือไม่รัก(เซ็นเซอร์) ในวิถีที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กระทรวง ICT และกองทัพคิดว่าควรจะเป็น

เรา ขอเชิญองค์กรต่างๆ ประชาชนผู้มีเหตุผลทุกท่านมาร่วมรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 กับพวกเรา การลงชื่อในข้อเรียกร้อง คือการลงชื่อรับกฎกติกาแห่งวิถีประชาธิปไตย

ในนามผู้ร่วมลงชื่อทุกท่าน

จรรยา ยิ้มประเสริฐ, ผู้ประสานงาน, ACT4DEM
ACT4DEM@gmail.com . . . .www.timeupthailand.net

ดู: แถลงข่าวภาค ภาษาอังกฤษ

See: Press release in English

* * * * * * * * *

ใน เมื่อไม่สามารถยื่นหนังสือถึงมือนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยตรงได้ ในเวลา 16.00 น. คุณเจริญชัย แซ่ตั้ง จึงได้ตัดสินใจยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ไว้กับเจ้าหน้าที่หน้าห้องท่านประธานรัฐสภา โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาร่วมด้วย พร้อมทั้งได้เขียนจดหมายสั้น ๆ ถึงท่านประธานรัฐสภาเพื่อแสดงความจำนงขอเข้าพบเพื่อยื่นเอกสารฉบับจริงใน เวลาที่ท่านประธานรัฐสภาสะดวกให้เข้าพบต่อไป

ทั้งนี้แม้ว่าจะเป็นวัน หยุดและไม่สามารถยื่นให้นายกได้โดยตรง แต่ก็ได้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของพวกเราที่ประกาศเอาไว้ว่า ในวันที่ 10 ธันวาคม จะดำเนินมาตรการเพื่อยื่นข้อเรียกร้องเหล่านี้ต่อท่านนายกรัฐมนตรี ACT4DEM ขอขอบคุณคุณเจริญชัย แซ่ตั้ง เป็นอย่างสูงในความเด็ดเดี่ยวและตั้งใจจริง ทำให้ภารกิจเบื้องต้นของพวกเราครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้

เราจะไม่หยุดรณรงค์ และเปิดให้ลงชื่อใน ข้อเรียกร้องยกเลิกมาตรา 112 และปล่อยนักโทษการเมืองและนักโทษคดีหมิ่นฯ และครั้งต่อไป รายชื่อผู้ร่วมลงชื่อจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

สำหรับ รายชื่อผู้ร่วมลงชื่อ จะมีการนัดหมายกับรัฐบาลต่อไป เพื่อนำไปยื่นให้มั่นใจได้ว่า เอกสารเหล่านี้ถึงมือนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร