ทีมข่าว ไทยอีนิวส์ ขอนำเสนอต่อจากประชาไท "เปิดรายงาน คอป. ครั้งที่ 2 : ภาพรวมคดีสลายชุมนุมปี 25 53 – ม. 112 – ต้นตอปัญหา “คดีซุกหุ้น”"
ที่มา ประชาไท
13 ธันวาคม 2554
เมื่อ วันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ คอป. ได้ออกรายงานความคืบหน้า “ฉบับที่ 2” (17 มกราคม- 16 กรกฎาคม 2554) ซึ่งมีเนื้อหาใหญ่ แบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักคือ
Ø ความคืบหน้าเรื่อง ความรุนแรงเดือน เม.ย.-พ.ค.53
Ø ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินคดีจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง และ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
Ø รากเหง้าของปัญหา โดยเฉพาะการละเมิดหลักนิติธรรม ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในคดี “ซุกหุ้น”
ทั้ง นี้ คอป.แต่งตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน มีกรรมการ 8 คน และมีอนุกรรมการด้านต่าง 5 ชุด
สลายการชุมนุม เกือบ 2 ปี กับข้อเท็จจริงที่ได้
รายงานเน้นการแสดงตัวเลขภาพรวมของคดี ผู้ถูกคุมขัง และกิจกรรมการจัดเวทีรับฟังปัญหาทั่วประเทศของ คอป.
Ø การดำเนินคดีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม รวมทั้งสิ้น 258 คดี โดยแบ่งประเภทความผิดออกเป็น 4 กลุ่มคดี คือ
กลุ่มที่ 1 การก่อการร้าย (เหตุร้ายต่างๆ) 147 คดี
กลุ่มที่ 2 การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ 22 คดี
กลุ่มที่ 3 การทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 69 คดี
กลุ่มที่ 4 การกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ 20 คดี
จาก จำนวนคดีพิเศษที่รับไว้ทำการสอบสวนทั้งสิ้น 258 คดี นั้น สอบสวนแล้วเสร็จ 102 คดี มีผู้ต้องหา 642 คน จับกุมได้ 274 คน หลบหนี 366 คน (เสียชีวิตแล้ว 2 คน)
Ø คดีวางเพลิง มีทั้งหมด 62 คดี แบ่งเป็น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 49 คดี และต่างจังหวัด 13 คดี ทั้ง 62 คดี มีผู้ต้องหาทั้งหมด 457 คน จับกุมได้ 144 คน5 โดยมีอาคารสถานที่ถูกเพลิงไหม้ประมาณ 71 แห่ง แบ่งเป็นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 37 แห่ง และต่างจังหวัด 34 แห่ง
Ø สรุปข้อมูลผู้ต้องขังในคดีความผิดต่อพระกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ยอดรวมใน 14 เรือนจำและทัณฑสถาน ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2554
- ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวน, พิจารณา จำนวน 64 คน
- ผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา จำนวน 21 คน
- ผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด จำนวน 20 คน
คงเหลือรวมทั้งสิ้น จำนวน 105 คน
Ø จัดให้มีโครงการรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบจากผู้ เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Hearing) ในแต่ละประเด็นของทุกเหตุการณ์
Ø การเยียวยา ฟื้นฟูเหยื่อ ลงพื้นที่เยี่ยมเยือนผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด , ลงพื้นที่ช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกคุมขัง , เยี่ยมเจ้าหน้าที่กองทัพเรือและกองทัพบก, จัดตั้งศูนย์ประสานงานเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ
Ø จัดจ้างที่ปรึกษา (TOR) โครงการปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งและแนวทางสู่ความปรองดอง: ศึกษาเฉพาะกรณีจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ โครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน, การปฏิรูปองค์การด้านความมั่นคง, มิติสังคมและวัฒนธรรมของความรุนแรงทางการเมืองไทยและแนวทางแก้ไข, การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม, ขอบเขตการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารภายใต้บทบัญญัติ ของกฎหมาย, รากเหง้าของความขัดแย้งสู่ทางออกเพื่อความปรองดอง
ข้อเสนอแนะ คล้ายรายงานครั้งที่ 1
ข้อเสนอแนะโดยสรุปมีดังนี้
Ø รัฐบาลต้องยึดหลักนิติธรรม , ตรวจสอบว่าเจ้าพนักงานปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด , ให้ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ , ตรวจสอบและผลักดันให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทุกฝ่ายรวมทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อได้รับ การพิจารณาวินิจฉัยอย่างเท่าเทียมกัน
Ø เรียกร้องทุกฝ่ายระมัดระวังอย่างยิ่งยวดในการกระทำการใดๆ ซึ่งอาจเป็นการกระทบกระเทือนถึงบรรยากาศในการปรองดอง
Ø ความผิดที่มีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง มีความเห็นว่าการดำเนินคดีอาญาในคดีความผิด -พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
-คดีที่เกี่ยวเนื่องซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งก่อนและหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย.54
-คดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112
-พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ควรดำเนินการดังนี้
1. ตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจำเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือไม่
2. ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ รัฐบาลควรจะจัดหาหลักประกันให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนที่ไม่สามารถจัดหา หลักประกันได้ อนึ่ง พึงตระหนักว่าการถูกตั้งข้อหาร้ายแรงนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่อนุญาตให้มี การปล่อยชั่วคราว
3. เนื่องจากผู้ต้องหาและจำเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตาม ปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันมีมูลเหตุทางการเมือง หากไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจำปกติเป็นสถาน ที่ควบคุมผู้ต้องหาและจำเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต
4. สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ในระหว่างศึกษาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice)
5. รัฐบาลต้องดำเนินการในเรื่องการเยียวยาอย่างรวดเร็วและจริงจัง ครอบคลุมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงก่อนและหลัง รัฐประหาร ทั้งประชาชน และเจ้าหน้าที่ ชุมชนและย่านการค้าที่กระทบ รวมถึงผู้ต้องขัง กรณีที่ศาลยกฟ้องต้องมีการจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสม
ให้น้ำหนักกับปัญหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
คอ ป. แสดงความกังวลต่อเรื่องนี้ค่อนข้างมากเห็นได้จากรายละเอียดที่นำเสนอ (แต่ไม่เห็นจากการรายงานข่าว) เนื่องจากการฟ้องคดีเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ อีกทั้งยังเห็นว่าการดำเนินคดีไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่ต่างชาติก็จับตามองและติดตามสถานการณ์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงขอให้ดำเนินการดังนี้
1. ทุกฝ่ายยุติการอ้างสถาบันเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง
2. ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ มีกลไกที่สามารถ
3. กำหนดนโยบายในทางอาญาที่เหมาะสม สามารถจำแนกลักษณะของคดีโดยพิจารณาจากความหนักเบาของพฤติกรรม เจตนา แรงจูงใจในการกระทำ สถานภาพของบุคคลที่กระทำ และบริบทโดยรวมของสถานการณ์ที่นำไปสู่การกระทำ
4. อัยการควรให้ความสำคัญกับแนวทางการสั่งคดีโดยใช้ดุลพินิจ (OpportunityPrinciple) ซึ่งเป็นอำนาจของอัยการอันเป็นสากล แม้ว่าคดีมีหลักฐานเพียงพอในการสั่งฟ้อง แต่อัยการต้องให้ความสำคัญกับการชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบผลดีผลเสียในการ ดำเนินคดีด้วย โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์สูงสุดในการปกป้องและถวายพระ เกียรติยศที่เหมาะสมแด่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ อันเป็นแนวทางที่ใช้กันอยู่ในประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
5. รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ รับการปล่อยชั่วคราว เนื่องจากข้อหาที่ร้ายแรงมิได้เป็นเหตุตามกฎหมายที่ทำให้ไม่ได้รับสิทธิการ ปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ดังที่ศาลได้อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
6. รัฐบาลควรพิจารณาทบทวนการดำเนินคดีที่นำเอาประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพมาขยายผลในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง อาทิเช่น การกล่าวหาและโฆษณารณรงค์เรื่องขบวนการ "ล้มเจ้า" ซึ่งอาจมีการตีความกฎหมายที่กว้างขวางจนเกินไปและอาจส่งผลต่อความปรองดองใน ชาติ และไม่เป็นผลดีต่อการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ ในการดำเนินคดีต่อไปจะต้องมีการพิจารณาโดยมีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเฉพาะบุคคลที่ชัดเจนที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม
7. รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อให้ทุกฝ่ายในสังคมไทยได้ เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของทุกสังคมในห้วง เวลาของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ
การวิเคราะห์ปัญหาสั่งสมยาวนาน ย้ำเริ่มต้นที่พิษ “ซุกหุ้น”
ส่วน สุดท้ายของรายงาน เป็นส่วนที่ได้รับการหยิบยกไปเป็นข่าวมากที่สุด เนื่องจากมีการให้น้ำหนักและบรรยายถึง “จุดเริ่มต้น” ของการละเมิดหลักนิติธรรมในปี 2547 ในคดี “ซุกหุ้น” ของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
โดยในตอนต้นรายงานได้สรุปว่าจากการทำงานที่ผ่าน มากว่าปี คอป.เห็นว่าความรุนแรงในปี 53 เป็นผลของเหตุการณ์ต่างๆ สืบเนื่องการ โดยไล่เรียงสถานการณ์สำคัญ อาทิ การปฏิรูปการเมืองหลังรัฐธรรมนูญ 40 , การคอรัปชั่นเชิงนโยบายสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร, การก่อเกิดของพันธมิตรฯ, การไม่ลงเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์, การประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ, การก่อเกิดของ นปก., การยึดสนามบิน, การรัฐประหาร
จากนั้นจึงขยาย ความโดยละเอียดถึงการละเมิดหลักนิติธรรมในการตัดสินคดี “ซุกหุ้น” โดยอธิบายว่าตุลาการรัฐธรรมนูญกระทำการผิดหลักกฎหมายอย่างไร และย้ำว่า ตั้งแต่นั้นมารัฐยังละเลยและไม่ได้เข้าไปตรวจสอบถึงรากเหง้าของความไม่ชอบมา พากลหรือความที่น่ากังขาของเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนั้น คอป. จึงขอเสนอแนะให้รัฐและสังคมได้ตรวจสอบการยึดถือปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่าง จริงจัง
ดูเพิ่มเติม
หนึ่งปีที่ผ่านมากับความคืบหน้ารายงานกรณีการสลายการชุมนุมเสื้อแดง
รายงานข่าวเชิงสืบสวน:เปิดเอกสาร+รายงานคอป.ชี้ชัดไม่มีชายชุดดำ มีแต่ชายใจดำสังหาร92ศพ