ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 29 November 2011

'สันติประชาธรรม' วอนให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดีหมิ่น เตือน 'เพื่อไทย' ถลำสู่เกม 'คลั่งเจ้า'

ที่มา ประชาไท

28 พ.ย.54 เครือข่ายสันติประชาธรรมออกแถลงการณ์ เรื่อง ‘สิทธิและความยุติธรรมสำหรับนักโทษ 112 หายไปไหน?’ ชี้กรณี ‘อากง’ ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของไทย ในขณะที่บทบาทและอำนาจทางการเมืองของระบบตุลาการทรงพลังและกว้างขวางอย่าง ยิ่ง การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาล กลับไม่สามารถกระทำได้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา

ในแถลงการณ์ยังเรียกร้องให้ปล่อยตัว หรืออย่างน้อยที่สุด อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคน ทบทวนสถานะที่แตะต้องไม่ได้ของระบบตุลาการไทย ผลักดันให้มีการทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลอย่าง จริงจัง และพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองทั้งหลายต้องยุติการใช้ข้อหาไม่จงรักภักดี ต่อสถาบันกษัตริย์เพื่อขจัดผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง โดยเตือนรัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องยุติการถลำตัวเข้าเล่นเกมคลั่งเจ้า แต่ต้องแสดงความกล้าหาญผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ และแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ยึดโยงกับประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนโดยเร็ว ซึ่งมีรายละเอียดในแถลงการณ์ ดังนี้

0 0 0

แถลงการณ์
‘สิทธิและความยุติธรรมสำหรับนักโทษ 112 หายไปไหน?’

เครือข่ายสันติประชาธรรม
28 พฤศจิกายน 2554

กรณีนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรืออากง ชายวัย 61 ปีต้องคำพิพากษาจำคุก 20 ปี ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ 4 ครั้ง คดีนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดข้อถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยว กับหลักฐานและการใช้เหตุผลในการพิจารณาคดี แต่ยังเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของ ไทยดังต่อไปนี้

1. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ได้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความหวาดกลัวมากกว่าเพื่อสร้างความยุติธรรม ในสังคม ผู้ถูกกล่าวหามีแนวโน้มจะถูกลงโทษรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ราวกับว่าพวกเขาเป็นฆาตกรอำมหิต บรรดาผู้มีส่วนร่วมในการใช้กลไกดังกล่าวเพื่อปราบปรามผู้ที่มีความคิดเห็น ต่างทางการเมืองโปรดตระหนักด้วยว่า การกระทำเช่นนี้ไม่เพียงตอกลิ่มความแตกแยกและความเกลียดชังในสังคมให้รุนแรง มากขึ้น แต่ยังไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์ได้เลย แท้ที่จริงแล้วพวกท่านกำลังช่วยกันทำลายสังคมในนามของสถาบันกษัตริย์

2. คดีนายอำพลได้ก่อให้เกิดการข้อกังขาเกี่ยวกับวิธีการพิจารณา คดีของกระบวนการยุติธรรมของไทย แต่สังคมก็ไม่สามารถวิจารณ์ระบบตุลาการของไทยได้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา สังคมไม่สามารถวิจารณ์ข้อเท็จจริงที่ว่าหมายเลขโทรศัพท์ของนายอำพลเป็นคนละ หมายเลขที่ใช้ส่งข้อความ, หมายเลข IMEI อันเป็นหลักฐานหลักที่ศาลใช้ตัดสินว่านายอำพลมีความผิด เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างง่ายดายและซ้ำซ้อนกันได้, นายอำพลยืนยันวาตนมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และไม่รู้วิธีส่งข้อความทางโทรศัพท์

เราไม่สามารถวิจารณ์ข้อวินิจฉัยของศาลที่ว่า “แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ส่งข้อ ความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าวไปยังโทรศัพท์ เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ” แต่ศาลกลับลงความเห็นได้ว่านายอำพลกระทำความผิดจริงและพยายามปกปิดความผิด ของตน เราไม่สามารถตั้งคำถามได้ว่า อะไรคือความสมเหตุสมผลของข้อวินิจฉัยดังกล่าว

เราไม่สามารถประท้วงการลงโทษนายอำพลและผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯคนอื่น ๆ ว่ารุนแรงเกินไปหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับคดีความอื่น ๆ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับอภิสิทธิ์ชนทางการเมือง

ประการสำคัญ เราไม่สามารถตั้งคำถามว่า ระบบตุลาการไทยกำลังบอกกับสังคมว่า เราควรปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความเห็นต่างทางการเมืองโดยไม่ต้องคำนึงถึงหลัก มนุษยธรรม เมตตาธรรม และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานใช่หรือไม่

3. ในขณะที่บทบาทและอำนาจทางการเมืองของระบบตุลาการทรงพลังและ กว้างขวางอย่างยิ่ง การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาล กลับไม่สามารถกระทำได้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เพราะมีกฎหมายว่าด้วยการละเมิดอำนาจศาลเป็นเกราะป้องกันศาลให้ปลอดพ้นจาก การตรวจสอบของสังคม แต่คำถามที่สังคมไทยควรถามก็คือ ในขณะที่อำนาจบริหารและนิติบัญญัติถูกตรวจสอบและถ่วงดุลด้วยกลไกต่าง ๆ ได้ เรามีกลไกอะไรที่สามารถควบคุม ตรวจสอบ และลงโทษผู้ที่ใช้อำนาจตุลาการในลักษณะที่ก่อให้เกิดปัญหาได้บ้าง? ศาลมีความกล้าหาญที่จะรับผิด (Accountability) ต่อการกระทำของตนเองหรือไม่ คำถามเช่นว่านี้เป็นคำถามที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะในสังคมประชาธิปไตย อำนาจพึงถูกตรวจสอบและถ่วงดุลอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้อำนาจนั้นบิดเบี้ยว (Corrupt) จนส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรมของผู้คนในสังคม

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นนี่เอง พวกเราในฐานะประชาชนผู้ต้องการเห็นกระบวนการตุลาการไทยคำนึงถึงหลักความ ยุติธรรม มนุษยธรรม ประชาธิปไตย และสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง จึงขอเรียกร้องสังคมได้ช่วยกันต่อสู้เพื่อผลักดันประเด็นต่อไปนี้

1.ให้ปล่อยตัว หรืออย่างน้อยที่สุด อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคน

2.ถึงเวลาที่สังคมไทยต้องทบทวนสถานะที่แตะต้องไม่ได้ของระบบ ตุลาการไทยอย่างแท้จริง และต้องผลักดันให้มีการทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการลงโทษฐานละเมิดอำนาจ ศาลอย่างจริงจัง

3.พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองทั้งหลายต้องยุติการใช้ข้อหาไม่จง รักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์เพื่อขจัดผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเองก็ต้องยุติการถลำตัวเข้าเล่นเกมคลั่งเจ้าเช่นกัน แต่ต้องแสดงความกล้าหาญผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ และแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ยึดโยงกับประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนโดยเร็ว

ท้ายนี้ พวกเราใคร่วิงวอนให้กลุ่มการเมืองทั้งหลายโปรดตระหนักว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงอย่างถอนรากถอนโคนในหลายสังคมมักมี สาเหตุสำคัญคือ 1. ผู้มีอำนาจปฏิเสธที่จะรับฟังเสียงประท้วงต่อความอยุติธรรมของประชาชน 2. ความเกลียดชังระหว่างประชาชนหยั่งรากลึกจนไม่ต้องการอยู่ร่วมกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือสภาวะที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่และมีแนวโน้มจะรุนแรงยิ่งขึ้นทุก ขณะ

เครือข่ายสันติประชาธรรม

1 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา
2 พนัส ทัศนียานนท์ อดีตวุฒิสมาชิกและคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
3 นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ
4 กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
5 อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน
6 ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน
7 พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8 เวียงรัฐ เนติโพธิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9 จักรกริช สังขมณี รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10 เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11 ขวัญระวี วังอุดม สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
12 ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวประชาไท
13 ไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการ วารสาร “อ่าน”
14 คำ ผกา นักเขียนและสื่อมวลชนอิสระ
15 มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียนอิสระ
16 ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
17 ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
18 ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
19 อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
20 ธนศักดิ์ สายจำปา นศ.ปริญญาเอก รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
21 อรอนงค์ ทิพย์พิมล ภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
22 จีรนุช เปรมชัยพร สำนักข่าวประชาไท
23 ภัควดี วีรภาสพงษ์ นักเขียนและนักแปล
24 ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการ
25 ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
26 Tyrell Haberkorn มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
27 พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
28 ศรายุธ ตั้งประเสริฐ สำนักข่าวประชาไท
29 วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30 วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระ
31 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32 นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
33.เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
34.โกวิทย์ แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
35.ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
36.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
37.พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

หมายเหตุ สามารถลงชื่อเพิ่มเติมได้ที่ facebook อากง เหยื่อ112:Ah Kong, Victim of Art.112