ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Friday, 25 November 2011

คณะกรรมการสิทธิฯเอเชียจี้ปล่อยตัว 'อากง' และนักโทษคดีหมิ่นฯ -พ.ร.บ. คอมพ์ฯ

ที่มา ประชาไท

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ออกแถลงการณ์จี้ปล่อยตัวอำพล หรือ 'อากง' ที่ถูกตัดสิน 20 ปีจากการถูกกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นหาเลขาฯ อภิสิทธิ์ ระบุศาลไทย "เป็นที่ที่ไม่อาจหาความยุติธรรม"

สืบเนื่องจากกรณีการตัดสินคดีจำคุก 20 ปี กรณีอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ 'อากง' ด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูงหาเลขาอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 54 ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) จึงได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว โดยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวอำพล รวมถึงนักโทษที่ถูกตัดสินในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ .ร.บ. คอมพิวเตอร์ เนื่องจากมองว่ากฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ละเมิดเสรีภาพในการ แสดงออกของประชาชนที่คิดเห็นต่าง ในนามของ 'ความมั่นคงของชาติ' ที่มีการนิยามอย่างคลุมเครือ

นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียชี้ว่า กรณีนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงวิกฤติด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอย่างชัดเจน และระบุว่า จะคอยจับตาคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนที่ห่วงใยความยุติธรรมทำเช่นเดียวกัน

0000

แถลงการณ์โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย

ประเทศไทย: โทษจำคุก 20 ปี สำหรับเอสเอ็มเอส 4 ข้อความ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ประสงค์แสดงความกังวลต่อกรณีล่าสุดที่ตัดสินลงโทษบุคคลด้วยอาชญากรรมด้าน เสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย เนื่องด้วยในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 คดีดำหมายเลข 311/2554 อำพล (สงวนนามสกุล) (หรือรู้จักกันในชื่อ ‘อากง’) ชายอายุ 61 ปี ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีสำหรับข้อความ 4 ข้อความที่ถูกตัดสินว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2551

การกระทำที่อำพลถูกกล่าวหาคือการส่งข้อความทางโทรศัพท์ (SMS) 4 ข้อความไปยังสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) องค์กรพัฒนาเอกชนไทยที่ทำงานด้านกฎหมายสิทธิรายงานว่า 4 ข้อความดังกล่าวถูกอ้างโดยเจ้าหน้าที่รัฐว่ามีข้อความที่หยาบคาย หมิ่นประมาทราชินีและดูหมิ่นเหยียดหยามพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์

ข้อความตรงตัวของข้อความทางโทรศัพท์ดังกล่าวยังไม่ถูกเปิดเผยจากทางการ เนื่องจากการผลิตซ้ำของข้อความที่ถูกอ้างว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอาจเป็นการ ละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ ผู้สื่อข่าวจึงไม่สามารถรายงานข้อความดังกล่าวได้ตรงตัว เนื่องจากอาจเสียงต่อการถูกดำเนินคดี

นอกจากความอยุติธรรมที่เขาได้รับจากการถูกตัดสินดังกล่าวแล้ว อำพล (สงวนนามสกุล) ยังทรมานจากโรคมะเร็งที่ลิ้นและไม่สามารถเข้าถึงการ รักษาพยาบาลในระหว่างการคุมขังก่อนและหลังการไต่สวน ไม่มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าจะการตัดสินดังกล่าวจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงอีก และที่จริง อาจมีข้อกังวลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเขามากกว่าเดิมด้วย ขึ้นอยู่กับเรือนจำที่เขาจะถูกส่งไปจำคุก

และที่ชัดเจนเช่นเดียวกับในกรณีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ที่ในขณะนี้อยู่ในเรือนจำเนื่องจากถูกตัดสินจำคุก 18 ปี ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกขากรรไกร เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีข้ออ้างปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลและ ละเมิดสิทธิของนักโทษการเมือง

ในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 กลุ่มตำรวจจำนวน 15 นายเข้าบุกค้นบ้านพักของอำพล และจับกุมเขา จากนั้นเขาถูกควบคุมตัวในคุกเป็นเวลา 63 วันในชั้นสอบสวน ก่อนที่จะได้รับการประกันตัวในวันที่ 4 ตุลาคม 2553 และเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 เขาถูกสั่งฟ้องโดยอัยการด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และถูกจำคุกตั้งแต่นั้นมา ศาลได้ปฏิเสธการให้ประกันตัวเนื่องด้วยความร้ายแรงของข้อหาและความเสี่ยงใน การหลบหนี

การไต่สวนเขาเริ่มขึ้นในวันที่ 23 และระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน 2554 ตั้งแต่เริ่ม อำพลยืนยันในความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยกล่าวว่าเขาไม่ทราบวิธีส่งข้อความทางมือถือ และเบอร์โทรศัพท์ที่ส่งหาสมเกียรติไม่ใช่เบอร์ของเขา แต่ท่าทีของอัยการคือไม่ยอมรับคำให้การดังกล่าว และระบุว่า หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ (อีมี่) ของมือถือที่ส่งข้อความดังกล่าวไปหาสมเกียรติ เป็นของอำพล ดังนั้นเขาจึงต้องรับผิดชอบ

ตั้งแต่มีการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยเฉพาะรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์สูงขึ้นกว่าเดิมมาก โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ชี้ว่า ในขณะที่อำพลถูกตัดสินจำคุกในข้อหาละเมิดมาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ แต่เขาถูกลงโทษภายใต้กฎหมายอาญา 112 ซึ่งมีโทษที่หนักกว่า นอกจากนี้ มาตราในพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ ยังถูกใช้ร่วมกับกฎหมายหมิ่นฯ เพื่อปิดปากผู้ที่เห็นต่างในสังคม และใช้ข่มขู่นักเคลื่อนไหวทางสังคมและพลเมืองอีกด้วย

กฎหมายอาญามาตรา 112 ระบุว่า “บุคคลใดที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกสามปีถึงสิบห้า ปี” ส่วนมาตราใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับในกรณีนี้คือ มาตรา 14 วรรค 2 และ 3 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไปเกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ: (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน; (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา”

คำจำกัดความของ “ระบบคอมพิวเตอร์” ระบุไว้ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า “อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดย อัตโนมัติ” วิธีเขียนกฎหมายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ อาจถูกใช้เพื่อโจมตีการสื่อสารและคำพูดที่ผ่านการส่งต่อผ่านทางเทคโนโลยี หลายรูปแบบ ไม่เพียงแต่ทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น

การตัดสินคดีนี้ ส่งข้อความที่ชัดเจนไปยังประชาชนในประเทศไทยว่า ให้ระวังตัวไว้ เพราะว่าข้อความทางโทรศัพท์มือถืออาจทำให้ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรม และคุณอาจจะเสี่ยงต่อการจำคุกเป็นเวลานานได้ การขาดการนิยามคำว่า "ความมั่นคง” ที่ชัดเจนในกฎหมาย หมายความว่ามันเปิดโอกาสให้มีการกระทำที่ละเมิดสิทธิได้เนื่องจากเจ้า หน้าที่รัฐอาจชี้ที่ใครก็ได้ที่เห็นต่าง หรือข้อความที่ตีความเช่นใดก็ได้ ว่าเป็นการละเมิดความมั่นคงของชาติ

ในแถลงการณ์ที่เผยแพร่วานนี้โดยเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสถาบัน กฎหมายราษฎรประสงค์ก่อนการตัดสินคดี มีข้อความในจดหมายจากลูกสาวของอำพลที่ส่งหานักโทษอีกคนในเรือนจำที่ดูแลพ่อ ของเธอว่า

"สิ่งที่เราเป็นห่วงเตี่ยมากที่สุดคือ จิตใจที่อ่อนล้าและท้อแท้ของเตี่ย ความเข็มแข็งคงแทบจะหมดไปแล้ว ครั้งนี้ขอประกันตัวอีกกี่ครั้งก็ถูกปฏิเสธตลอด... แต่ความทุกข์ของครอบครัวเราก็ยังเบาบางลงเพราะมีพี่หนุ่มคอยดูแล คอยให้กำลังใจ คอยกระตุ้นจิตใจของเตี่ย...เพราะรู้ว่าไม่ได้สู้เพียงลำพังยังมีคนอื่นอีก มากมายที่โดนแบบเรา พวกเขาก็สู้เพื่อขอความยุติธรรมและอิสระภาพให้กับคนที่ต้องโดนแบบเตี่ยพวก เราพี่น้องทุกคนก็ไม่ท้อแท้แล้วยังมีหนทางสู้เพื่อเตี่ยของเรา พวกเราอยู่ข้างนอกต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งเพื่อคนข้างใน ครอบครัวของเราไม่เคยคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดกับพวกเราเพราะดูแล้วเป็น เรื่องที่ห่างไกลเหลือเกิน ในความเป็นคนไทยของเราครอบครัวเราทุกคน ให้รักความเทิดทูนเคารพบูชาสถาบันมากที่สุด และเสียใจมากที่สถาบันลูกนำมาใช้อ้างโดยที่สถาบันไม่รู้ไม่เห็น มันเป็นความสะเทือนใจสำหรับประชาชนชาวไทยทุกคนเพราะคนไทยรักและเคารพสถาบัน มากกว่าสิ่งใด พวกเราต้องสู้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ เพราะคดีนี้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยที่มีมดปลวกอย่างพวกเราเป็นแพะคอยรับบาป"

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียประสงค์จะแสดงความกังวลต่อการตัดสินคดี และการจำคุกของบุคคลต่ออาชญากรรมของเสรีภาพในการแสดงออก อำพล (สงวนนามสกุล) ถูกตัดสินจำคุกเป็นระยะเวลาที่นานที่สุดที่เคยปราก ฎสำหรับข้อหาการละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

จากหลักฐานที่อ่อนที่ใช้ตัดสินต่อจำเลย และสภาพขัดข้องของจำเลยเนื่องด้วยสุขภาพและอายุ กรณีนี้ได้แสดงให้เห็นชัดถึงศาลไทยที่เป็นที่ที่ไม่อาจหาความยุติธรรมหากแต่ ความอยุติธรรมกลับงอกเงย เมื่อฆาตกรสามารถเดินจากไปอย่างเสรี เช่นเดียวกับกรณีการหายตัวของสมชาย นีละไพจิตร กรณีการตัดสินจำคุกชายอายุ 61 ปีจำนวน 20 ปี สำหรับการกระทำที่อ้างว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ 4 ข้อความที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เป็นที่ชัดแจ้งแล้วว่าประเทศไทยมีวิกฤติการณ์ทางสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้องให้ทำการปล่อยตัวอำพลโดยทันที รวมถึงนักโทษคนอื่นๆ ที่ถูกจำคุกด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียจะคอยจับตาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หมิ่นฯ และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์อย่างใกล้ชิด และขอเรียกร้องให้ประชาชนที่ห่วงใยสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในประเทศไทย ให้ทำเช่นนั้นด้วยเช่นกัน

ที่มา: แปลจาก THAILAND: Twenty years in prison for four SMS messages