ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 26 November 2011

ผู้พิืพากษาคุก20ปีอากงSMSเคยนั่งบัลลังก์คดีจีรนุชประชาไท พงศ์เทพให้จับตาพิเศษถ้าหน้าซ้ำก็แหม่งๆ

ที่มา Thai E-News

หน้าเพจของหนังสือพิมพ์ theguardian นำ เสนอรายงานข่าวพร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ทั้งสามพระองค์ในหัวข้อเรื่อง Thai Facebookers warned not to 'like' anti-monarchy groups. Country's strict laws against insulting the monarch have been used to jail a man for 20 years for sending text messages (ผู้ใช้เฟซบุ๊คชาวไทยได้รับคำเตือนอย่ากดlikeในเฟซบุ๊คที่ต่อต้านราชวงศ์ หลังมีการจำคุก 20 ปีผู้ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
26 พฤศจิกายน 2554

ผม เห็นว่า การติดตามคดีประเภทนี้ ควรให้ความสำคัญกับผู้พิพากษาที่ตัดสินว่า เป็นใครด้วย ถ้าเป็นคนซ้ำๆมาตัดสินคดีประเภทนี้ ก็ควรจับตาเป็นพิเศษเกี่ยวกับการจ่ายสำนวน ดังนั้นเวลาสื่อใดก็ตามเสนอข้อมูลการตัดสินคดีควรเสนอชื่อผู้พิพากษาเจ้าของ สำนวน และองค์คณะให้สาธารณชนทราบด้วย-พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตผู้พิพากษา และอดีตรัฐมนตรียุติธรรม

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรสวงยุติธรรม และอดีตผู้พิพากษา ตอบข้อซักถามผู้ที่สอบถามทางเฟซบุ๊ค Phongthep Thepkanjana คดีอากง SMS ถูกศาลตัดสินจำึุคุก 20 ปีว่า เนื่องจากไม่เห้นข้อเท็จจริงในสำนวน คงให้ความเห็นได้เพียงว่า คดีนี้มี 2 ประเด็น หลัก คือ

1. อากงส่ง sms ตามฟ้องหรือไม่ ข้อมูลทางเท็คนิคเกี่ยวกับเลขอีมี่ซ้ำได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้น่าจะทำความกระจ่างได้ แต่ข้อมูลในสำนวนมีหรือไม่ ผมไม่ทราบ

2. จะลงโทษอย่างไร เมื่อผมไม่ทราบข้อความที่ถูกฟ้องว่าส่ง ก็ให้ความเห็นยากว่าโทษจำคุก 20 ปี หนักไปหรือไม่

อย่างไรก็ตามผมเห็นว่า การติดตามคดีประเภทนี้ ควรให้ความสำคัญกับผู้พิพากษาที่ตัดสินว่า เป็นใครด้วย ถ้าเป็นคนซ้ำๆมาตัดสินคดีประเภทนี้ ก็ควรจับตาเป็นพิเศษเกี่ยวกับการจ่ายสำนวน ดังนั้นเวลาสื่อใดก็ตามเสนอข้อมูลการตัดสินคดีควรเสนอชื่อผู้พิพากษาเจ้าของ สำนวน และองค์คณะให้สาธารณชนทราบด้วยครับ

สำหรับสำนวนคดีนี้ ผู้อ่านสามารถอ่านรายงานเพิ่มเติมในเว็บไซต์ประชาไท เรื่อง เปิดคำแถลงปิดคดี ‘อากง SMS’ ต่อจิ๊กซอว์จากเบอร์ต้นทางถึงชายแก่ปลายทาง ซึ่งประชาไทได้นำคำแถลงปิดคดีของฝ่ายจำเลยมานำเสนอ และชี้ให้เห็นถึงความไม่น่าเชื่อถือของฝ่ายโจทก์ อันทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในการเชื่อมโยงถึงจำเลย

สำหรับผู้พิพากษาคดีนี้ คือนายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ซึ่งเป็นผู้พิพากษาผู้นั่งบัลลังก์ คดีนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ตกเป็นจำเลย ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของผู้อ่านในเว็บบอร์ดของประชาไท

เว็บไซต์ประชาไทเคย รายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 นางสาวจีรนุช จำเลยแถลงขอให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ศาลรับคำร้องและสอบคู่ความเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ได้ข้อสรุปว่า โจทก์ประสงค์จะสืบพยาน 14 ปาก ขอนัดสืบ 4 นัด ขณะที่จำเลยประสงค์จะสืบพยาน 13 ปาก จะขอนัดสืบ 4 นัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษาผู้นั่งบัลลังก์ เห็นควรว่าน่าจะตัดออกไปบ้าง คัดเลือกพยานเฉพาะที่อยู่ในประเด็น สืบเพียง 2 นัดก็น่าจะเพียงพอ จะได้ไม่เสียเวลาทุกฝ่าย แต่ทนายจำเลยและจำเลยยืนยันว่าทุกปากมีความจำเป็น

ผู้พิพากษาจึงขอให้ระบุในรายงานไว้ให้ชัดเจนว่าต้องสิ้นสุดภายใน 4 นัด หากพยานรายใดไม่มาให้เป็นอันตกไป ไม่มีการเลื่อนสืบ ทนายจำเลยยินยอมต่อข้อผูกมัดดังกล่าว แต่ขอให้ผู้พิพากษาระบุเงื่อนไขเช่นเดียวกันนี้กับฝ่ายโจทก์ แต่ผู้พิพิกษาไม่เห็นด้วย ท้ายที่สุดทนายจำเลยและจำเลยยังคงยืนยันอย่างแข็งขัน ศาลจึงไม่ระบุเงื่อนไขดังกล่าวทั้งสองฝ่าย และนัดสืบพยาน 4 นัดเท่ากัน

ต่อมาในวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ประชาไท รายงานว่า สืบพยานคดี “จีรนุช เปรมชัยพร” ผ่านผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอินเทอร์เน็ตจากสหรัฐอเมริกา แต่การแปลผ่านล่ามที่ศาลจัดไว้ให้มีปัญหาขลุกขลัก ศาลตัดบทให้ใช้พยานเอกสารแทน พร้อมเลื่อนสืบพยานจำเลยช่วง ต.ค. นี้ไปเป็น ก.พ. ปีหน้าเนื่องจากน้ำท่วม

นายกำพล รุ่งรัตน์ ผู้พิพากษาที่ขึ้นนั่งบัลลังก์ในวันนั้น กล่าวว่า “แม้ต่างประเทศจะบอกว่าคดีนี้ไม่ผิดกฎหมายก็ตาม แต่ศาลไทยต้องตัดสินตามกฎหมายไทย”

นายชนาธิปเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย (OSK 100) สำเร็จปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประว้ติรับราชการ

-ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
-ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเกาะสมุย
-ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตราด
-ปัจจุบัน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์-มหาวชิรมงกุฎ
คณะ อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม จังหวัดตราด ร่วมกันจัดโครงการอาสาสมัครคุมประพฤติและผู้ถูกคุมประพฤติร่วมใจถวายงานเทิด ไท้องค์ราชันย์ เนื่องไนโอกาส วันเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธันวา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2551 โดยมีท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตราด นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ณ วัดคลองเพชร อำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงตรากตรำเหน็ดเหนื่อยพระวรกายในการทรงงานช่วยเหลือประชาชน ของพระองค์ และเพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติ ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดตราด ได้มีโอกาสทำความดีถวายพระองค์ท่าน ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีอาสาสมัครคุมประพฤติผู้ถูกคุมประพฤติ และแขกผู้มีเกียรติร่วมกิจกรรมจำนวน 126 คน (ภาพข่าวและคำบรรยายจากเ้ว็บไซต์สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดตราด เมื่อครั้งนายชนาธิป เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตราด เมื่อปี 2551)

*********
ข่าวเกี่ยวเนื่อง:เมืองไทยเรานี้แสนดีหนักหนาส่งSMS20ปีกดLikeเฟซบุ๊คคุก5ปี อ.นิติราษฎร์ฟันธงมั่วใหญ่แล้วไม่เข้าข่าย