ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Friday, 25 November 2011

สนนท. แถลงกรณี 'อากง' ชี้รัฐควรยกเลิกมาตรา 112

ที่มา ประชาไท

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ออกแถลงการณ์เนื่องในกรณีการตัดสินคดี 'อากง' ส่ง SMS ชี้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่เป็นประชาธิปไตย แนะควรแก้ไขหรือยกเลิกการใช้กฎหมายดังกล่าว

สืบเนื่องจากกรณีการตัดสินคดีของอำพล (สงวนนามสกุล) ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีเนื่องในข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จึงได้ออกแถลงการณ์ว่าด้วยกรณีดังกล่าว โดยชี้ว่าการตัดสินดังกล่าวมีปัญหา เนื่องจากมีความคลุมเครือในการใช้พยานหลักฐาน ประกอบกับความไม่เป็นประชาธิปไตยของตัวบทกฎหมายของกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีหลักพิจารณาและมีโทษสูงเกินความจำเป็น สนนท. จึงได้เรียกร้องให้ทำการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าวด้วย

แถลงการณ์การตัดสินคดี ลุง sms มีความผิดหมิ่นสถาบันฯ จำคุก 20 ปี

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ศาลเทเลคอนเฟอร์เรนซ์อ่านคำพิพากษานายอำพล(สงวนนามสกุล) หรืออากงฐานส่งข้อความทางโทรศัพท์หรือ SMS อันอาจเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทั้งหมด 4 ครั้ง ผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) และ (3) ลงโทษกรรมละ 5 ปีรวมจำคุก 20 ปี

ซึ่งการตัดสินคดีดังกล่าวมีปัญหา 2 ประเด็น โดยในประเด็นแรกคือปัญหาในด้านการตัดสินของศาลและประเด็นสำคัญคือปัญหาของ ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 โดยจะอธิบายอย่างชัดเจนดังต่อไปนี้

  1. ปัญหาในด้านการตัดสินของศาลที่มีความไม่ชัดเจนและยังคงคลุมเครือ ดั่งสำนวนส่วนหนึ่งในคำพิพากษาคดีที่ว่า "..แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของ ตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้ เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน.." จากส่วนสำนวนคำตัดสินคดีข้างต้นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแม้แต่ศาลยังยอมรับเอง ว่าหลักฐานไม่เพียงพอ ซึ่งทุกคนล้วนรู้ดีว่าหลักพื้นฐานคดีอาญาคือการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัย ถ้าทำไม่ได้ต้องยกให้เป็นประโยชน์ของจำเลย แต่สิ่งที่ศาลได้กระทำคือการตัดสินคดีที่ไร้หลักฐานที่เพียงพอ เพียงเพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการจับขังนายอำพล แม้วิธีการจะไร้ซึ่งความชอบธรรมก็ตาม
  2. ส่วนปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เป็นตัวบทกฎหมายที่ใช้อ้างอิงสาระสำคัญหลักในคดีนี้จะพบว่าผิดทั้งที่มา และความชอบธรรม ด้วยด้านที่มากฏหมายมาตราดังกล่าวมิได้มีความยึดโยงกับประชาชนของรัฐแม้แต่ น้อยซึ่งผิดตามหลักนิติรัฐ-นิติธรรมดั่งอารยประเทศที่มีที่มาจากความเห็นชอบ ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่กลับมีฐานที่มาจากรัฐธรรมนูญเผด็จการรัฐประหารทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยแม้แต่น้อย ส่วนในด้านความชอบธรรมกฏหมายสองฉบับดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อปิดปากผู้ที่ คิดแตกต่างจากรัฐเท่านั้นซึ่งผิดตามหลักสิทธิเสรีภาพพลเมืองเท่าที่ควร

การวิจารณ์เป็นส่วนหนึ่งของหลักสิทธิเสรีภาพซึ่งตั้งอยู่บนหลักของ ประชาธิปไตย ซึ่งการวิจารณ์ดังกล่าวต้องตั้งอยู่โดยเจตนาสุจริต มิได้เป็นการโจมตีหรือใช้ความเท็จทำให้เสื่อมเสียย่อมไม่สมควรโดนตั้งข้อหา เหมือนอาชญากร แต่หากการวิจารณ์นั้นทำไปโดยการจงใจให้เสื่อมเสียโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จ ก็สมควรได้รับโทษตามแบบโทษหมิ่นประมาททั่วไปไม่ใช่โทษอาชญากรเช่นเดียวกับ โทษของประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 ส่วนในด้านโทษของคดีดังกล่าวถือได้ว่าร้ายแรงเทียบเท่ากับคดีฆาตกรรมก็ว่า ได้ เนื่องด้วยโทษจำคุกมากถึง 20 ปี ถือกันว่าเอากันตายเลยทีเดียว และเพียงการส่งข้อความทางโทรศัพท์หรือ sms ดังกล่าว ใครอาจส่งก็ได้ เช่น เพื่อน พ่อแม่และคนอื่นๆ ดังนั้นแล้วความชัดเจนของการตัดสินที่ยังคงคลุมเครือ

จากการตัดสินคดีดังกล่าว เราในนามสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ขอคัดค้านและขอประนามการกระทำดังกล่าวที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพและหลักนิติรัฐ-นิติธรรม และมีข้อเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนดังต่อไปนี้

  1. ควรมีการพิจารณาตัดสินคดีที่มีความชัดเจนและไร้คลุมเครือ เช่น หลักฐานที่ใช้ประกอบคำตัดสิน เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีต่อไป เพราะจากคดีดังกล่าวที่มีความไม่ชัดเจนและคลุมเครืออันจะนำไปสู่บรรทัดฐาน ที่ผิดในทางตุลาการไทย
  2. จากโทษที่ใช้ในการตัดสินดังกล่าวเปรียบเสมือนดคีฆาตกรรมซึ่งมีความร้าย แรง ปรากฎจากศาลสั่งจำคุก 20 ปี ซึ่งเปรียบได้กับอีกครึ่งชีวิตที่ควรอยู่ ดังนั้นควรพิจารณาตัวบทกฏหมายใหม่และลดโทษในกฏหมายอื่นๆเพื่อเป็นแบบอย่าง ของประเทศที่เจริญในด้านการตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความศิวิไลซ์ของรัฐ
  3. ควรยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะเป็นมาตราที่มีปัญหาทั้งด้านที่มา ความชอบธรรม และการนำไปใช้ เพราะสามารถถูกนำไปใช้ทุกสถานการณ์ สามารถนำไปใช้กับศัตรูได้และการอ้างที่สามารถฟ้องโดยใครก็ได้ ทั้งที่หลักฐานประจักษ์พยานไม่เพียงพอก็สามารถฟ้องได้ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้จากวงการตุลาการไทยเลยแม้แต่ น้อย

จากแถลงการณ์และข้อเสนอดังกล่าวจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้มีส่วนเกี่ยว ข้องคงตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์ของวงการตุลาการซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบอบ ประชาธิปไตย และขอเป็นกำลังใจให้นายอำพลยืนหยัดสู้ต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
24 พฤศจิกายน 2554