บก.การเมือง-อาชญากรรม “เนชั่น” อุทธรณ์คัดค้านผลสอบของอนุกรรมการฯ เผยอนุกรรมการฯ ไม่ยอมนำข้อชี้แจงของทั้งสองประกอบผลสอบ ยันที่ไม่ได้ติดต่อ “วิม รุ่งวัฒนจินดา” อีกเพราะเตรียมดำเนินคดีหมิ่นประมาทกับผู้ที่ทำให้ตนเองเสียหาย และการติดต่ออาจมีผลกับรูปคดี และผู้บริหาร “เครือเนชั่น” แนะนำเองไม่ให้ติดต่อ พร้อมแนะให้สอบ “เครือเอเอสทีวีผู้จัดการ” ด้วย ฐานเสนอข่าวไม่รอบด้าน - ทำคนอื่นเสียหายร้ายแรง
เมื่อวันที่ 7 ก.ย. นางฐานิตะญาณ์ ธนพิศุทธิ์กุล บรรณาธิการข่าวการเมือง สำนักข่าวเนชั่น และนายปรีชา สะอาดสอน บรรณาธิการข่าวอาชญากรรม สำนักข่าวเนชั่น ได้ทำหนังสือ “ขออุทธรณ์คัดค้านผลการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง” โดยแจ้งไปยัง “คณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ของนักการเมืองระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ วิชาชีพสื่อมวลชน” ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติตั้งขึ้น
โดยผู้ยื่นอุทธรณ์ทั้งสองรายแยกกันทำหนังสือร้องเรียนคนละฉบับ โดยชี้แจงกรณีที่ผลสอบฯ ของคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าวพาดพิงบุคคลทั้งสอง
โดยคณะอนุกรรมการฯ พาดพิงถึงนางฐานิตะญาณ์ว่า “เมื่อปรากฏข่าวของอีเมลที่เป็นปัญหา นางฐานิตะญาณ์ ก็ไม่ได้โทรศัพท์ไปสอบถามหรือต่อว่านายวิมเลย ทั้งที่นายวิมรู้จักเป็นอย่างดีกับนายปรีชาซึ่งเป็นสามีของตน”
ส่วนนายปรีชา ซึ่งเป็นสามีของนางฐานิตะญาณ์ ผลสอบของคณะอนุกรรมการฯ ได้พาดพิงเขาว่า “... มีข้อสังเกตต่อท่าทีของนายปรีชาในช่วงหลังที่อีเมลดังกล่าวเป็นข่าวขึ้นมา ซึ่งนายปรีชาไม่ได้โทรศัพท์ไปสอบถามหรือต่อว่านายวิมเลย นอกจากนี้เมื่อนายวิมโทรศัพท์ติดต่อมา นายปรีชาก็ไม่ได้รับสายและไม่ได้ติดต่อกลับ ทั้งที่นายปรีชารู้จักกับนายวิมมาก่อน แต่นายปรีชากลับให้การว่าจะเตรียมการฟ้องร้องต่อผู้ที่ทำให้ตนได้รับความ เสียหาย ซึ่งอาจรวมถึงนายวิมด้วย”
แจงผลสอบอนุกรรมการฯ ไม่ได้นำข้อชี้แจงของทั้งสองมาประกอบทั้งที่เรียกมาถาม
โดยทั้งนางฐานิตะญาณ์ และนายปรีชา ได้ชี้แจงว่า ข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการฯ “ยังขาดพยานหลักฐานและเหตุผลอื่นที่ยังไม่ได้พิจารณา” คือ “ยัง ไม่มีการอ้างถึงเหตุผลตามที่ข้าพเจ้าได้เข้าชี้แจงในเรื่องนี้เลย เพราะเมื่อคณะอนุกรรมการฯ ได้ซักถามถึงเหตุผลเรื่องดังกล่าว ข้าพเจ้าก็ได้ชี้แจงไว้แล้วถึงสองประเด็น”
นางฐานิตะญาณ์ ชี้แจงว่าที่ไม่ได้ติดต่อนายวิม หรือวิม รุ่งวัฒนจินดา กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย อีกเนื่องจาก “ไม่ มีเหตุผลและความจำเป็นใดที่จะต้องไปติดต่อกับผู้ที่ทำให้ดิฉันต้องเสื่อม เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง จากการกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริง ถึงแม้ว่าจะรู้จักกันจากการติดต่อประสานงานตามสมควรในเรื่องงานที่ผ่านมาก็ ตาม”
อีกเหตุผลหนึ่งคือนางฐานิตะญาณ์ตัดสินใจจะดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายใน เรื่องหมิ่นประมาท กับผู้ที่กระทำการและเกี่ยวข้องซึ่งทำให้ตนเองได้รับความเสียหาย “จึงเห็นว่าไม่สมควรจะติดต่อใดๆ กับบุคคลดังกล่าว เนื่องจากมีความเกี่ยวพันและอาจมีผลกระทบกับรูปคดีได้”
ส่วนนายปรีชาชี้แจงกรณีที่ไม่ได้ติดต่อกับนายวิมอีกเนื่องจาก “ไม่ พอใจที่นายวิมทำให้ผมได้รับความเสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการที่นาย วิมนำชื่อของข้าพเจ้าไปอ้างอย่างไม่มีมูลความจริงเพื่อการไต่เต้าทางการ เมือง ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ดูหมิ่น เหยียดหยามต่อตัวข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากข้าพเจ้าติดต่อไปอาจเกิดความเข้าใจผิดไปได้ว่า ข้าพเจ้าโทร.ไปนัดแนะหรือเตรียมเรื่องกันไว้ก่อนถ้ามีการสอบสวน ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับข้าพเจ้าไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม”
“อีกทั้ง ข้าพเจ้ามีความคิดว่า ไม่มีเหตุผลและความจำเป็นใดที่จะต้องไปติดต่อกับผู้ที่ทำให้ต้องเสื่อมเสีย ชื่อเสียงอย่างร้ายแรง จากการกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริง ถึงแม้ว่าจะรู้จักกันจากการติดต่อประสานงานตามสมควรในเรื่องงานที่ผ่านมาก็ ตาม”
นายปรีชาชี้แจงในประการที่สองด้วยว่า “ณ เวลานั้น ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจแล้วว่า จะดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายในเรื่องหมิ่นประมาท กับผู้ที่กระทำการและเกี่ยวข้องกับการทำให้ข้าพเจ้าต้องได้รับความเสียหาย จึงเห็นว่า ไม่สมควรจะติดต่อใดๆ กับบุคคลดังกล่าว เนื่องจากมีความเกี่ยวพันและอาจมีผลกระทบกับรูปคดีได้”
เผยผู้บริหาร “เครือเนชั่น” แนะนำเองไม่ให้ติดต่อนายวิม
ทั้งนางฐานิตะญาณ์ และนายปรีชา ได้ชี้แจงเพิ่มเติมถึงเหตุผลที่ไม่ติดต่อนายวิมอีก ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่ได้แจ้งคณะอนุกรรมการฯ ในวันที่มีการสอบสวน “เนื่อง จากไม่คิดว่าจะมีผลสำคัญต่อการสอบสวน” ได้แก่ “เป็นเพราะคณะบรรณาธิการอาวุโสของเครือเนชั่น ได้ทำการสอบถามทั้งตัวดิฉันและนายปรีชา สอาดสอนพร้อมกันในทันทีที่ทราบข่าว และได้มีความเห็นร่วมกันว่าทั้งดิฉันและนายปรีชา ไม่สมควรจะติดต่อหรือแม้แต่รับการติดต่อจากนายวิมทั้งสิ้น เนื่องจากไม่เป็นผลดีต่อการสอบสวนต่างๆที่จะมีขึ้น รวมทั้งการฟ้องคดี”
ชี้ “ข้อสังเกต” อนุกรรมการฯ ทำสาธารณชนสำคัญผิดในตัวผู้ถูกพาดพิง
นอกจากนี้กรณีที่ผลสอบคณะอนุกรรมการฯ เขียนพาดพิงถึงว่า “คณะอนุกรรมการฯ เชื่อว่า ผู้ที่ถูกพาดพิงส่วนใหญ่น่าจะไม่ได้มีพฤติกรรมการรับสินบนตามที่เป็นข่าว แม้จะยังมีข้อสงสัยต่อท่าทีของผู้ถูกพาดพิงบางรายว่า เหตุใดจึงมีพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งน่าจะขัดต่อวิสัยปรกติของบุคคลทั่วไปในสถานการณ์ดังกล่าว” นั้น ทั้งนางฐานิตะญาณ์ และนายปรีชา ยังชี้แจงในคำอุทธรณ์ว่าข้อสรุปดังกล่าว “ไม่ เป็นธรรมกับข้าพเจ้าในประเด็นนี้อย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังจะทำให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจผิดเป็นสำคัญต่อตัวข้าพเจ้าจากข้อ สังเกตดังกล่าว”
“ด้วยเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ชี้แจงไปแล้วว่า กรณีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมการฟ้องคดี ซึ่งถือเป็นเหตุผลที่สำคัญและเป็นปรกติวิสัยของผู้ที่กำลังจะดำเนินการ เรื่องนี้ เพราะหากมีการพูดหรือเจรจาใดๆกับคู่กรณี ก็อาจถูกนำไปใช้ต่อสู้คดีจนอาจเป็นปฏิปักษ์ในทางคดีกับข้าพเจ้าได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การที่ข้าพเจ้าไม่ติดต่อ กับนายวิมภายหลังเกิดกรณีดังกล่าว ย่อมถือเป็นวิสัยที่เป็นปรกติของบุคคลทั่วไปที่ตั้งใจจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่แล้ว ในอันจะไม่พูด หรือเจรจา หรือแม้แต่แสดงความเห็นใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อรูปคดีในอนาคต”
แนะให้สอบ “เมเนเจอร์” ด้วย ฐานเสนอข่าวไม่รอบด้าน-ทำคนอื่นเสียหายร้ายแรง
ในท้ายหนังสืออุทธรณ์ของทั้งนางฐานิตะญาณ์ และนายปรีชา ยังอ้างถึงผลสอบของอนุกรรมการฯ ที่ระบุถึงเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ ที่ว่า “ทีม งานเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ แทบไม่ได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวดังกล่าวเลย เช่น ไม่ได้ตรวจสอบบัญชีอีเมลของผู้รับว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เป็นบัญชีของใคร ไม่ได้ตรวจสอบกับผู้ที่ถูกพาดพิงถึงในอีเมล”
โดยทั้งสองขอให้ “สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน ของเมเนเจอร์ ออนไลน์” ด้วย “เนื่องจากเห็นได้ชัดว่า การนำเสนอข่าวไม่รอบด้าน ได้ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อบุคคลและองค์กรวิชาชีพอื่นอย่างร้ายแรง"
โดยรายละเอียดของหนังสืออุทธรณ์ของนางฐานิตะญาณ์ และนายปรีชา มีดังนี้
000
กองบรรณาธิการ สำนักข่าวเนชั่น 7 กันยายน 2554 เรื่อง ขออุทธรณ์คัดค้านผลการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง เรียน คณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ของนักการเมืองระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อมวลชน อ้าง ถึง ผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) ของนักการเมือง ระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อมวลชน ตามผลการสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องฯ ที่อ้างถึง คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการแถลงข่าวต่อสาธารณชนไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 โดยในส่วนของรายงานผลการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับดิฉัน (หน้า16) คณะอนุกรรมการฯให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า “เมื่อปรากฏข่าวของอีเมลที่เป็นปัญหา นางฐานิตะญาณ์ ก็ไม่ได้โทรศัพท์ไปสอบถามหรือต่อว่านายวิมเลย ทั้งที่นายวิมรู้จักเป็นอย่างดีกับนายปรีชาซึ่งเป็นสามีของตน” ดังความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น ดิฉันนางฐานิตะญาณ์ ธนพิศุทธิ์กุล เห็นว่าข้อสังเกตดังกล่าวยังขาดพยานหลักฐานและเหตุผลอื่นที่ยังไม่ได้ พิจารณา กล่าวคือ ยังไม่มีการอ้างถึงเหตุผลตามที่ข้าพเจ้าได้เข้าชี้แจงในเรื่องนี้เลย เพราะเมื่อคณะอนุกรรมการฯ ได้ซักถามถึงเหตุผลเรื่องดังกล่าว ดิฉันก็ได้ชี้แจงไว้แล้วถึงสองประเด็น จึงประสงค์ยื่นคำคัดค้านผลการพิจารณาดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องฯ ดังนี้ ประเด็นแรก การที่ดิฉันไม่ได้โทรศัพท์ไปสอบถามหรือต่อว่านายวิมเลยนั้น เป็นเพราะดิฉันคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องโทรหาบุคคลที่แอบอ้างการติดต่อกับ สื่อเพื่อการไต่เต้าทางการเมืองแต่อย่างใด เนื่องจากหากดิฉันติดต่อไปอาจเกิดความเข้าใจผิดไปได้ว่า ดิฉันโทรไปนัดแนะหรือเตรียมเรื่องกันไว้ก่อนถ้ามีการสอบสวน ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับดิฉันไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อีกทั้ง ดิฉันมีความคิดว่า ไม่มีเหตุผลและความจำเป็นใดที่จะต้องไปติดต่อกับผู้ที่ทำให้ดิฉันต้องเสื่อม เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง จากการกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริง ถึงแม้ว่าจะรู้จักกันจากการติดต่อประสานงานตามสมควรในเรื่องงานที่ผ่านมาก็ ตาม ประเด็นที่สอง ณ เวลานั้น ดิฉันได้ตัดสินใจแล้วว่า จะดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายในเรื่องหมิ่นประมาท กับผู้ที่กระทำการและเกี่ยวข้องกับการทำให้ดิฉันต้องได้รับความเสียหาย จึงเห็นว่าไม่สมควรจะติดต่อใดๆกับบุคคลดังกล่าว เนื่องจากมีความเกี่ยวพันและอาจมีผลกระทบกับรูปคดีได้ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสองประเด็นดังกล่าวที่ได้ชี้แจงคณะอนุกรรมการไปแล้วนั้น ยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งดิฉันยังไม่ได้ชี้แจงให้คณะอนุกรรมการฯ ได้รับทราบในวันดังกล่าว เนื่องจากไม่คิดว่าจะมีผลสำคัญต่อการสอบสวน นั่นคือ เหตุผลที่ว่า เป็นเพราะคณะบรรณาธิการอาวุโสของเครือเนชั่น ได้ทำการสอบถามทั้งตัวดิฉันและนายปรีชา สอาดสอนพร้อมกันในทันทีที่ทราบข่าว และได้มีความเห็นร่วมกันว่าทั้งดิฉันและนายปรีชา ไม่สมควรจะติดต่อหรือแม้แต่รับการติดต่อจากนายวิมทั้งสิ้น เนื่องจากไม่เป็นผลดีต่อการสอบสวนต่างๆที่จะมีขึ้น รวมทั้งการฟ้องคดี ดังนั้น การที่คณะอนุกรรมการฯ ทำความเห็นสรุปประการสุดท้าย ในหัวข้อที่ 4 (หน้า17) ที่ว่า “คณะอนุกรรมการฯ เชื่อว่า ผู้ที่ถูกพาดพิงส่วนใหญ่น่าจะไม่ได้มีพฤติกรรมการรับสินบนตามที่เป็นข่าว แม้ จะยังมีข้อสงสัยต่อท่าทีของผู้ถูกพาดพิงบางรายว่า เหตุใดจึงมีพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งน่าจะขัดต่อวิสัยปรกติของบุคคลทั่วไปในสถานการณ์ดังกล่าว” จึงเป็นบทสรุปที่ไม่เป็นธรรมกับดิฉันในประเด็นนี้อย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังจะทำให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจผิดเป็นสำคัญต่อตัวดิฉันจากข้อ สังเกตดังกล่าว ด้วยเหตุผลที่ดิฉันได้ชี้แจงไปแล้วว่า กรณีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมการฟ้องคดี ซึ่งถือเป็นเหตุผลที่สำคัญและเป็นปรกติวิสัยของผู้ที่กำลังจะดำเนินการ เรื่องนี้ เพราะหากมีการพูดหรือเจรจาใดๆกับคู่กรณี ก็อาจถูกนำไปใช้ต่อสู้คดีจนอาจเป็นปฏิปักษ์ในทางคดีกับดิฉันได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ดิฉันจึงเห็นว่า การที่ดิฉันไม่ติดต่อกับนายวิมภายหลังเกิดกรณีดังกล่าว ย่อมถือเป็นวิสัยที่เป็นปรกติของบุคคลทั่วไปที่ตั้งใจจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่แล้ว ในอันจะไม่พูด หรือเจรจา หรือแม้แต่แสดงความเห็นใดๆที่อาจส่งผลกระทบต่อรูปคดีในอนาคต นอกจากนั้น ในส่วนผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงส่วนที่ 3 ข้อ 3.1 ว่าด้วยผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการให้ข้อมูลของผู้เกี่ยวข้อง (หน้า 5) ที่อ้างถึงคำให้การของนายนิรันดร์ เยาวภาว ผู้ดูแลเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ ตามด้วยข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯที่ว่า “คณะอนุกรรมการฯ พบว่าทีมงานเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ แทบไม่ได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวดังกล่าวเลย เช่น ไม่ได้ตรวจสอบบัญชีอีเมลของผู้รับว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เป็นบัญชีของใคร ไม่ได้ตรวจสอบกับผู้ที่ถูกพาดพิงถึงในอีเมล โดยอ้างว่า หากสอบถามไป บุคคลที่ถูกพาดพิงก็อาจจะปฏิเสธได้ เพราะในเนื้อข่าวก็ยังไม่แน่ชัดว่าคนที่ถูกกล่าวถึง ถูกพาดพิงถึงนั้นเป็นใคร และไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้ที่ส่งข่าวมาให้เป็นใคร เป็นต้น” นั้น ดิฉันใคร่ขอให้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรดำเนินการตรวจสอบถึงการปฏิบัติหน้าที่ตาม จรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน ตามที่ปรากฏในข้อเสนอแนะส่วนที่ 5 ข้อที่ 4 เนื่องจากเห็นได้ชัดว่า การนำเสนอข่าวไม่รอบด้าน ได้ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อบุคคลและองค์กรวิชาชีพอื่นอย่างร้ายแรง จึงเรียนมาเพื่อโปรดส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการรับอุทธรณ์พิจารณาต่อไปโดยเร็ว ขอแสดงความนับถือ นางฐานิตะญาณ์ ธนพิศุทธิ์กุล บรรณาธิการข่าวการเมือง สำนักข่าวเนชั่น กองบรรณาธิการ สำนักข่าวเนชั่น |
กองบรรณาธิการ สำนักข่าวเนชั่น 7 กันยายน 2554 เรื่อง ขออุทธรณ์คัดค้านผลการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง เรียน คณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ของนักการเมืองระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อมวลชน อ้าง ถึง ผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) ของนักการเมือง ระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อมวลชน ตามผลการสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องฯ ที่อ้างถึง คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการแถลงข่าวต่อสาธารณชนไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 โดยในส่วนของรายงานผลการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า(หน้า16) คณะอนุกรรมการฯใข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า “คณะอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตต่อท่าทีของนายปรีชาในช่วงหลังที่อีเมลดังกล่าวเป็นข่าวขึ้นมา ซึ่งนายปรีชาไม่ได้โทรศัพท์ไปสอบถามหรือต่อว่านายวิมเลย นอกจากนี้เมื่อนายวิมโทรศัพท์ติดต่อมา นายปรีชาก็ไม่ได้รับสายและไม่ได้ติดต่อกลับ ทั้งที่นายปรีชารู้จักกับนายวิมมาก่อน แต่นายปรีชากลับให้การว่าจะเตรียมการฟ้องร้องต่อผู้ที่ทำให้ตนได้รับความ เสียหาย ซึ่งอาจรวมถึงนายวิมด้วย” ดังความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น ข้าพเจ้า นายปรีชา สอาดสอน เห็นว่า ข้อสังเกตดังกล่าวยังขาดพยานหลักฐานและเหตุผลอื่นที่ยังไม่ได้พิจารณา กล่าวคือ ยังไม่มีการอ้างถึงเหตุผลตามที่ข้าพเจ้าได้เข้าชี้แจงในเรื่องนี้เลย เพราะเมื่อคณะอนุกรรมการฯ ได้ซักถามถึงเหตุผลเรื่องดังกล่าว ข้าพเจ้าก็ได้ชี้แจงไว้แล้วถึงสองประเด็น จึงประสงค์ยื่นคำคัดค้านผลการพิจารณาดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องฯ ดังนี้ ประเด็นแรก เหตุที่ข้าพเจ้าไม่ต้องการคุยกับนายวิม แม้แต่ในทางโทรศัพท์นั้น เพราะข้าพเจ้าไม่พอใจที่นายวิมทำให้ผมได้รับความเสียหายและเสื่อมเสียชื่อ เสียงจากการที่นายวิมนำชื่อของข้าพเจ้าไปอ้างอย่างไม่มีมูลความจริงเพื่อการ ไต่เต้าทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ดูหมิ่น เหยียดหยามต่อตัวข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากข้าพเจ้าติดต่อไปอาจเกิดความเข้าใจผิดไปได้ว่า ข้าพเจ้าโทร.ไปนัดแนะหรือเตรียมเรื่องกันไว้ก่อนถ้ามีการสอบสวน ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับข้าพเจ้าไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อีกทั้ง ข้าพเจ้ามีความคิดว่า ไม่มีเหตุผลและความจำเป็นใดที่จะต้องไปติดต่อกับผู้ที่ทำให้ต้องเสื่อมเสีย ชื่อเสียงอย่างร้ายแรง จากการกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริง ถึงแม้ว่าจะรู้จักกันจากการติดต่อประสานงานตามสมควรในเรื่องงานที่ผ่านมาก็ ตาม ประเด็นที่สอง ณ เวลานั้น ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจแล้วว่า จะดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายในเรื่องหมิ่นประมาท กับผู้ที่กระทำการและเกี่ยวข้องกับการทำให้ข้าพเจ้าต้องได้รับความเสียหาย จึงเห็นว่า ไม่สมควรจะติดต่อใดๆ กับบุคคลดังกล่าว เนื่องจากมีความเกี่ยวพันและอาจมีผลกระทบกับรูปคดีได้ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสองประเด็นดังกล่าวที่ได้ชี้แจงคณะอนุกรรมการไปแล้วนั้น ยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ได้ชี้แจงให้คณะอนุกรรมการฯได้รับทราบในวันดังกล่าว เนื่องจากไม่คิดว่าจะมีผลสำคัญต่อการสอบสวน นั่นคือ เหตุผลที่ว่า เป็นเพราะคณะบรรณาธิการอาวุโสของเครือเนชั่น ได้ทำการสอบถามทั้งตัวข้าพเจ้าและนางฐานิตะญาณ์ ธนพิศุทธิ์กุลพร้อมกันในทันทีที่ทราบข่าว และได้มีความเห็นร่วมกันว่าทั้งข้าพเจ้าและนางฐานิตะญาณ์ ไม่สมควรจะติดต่อหรือแม้แต่รับการติดต่อจากนายวิมทั้งสิ้น เนื่องจากไม่เป็นผลดีต่อการสอบสวนต่างๆที่จะมีขึ้น รวมทั้งการฟ้องคดี ดังนั้น การที่คณะอนุกรรมการฯ ทำความเห็นสรุปประการสุดท้าย ในหัวข้อที่ 4 (หน้า17) ที่ว่า “คณะอนุกรรมการฯ เชื่อว่า ผู้ที่ถูกพาดพิงส่วนใหญ่น่าจะไม่ได้มีพฤติกรรมการรับสินบนตามที่เป็นข่าว แม้ จะยังมีข้อสงสัยต่อท่าทีของผู้ถูกพาดพิงบางรายว่า เหตุใดจึงมีพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งน่าจะขัดต่อวิสัยปรกติของบุคคลทั่วไปในสถานการณ์ดังกล่าว” จึงเป็นบทสรุปที่ไม่เป็นธรรมกับข้าพเจ้าในประเด็นนี้อย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังจะทำให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจผิดเป็นสำคัญต่อตัวข้าพเจ้าจากข้อ สังเกตดังกล่าว ด้วยเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ชี้แจงไปแล้วว่า กรณีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมการฟ้องคดี ซึ่งถือเป็นเหตุผลที่สำคัญและเป็นปรกติวิสัยของผู้ที่กำลังจะดำเนินการ เรื่องนี้ เพราะหากมีการพูดหรือเจรจาใดๆกับคู่กรณี ก็อาจถูกนำไปใช้ต่อสู้คดีจนอาจเป็นปฏิปักษ์ในทางคดีกับข้าพเจ้าได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การที่ข้าพเจ้าไม่ติดต่อกับนายวิมภายหลังเกิดกรณีดังกล่าว ย่อมถือเป็นวิสัยที่เป็นปรกติของบุคคลทั่วไปที่ตั้งใจจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่แล้ว ในอันจะไม่พูด หรือเจรจา หรือแม้แต่แสดงความเห็นใดๆที่อาจส่งผลกระทบต่อรูปคดีในอนาคต นอกจากนั้น ในส่วนผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงส่วนที่ 3 ข้อ 3.1 ว่าด้วยผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการให้ข้อมูลของผู้เกี่ยวข้อง (หน้า 5) ที่อ้างถึงคำให้การของนายนิรันดร์ เยาวภาว ผู้ดูแลเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ ตามด้วยข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯที่ว่า “คณะอนุกรรมการฯ พบว่าทีมงานเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ แทบไม่ได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวดังกล่าวเลย เช่น ไม่ได้ตรวจสอบบัญชีอีเมลของผู้รับว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เป็นบัญชีของใคร ไม่ได้ตรวจสอบกับผู้ที่ถูกพาดพิงถึงในอีเมล โดยอ้างว่า หากสอบถามไป บุคคลที่ถูกพาดพิงก็อาจจะปฏิเสธได้ เพราะในเนื้อข่าวก็ยังไม่แน่ชัดว่าคนที่ถูกกล่าวถึง ถูกพาดพิงถึงนั้นเป็นใคร และไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้ที่ส่งข่าวมาให้เป็นใคร เป็นต้น” นั้น ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรดำเนินการตรวจสอบถึงการปฏิบัติหน้าที่ตาม จรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน ตามที่ปรากฏในข้อเสนอแนะส่วนที่ 5 ข้อที่ 4 เนื่องจากเห็นได้ชัดว่า การนำเสนอข่าวไม่รอบด้าน ได้ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อบุคคลและองค์กรวิชาชีพอื่นอย่างร้ายแรง จึงเรียนมาเพื่อโปรดส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการรับอุทธรณ์พิจารณาต่อไปโดยเร็ว ขอแสดงความนับถือ นายปรีชา สะอาดสอน บรรณาธิการข่าวอาชญากรรม สำนักข่าวเนชั่น |