ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 13 September 2011

วิวัฒนาการ'แท็บเล็ต' จากของล้ำยุคสู่อุปกรณ์สามัญ

ที่มา ข่าวสด

ศักดิ์สกุล กุลละวณิชย์



เอ็นซีอาร์ ซิสเต็ม 3125 (NCR System 3125) พ.ศ. 2534

ทุกวันนี้แท็บเล็ตพีซี กำลังมีบทบาทกับชีวิตประจำวันของพลเมืองโลก และพลเมืองไทย

ทั้งด้วยคุณประโยชน์ในตัวมันเอง ไปจนถึงการเข้ามาในรูปของนโยบายรัฐ

ที่ ผ่านมามีหลายประเทศเริ่มโครงการสนับ สนุนการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนกันบ้างแล้ว อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน ยุโรปบางประเทศ

และประเทศไทย

โดย เฉพาะในไทยกับนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งเสนอโครงการ 1 แท็บเล็ตพีซีต่อเด็ก 1 คน และเริ่มดำเนินการไปบ้างแล้วที่จังหวัดนครราชสีมา

แต่ยังเป็นการแจกแบบกระจายให้กับโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดเท่านั้น แต่ก็ถือว่าได้เริ่มแล้ว

จะเห็นได้ว่า แท็บเล็ตไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่ใช่อุปกรณ์ไฮเทคที่ใช้ได้เฉพาะคนมีเงินในเมืองใหญ่เท่านั้น

เพราะเด็กนักเรียนต่างจังหวัดก็มีสิทธิ์ใช้เพื่อพัฒนาการ เรียนรู้

ทีนี้ลองย้อนไปดูตั้งแต่จุดเริ่มต้นก็จะพบว่า แท็บเล็ตพีซีมีขั้นตอนการพัฒนาที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย

และใครจะรู้ว่า ไอเดีย การใช้กระดานชนวน อัจฉริยะนั้น มีมานานแล้ว



ความ หมายของแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า 'แท็บเล็ต' คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก

มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน้ตบุ๊กแบบพลิกหน้าจอกลับข้างได้ และมีหน้าจอแบบสัมผัส และมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม

จาก การรวบรวมของสำนักข่าวออนไลน์ฮัฟฟิงตัน โพสต์ (Huffington Post) ของอเมริกาเหนือ ระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ 'เข้าข่าย' ที่จะเรียกได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของแท็บเล็ต สามารถย้อนกลับไปได้ถึงปีพ.ศ. 2507

เกือบ 47 ปีก่อน!

และถ้าสมมติให้เครื่องไอแพดของ แอปเปิ้ลเป็นตัวแทนของแท็บเล็ตยุคปัจจุบันก็จะพบว่า แท็บเล็ตนั้นวิวัฒนาการต่อเนื่องกันแบบปีต่อปี โดยมีปัจจัยอยู่ที่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตขณะนั้น

เมื่อย้อนกลับไปดูเครื่องต้นตระกูลแท็บเล็ตทั้งหลาย เราจะแบ่งออกเป็นเครื่องต่างๆ ได้ดังนี้



1.แรนด์ แท็บเล็ต

(RAND Tablet) พ.ศ. 2507



ผู้ใช้สมัยนั้นนิยมเรียกว่าเครื่องแปลงภาพกราฟิก มีลักษณะเหมือนชุดเมาส์ปากกาในยุคนี้ คือมีแผ่นรองเมาส์ขนาดใหญ่กับปากกา ไฟฟ้า ใช้ความต่างของแรงดันไฟฟ้าเป็นเงื่อนไขการรับข้อมูล สนนราคาในยุคนั้นอยู่ที่ประมาณ 540,000 บาท (คาดว่ารวมเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย)





2.ดิจิตอล กราฟิก 15

(Digital Graphic 15) พ.ศ. 2515



มี ชื่อเรียกอีกชื่อว่า เครื่องแอตลาส 15 มีเป้าหมายการตลาดสำหรับโรงเรียน หรือใช้ในห้องแล็บของมหาวิทยาลัย มีลักษณะเหมือนตู้เกมที่ประกอบด้วยแป้นพิมพ์ดีด กระดานรองกับปากกาไฟฟ้า ใช้พิมพ์งาน บันทึกข้อมูลเอกสารกับวาดรูปประกอบได้



3.แอปเปิ้ล กราฟิกส์ แท็บเล็ต

(Apple Graphics Tablet) พ.ศ. 2522



คุณปู่ทวดของไอแพด ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์อยู่ในหัว สตีฟ จ็อบส์ มานานแล้ว แต่ในอดีตเทคโนโลยียังไม่อำนวย

สำหรับ กราฟิก แท็บเล็ตเครื่องนี้เป็นอุปกรณ์เสริมที่ต้องใช้กับเครื่อง 'แอปเปิ้ล II' เท่านั้น มีลักษณะเหมือนชุดเมาส์ปากกา แต่แผ่นกระดานไฟฟ้าจะมีตารางกราฟมาให้ เพื่อความสะดวกของนักออกแบบ จุดเด่นอยู่ที่ราคาสุดโหดถึงเกือบ 2 หมื่นบาท

แต่ทีเด็ดที่น่าจดจำ อีกอย่างคือ ต้องไม่ลืมว่ายุคนั้นยังไม่มีโปรแกรมตกแต่งภาพอย่างโฟโต้ช็อป ดังนั้น เครื่องมือชิ้นนี้ของแอปเปิ้ลจึงมีประโยชน์มาก และตอบโจทย์ยุคสมัยได้เป็นอย่างดี



4. กริดแพด (GridPad) พ.ศ. 2532

นับ เป็นอุปกรณ์ไอทีชิ้นแรกที่มีหน้าตาคล้ายแท็บเล็ตในปัจจุบันมากที่สุด มีหน้าจอสัมผัสด้วย มีปากกาสไตลัสใช้ทำงานร่วมกัน ราคาในสมัยนั้นคือราว 7 หมื่นบาท

กริดแพด ออกแบบมาเพื่องานด้านธุรกิจ และงานด้านการจัดการข้อมูลนอกสถานที่ เช่น การเก็บข้อมูลภาคสนาม เป็นต้น

บริษัทเดิมที่พัฒนากริดแพดคือ 'แทนดี' จากนั้นถูกบริษัทเอเอสทีซื้อไป ก่อนล้มละลายในที่สุด จากนั้นกริด แพดก็เหลือเพียงตำนาน



เอ็นซีอาร์ ซิสเต็ม 3125 (NCR System 3125) พ.ศ. 2534

ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 90 กับอุปกรณ์ที่ตอบสนองผู้ใช้ที่แป้นสัมผัส แสดงภาพบนกระดานไฟฟ้าโดยตรงไม่ต้องอาศัยมอนิเตอร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้ง โต๊ะ โดยสื่ออย่างนิวยอร์กไทมส์ ตั้งชื่อให้ว่า 'โน้ตแพด' ตรงตามลักษณะการใช้งาน




5.เอทีแอนด์ที อีโอ พีซี (AT&T EO PC) พ.ศ. 2536

ตั้ง จุดขายไว้ว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารส่วนบุคคล ราคาประ มาณ 48,000 บาท ใช้ระบบปฏิบัติการเพนพอยต์ มีการเสริมส่วนใช้งานโทร ศัพท์เคลื่อนที่ โมเด็มและแฟ็กซ์ ตลอดจนฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูล ไปจนถึงลำโพงและไมโครโฟน

ดูแล้วคล้ายต้นกำเนิดสมาร์ทโฟนยุคนี้ไม่มีผิด



6. นิวตัน เมสเสจ แพด

(Newton Message Pad) พ.ศ. 2536



ถ้า ใครคิดว่า เครื่องแอปเปิ้ล กราฟิก แท็บเล็ต ที่กล่าวไปดูเหมือนเมาส์ปากกามากกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ต้องบอกว่า เครื่องนิวตัน เมสเสจ แพด คือวิวัฒนาการขั้นที่สองที่แอปเปิ้ลก้าวเข้าใกล้ความเป็นแท็บเล็ตแบบใน ปัจจุบัน

สำหรับอุปกรณ์ชิ้นนี้ ถูกจัดอยู่ในหมวดของ 'พีดีเอ' ในช่วงนั้น ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ช่วยงานดิจิตอลส่วนบุคคลนั่นเอง

แต่ ทว่าของใช้ไฮเทคจากแอปเปิ้ลชิ้นนี้กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะเครื่องขัดข้องเป็นประจำ แถมด้วยราคาที่แสนแพง สุดท้ายต้องเลิกผลิตหลังจากวางขายได้เพียง 5 ปี



7.เซนิธ ครุยซ์แพด

(Zenith CruisePad) พ.ศ. 2538

แท็บ เล็ตงานเอกสารและข้อมูล จะสังเกตได้ว่าความบางเริ่มเป็นเทรนด์ที่แท็บเล็ตรุ่นต่อจากนี้เริ่มมุ่งไป หาแล้ว ราคาค่าตัวอยู่ที่ 42,000 บาท

ค ฟูจิตสึ สไตลิสติก 2300 (Fujitsu Stylistic 2300) พ.ศ. 2541

ผู้ผลิตฝั่งญี่ปุ่นเริ่มก้าวเข้าสู่วงการอุปกรณ์พกพาไฮเทคกับแท็บ เล็ตเจ้าแรกๆ ที่โชว์จุดเด่นที่จอสีสดใส



8.คอมแพ็ก แท็บเล็ต (Compaq Tablet) พ.ศ. 2544

เคยสร้างความฮือฮามาแล้ว เพราะเปิดตัวสินค้าโดย นายบิล เกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ เนื่องจากใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์นั่นเอง

ถือเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่วงการไอทีต้องบัญญัติศัพท์คำว่า 'แท็บเล็ตพีซี' เพื่อใช้อย่างเป็น ทางการ



9. ไมโครซอฟท์ สมาร์ท ดิสเพลย์ (Microsoft Smart Display) พ.ศ. 2545

รูป ร่างคล้ายปฏิทินตั้งโต๊ะ แต่แท้จริงแล้วทำงานในรูปแบบมอนิ เตอร์จอสัมผัสนั่นเอง เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ยูนิตด้วยไว-ไฟ ทำให้ ต้องอยู่ใกล้กับเครื่องปล่อยสัญญาณ ด้านการตลาดก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า สุดท้ายโดนยกเลิกการผลิตในปีต่อมา



10.โมชั่น คอมพิวติ้ง แอลเอส 800

(Motion Computing LS800) พ.ศ. 2548

เริ่มคล้ายแท็บเล็ตในยุคปัจจุบันแต่ยังมีความหนาอยู่มาก และด้วยความที่ไม่มีคีย์ บอร์ดมาให้ จึงทำหน้าที่เป็นตัวแสดงผลอย่างเดียว



11. อะซิโอตรอน ม็อดบุ๊ก (Axiotron ModBook) พ.ศ. 2550

จริงๆ แล้วอุปกรณ์ชิ้นนี้เป็น 'เครื่องโม' หรือการดัดแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์แมคบุ๊กให้ใช้งานได้เหมือนแท็บเล็ต โดยทางแอปเปิ้ลไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับเจ้า 'ม็อดบุ๊ก' แต่อย่างใด สนนราคาในการจ้างบริษัท อะซิโอตรอน สำหรับการดัดแปลงคือ 24,000 บาท แต่ถ้าใครไม่มีแมคบุ๊ก แต่ต้องการซื้อเครื่องที่ดัดแปลงแล้วต้องจ่ายเงินถึง 6 หมื่นบาทเลยทีเดียว



12.ไอแพด (Apple iPad) พ.ศ. 2553

เข้าสู่เส้นชัยกับแอปเปิ้ล ไอแพด รุ่นแรก โดยไอแพดนำเสนอการใช้งานด้านมัลติมีเดียต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ เพลง เกม อีบุ๊ก และท่องเว็บไซต์ ขนาดและน้ำหนักของไอแพดมีขนาดเบากว่าแล็ปท็อป สถิติช่วงแรกของการวางจำหน่าย คือสามารถทำยอดขายได้ถึง 3 ล้านเครื่องในช่วงเวลาเพียง 80 วัน ส่วนการวางจำหน่ายผ่านตัวแทนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เริ่มเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2553



13. ไอแพด 2 (Apple iPad 2) พ.ศ. 2554

เวอร์ชั่นต่อจากไอแพดที่ออกแบบและพัฒนาโดยแอปเปิ้ล เปิดตัวครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 2 มี.ค. 2554 ส่วนการวางจำหน่ายในอเมริกา เริ่มวันที่ 11 มี.ค. 2554 และจำหน่ายในอีก 26 ประเทศทั่วโลกในวันที่ 25 มี.ค. 2554 สำหรับการจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2554 คุณสมบัติเด่นๆ ของไอแพดทั้งสองรุ่น ได้แก่ สามารถเล่นวิดีโอ ฟังเพลง ดูรูปภาพและเล่นอินเตอร์เน็ตได้ เล่นเกมได้ ดูหนังออนไลน์ได้

หลัง จากนั้นเป็นต้นมา ในปี 2554 หรือในปีปัจจุบัน ตลาดไอทีโลกก็เต็มไปด้วยแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าสัญชาติใด ก็พร้อมจะวางขายแท็บเล็ตของตน

แต่ด้วยเวลาอันรวดเร็วอีกเช่นกัน ก็มีผู้ผลิตหลายเจ้าเริ่มม้วนเสื่อกันไปบ้างแล้ว เพราะผลิตเครื่องสู้เจ้าใหญ่ๆ อย่างแอปเปิ้ลไม่ได้ และเกรงว่าจะขาดทุน

ส่วนผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องหันมาดูตัวเองว่า จริงๆ แล้ว เจ้าอุปกรณ์ชนิดนี้เหมาะสมกับการใช้งานของเราหรือไม่!