ที่มา เว็บไซต์โรเบิรต์ อัมสเตอร์ดัม
18 กันยายน 2554
พวก เขาเรียกมันว่า รัฐประหารที่ “ปราศจากการนองเลือด” ราวกับว่าการกระทำที่รุนแรงนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการนองเลือด ไม่มีคนบาดเจ็บหรือล้มตายในค่ำคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 เมื่อรถถังของทหารปรากฏบนท้องถนนกรุงเทพมหานคร และบดขยี้ประชาธิปไตยที่ถูกสร้างขึ้นอย่างช้าๆ เป็นเวลากว่าหลายทศวรรษที่ผสมปนเปไปด้วยโศกนาถกรรมและชัยชนะ อุปกรณ์ที่เหล่าทหารใช้ขับเคลื่อนเข้ามายังเมืองหลวงเล่าเรื่องราวที่ต่าง กันออกไป สาเหตุหนึ่งที่ไม่มีการนองเลือดบนท้องถนนในค่ำคืนวันนั้น เป็นเพราะไม่มีการต่อต้านจากประชาชนที่กำลังตกอยู่ในความงงงวย แต่อย่างที่เราได้ประจักษ์ในเวลาต่อมาคือ ทหารพร้อมจะยิงใครก็ตามที่กล้าต่อต้านการกระทำอันทารุณที่ไม่สามารถยอมรับ ได้ ซึ่งสั่งการโดยผู้บังคับบัญชาการของพวกเขา
ประชาชนชาวไทยอดทนต่อ รัฐบาลทหารที่ขึ้นสู่อำนาจในวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กลุ่มทหารที่อ้างว่าพวกเขาไม่มีเจตนาจะล้ม ล้างประชาธิปไตย ฉกฉวยอำนาจหรือเงินทองเพื่อตนเอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เหล่านายพลเหล่านั้นอนุมัติกฎหมายยกเว้นความรับผิดให้กับตนเอง ประชาชนชาวไทยยังยอมทนต่อไปเพื่อให้ประเทศชาติได้ก้าวไปข้างหน้า ประชาชนชาวไทยยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาจะไม่สามารถลงคะแนนเสียงเลือก ตั้งให้นายกรัฐมนตรีที่พวกเขาเลือกมาแล้วถึงสองครั้ง และยังรอคอยการเลือกตั้งอีกครั้ง เพื่อพวกเขาจะได้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงอีกครั้งหนึ่ง พวกเขายังเออออไปกับรัฐธรรมนูญที่ขัดขวางไม่ให้คนส่วนใหญ่ปกครองบ้านเมือง และให้อำนาจล้นฟ้ากับกลุ่มตุลาการที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนสั่ง ยกเลิกมติมหาชน เพื่อพวกเขาจะได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา
ตลอดช่วงเวลา นี้ ประชาชนชาวไทยเป็นตัวอย่างของการเต็มใจที่จะให้อภัย และในเวลาเดียวกันก็เป็นตัวอย่างของความยึดมั่นที่มีต่อกระบวนการทาง ประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ พฤติกรรมของพวกเขาหลังจากรัฐประหารแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับพฤติกรรมของกลุ่ม คนที่อาฆาตมาตร้ายและมีจิตใจคับแคบที่ถอดถอนรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และยังไม่เสียเวลาที่จะพยายามทำทุกอย่างเพื่อประกันว่า “ประชาธิปไตย” ที่พวกเขาสัญญาจะสร้างขึ้นใหม่ไม่ใช่อะไรไปมากไปกว่าเรื่องโกหกหลอกลวง ความอดทนของประชาชนได้สิ้นสุดลงในปี 2551 เมื่อการทรยศของทหารไม่สามารถตบตาผู้คนได้อีกต่อไป รัฐประหารตุลาการถูกนำมาใช้หลังจากความล้มเหลวของตุลาการกองทัพ มีการเปิดทางให้ทหารขึ้นสู่อำนาจอีกครั้ง โดยหลบอยู่หลังฉากหน้าตาอันน่าสมเพชของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในตัวของนายอภิสิทธิ์ กองทัพอาจจะค้นพบบุคคลที่เต็มใจสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครองด้วยอำนาจ นิยม ภายใต้ภาษาของกฎหมายและประชาธิปไตย แต่กระนั้นก็ไม่สามารถหลอกลวงใครได้
ตามที่เราเข้าใจได้อย่างอย่าง ง่ายๆแม้แต่เพียงหนึ่งวันหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร ห้าปีหลังจากนั้น จึงดูเหมือนเป็นเรื่องตลกขบขันอย่างยิ่งที่จะนิยามรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ว่าเป็น “รัฐประหารที่ปราศจากการนองเลือด” แท้ที่จริง มีการนองเลือดอย่างมหาศาลตั้งแต่ค่ำคืนนั้น เนื่องจากกองทัพตกลงที่จะกีดดัน “คนผิด” ออกจากอำนาจ รับประกันว่า “คนถูก”จะได้เลื่อนตำแหน่ง ใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมหาศาล รับรองว่ากลุ่มชายในเครื่องแบบจะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายใด และกักขังกลุ่มคนที่แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีไว้ในเรือนจำที่สกปรกโสโครก อย่างไรก็ตาม การที่ไม่มีการนองเลือดแม้แต่หยดเดียวเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐ ประหารเป็นความล้มเหลวอย่างน่าอดสู ห้าปีหลังจากนั้น เรากลับไปยืนในที่ที่เราจากมาอีกครั้ง โดยมีนายกรัฐมนตรีที่มาจากตระกูลชินวัตร และกลุ่มทหารที่ซุ่มโจมตีในที่ลับ หาโอกาสล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกครั้ง
นายกรัฐมนตรียิ่ง ลักษณ์ ชินวัตรตกอยู่ในสถานะที่ลำบาก ในด้านหนึ่งเธอได้รับประชามติอย่างเด็ดขาดจากประชาชานที่เลือกเธอมาด้วยความ คาดหวังว่ารัฐบาลใหม่สามารถจะนำพาประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และอีกด้านหนึ่งเธอต้องเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวังเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ที่เป็นข้าราชการและทหารที่พยายามสกัดกั้นเธอทุกย่างก้าว ภายใต้คำขมขู่ที่ชัดเจนว่า พวกเขาไม่ลังเลที่จะถอดถอนเธอ การเอาชนะต่ออุปสรรคแห่งประวัติศาสตร์นี่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่กับอุตสาหะของกลุ่มคนที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย โดยการถอดหน้ากากกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการทำลายประชาธิปไตยออกมา ตามด้วยการรณรงค์ปล่อยนักโทษทางความคิดหลายราย และพากเพียรต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อยุติวัฒนธรรมการยกเว้นความผิด
ในหนังสือ Revolution Interrupted เขียนโดยนักวิชาการที่ชื่อ Tyrell Haberkorn ได้บันทึกข้อมูลของผู้ต่อสู้ที่มาก่อนการว่า
ชาวนา ในภาคอีสานได้กลายเป็นนักปฏิวัติ เมื่อพวกเขาไม่เป็นเพียงแค่ผู้ถูกกระทำทางกฎหมาย และเปลี่ยนไปเป็นผู้กำหนดทิศทางของกฎหมาย และบังคับให้เจ้าของที่ดินและรัฐต้องรับผิดชอบต่อพวกเขา
Haberkorn พุดต่อว่า
มัน ไม่ใช่ เรื่องของความรุนแรงต่อชาวนาและกลุ่มกบฏในประเทศไทยช่วงยุค 70 ที่สร้างความประหลาดใจและรบกวนใจดิฉัน แต่เป็นความเงียบงันเรื้อรังของกลุ่มคนที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปีหลังจากนั้นต่างหาก ในบริบทของความต่อเนื่องและผลัดเปลี่ยนของการกดขี่อย่างสม่ำเสมอต่อผู้ที่ ท้าทายต่อการก้มหัวยอมับคำสั่ง ความเงียบงันนี้คุกคามและทำให้ปัญหานั้นกลายเป็นเรื่องที่ไม่มีผู้ใดรับรู้
การ เคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงพยายามจะยุติความเงียบงันนั้นในตลอดระยะเวลาที่ผ่าน มา โดยการยุติวัฒนธรรมการละเว้นความรับผิดให้กับกลุ่มคนที่สังหารพี่น้องเรา อย่างเลือดเย็น ชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้นในการต่อสู้อัน ยาวเพื่อยุติวัฒนธรรมการไม่ต้องรับผิดนี้