ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 12 September 2011

อภัยโทษชงร้อนๆ 3จชต.ขอด้วย

ที่มา Thai E-News


โดย ปาแด งา มูกอ
11 กันยายน 2554

ถูกต้องและขอร่วมด้วย ครับ !!!! สมศักดิ์ เจียมฯ:อย่าดำเนินการเรื่องอภัยโทษเลยครับ จะทำให้ระบบกฎหมายเสียหายในระยะยาว

มาคราวนี้ผมต้องขอสนับสนุนข้อคิดเห็นของท่านอาจารย์สมศักดิ์ เจียมฯอย่างเต็มร้อย ข้อคิดเห็นและเหตุผลถูกต้องทุกอย่าง ควรที่พลังมวลชนคนเสื้อแดงทั่วโลก และรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ฯ ต้องร่วมกันพิจารณาตรึกตรองอย่างรอบคอบ ถึงผลได้ผลเสียในประเด็นที่อาจารย์สมศักดิ์ฯแนะนำ

มิฉะนั้นพวกเรามวลชนคนเสื้อแดงและรัฐบาลอาจจะสะดุดขาตัวเองได้

พูดถึงเรื่อง “อภัยโทษ” ทางจังหวัดชายแดนใต้ก็มีเรื่องดังกล่าวผุดขึ้นมาเหมือนกัน แต่เป็นการผุดที่เกิดจากข้อคิดเห็นของ แม่ทัพภาคที่ 4 คนปัจจุบัน (พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ )

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับเรื่องที่กำลังฮอทอยู่ในขณะนี้ ว่า มันมีที่มาที่ไปอย่างไรในเรื่องของการ “นิรโทษกรรม, ล้างมลทิน, อภัยโทษ”

“นิรโทษกรรม” คือ “เสมือนไม่เคยทำความผิดเลย” ขอโดยรัฐสภา ออกเป็นพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม การขอนิรโทษกรรมทำได้ทุกขั้นตอนของคดีความ โดยไม่จำเป็นคดีต้องสิ้นสุดก่อน

“ล้างมลทิน” ออกเป็นพระราชบัญญัติ ใช้กับข้าราชการที่กระทำความผิดทางวินัย

“อภัยโทษ” อภัยโทษโดยพระมหากษัตริย์เท่านั้น และมีคำพิพากษาศาลฎีกา พิพากษาเป็นเด็ดขาด การอภัยโทษเป็นการลดโทษ จากมากไปน้อย

การพระราชทานอภัยโทษ หมายถึง การพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์แก่ผู้ต้องโทษประเภทต่าง ๆ ให้ได้รับการปล่อยตัวหรือลดโทษ โดยมีทั้งการพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานพระมหากรุณาขึ้นมาและในรูปของการพระราชทานอภัยโทษเป็น การทั่วไป ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเสนอให้มีการพระราชทานอภัยโทษ

ผลของการพระราชทานอภัยโทษตามกฎหมาย อาจแยกพิจารณาได้เป็นสองกรณี คือ กรณีที่มีการพระราชทานอภัย โทษเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไข กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้บังคับโทษนั้น กล่าวคือ ถึงแม้จะมีการบังคับโทษไปบ้างแล้ว ก็ต้องหยุดการบังคับโทษนั้นทันทีส่วนกรณีการอภัยโทษเป็นแต่เพียงเปลี่ยนโทษ หนักเป็นเบา หรือลดโทษเท่านั้น

ถ้ายังมีโทษหลังจากได้รับพระราชทานอภัยโทษให้เปลี่ยนเป็นเบา หรือลดโทษแล้วยังเหลืออยู่ ตามกฎหมายก็ให้บังคับเฉพาะโทษที่ยังเหลือนั้นต่อไป จนกว่าจะครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาของศาล

เมื่อทราบถึงความเป็นมาของการ “นิรโทษกรรม, ล้างมลทิน, อภัยโทษ” แล้ว ก็มาเข้าเรื่อง “อภัยโทษ” ของปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ กันดูบ้าง เพื่อจะได้เห็น ประเทศไทยเราในปัจจุบัน มันโคตรที่จะมีปัญหามากมายเสียจริงๆ

แม่ทัพภาค 4 เสนอแนวทางดับไฟใต้ "อภัยโทษ"ผู้หลงผิดคดีความมั่นคง!!

พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ความไม่สงบในขณะนี้ มีสาเหตุจาก “ภัยแทรกซ้อน” คือกลุ่มอิทธิพลมืด ค้ายาเสพติด น้ำเถื่อน และสินค้าเถื่อน มากถึง 80% ส่วนสาเหตุจากการแบ่งแยกดินแดนจริงๆ มีเพียง 20% เท่านั้น

โดยกลุ่มอิทธิพลเถื่อนใช้เงินจ้างกลุ่มติดอาวุธของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ มีอุดมการณ์ “ญิฮาด” (ทำสงครามและพร้อมพลีชีพเพื่อศาสนา) ให้ก่อเหตุรุนแรงรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะลอบวางระเบิด เพื่อให้เจ้าหน้าที่พะวงหรือเทกำลังไปยังจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเปิดทางหรือเปิดพื้นที่อีกหลายๆ จุดที่เป็นเส้นทางขนถ่ายยาเสพติดและสินค้าผิดกฎหมาย

“เรามีหลักฐานการโอนเงินจากกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมายไปยังบัญชีของกลุ่มที่อยู่ ในโครงสร้างของขบวนการแบ่งแยกดินแดน เมื่อผมได้ข้อมูลตรงนี้ ผมก็สั่งจับหมด ทำให้มีการก่อเหตุระเบิดตอบโต้บ่อยครั้งในระยะหลัง” แม่ทัพภาคที่ 4 ระบุ

สำหรับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง 20% ที่เป็นระดับปฏิบัติการจริงๆ ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนนั้น พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า จริงๆ แล้วมีไม่มากนัก ตัวเลขล่าสุดน่าจะไม่เกิน 7 พันคน โดยพื้นที่ก่อเหตุจะวนเวียนอยู่ในราว 12 อำเภอจาก 33 อำเภอ (เฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากรวม 4 อำเภอของ จ.สงขลาด้วยจะเป็น 37 อำเภอ) และหมู่บ้านที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการซึ่งเรียกว่า “หมู่บ้านที่มีอำนาจซ้อนอำนาจรัฐ” มีอยู่ 309 หมู่บ้านจาก 2 พันหมู่บ้าน

จากข้อมูลดังกล่าวนำมาสู่การสังเคราะห์ และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาของฝ่ายทหารใน 2 มิติ คือ

1.จัดการกับกลุ่มอิทธิพลเถื่อนและผู้ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย ด้วยการประสานกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ดำเนินคดีและยึดทรัพย์ขบวนการเหล่านี้ เพื่อหยุดวงจรธุรกิจเถื่อนและตัดเส้นทางเงินสนับสนุนกลุ่มก่อความไม่สงบ

2.จัดการกับกลุ่มติดอาวุธและแนวร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน โดยใช้นโยบาย “อภัยโทษ” เพื่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาดึงคนเหล่านั้นให้เข้ามอบตัวกับทางราชการ

พล.ท.อุดมชัย ชี้ว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงซึ่งมีอยู่ 20% ไม่ใช่อาชญากรโดยสันดาน แต่ถูกปลูกฝังความเชื่อผิดๆ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และศาสนา ทำให้จับอาวุธขึ้นมาสู้กับรัฐ ฉะนั้นจึงเสนอให้ “อภัยโทษ” กับคนกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันก็เยียวยาผู้เสียหายจากสถานการณ์ความไม่สงบทุกคนทุกกลุ่ม โดยให้ฝ่ายทหารรับผิดชอบดูแลทั้งกระบวนการ

แนวทาง “อภัยโทษ” ของแม่ทัพภาคที่ 4 ใช้หลักการเดียวกับมาตรา 17 สัตต ของพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 17 ต.ค.2519) ซึ่งเลิกใช้ไปแล้ว และคล้ายคลึงกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/23 ซึ่งทำให้คนที่เข้าป่าจับปืนสู้กับรัฐออกมามอบตัวเป็นจำนวนมาก (เพราะได้รับการยกเว้นความผิด) และแก้ไขปัญหาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ได้อย่างเบ็ดเสร็จในที่สุด

ประเด็นดังกล่าว อดีต แม่ทัพภาค 4 พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 ก็เสนอแนวทางให้รัฐบาลรื้อฟื้นมาตรการตามมาตรา 17 สัตต แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 หรือกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งถูกยกเลิกไปเมื่อปี 2543 กลับมาบังคับใช้ใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มแนวร่วมก่อความไม่สงบที่หลงผิดเข้ามอบตัวกับทางการ

ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ก็เห็นด้วย แต่ต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป
มาตรา 17 สัตต ที่ว่านี่คืออะไร

มาตรา 17 สัตต อยู่ใน " พระราชบัญญัติ ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 " ซึ่งประกาศใช้เมื่อ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495

มาตรา 17สัตต ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าพนักงาน สอบสวนเห็นว่า ผู้ต้องหาคนใดได้กระทำความผิดดังกล่าวเพราะหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ มีเหตุที่ไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคนใด ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสำหรับผู้ต้องหาคนนั้น พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีเขตอำนาจ เหนือท้องที่ที่มีการสอบสวน

ถ้าผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ตามวรรคหนึ่ง เห็นชอบ ด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวน ว่าไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ให้ผู้อำนวยการป้องกัน การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการถูกฟ้อง คดี

โดยให้ผู้ต้องหาดังกล่าวเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และจะกำหนดเงื่อนไข ให้มารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นครั้งคราวตามที่กำหนด ภายหลังการอบรมแล้วด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดระยะเวลาที่ให้มารายงานตัวเกินหนึ่งปีไม่ได้การกำหนดเงื่อนไขให้ ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการฟ้องคดีตามวรรคสอง จะกระทำได้ ต่อเมื่อผู้ต้องหายินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว และเมื่อผู้ต้องหาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว จะฟ้องผู้ต้องหาสำหรับการกระทำที่ต้องหานั้นอีกไม่ได้ "

( มาตรา 17 สัตต เพิ่มความโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2519)หากจะบอกกันตรงๆว่าแนวคิดนี่ดีหรือไม่ บอกว่าดีครับ...แต่ถามว่าในทางปฎิบัติ ใช้ได้แค่ไหนเท่านั้นครับ

พล.ท.อุดมชัย บอกว่า สาเหตุที่ต้องการประกาศนโยบาย “อภัยโทษ” ก็เพื่อให้เกิดผลสะเทือนทางจิตวิทยาในวงกว้าง เนื่องจากกระบวนการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากเกินไป หลังจากประกาศใช้มาระยะหนึ่งในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา และ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ปรากฏว่ามีผู้เข้ามอบตัวกับรัฐเพียง 4 คนเท่านั้น

อย่างไรก็ดี แนวทาง “อภัยโทษ” ซึ่งแม่ทัพภาคที่ 4 ยืนยันว่ามีความพร้อม และยินดีให้ตั้งคณะกรรมการจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลการดำเนินงานของ ฝ่ายทหารนั้น ปรากฏว่ายังไม่เคยเสนอต่อรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ฉะนั้นเรื่องนี้จึงจะเป็นข้อมูลสำคัญที่แม่ทัพภาคที่ 4 เสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ตัดสินใจด้วย

เป็นยังไงครับ ประเทศไทยเรามันโคตรที่จะมีปัญหามากมายเสียจริงๆ ไหมครับ ดังนั้นพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าท่านจะอยู่ฝ่ายไหน ข้างใด สีอะไร ยากดีมีจนแค่ไหน มียศฐาบรรดาศักดิ์เพียงใด ท่านก็จะต้องพบกับโคตรปัญหาเหล่านี้ร่วมกันและเท่าเทียมกัน

ไม่ว่าอ้ายอีหน้าไหนก็ตาม......