ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 19 September 2011

รัฐประหาร 2549 : ผลกระทบต่อการเมืองไทย

ที่มา Voice TV









คุณ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวี รายงานสดจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประเทศสิงคโปร์ โดยนักวิชาการชี้การเมืองไทยหลังการรัฐประหารยังไม่เปลี่ยนแปลง

สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประเทศสิงคโปร์ จัดสัมมนา 5 ปีหลังการรัฐประหาร: พัฒนาการของการเมืองไทยหลังการโค่นล้มทักษิณรัฐประหาร 2549: ผลกระทบต่อการเมืองไทย

รศ.ดร.เฟเดเรโก เฟอร์รารา คณะเอเชียและการต่างประเทศศึกษา มหาวิทยาลัยฮ่องกงกล่าวในหัวข้อภารกิจที่ยังไม่สำเร็จ: การแพร่กระจายของความขัดแย้งกว่าศตวรรษของการพัฒนาทางการเมืองของไทยโครง สร้างทางการเมืองของไทยไม่ได่เปลี่ยนแปลงมากนักนับจากการรัฐประหารนักการ เมืองทหารแต่สิ่งที่ทำให้เปลี่ยนไปก็คือ อาจมีตัวแสดงที่วำคัญบางอย่างเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

เสื้อแดงสานต่อภารกิจที่ไม่สำเร็จนับตั้งแต่การปฏิวัติ เรียกร้องความเท่าเทียม ความเป็นพลเมือง นี่คือเหตุผลที่ทำให้เกิดคำว่าไพร่และอำมาตย์การพัฒนาของการเมืองไทยจะเกิด ขึ้นได้ ถ้านักการเมืองจับมือกันเพื่อต่อต้านอำนาจนอกระบบ

ดร.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า 1980 คือช่วงที่ประชาธิปไตยครึ่งๆ ในช่วงนี้เป็นช่วงทั่วพูดถึงการพัฒนาทางการเมืองอีกครั้ง เพราะว่าไม่มีการแบ่งแยกระหว่างประชาธิปไตยจะทำให้ึนส่วนน้อยแต่มีพลังทาง การเมือง อยู่ในระบบประชาธิปไตย

อาจารย์แบ่งประชาธิปไตยของไทยไว้ 4 แบบ

1. ประชาธปไตยไทยๆ บางคนบอกว่าไม่ใช่ แต่เราก็ยังบอกว่าใช้ ต่อต้านตะวันตก เป็นประชาธิปไตยเพราะว่าเป็นประชาคน ทหารก็เป็นประชาชน การรัฐประหารผิด แต่การคงไว้ประชาธิปไตยแบบไทยๆ เป็นสิ่งจำเป็น

2. ประชาธิปไตยเลือกตั้ง ต้องการการเลือกตั้ง เสื้อแดง เป็นสัญญาประชาคม ปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่น แต่ประชาชนให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งมากกว่าคอร์รัปชั่น ปัญหาคือไม่ค่อยเปลี่ยนโครงสร้าง

3. ประชาธิปไตยเสรี เสื้อเหลือง ต้องเท่าเทียมกันใต้กฎหมาย ไม่ต้องให้สวัสดิการมาก

4. ประชาธิปไตยแบบปฏิรูป พวกเอ็นจีโอและภาคประชาสังคม ต่อต้านทักษิณ สนับสนุนการรัฐประหาร หากประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้งไม่สามารถจัดการเรื่องโครงสร้างได้ แต่ทำได้แค่เรื่องนโยบายประชานิยมก็จะมีปัญหา

ทำยังไงให้คนส่วนน้อยในสังคมอยู่ในประชาธิปไตย อาจมีการประนีประนอมเป็นการเมืองแบบใหม่ ต้องมีการปฏิรูป รวมถึงการปฏิรูปกองทัพ

ซึ่ง ศ.ธงชัย วินิจจะกุลให้ความเห็นว่าการประนีประนอมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะความขัดแย้งเดินมาถึงจุดที่ถ้ามีการประนอมต้องมีฝ่ายดายฝ่ายหนึ่งสูญ เสียมาก ไม่สามารถมีผลประโยชน์ร่วม

เมื่อแอนดรูว์ มาร์แชล ถามว่าจะมีการรัฐประหารอีกหรือไม่ อาจารย์เฟอร์ราราบอกว่าไม่แน่ใจ แต่ถ้ามีอีก จะทำให้การเมืองไทยดิ่งลง ในขณะที่อาจารย์พิชญ์มองว่ามีการรัฐประหารอยู่แล้ว แต่มีอยู่ 3 แบบ

ส่วนการบริหารของยิ่งลักษณ์ อาจารย์พิชญ์มองว่าไม่น่ามีอะไรเปลี่ยน เพราะความสัมพันธ์กับสื่ยังไม่ดี รัฐมนตรีที่คุมสื่อก็ยังไม่มีอะไรออกมา ส่วนอีกเรืองของการจัดการเรื่องกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ในขณะที่อาจารย์เฟอร์ราราชี้ว่า ยังไม่สามารถสรุปได้เพราะว่ายังเร็วเกินไป