ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 3 August 2011

(กระทู้แรกใน tfn ของผม) ถ้าการเมืองมันเนือย ๆ ไม่มีอะไรตื่นเต้น ....

ที่มา thaifreenews

โดย ขุนอิน

ถ้าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มันช้าไม่ทันใจ ถ้ามันมีภาพเหมือนไปแอบเกี๊ยะเซี้ยะกันให้น่าสงสัย

ก็อย่าเพิ่งไม่พอใจอะไรกันมากนะครับ ขอให้อดทน คอยดูสถานการณ์ไป เพราะการเมืองที่ต้องสู้กันอีกนานนั้น มันต้องมีศิลปะ หลักการคือ

1. ต้องรู้จักคอยเวลาที่เหมาะสมในการรุกเรื่องสำคัญ ๆ อันนี้ turning point ที่สำคัญใคร ๆ ก็รู้ว่ามันคืองานใหญ่สนามหลวง

2. ต้องหามวลมิตรสนับสนุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทุกวันนี้ทักษิณทำได้ดีเลิศเป็นอย่างยิ่ง

3. ต้องทำอย่างสร้างสรรค์ประเทศ ไม่ใช้เอาประเทศชาติมาเป็นเดิมพันหรือเป็นตัวประกัน จึงต้องอดทนกับเพื่อนร่วมชาติที่เห็นต่าง ที่คอยขัดแย้ง การต่อสู้ที่ดีที่สุดคือทำให้ศัตรูยอมสยบและหมดแรงต่อสู้ในที่สุด

4. ต้องอดทนกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ยิ่งกว่าใคร ๆ

...

ผม คิดว่า honeymoon period คงหลายเดือนหน่อย จากสัญญาณเจรจาที่แสดงผลออกมาชัดเจนแล้ว ไม่ว่าผลงานกกต. ศาล คำพูดให้สัมภาษณ์ของท่านทักษิณ รายการในช่อง DNN ที่ขัดใจคนดูเสื้อแดง แรงต่อต้านพรรคเพื่อไทยที่ลดฮวบลงอย่างมาก

ทำให้ผมเชื่อว่าปฏิญญาบรูไน น่าจะมีจริง หมายความว่าอาจไม่ใช่ที่บรูไน แต่ที่ไหนก็ได้ในโลกมีการเจรจากันแล้วจริง ๆ

สำหรับ ผมแล้ว ขอเป็นคนดู คอยดูผลงานดีกว่าว่าต่อไปนี้พรรคเพื่อไทยจะทำงานเพื่อสร้างสรรค์ประชาธิปไตย หรือแค่เพื่อให้ได้ซึ่งอำนาจรัฐมายังกลุ่มตน ผมเชื่อว่าตระกูลชินวัตรซึ่งโดนกระทำมามากย่อมบรรลุสัจธรรมได้ดีกว่าใคร เพื่อน และผมยังไว้ใจในคนตระกูลนี้ว่าจะร่วมต่อสู้เพื่อนำพาประชาธิปไตยมาสู่ประเทศ นี้ได้ ในที่สุด

ผมเชื่อในพลังของคนเสื้อแดง ที่ขยายตัวมากขึ้นในเชิงปริมาณและพัฒนามากขึ้นในเชิงคุณภาพ พลังมวลชนนี้ถ้าประสานดี ๆ กับพรรคการเมือง เรามีแค่แก้วสองประการนี้ก็อาจจะพอในการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญรุ่งเรือง ไปให้มากกว่านี้ ดูตัวอย่างในอิยิปต์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังก็สามารถเอาชนะเผด็จการได้

ผม เริ่มรู้สึกผ่อนคลายขึ้น และได้แต่เฝ้ารอดูการเปลี่ยนแปลง และสัญญาณต่าง ๆ ที่ทะยอยออกมา การรุกคืบของทักษิณทำได้ดีมากในต่างประเทศ รัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นก็ต้องรอดูผลงานก่อนที่จะไปวิจารณ์ใด ๆ

คน เสื้อแดงจะทำอะไรต่อไป ผมคิดว่าก็ทำงานมวลชนเหมือนเดิม สนับสนุนการขยายตัวของหมู่บ้านเสื้อแดง และอาศัยพลังจุดนี้ มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วย จะทำให้คนเสื้อแดงแข็งแรงมากขึ้น

คนเสื้อแดงก็ต้องช่วยกันโน้มน้าว ผลักดันรัฐบาลให้ทำงานด้านพัฒนาประชาธิปไตยด้วย อย่าทำเหมือนรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมาที่สนใจแต่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม

Re:

โดย ลูกชาวนาไทย



ผมอ่านบทความของ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในประชาไท ที่วิจารณ์ว่า "การเมืองของชนชั้นนำ" ได้จบลงไปแล้ว (บทความชื่อ "นิธิ เอียวศรีวงศ์: บทบาทชนชั้นนำและการเมืองภาคประชาชน [คลิป]" แต่ผมทำลิงค์ไม่ได้ เพราะโดน True บล็อกประชาไทอยู่) ผมว่านิธิ วิจารณ์ไว้ค่อนข้างดี

ก็เหมือน กับที่ผมพูดเป็นข้อสมมุติฐานไว้นานแล้วว่า "พฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทย เปลี่ยนไปเลือกพรรคมากกว่าตัวบุคคล" คือ พื้นฐานสำคัญที่เป็นรากเหง้าของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ "การเปลี่ยนพฤติกรรมการลงคะแนน" ซึ่งทำให้กลุ่มอำมาตย์ไม่สามารถโน้มน้าวจูงใจให้ประชาชนกลับไปเลือกแบบ กระจัดกระจาย ที่เขาจะสามารถมีอิทธิพลเหนือพรรคต่างๆ ในฐานะ "ล็อบบี้" ได้

ดร.นิธิ ได้เพิ่มเติมรายละเอียดว่า "ทำไมพฤติกรรม" ของผู้เลือกตั้งจึงเปลี่ยนไป

ผล การเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม มันเหมือนซูนามิทางการเมือง (อย่างน้อยคุณบรรหารก็พูดไว้) เมื่อเจอซูนามิ สัญชาติญาณคือ เอาตัวรอด และพยายามรักษาสิ่งที่พวกเขารักษาเอาไว้ได้

ดังนั้น ผมจึงไม่แปลกใจที่คุณขุนอินบอกว่ามี "ปฎิญญาบรูไน" (แต่ทำที่อื่น เราเรียกชื่อนี้ก็แล้วกัน) เพราะหากไม่มีนั่นคงแปลก มันเหมือนกับว่ากลุ่มชนชั้นนำไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลย โง่เหง้าอย่างมาก กระแสของประชาชนเป็นแบบนี้ หากยังต่อต้านยังไงก็ไม่อาจทัดทานได้

เครื่อง มือทางการเมืองของกลุ่มอำมาตย์ทั้งหลาย เช่น กองทัพ ตุลาการภิวัฒน์นั้น ในทางการเมืองมันค่อนข้าง "เดี้ยง" ไปหมดแล้ว ไม่ใช่เป็นอาวุธชี้ขาดเหมือนแต่ก่อน

กองทัพเวลานี้ก็เอาตัวไม่รอด เกิดรอยร้าวภายใน เพราะทหารจำนวนมากที่เสียความก้าวหน้าจากบูรพาพยัคฆ์เป็นใหญ่ฝ่ายเดียวเริ่ม เห็นทางสว่าง ว่าต่อไปอำนาจทางการเมืองที่แท้จริงจะอยู่ที่ใคร ตระกูลไหน และกลุ่มใดที่เป็นอาทิตย์อัศดง สถานการณ์เช่นนี้หากมีการทำรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ ก็คงฆ๋าตัวตายแน่นอน เพราะคงเกิดแรงต้านจากประชาชน และจากนานาชาติ สุดท้ายในกองทัพก็จะมีแรงต้านเช่นกัน

ตุลาการภิวัฒน์ แม้ยังมีน้ำหนักอยู่ แต่เครื่องมือนี้เป็นแบบ ตั้งรับ คือ มันต้องมี Case เข้าไปก่อน และวันนี้ต่อให้ยุบพรรค ก็ไม่สามารถเปลี่ยนรัฐบาลได้ เปลี่ยนขั้วอำนาจไม่ได้ อย่างมากก็ทำให้ สส.พรรคเพื่อไทย หายไปไม่ถึง 10 คน การหวังว่าจะเกิดงูเห่าแบบเนวินนั้นยากแล้ว เพราะ สส.ได้รับบทเรียนแบบเนวินแล้วว่าไม่มีอนาคตทางการเมือง และเชื่อว่าทักษิณก็คงหาทางแก้ไขเรื่องงูเห่าเอาไว้แล้ว

ดังนั้น ผมว่าหากวิจารณ์ด้วยเหตุและผล อำมาตย์ในระดับบนยอด คงมีข้อตกลงแล้วว่า จะยอมทักษิณได้แค่ไหน และตรงไหน และจะรักษาตรงไหน

อันที่จริงอำมาตย์ระดับบนยอด ก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไรมากนัก นอกจากเสียหน้าเล็กน้อย

จะ มีก็แต่ "บรรษัทบริวาร" ที่เป็นเครือข่ายแสวงหาผลประโยชน์ทั้งหลาย ที่คงยอมรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองแบบใหม่นี้ได้ยาก ก็คงดิ้นกันอย่างที่เราเห็น

แต่ก็อย่างที่คุณขุนอินเคยพูดไว้ว่า สัญญาณจากระดับบนสุดยังไม่มี ระดับล่างก็คงดิ้นไปตามสถานการณ์ เป็นต้น

ผม เชื่อว่า ในที่สุดแล้ว "กลุ่มชนชั้นนำ" บางกลุ่มที่ไม่ใช่ตัวหลักจะเริ่มแปรพักตร์มาทางพรรคเพื่อไทย เพราะมันเห็นได้ชัดแล้วว่า ประชาชนเลือกฝ่ายใด และนั่นมันหมายถึง ฐานอำนาจที่มั่นคง

การไหลเข้าสู่ฐานอำนาจใหม่คงเริ่มมีเรื่อยๆ ผมเชื่อว่ามีบางส่วนต่อสายไปแล้ว

อ่านรายละเอียดทั้งหมดคลิ้ก thaifreenews