ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 9 August 2011

สัญญาณจาก"ข่าว" ศึกการเมืองแค่"พักยก" อย่าถามถึง"น้ำผึ้งพระจันทร์"

ที่มา มติชน

แมลงวันในไร่ส้ม


แม้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้รับรอง ส.ส. ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีการประชุมสภาเพื่อเลือกประธานสภาไปแล้วเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม

ขณะที่แนวโน้มของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ถือว่าชัดเจนแล้ว

อย่างไรก็ตาม "แรงต้าน" จากอีกขั้วอำนาจยังแข็งขัน

มีรายการ "ปล่อยของ" ออกมาเป็นระลอก ผ่านสื่อในเครือข่าย และผ่านกระแสข่าวรายวัน

บท ความการเมืองหน้า 6 ข่าวสด ฉบับ 2 สิงหาคม เรื่อง "โจทย์เก่า การเมือง บนบ่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โจทย์เก่า จาก 2549" ตั้งข้อสังเกตว่า "การปะทะ ขัดแย้ง ทางการเมืองอันเป็นขบวนการก่อนและหลังรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ยังไม่สิ้นสุด"

ความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 เสมอเป็นเพียงการพักยก

พร้อม กับลำดับเหตุการณ์ การยื่นหนังสือ "ต้าน" การรับรอง นายจตุพร พรหมพันธุ์, การยื่นกรมสอบสวนคดีพิเศษให้สอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีให้การในคดียึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท

ความพยายามของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ฟ้องร้องการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ฯลฯ

ทั้ง หมดนี้อยู่ในขอบเขต "ตุลาการภิวัตน์" นั่นคือ ใช้กระบวนการทางศาล ใช้กระบวนการทางกฎหมาย ขุดคุ้ย เปิดโปง โจมตีและโค่นล้มปรปักษ์ทางการเมือง

เหมือนหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550

ความ พ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ เป็นการพักยก ให้น้ำให้ท่า ปรับตัว เหมือนกับความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2550

ที่ตามมาด้วยการชุมนุมใหญ่ในเดือนพฤษภาคม 2551 เริ่มจากคัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วขยายไปยังประเด็นปราสาทพระวิหาร ฯลฯ

การชุมนุมนี้มีคนจากพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมอย่างใกล้ชิด แนบแน่นเสมือนเป็นเนื้อเดียวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

การเลือกตั้งทั่วไปธันวาคม 2550 เป็นเช่นนั้น การเลือกตั้งกรกฎาคม 2554 ก็มีโอกาสที่จะดำเนินไปในทิศทางเดียวกันนั้นอีก

ขอให้จับตาการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งในรัฐสภาและนอกรัฐสภา

อย่า ถามถึงการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ อย่าถามถึงการปรองดอง สมานฉันท์ เรื่องเหล่านี้ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในสภาพการณ์ทางการเมืองเช่นปัจจุบัน เป็นอันขาด

นี้คือ "โจทย์" ที่พรรคเพื่อไทยชะล่าใจและขาดความระมัดระวังไม่ได้

ชัยชนะอันได้มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 เสมอเป็นเพียงชัยชนะ 1 ซึ่งเล็กน้อย

เพราะ กลไกจากขบวนการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ยังอยู่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ, องค์กรอิสระ, ผู้มีส่วนร่วมในการยึดอำนาจ

นี่คือภาระที่ตกอยู่บนบ่าของ น.ส.ยิ่งลักษณ์--บทความดังกล่าวเตือน



ลง ลึกไปที่การเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ปรากฏผ่านสื่อ ยังจะพบกับการออกโรงมาต้านนโยบายค่าแรง 300 บาท อันเป็นนโยบายที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด

การออกโรงของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย "เคลียร์" ให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการจริงหรือไม่ ทำได้จริงหรือไม่ โดยมีคำขู่จากฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ว่า หากไม่ทำ จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลให้ยุบพรรค

ตามมาด้วยสภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ ที่แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ต้นทุนของกิจการต่างๆ สูงขึ้น อาจเกิดเงินเฟ้อ

ทำ ให้เกิดการตอบโต้ด้วยข้อมูลทางวิชาการ โดยเฉพาะจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ชี้ว่าค่าแรง 300 บาท เป็นเรื่องที่ทำได้ และพิสูจน์ได้ว่า ผลกระทบต่อต้นทุนเป็นเรื่องบริหารได้ โดยยกบทเรียนจากหลายประเทศในเอเชีย

ใน เรื่องค่าแรง 300 บาท ยังสำทับซ้ำด้วย ข่าวการคาดการณ์อันน่าสะพรึงกลัว ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า ราคาก๋วยเตี๋ยวอาจจะพุ่งถึงชามละ 70-80 บาท จาก นายวิศิษฏ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย



ขณะที่แนวรบด้านสังคม ด้านการเมืองก็ดุเดือดไม่แพ้กัน

วัน ที่ 29 กรกฎาคม เว็บไซต์ต่างๆ และหนังสือพิมพ์บางฉบับในวันรุ่งขึ้น เสนอภาพข่าวตัวเงินตัวทอง 2 ตัว ประกบในลักษณะผสมพันธุ์ที่ถนนเข้ารัฐสภา

แต่ มุขนี้สะดุดอย่างแรง เมื่อ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการประวัติศาสตร์ เขียนบทความขนาดสั้นชื่อ "ตัวเงินตัวทองร่วมรัก? เกมเก่าของผู้ดี-คนชั้นสูง-ชั้นกลาง-ชาวกรุง" ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ความว่า

ข่าว ที่ คุณสินสวัสดิ์ ยอดบางเตย สถาบันปรีดีฯ นำมาโพสต์ เรื่อง "ตัวเงินตัวทอง" ร่วมรักกันที่รัฐสภา นั้น เป็นเกมเก่า ที่ใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก (ด้วยการทรมานสัตว์ จับมาปล่อยให้ถูกจังหวะ/เป็นข่าว) เพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตย ที่ "ปกติ" ต้องมีการเลือกตั้ง และ "ปกติ" ต้องมีนักการเมือง

นี่เป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ดี-คนชั้นสูง-และชั้น กลาง "ชาวกรุง" ที่พอใจโหยหา "อปกติ" คือ นักการเมืองในเครื่องแบบ (ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ข้าราชการศาล/อัยการ) และไม่ต้องลงเลือกตั้ง ครับ

สิ่งที่ควรกลับไปสำรวจทาง ปวศ.การเมือง (ตั้งแต่สมัยท่านปรีดี เรื่อยมา) คือ นักการเมืองสวมเครื่องแบบ ที่รังเกียจเลือกตั้ง เช่น ผิน เผ่า สฤษดิ์ ถนอม ธานินทร์ สุจินดา สุรยุทธ์ ได้ทำอะไร หรือไม่ได้ทำอะไรให้กับ "ประเทศชาติ และประชาชน" บ้าง

Good luck on your wishful non-elcetoral democracy (คำแปลของมติชนออนไลน์ - ขอให้โชคดีกับประชาธิปไตยแบบไม่มีการเลือกตั้งที่พวกคุณปรารถนาถึง)

ยัง มี "คำ ผกา" คอลัมนิสต์และพิธีกรชื่อดัง ก็ได้โพสต์ข้อความลงในช่องแสดงสถานะของเฟซบุ๊กส่วนตัวหลังข่าวและภาพดัง กล่าวถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนว่า

"เหี้ยมีทุกหนทุกแห่งที่มีสภาวะ แวดล้อม ความชื้น อากาศที่เหมาะสม การเฝ้าทำข่าวเหี้ยในสภาสะท้อนความอ่อนล้าทางปัญญาในสื่อ และตอกย้ำวาทกรรมนักการเมืองเลว? โดยไม่ถามว่ามีวงการไหนที่ไม่มีคนเลว????"

ขณะ ที่ข้อความในเฟซบุ๊กของ นายกรณ์ จาติกวณิช และบทสัมภาษณ์ของ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เกี่ยวกับเบื้องหน้าเบื้องหลังความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

โดยเฉพาะที่คุณหญิงกัลยาตอบคำถามว่า สิ่งที่ ปชป. คิดดีทำดี ไปไม่ค่อยถึงชาวบ้าน มันเกิดจากอะไร

"หรือ ว่าเราอาจพูดภาษาไม่ชาวบ้านพอ มันจะต้องติดดินหรือคลุกกับดินไปเลย แต่คนที่มีหน้าที่สื่อสารของ ปชป. อาจจะใช้ภาษาดี ภาษาสวย ภาษาราชการเกินไป นี่เป็นการสันนิษฐาน"

กลายเป็นกระทู้ในเว็บไซต์บ้านราษฎร์ โดยผู้ใช้นามว่า "สายลมรัก" "เพราะเราใช้ภาษาดีเกินไป คนรากหญ้าเขาเลยไม่เลือกเรา" พร้อมกับวงเล็บต่อท้าย (กระทู้โคตรฮา)

และข้อความ คุณกัลยาครับ ภาษาที่คนรากหญ้าคุยกัน เราใช้ภาษาไทย ไม่มีภาษาเทพ ที่ต้องออกมาแปลกันสองสามชั้น

คนรากหญ้าถามว่า กินข้าวหรือยัง เขาก็จะบอกว่า กินแล้ว หรือยังไม่กิน

ไม่มีหรอกครับ ถามคนรากหญ้าว่า ถือพาสปอร์ตอังกฤษหรือไม่ แล้วจะตอบกลับมาว่า ผมไม่ได้ถือสัญชาติ มอนเตรเนโก

"แบบนั้น เขาไม่ใช่ภาษาชั้นสูงหรอกครับ เขาเรียก ไปไหนมาสามวาสองศอก" กระทู้สรุปไว้ตอนหนึ่ง

และนั่นคือกระแสสำเนียงในสื่อต่างๆ ตอกย้ำสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่ปกติ