ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Friday 26 August 2011

วรวัจน์ โมเดล

ที่มา มติชน


วรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล

โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์

(มติชนรายวัน ฉบับ 25 ส.ค.2554 หน้า 6)


นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ มาแนวใหม่ แบ่งงานรัฐมนตรีช่วยว่าการอีก 2 ท่าน โดยแยกความรับผิดชอบให้ดูแลเป็นรายภูมิภาค

แตกต่างจากแนวทางเดิมของ ทุกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ซึ่งแบ่งความรับผิดชอบดูแลเป็นรายหน่วยงาน 5 แท่ง การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา สภาการศึกษา และสำนักปลัดกระทรวง

แนวคิดใหม่ที่ว่า โดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Base) เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ร่วมมือส่งเสริม ประสานงานการจัดการศึกษาแต่ละระดับ ในพื้นที่ร่วมกัน ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน

แนวทางดังกล่าวทำให้อำนาจความรับผิดชอบใน เรื่องการบริหารบุคคล แต่งตั้งโยกย้าย และการบริหารงบประมาณ เบ็ดเสร็จอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการฯ ยกเว้นแต่มอบอำนาจหรือเปิดช่องให้รัฐมนตรีช่วยฯ มีส่วนร่วมในสองเรื่องนี้ด้วย

จึงเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจติดตาม ว่าผลทางปฏิบัติจะเป็นไปอย่างไร ดีกว่าแนวทางเดิมที่ผ่านมาหรือไม่

โดย เฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหลักทางการศึกษา อันได้แก่ โอกาส ความเป็นธรรมทางการศึกษา กับคุณภาพ มาตรฐานทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และคุณสมบัติของเด็กไทยที่คาดหวัง

ภายใต้แนว คิดพื้นฐานเดียวกันนี้ ยังจะมีการปรับการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ โดยให้มีการตั้งคณะกรรมการบูรณาการแผนและยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ระดับชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน

และกรรมการระดับเขต ตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ 13 เขต ทั่วประเทศ เป็นกลไกในการเคลื่อนไหว ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการบริหารการศึกษา

แนวคิดและกลไก ทำนองเดียวกันนี้ เคยปรากฏขึ้นมาในกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ มีสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา สังกัดสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นตัวจักรสำคัญ ดำเนินงานก้าวไปถึงขั้นมีแผนการศึกษาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแล้ว กำหนดตัวชี้วัดเรื่องคุณภาพทางการศึกษา 7 ตัวชัดเจน

เสียดายในช่วง ที่นายชิณวรณ์ บุญเกียรติ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ เรื่องนี้แผ่วไป เนื่องจากไปเน้นที่บทบาทของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ ที่สอง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานเช่นเดียวกัน เป็นสำคัญ

การฟื้นบทบาทของคณะกรรรมการบูรณาการและยุทธศาสตร์ด้านการ ศึกษา ขึ้นมาเป็นกลไกขับเคลื่อนผลักดันความเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาอีกครั้งหนึ่ง จึงไม่น่าจะเป็นความขัดแย้งทางแนวทาง นโยบาย หากสามารถดำเนินการให้เกิดการสอดรับ ต่อเนื่องจากที่ผ่านมาได้

เพราะ โครงสร้าง องค์ประกอบภายในของคณะกรรมการขับเคลื่อน กับกรรมการยุทธศาสตร์ มีผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 5 แท่งหลักในกระทรวงศึกษาธิการอยู่ร่วมด้วยเช่นเดียวกัน น่าจะดำเนินการเคลื่อนไหวผลักดันการบริหารการศึกษา โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินมาให้เดินหน้าต่อไปได้

ยิ่ง พิจารณาในรายละเอียดนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภา ประเด็นที่เขียนไว้ชัดเจน ได้แก่ สร้างโอกาสทางการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษา และปฏิรูปครู เป็นต้น

คณะ กรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา และคณะกรรมการขับเคลื่อน ที่ผ่านมาได้ตั้งลำ ดำเนินงานคืบหน้ามาพอสมควร โดยเฉพาะการปฏิรูปครู กลไกการบริหารในห้วงเวลารัฐบาลนี้ จึงน่าจะสอดรับ สอดประสานกันต่อไป

สำคัญ ที่อย่าเอาการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นทางการเมืองระหว่างพรรคเป็นตัวตั้ง อีกทั้งการประสานแนวคิด การปฏิบัติระหว่างหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการด้วยกัน อันได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งเป็นกลไกรองรับ จะทำงานเป็นเอกภาพ กลมกลืนและกลมเกลียวกันเพียงไร

เวทีที่จะเป็นตัวช่วยให้เกิดความต่อ เนื่องในการแก้ไขปัญหาและผลักดันนโยบายทางการศึกษาให้ไปสู่เป้าหมายที่ควรจะ เป็น ก็คือ เวทีสมัชชาการศึกษาจังหวัด

หากดำเนินการราบรื่น นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความต่อเนื่องในการบริหารจัดการการศึกษา ที่มุ่งเน้นเด็กไทย คนไทยส่วนใหญ่เป็นสำคัญ

ขณะเดียวกัน ประเด็นที่จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง อย่าให้เกิดขึ้น คือ การทุจริต หาประโยชน์จากการดำเนินนโยบายที่ยังถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชานิยม และการแต่งตั้งโยกย้ายในทุกระดับ จะเป็นตัวบ่อนเซาะการปฏิรูปการศึกษาให้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะใช้โมเดลใดๆ ในการบริหารจัดการก็ตาม