|
คือ หลักประกันว่าจากนี้ไปรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ หญิงคนแรกของไทย ที่ล่าสุดนิตยสารฟอร์บส�ของต่างประเทศ จัดให้อยู่อันดับที่ 59 จาก 100 อันดับสตรีผู้ทรงอิทธิพลในโลก
จะก้าวเข้าสู่โหมดการทำ งานเต็มตัว ตามปรัชญาสร้างสุข สลายทุกข์ และไม่แก้แค้น แต่จะแก้ไข โดยมุ่งผลลัพธ์ที่จะส่งมอบนโยบายถึงมือประชาชน มากกว่ามุ่งตีความตามลายลักษณ์อักษร
อย่างไรก็ตามจากบรรยากาศประชุม รัฐสภาเพื่อรับฟังการแถลงนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 23-25 ส.ค.ที่ผ่านมา พอจะเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นกันเนิ่นๆ ว่า
เส้นทางการบริหารประเทศของรัฐ บาลยิ่งลักษณ์ ไม่ได�โรยด้วยกลีบกุหลาบแน่นอน เพราะต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้านด้วยกัน
สิ่งแรกเลยก็คือการต้องปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงไว้ทั้ง 2 ส่วน แยกเป็นนโยบายเร่งด่วนปีแรก กับนโยบายที่จะดำเนินการภายใน 4 ปี
สำหรับนโยบายเร่งด่วน ส่วนใหญ่คือนโยบายที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงในการเลือกตั้งที่ผ่านมา จนได้รับชัยชนะถล่มทลาย
ทั้ง เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท แจกแท็บเล็ตพีซีให้เด็กนักเรียน รับจำนำข้าว แก้ไขรัฐธรรมนูญ สร้างความปรองดอง ปราบยาเสพติด แก้ปัญหาไฟใต้ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ เป็นต้น
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรี "มือใหม่หัดขับ" ยังต้องเผชิญกับการตรวจสอบชนิดเข้มข้นพิเศษ จากฝ่ายค้าน "มือโปร" อย่างพรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย
นอกจากจะตรวจสอบในส่วนของ "เนื้อ" นโยบายตามที่รัฐบาลแถลง กระทั่งในส่วนที่เป็น "น้ำ" ฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ละเว้น
ทั้งหลายทั้งปวงเพื่อชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเพื่อไทยบิดพลิ้วสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง
พยายามโยนภาพลักษณ์ "ดีแต่พูด" กลับคืนไปให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์และรัฐบาล
ความปั่นป่วนวุ่นวายในสภาระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาล
ยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าลีลาชั้นเชิงการอภิปรายในสภา รัฐบาลเพื่อไทยยังเป็นรองขุนพลฝ่ายค้านอยู่หลายช่วงตัว
ขนาด มาดเข้มๆ ของท่านประธาน "ขุนค้อน" ก็ยังคุมเกมไม่อยู่ ทั้งยังก่อความผิดพลาดทำให้ถูกฝ่ายค้านโจมตีว�าทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง เสียศูนย์ไปพอสมควร
ในส่วนของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ซึ่งถูกจับตาจากหลายฝ่ายว่าการแถลงนโยบายนี้ จะเป็นบททดสอบแรกในการพิสูจน์ภาวะความเป็นผู้นำ
เท่า ที่ภาพปรากฏออกมาก็คือนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ถนัดในการใช้คำพูดตอบโต้พรรคฝ่ายค้านแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ทำให้ภาระหน้าที่นี้ตกเป็นของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ
ตรงจุดนี้เองทำให้บรรดากองเชียร์เป็นห่วงเป็นใยนายกฯ หญิงมาดนุ่มนิ่ม
จะ รับมือพรรคฝ่ายค้านที่แน่นขนัดไปด้วยบรรดาขุนพลปากตะไกรได้ขนาดไหน ในอนาคตหากมีการยื่นกระทู้ถามสดในสภา ไปจนถึงการยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
สำหรับเหตุการณ์ "นอกสภา" มีหลายคนตั้งข้อสังเกตกว้างๆ ของการเมืองขณะนี้ ว่าเริ่มมีความเคลื่อนไหวก่อรูปเป็นขบวนการเตะสกัดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ให้ทำงานได้สะดวก
เนื่องจากเกรงว่าหากรัฐบาลที่ได้รับเสียงสนับ สนุนจากประชาชนเกือบ 16 ล้านเสียง สามารถเดินหน้านโยบายต่างๆ ได้ตามที่ประกาศไว้ ก็จะเป็นการตอกตะปูปิดฝาโลงฝ่ายตรงข้ามโดยปริยาย เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ
แต่ถึงหวั่นไหวขนาดไหน ฝ่ายต่อต้านทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย ไม่สามารถพึ่งพาบริการกองทัพเพื่อแก้ไขความอับจนทางการเมืองของตนเองได้อีก เหมือนเมื่อปี 2549 เพราะประชาชนไม่ยอมรับ
ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนไปหาหน่วยสนับสนุนอื่นมาเป็นเครื่องมือจัดการกับรัฐบาลยิ่ง ลักษณ์ โดยประสานเข้ากับเกมยุบพรรคเพื่อไทยที่ได้ยื่นเรื่องต่อ กกต. ไว้แล้ว
ทั้งกรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ว่าด้วยการช่วยเหลือทักษิณบินเข้าประเทศญี่ปุ่น
และ กรณี "อีเมล์ซื้อสื่อ" ที่คณะกรรมการผู้ตรวจสอบ และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กำลังถูกตั้งคำถามถึงขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบว่า ได้กระทำตามหลักเหตุผล ข้อกฎหมาย และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโดยแท้จริง
หรือเป็นเพียงเครื่อง มือให้กับบางพรรคการเมืองใช้ทำลายศัตรูคู่อาฆาต เหมือนอย่างที่กรรมการสภาการหนัง สือพิมพ์ฯ บางคนยังอดทักท้วงในประเด็นนี้ไม่ได้
ตามข้อกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยมีการบริหารจัดการสื่ออย่างเป็นระบบในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ในทางกลับกันฝ่ายตรงข้ามมีการประสานกำลัง ในการขุดรากถอนโคนพรรคเพื่อไทย อย่างกว้างขวางและเป็นระบบมากยิ่งกว่า
หาก มองย้อนกลับไปก็จะเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ การปฏิวัติรัฐประหารปี 2549 การยุบพรรค การพลิกขั้วการ เมือง การปล่อยข่าวดิสเครดิตต่างๆ นานา
รวมถึงกรณีการสอบ "อีเมล์ซื้อสื่อ" ในปัจจุบัน ที่มีการแตกประเด็นกล่าวหาออกไปเป็นเรื่องความเอนเอียงทางการเมือง หลังจากสอบแล้วไม่พบพยานหลักฐานยืนยัน ว่าพรรคเพื่อไทยจ่ายสินบนให้กับสื่อหนังสือพิมพ์ที่ถูกกล่าวหาจริง
ไม่ ว่าจะบังเอิญหรือเจตนาก็ตาม แต่ทุกอย่างสอดรับเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับขบวนการยื่นยุบพรรคเพื่อไทย ที่ดำเนินการโดยนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การค้นหาเบื้องหลัง ความจริงในขบวนการต่อต้านรัฐบาลเพื่อไทยจะทำได้ไม่ยาก
แต่การจัดการกับปัญหาเครือข่ายโยงใยเหล่านี้ รัฐบาลเองก็จำต้องดำเนินการด้วย ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
ไม่เช่นนั้นต่อให้รัฐบาลหลุดรอดจากข้อหา "ซื้อสื่อ" ไปได้ แต่ก็อาจหลงเข้าไปติดกับข้อหา "คุกคามสื่อ" แทน
อย่างที่มีขบวนการวาง "กับดัก" เรื่องนี้รอไว้อยู่แล้ว