ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 20 August 2011

เสื้อแดง "วางบิล" 91 ศพ ทวงเยียวยา-ศพละ 10 ล. จตุพรเปิด "บันทึกช่วยจำ" "รัฐบาลปู" อย่าลืมใช้หนี้

ที่มา มติชน

ในประเทศ

กรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำเสื้อแดง ออกมาเปิดประเด็นเรียกร้องรัฐบาล

จ่ายค่าเยียวยาผู้เสียชีวิต 91 ศพ และผู้ได้รับบาดเจ็บเกือบ 2,000 คน จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมปีที่แล้ว

มี ขึ้นภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ 1" ที่ไม่ปรากฏรายชื่อ ส.ส. ในส่วนที่เป็นแกนนำ นปช. ได้เป็นรัฐมนตรีแม้แต่คนเดียว ทั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ สองแกนนำสำคัญ

เป็น 2 คนที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้เข้ามามีตำแหน่งในรัฐบาล เพื่อตอบแทนการต่อสู้ที่ผ่านมา และเพื่อทำหน้าที่ตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง ไม่ให้ห่างเหินกันไปภายหลังภารกิจเลือกตั้งจบลง

กระทั่งท้ายที่สุด เมื่อไม่ปรากฏชื่อแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรี จึงทำให้หลายฝ่ายเริ่มจับตาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง จะเปลี่ยนไปในลักษณะเป็นผลร้ายต่อเสถียรภาพรัฐบาลอย่างไร หรือไม่

แม้มีความพยายามจะบอกว่า การไม่มีแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรี ข้อดีคือทำให้แกนนำพ้นจากข้อครหาต่อสู้เพื่ออำนาจและผลประโยชน์ตนเอง

อัน เป็นข้อครหาที่ฝ่ายตรงข้ามจ้องหยิบยกขึ้นมาย้อนศรโจมตี เหมือนเมื่อครั้งพรรคเพื่อไทยมุ่งโจมตีรัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่ดึงเอาคนของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้ามามีตำแหน่งทางการเมืองจำนวนมาก

แต่ ข้อวิเคราะห์ที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับคนเสื้อแดงมากที่สุด คือข้อวิเคราะห์ที่ว่า พรรคเพื่อไทยที่บริหารงานโดย "นายใหญ่Ž" ผ่านทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคนใกล้ชิดอีกจำนวนหนึ่ง

เลือก จะจัดตั้ง ครม. ที่เน้นภาพความปรองดองกับกลุ่มอำนาจเก่า มากกว่าจะตั้ง ครม. ที่มีภาพ "ต่างตอบแทน" Žให้กับคนเสื้อแดงอันนำมาสู่การตั้งข้อสังเกตว่า

พรรคเพื่อไทยพยายามหาทาง "ชิ่ง" คนเสื้อแดง แล้วหันไป "เกี้ยเซียะ" กับอำนาจกลุ่มเก่าหรือไม่

และ ถึงแกนนำเสื้อแดงหลายคนทั้งที่เป็น ส.ส. และไม่ได้เป็น ส.ส. พยายามซ่อนความน้อยอกน้อยใจที่พรรคพวกของตนเองไม่ได้เป็นรัฐมนตรี โดยยืนยัน แกนนำเสื้อแดงเคารพการตัดสินใจของนายกฯ และพรรค พร้อมสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลต่อไป

แต่กระนั้นก็ตามยังมีหลายคนที่ห่วงว่า นับจากนี้ระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง ความสัมพันธ์อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ส่วนจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดนั้นขึ้นอยู่กับ 2-3 ประเด็นต้องติดตาม



กรณี นายนายจตุพร พรหมพันธุ์ ออกมาเปิดประเด็นค่าเยียวยา 91 ศพ ศพละ 10 ล้านบาท

ไม่ ว่าผู้เสียชีวิตจะเป็นประชาชน คนเสื้อแดง หรือเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ส่วนผู้พิการบาดเจ็บจะได้รับลดหลั่นกันไปตามสภาพของแต่ละรายนั้น

เป็นการจุดประเด็นขึ้นมาในจังหวะที่แกนนำเสื้อแดง เพิ่ง "อกหัก" จากการไร้ตำแหน่งใน ครม. "ยิ่งลักษณ์ 1" มาหมาดๆ

ทำให้ถูกมองว่าแกนนำเสื้อแดงต้องการกระตุ้นต่อมความจำของรัฐบาลเพื่อไทย ไม่ให้ลืม "หนี้สิน" ที่ติดค้างไว้กับคนเสื้อแดง

ซึ่ง ในประเด็นนี้ นายจตุพร ยอมรับว่าการเข้าทวงถามเรื่องเงินเยียวยา 91 ศพกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เหมือนเป็น "บันทึกช่วยจำ"Ž ว่ารัฐบาลมีภาระต้องช่วยในเรื่องนี้ เพราะรัฐบาลนี้มาได้ก็ด้วยความเสียสละและชีวิตของวีรชน

ขณะเดียวกัน นายจตุพร ได้ปฏิเสธว่า การออกมาพูดเรื่องนี้ ตอนนี้ ไม่เกี่ยวกับการที่แกนนำเสื้อแดงไม่ได้เป็นรัฐมนตรี

"ไม่ เกี่ยวกันเลย ไม่ใช่การต่อรองอะไรทั้งนั้น เราไม่ได้เรียกร้องเพื่อตัวเอง เราไม่ได้มีส่วนสักบาท เราเรียกร้องให้วีรชนผู้เสียสละ ไม่ใช่ว่าพอได้มาเป็นรัฐบาลแล้วก็เงียบเป็นเป่าสาก เราต้องรักษาคำพูด"

ส่วนเงินเยียวยาที่ตั้งไว้ศพละ 10 ล้านบาทนั้น

นายจตุพร ยอมรับว่า ยังไม่ได้พูดคุยกันในรายละเอียดตัวเลขกับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ คุยกันแต่เฉพาะในหลักการเท่านั้น

ซึ่ง ก็สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ออกมาในลักษณะ "แบ่งรับแบ่งสู้" ว่าได้มีการหารือเรื่องเยียวยาประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และภาคเอกชนในภาพรวมจริง

แต่ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะเยียวยา เมื่อไหร่ และอย่างไร "ตอนนี้คงเป็นการหารือเชิงนโยบายก่อน เรื่องตัวเลขเราต้องคุยกัน ทั้งงบประมาณและความเหมาะสมอีกครั้ง"

อย่าง ไรก็ตาม การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ผลีผลามตอบตกลงตัวเลขค่าชดเชยศพละ 10 ล้านบาทนั้น ด้านหนึ่งอาจมองได้ว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ยังไม่อยากพูดอะไรที่เป็นการผูกมัดตัวเองจนเกินไป

ทั้งยังจะทำให้ภาพ ลักษณ์เสียหายในแง่ที่ว่านายกรัฐมนตรีตกเป็น "เบี้ยล่าง" ให้กับคนเสื้อแดง ต้องคอยเออออ ทำตามทุกอย่างที่แกนนำเสื้อแดงบอกให้ทำ

แต่อีกด้านหนึ่ง ท่าทีของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็อาจทำให้คนเสื้อแดงเกิดความคลางแคลงใจพรรคเพื่อไทยซ้ำสอง

ต่อจากกรณีที่แกนนำของพวกเขาถูกตัดชื่อออกจากคณะรัฐมนตรี



จริงอยู่ที่แกนนำ นปช. ยืนยันให้ความเคารพการตัดสินใจของนายกฯ และพรรคเพื่อไทย และได้ปฏิเสธ

ไม่ต้องการให้รัฐบาลเพื่อไทยมุ่งเอาใจแต่เฉพาะคนเสื้อแดง แต่ควรทำตัวเป็นรัฐบาลของ "คนทุกสี"

แต่ ในโลกความเป็นจริงที่คนเสื้อแดงคือฐานมวลชนขนาดใหญ่ของพรรคเพื่อไทย และเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล

การ ที่รัฐบาลจะมุ่งเอาใจคนทุกสี แล้วละเลยคนเสื้อแดงที่นับเป็น "สหายร่วมรบ" นั้น อาจเป็นเรื่องที่คนเสื้อแดงสามารถพูดได้ แต่รัฐบาลไม่สามารถทำได้

นาง ธิดา โตจิราการ รักษาการประธาน นปช. กล่าวว่า เรื่องเงินเยียวยาศพละ 10 ล้านบาทที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หยิบยกขึ้นมาพูดถึงนั้น ยังไม่ใช่ข้อสรุปร่วมระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล

แต่ในช่วงการหา เสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้เปิดประเด็นและพูดถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ถึงจะไม่ได้ระบุตัวเลขเงินค่าเยียวยาไว้ชัดเจนก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญกว่าก็คือ สิ่งที่คนเสื้อแดงต้องการทวงถามจากรัฐบาล ไม่ใช่แค่ในรูปของ "เงินเยียวยา" เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีในรูปของการ "เยียวยาความยุติธรรม"

ทั้งจากกรณีคนเสื้อแดงยังถูกจับกุมคุมขังอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศอย่างไม่เป็นธรรมอีกกว่า 130 คน

รวมถึงการนำตัวบุคคลที่กระทำผิด สั่งการสลายการชุมนุมจนมีคนตาย 91 ศพ บาดเจ็บอีกร่วม 2,000 คน มาตัดสินลงโทษทางอาญา

ถึงล่าสุดพรรคเพื่อไทยจะวางแนวทางให้ ส.ส. ของพรรคในพื้นที่จังหวัดซึ่งมีคนเสื้อแดงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ

ใช้ ตำแหน่ง ส.ส. เป็นหลักประกันในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ประสานการจัดหาหลักทรัพย์ประกันตัวในจำนวนตามที่แล้วแต่ศาล พิจารณากำหนด

ตามที่กระทำสำเร็จมาแล้วในกรณีเสื้อแดง จ.อุดรธานี จำนวน 22 คน และเตรียมขยายผลไปยังคนเสื้อแดงอีก 110 รายที่เหลือ

ซึ่งเรื่องนี้น่าจะช่วยกอบกู้ความรู้สึกของคนเสื้อแดงที่มีต่อรัฐบาลเพื่อไทยขึ้นมาได้บ้าง

แต่ ความรู้สึกจะกลับไปเหมือนเดิมเหมือนก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ รัฐบาลยังต้องพิสูจน์ตัวเองในอีก 2 เรื่อง ตามที่นายจตุพรเรียกว่าเป็นบันทึกช่วยจำ หรือ "เอ็มโอยู" ระหว่างรัฐบาลกับคนเสื้อแดง

นั่นคือการช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ และการเร่งเดินหน้าหาคนทำผิดในการออกคำสั่งสลายการชุมนุมมารับโทษ