อภิปราย “ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา” โดย Tyrell Haberkorn แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 1]
Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 2]
Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 3]
Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 4]
การอภิปรายของ Tyrell Haberkorn เมื่อ 13 ก.ค. 54 ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเสวนาหัวข้อ “ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา” ที่ห้อง 7801 อาคาร HB 7 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้อภิปรายคือ Tyrell Haberkorn หรือ “อาจารย์มาลี” แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ผู้เขียน “Revolution Interrupted: Farmers, Students, Law, and Violence in Northern Thailand” (รายละเอียด) ซึ่งเป็นงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ของชาวนาใน จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึง 2519 รวมถึงการต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (สชท.) หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และการปราบปรามและลอบสังหารผู้นำชาวนาโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
ในการอภิปรายเมื่อ 13 ก.ค. Tyrell เสนอว่าสังคมไทยควรทำความเข้าใจในเรื่องการที่รัฐใช้ความรุนแรงต่อประชาชน เพราะการทำความเข้าใจในเรื่องนี้จะทำให้เราเข้าใจสังคมไทยได้ชัดเจนขึ้นว่า เพราะอะไร จึงทำให้สังคมไทยยอมรับการใช้ความรุนแรงนั้นได้ และที่สำคัญ หากเราเข้าใจเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงของรัฐนี้ ก็จะทำให้สังคมไทยมองหาทางที่จะกำกับความรุนแรงที่รัฐจะใช้ในอนาคตได้มาก ขึ้น
โดย Tyrell เสนอกรณีการใช้ความรุนแรงของรัฐผ่านกฎหมายพิเศษสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร กรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นโดยเฉพาะการลอบสังหารผู้นำชาวนา ช่วงก่อน 6 ตุลาคม 2519 และกรณี “ถีบลงเขา-เผาลงถังแดง” เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่สามจังหวัดภาคใต้ เช่นกรณีซ้อมทรมานอิหม่ามยะผา กาเซ็ง จนเสียชีวิตในค่ายทหาร เป็นต้น
Tyrell เตือนด้วยว่าการยอมรับความรุนแรงของรัฐที่ผ่านมานั้นเป็น ปัญหาใหญ่ของสังคม ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ปรากฏมากขึ้นในหลายพื้นที่ในโลกปัจจุบันนี้ เช่น ที่สหรัฐอเมริกาหลังกรณี 911 เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดของการอภิปราย ประชาไทจะทยอยนำเสนอต่อไป