ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 24 July 2011

SIU: “ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท” คุณประโยชน์หรือโทษภัย?

ที่มา ประชาไท

เรื่องค่าจ้างแรงงานไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถอภิปรายกันได้โดยง่ายเพราะมี แง่มุมที่ต้องพิจารณาหลากหลายครับ นับตั้งแต่เรื่อง ความเป็นธรรมทางสังคม (Equity), เรื่องประสิทธิภาพในการแข่งขันของผู้ผลิต (Competitiveness), เรื่องการย้ายถิ่นแรงงานระหว่างพื้นที่ภายในประเทศ, เรื่องแรงงานต่างด้าวและความมั่นคง, เรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ, เรื่องความมั่นคงในชีวิตและความผาสุขประชากร ฯลฯ ค่าจ้างแรงงานจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่อาจจะกล่าวได้อย่างถี่ถ้วนครอบคลุมภาย ในบทความเดียว บทความนี้จึงเป็นบนความที่จะเริ่มต้นจากการตอบคำถามสำคัญเพียงประการเดียว คือ การปรับค่าจ้างแรงงานส่งผลกระทบต่อต้นทุนของภาคธุรกิจมากน้อยเพียงใดในการ ดำเนินกิจการ

จากตัวเลขการปรับอัตราค่าจ้างแรงงานปี 53 (ตัวที่อัพเดตที่สุดขณะนี้คือปี 54 ครับ) พบว่าค่าจ้างแรงงานมีความแตกต่างกันทั่วประเทศโดยภูเก็ตมีค่าจ้างแรงงานขั้น ต่ำสูงที่สุดคือ 221 บาท, กรุงเทพและปริมณฑลสูงรองลงมาได้แก่ 215 บาท ไล่เรียงไปกระทั่งพะเยามีค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดคือ 159 บาท ซึ่งภายหลังพรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทออกมาก็เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าจะก่อให้เกิดปัญหาต่อภาค ธุรกิจ

หากคิดจากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่สูงสุดในปัจจุบัน หมายความว่า ค่าจ้างขั้นต่ำจะสูงขึ้นถึงราว 35.74% และ หากเทียบกับจังหวัดที่ค่าจ้างแรงงานถูกที่สุดถือว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่ รัฐบาลเสนอมีส่วนเพิ่มถึงกว่า 88.67% โดยตัวเลขนี้สูงกว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ประกาศเอาไว้อย่างมาก (ปชป. ประกาศไว้ที่ 25%)

เมื่อค่าจ้างขั้นต่ำสูงขึ้นกว่าหนึ่งในสาม กระทั่งกว่าเท่าตัว, ภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบขนาดไหน… คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับ (1) ขนาดและกำลังการผลิตรวมถึงผลิตภาพของแรงงาน (2) ระดับความเข้มข้นการใช้แรงงานราคาถูก (Degree of low skill labor intensive) และ (3) กำไรขั้นต้นต่อชิ้นสินค้า เป็นต้น

ผมจะลองคำนวณแบบง่ายๆนะครับ สมมติให้บริษัทๆหนึ่งมีพนักงาน 1,000 คนที่ถูกจ้างด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ 159 บาท (เอาแบบให้ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดไปเลยคือ +88.67%) บริษัทแห่งนี้ผลิตสินค้าโดยพนักงานคนละ 100 ชิ้นต่อวัน โดยสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรชิ้นละ 10 บาท ผลกระทบที่บริษัทในลักษณะแบบนี้จะได้รับก็คือ

หากค่าจ้างขั้นต่ำแรงงานถูกผลักขึ้นไปที่ 300 บาท นายจ้างต้องเสียค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น 141*1000 = 141,000 บาทต่อวัน ในขณะที่สินค้าที่แรงงานทั้งหมดผลิตขึ้นได้มีจำนวณ 100,000 ชิ้นต่อวันโดยแต่ละชิ้นให้กำไรชิ้นละ 10 บาท นั่นเท่ากับว่ากำไรขั้นต้นต่อวันที่โรงงานแห่งนี้จะได้จะอยู่ราววันละ 1,000,000 บาท ดังนั้นสุทธิแล้วบริษัทแห่งนี้จะทำให้ได้กำไรลดลงมาจาก 1,000,000 เหลือ 1,000,000 – 141,000 = 859,000 บาท หรือกำไรลดลงราว 14.1% ซึ่งหากคิดเฉลี่ยถัวไปเป็นผลกระทบต่อกำไรของสิ้นค่าแต่ละชิ้น (Unit cost) แล้วจะพบว่ากำไรของสิ้นค้าแต่ละชิ้นจะลดลงจากที่เคยได้ชิ้นละ 10 บาทเป็น 8.59 บาท หรือกล่าวได้ว่ากำไรหายไปชิ้นละ 1 บาท 41 สตางค์ นั่นเอง

จากจุดนี้ผมคิดว่าเราคงพอจะเห็นอะไรบางอย่าง กล่าวคือ ภายใต้นโยบายการเพิ่มค่าจ้างแรงงานซึ่งทำให้รายได้ของแรงงานในพื้นที่รายได้ น้อย สูงขึ้นกว่า 88% ทว่า ผลกำไรของบริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ลดลงเพียงราว 14% เท่านั้น (ภายใต้สมมติฐานหลายประการ เช่น แรงงานควรมีประสิทธิภาพการผลิต และผลิตภัณฑ์ควรมีกำไรต่อหน่วยสูงขนาดหนึ่ง ฯลฯ)

ผมอยากเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการแลกได้แลกเสียระหว่างความมั่งคั่งของนายจ้างกับลูกจ้าง และสัดส่วนของผลกระทบที่นายจ้างได้รับ ต่อลูกจ้างได้รับจากการปรับค่าจ้างแรงงาน (-14/+88) น่าจะเรียกว่า สัดส่วนความอ่อนไหว (Sensitive fraction) ที่บ่งชี้ว่าบริษัทจะได้รับผลกระทบกี่ % ต่อการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน 1 % ในกรณีตัวอย่างจะพบว่า ค่าจ้างแรงงานอ่อนไหวไม่มาก คือ ราว -0.15% ซึ่งหมายความว่าหากค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น 1% จะทำให้กำไรของนายจ้างลดลง 0.15% นั่นเอง

สัดส่วนความอ่อนไหวนี้ไม่ได้เท่ากันในทุกบริษัท บางบริษัทซึ่งมีความอ่อนไหวจากการปรับค่าจ้างแรงงานนี้มากก็อาจจะถึงขั้นปิด กิจการลงไปได้จากนโยบายการขึ้นค่าจ้างแรงงาน ในทางกลับกันอาจมีบางบริษัทที่แทบไม่ได้รับผลกระทบเลย, ซึ่งต้อแยกพิจารณากันต่อไปอย่างถี่ถ้วนยิ่งขึ้น

ประเด็นสำคัญที่ผมคิดว่าน่าคิดต่อก็คือ การที่เรากล่าวโดยทันทีว่าการขึ้นค่าจ้างแรงงานจะทำให้บริษัทประสบความยาก ลำบาก ในบางครั้งจึง ไม่ใช่ความจริงเชิงข้อเท็จจริง (Factual truth) แต่เป็นความจริงที่ถูกสร้างขึ้น (Produced truth) หรือที่เรียกว่าวาทกรรม

วาทกรรมที่ว่านายจ้างทุกคนจะต้องแย่แน่ๆ หากมีการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นนั้น ครอบงำสังคมไทยมาเป็นเวลานาน เฉกเช่นเดียวกับวาทกรรมเรื่องอื่นๆที่ประคองกำไรให้แก่นายจ้าง ผู้ประกอบการกระฎุมพีทั้งหลาย เช่น วาทกรรมเรื่องภาษีที่ดินและทรัพย์สินจะทำให้เกษตรกรลำบาก, ภาษีมรดกไม่มีผลต่อการจัดเก็บจริง (งั้นก็ให้กฎหมายออกมาซิ ทำไมต้องกลัว), การเก็บภาษีฐานทรัพย์สินจะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ฯลฯ สิ่งที่กล่าวถึงมาทั้งหมดนี้ มีความจริงบางส่วนแต่หลายส่วนก็ถูกขยับขยายข้อเสียหรือข้อควรระวังให้น่า กลัวเกินจริง เรียกได้ว่าเป็นโลกมายาของทุนนิยม (Capitalism fantasy) ที่หลอกให้คนจำนวนมากและรัฐบาลไม่กล้าที่จะผลิตนโยบายซึ่งกระทบต่อผลกำไรของ กลุ่มทุนเอาเสียเลย

ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่าค่าจ้างแรงงานที่สูงนั้นไม่ใช่ตัวชี้ขาดเดียวใน การกำหนดความได้เปรียบของประเทศในการแข่งขัน ยังมีปัจจัยอื่นอีกมาก อาทิ ระบบโลจิสติก, ผลิตภาพและทักษะฝีมือแรงงาน, ฐานทรัพยากรที่จำเป็นทางการผลิต, ตลาดและสายการผลิตที่เกี่ยวเนื่อง ฯลฯ ถ้าค่าจ้างแรงงานคือตัวชี้ขาดความสามารถในการแข่งขันและกำไรจริงๆ ทำไมลำพังในประเทศ จังหวัดที่ค่าจ้างแรงงานถูกสุดอย่างพะเยาไม่มีโรงงานมากสุด หรือกำไรของนิติบุคคลสูงสุดหละครับ!!!

บทความหน้าลุ้นกันนะครับว่า มิติไหนของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำบ้างที่เราจะหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงกัน