ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 19 July 2011

..คำผกา ตีแสกหน้า ประเวศ

ที่มา thaifreenews

โดย คนเมืองกาญ


ขนาดผมได้วันละ 700 แทบจะไม่พอใช้เลยแล้ว คนที่ได้วันละ 150 จะไปพอกินอะไร



Re:

โดย แม่ปังคุง

นับถือ และ ไม่เถียงแต่ด่า โดย คำ ผกา
.

นับถือ
โดย คำ ผกา
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1613 หน้า 89


"ส่วน กรณีที่พรรคการเมืองมีนโยบายปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน เขามองว่าเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ เพราะหากค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ก็จะทำให้สินค้าไทยแข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้ แต่หากทำให้แรงงานมีที่พัก มีอาหารพอเพียง แม้ได้รับค่าจ้างวันละ 150 บาทต่อวัน เงินก็เหลือและแรงงานก็อยู่ได้ ดังนั้น เราไม่ควรหวังในเรื่องตัวเงินมากนัก ขณะที่การเชื่อมโยงผู้บริโภคในเมือง กับผู้ทำเกษตรอย่างยั่งยืน จะเป็นพลังงานขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น" ประเวศ วะสี (ราษฎรอาวุโส)
http://www.prachatai3.info/journal/2011/07/35942

คงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้ในกรอบคิดของวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมือง กรอบคิดเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณ

ใน กรอบคิดเรื่องการจัดสวัสดิการของรัฐ เถียงกันได้อีกว่าเราอยากได้รัฐบาลที่เอาใจชนชั้นล่าง กรรมกร หรืออยากได้รัฐบาลที่เลือกจะอุ้มภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม โดยกดค่าแรงในประเทศให้ต่ำเข้าไว้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาด โลก

เถียงกันได้อีกว่าหรือเราจะเลือกรัฐบาลที่เลือกสนับสนุนกรรมกร ชนชั้นแรงงานด้วยการเพิ่มค่าแรง ในขณะเดียวกันก็เสนอแผนสนับสนุนการลงทุนแก่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมในด้านอื่น เช่น ลดหย่อนภาษี หรือยกเว้นภาษีบางตัว

เถียง กันได้ต่อไปอีกว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศของเราจะเข้าสู่การแข่งขันตลาดโลกด้วยคุณภาพของ สินค้า มิใช่ด้วยความสามารถในการผลิตสินค้าที่ราคาถูกกว่าคนอื่น

เถียง กันได้อีกว่าแทนการแทรกแซงของรัฐ หรือเราจะปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี หรือแทนการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำโดยรัฐแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งผลของมันคือ ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการค่าแรงราคาถูกมาก อาจหันไปใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน (ส่วนจะประคองเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนเรื่องการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างมี มนุษยธรรมอย่างไร ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องใส่ใจ) ส่วนแรงงานในประเทศก็ยกระดับไปเป็นแรงงานมีฝีมือ

หรืออาจเถียงกันได้ อีกว่า หน ทางที่จะสร้างอำนาจการต่อรองให้กับกรรมกรและแรงงานทั้งหมด คือการเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน มีอำนาจในการต่อรองกับนายจ้าง ไม่เพียงค่าแรงแต่รวมเรื่องสวัสดิการอื่นๆ เช่น ที่พัก วันลา ค่าโอที ศูนย์เด็กเล็กในโรงงาน สหกรณ์จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่คนงานทุกคนมีหุ้นส่วนในฐานะที่เป็นเจ้า ของ ฯลฯ


จะเถียงกันด้วยกรอบคิดแบบไหนก็ล้วนแต่เป็นเรื่อง ที่ดี ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าพรรคการเมืองที่มาจากประชาชนจะ ตัดสินใจแบบไหน และหากประชาชนส่วนใหญ่ไม่พอใจนโยบายของรัฐก็คงตัดสินกันที่การเลือกตั้ง ครั้งต่อไป

หากนโยบาย ค่าแรงวันละ 300 บาทของพรรคเพื่อไทยนำความหายนะ ล้มละลาย เศรษฐกิจตกต่ำ กรรมกรเป็นหนี้ ภาคอุตสาหกรรมเจ๊งระเนระนาด บริษัท มาม่า ผงซักฟอก ปิดกิจการ เจ้าสัวต้องไปเดินเร่ขายแซนด์วิช ลูกหลานเจ้าสัวเจ้าของบริษัทขายแฟ้บต้องมาเร่ขายพวงมาลัยอยู่ข้างถนน ถึงวันนั้น การเลือกตั้งสมัยหน้าคงไม่มีเลือกพรรคเพื่อไทยอีกกระมัง

การ ที่ คุณบุญชัย โชควัฒนา บอสใหญ่สหพัฒนพิบูล และ ณรงค์ โชควัฒนา ออกมาเตือนว่ากลัวแผ่นดินจะลุกเป็นไฟ เพราะนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทนั้น ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะท่านเป็นนายทุน ท่านก็ย่อมปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มของท่านเป็นหลัก และมีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้นในวิถีทางประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือน่าตกอกตกใจแต่อย่างใด และเป็นเรื่องของท่านที่จะไปหาทางต่อรองเอากับรัฐบาลกันเอง

แต่ ที่ผิดปกติ และชวนหัวอย่างที่สามารถเป็น black comedy ได้อย่างสมบูรณ์แบบคือ ความคิดเห็นของ ประเวศ วะสี บุคคลผู้สั่งสมบารมีชื่อเสียงของตนมาจากการสร้างชื่อในฐานะของคนที่ต่อสู้ เพื่อโครงสร้างของสังคมที่เป็นธรรม บุคคลที่มีภาพของการเป็นคนดีมีศีลธรรม บุคคลที่เป็นเจ้ายุทธจักรของโครงการที่รณรงค์ให้คนเป็นคนซื่อ มือสะอาด เลิกเหล้า อดบุหรี่ มีศีล บุคคลผู้พร่ำเพ้อถึงสังคมอุดมคติ นิพพาน ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ บุคคลที่รังเกียจทุนสามานย์ การคอร์รัปชั่นและความหื่นกระหายตะกละของนักการเมือง

นี่คือทัศนะของบุคคลที่ชนชั้นกลาง มีการศึกษาจำนวนมากในสังคมไทยเคารพนบไหว้ว่าเป็นปูชนียบุคคล วิเศษวิโสเหลือประมาณ

นี่ คือทัศนะของท่านว่า แรงงานไทยมีค่าแรงวันละ 150 บาทก็พอแล้ว ถ้าให้แรงงานมีที่พัก และอาหาร จากนั้นโปรดอยู่ในความสงบ เอ๊ย อยู่ในความพอเพียง

พิโธ่เอ๋ย...อนิจจัง อนิจจา ท่านราษฎรอาวุโส นี่เป็นสิ่งที่ฉันหัวเราะมิได้ ร่ำไห้มิออก อึ้งยิ่งกว่าอ่านเจอรายงานของคณะกรรมการสิทธิฯ เรื่องสลายการชุมนุม อึ้งเสียยิ่งกว่าปริศนาว่าด้วยเงิน 600 ล้านปฏิรูปประเทศ (แบบว่าทำใจไปแล้วว่าประชาชนได้ทำทานครั้งใหญ่ไป)



ท่านราษฎร อาวุโส ฉันเชื่อว่าท่านมีลูกมีหลาน ท่านลองนั่งคำนวณในใจบ้างไหมว่ากว่าจะเลี้ยงลูกออกมาให้เป็นคน 1 คน มีการศึกษาตามสมควร นี่ยังไม่นับว่ากรรมกรรับค่าแรงวันละร้อยกว่าบาทไม่สามารถย้ายโรงเรียนลูก เป็นว่าเล่นหากลูกไม่เอาถ่าน หรือไม่มีความฟุ่มเฟือยพอจะให้ลูกไปทดลองใช้ชีวิตอินดี้ๆ

แบบว่า เออ...เบื่อโลกไปปั่นจักรยานเล่นสักปีสองปีดีกว่า หลังจากนั้น ก็ไม่ต้องดิ้นรนทำมาหากินอะไรมาก เพราะเกาะพ่อเกาะแม่กินได้

แบบ ว่า พ่อเก่งในการทำงาน เก่งเกี่ยวกับการหางบประมาณ สร้างคอนเน็กชั่น เครือข่ายสาวก สร้างลัทธิ เป็นเจ้าศาสดา สามารถแจกจ่ายงานวิจัย เงินโครงการ นู่น นั่น นี่ ส่วนลูกหลานไม่ต้องทำงานมากก็ทำให้ดูดีว่าเป็นครอบครัวไม่โลภ ไม่ทะเยอทะยาน ติดดิน ไม่ติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สมถะ พอเพียง (แต่ลูกคนจนไม่ทำงานกลายเป็นเด็กไม่เอาถ่าน ไม่รักดี ไม่เจียมตัว)

เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานของท่านมาเป็นคน ใช้เงินต่อหัวคนละกี่บาทตลอดชีวิตของพวกเขา ?

และ หากท่านมีหลานในวัยที่กำลังไปโรงเรียน หลานของท่านเดินทางด้วยยานพาหนะอะไร ค่าเดินทางวันละเท่าไหร่? ค่าเล่าเรียนเทอมละเท่าไหร่? ค่าเสื้อผ้าเดือนละเท่าไหร่? ค่าอาหารเดือนละเท่าไหร่? ค่าหาความรู้ทักษะพิเศษเพื่อเป็นต้นทุนทางสังคมต่อไป เช่น ดนตรี กีฬา เดือนละเท่าไหร่? ค่าแม่บ้าน คนใช้เดือนละเท่าไหร่? หลานของท่านเอาเงินไปโรงเรียนวันละเท่าไหร่? คำนวณออกมาคร่าวๆ คนเราใช้เงินกันวันละเท่าไหร่? อ้อ ค่าน้ำมันรถท่านเดือนละเท่าไหร่? อย่าบอกนะว่าท่านนั่งรถเมล์ติดแอร์มาทำงาน ?

ท่านอาจจะบอกว่า "อ้าว ก็อั๊วเป็นถึงหมอ ทำงานมีเงินเดือนเยอะ อั๊วจะอยู่ จะเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานยังไงก็เรื่องของอั๊ว แต่ พวกกรรมกร ไม่รู้จักเจียมตน ไม่รู้จักพอเพียง มีค่าแรงวันละร้อยกว่าบาทสะเออะจะส่งลูกเรียนโรงเรียนทางเลือก มรึงก็ส่งลูกเข้าโรงเรียนวัดใกล้ๆ บ้านสิวะ ปั๊ดดด"

กรรมกรอย่างเราก็คงก้มหัวงุด เออหนอ คนอย่างพวกเรามันไม่รู้จักเจียมกะลาหัว



ท่าน ราษฎรอาวุโสเหมือนจะ hint หรือบอกใบ้ (ตามประสานักปราชญ์ ต้องพูดอะไรให้เป็นปริศนาธรรม เพื่อให้สาวกตีความว่า ท่านพูดหมายจะให้ความหมายลึก แต่คนอย่าง คำ ผกา โง่จะตาย อ่านความนัย ความลึกซึ้งปราดเปรื่องของคนฉลาด ล้ำลึก อ่อนโยน อย่างท่านราษฎรอาวุโสไม่ออกหรอก) ว่า หาก เรากดดันให้นายทุน เจ้าของกิจการหาที่พัก และอาหารราคาถูกให้คนงานได้ เราก็ไม่ต้องขึ้นค่าแรงคนงาน แถมยังได้ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนายทุน แถมยังได้สร้างความสัมพันธ์อันดี สายใยรักพันผูกของระหว่างนายจ้าง ลูกจ้างที่เงินก็ซื้อไม่ได้

อีก หน่อยอาจเพิ่มแพ็กเกจใครเลิกเหล้าได้เด็ดขาดถึงจะมีของขวัญเป็นค่าแรงเพิ่ม ให้เป็นพิเศษ ใครไปบวช ได้เพิ่มวันละห้าบาท ใครเลิกบุหรี่เอาไปเลยอีกคนละหกบาทขาดตัว ใครวิปัสสนาทุกวันเอาไปเล้ยยยค่าแรงฟรีวันละ 10 บาท ทำเช่นนี้ นิตยสารส่งเสริมความดี รายการคนค้นสัตว์จะมาแย่งกันทำรายการสารคดีนายทุนดีมีคุณธรรมค้ำจุนโลก

แต่ คำถามคือ แล้วท่านราษฎรอาวุโสสามารถบังคับให้ทุกโรงงานทุกบริษัทสร้างแฟลตสำหรับคนงาน ได้ครบถ้วนหรือไม่ ? นายทุนที่ไหนจะกล้าแบกรับภาระด้านนี้ ? ในวงเล็บที่ว่าต้องเป็นแฟลตหรืออพาร์ตเมนต์ที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีในระดับหนึ่งมิใช่สลัมหรือแคมป์คนงานก่อสร้างที่เวลาเพื่อนข้าง ห้องมีเซ็กซ์กัน อีกคนหนึ่งต้องคอยเอามือจับวิทยุ โทรทัศน์ เอาไว้ ไม่อย่างนั้นมันจะหล่นลงมาเพราะมันเป็นเพิงหมาแหงนที่เพียงคนเดินก็สั่นไหว ราวกับมีสึนามิ

ส่วนอาหารที่โรงงานจัดให้จะออกมาในสภาพไหนก็ไม่อยาก จินตนาการ ขนาดข้าวอาหารถาดหลุมสมัยเป็นนักเรียนยังทำเอาพวกเราฝันร้าย ใจคอท่านจะให้คนงานเข้าคิวกินข้าวแบบโรงทานวันละ 3 มื้อ แล้วเก็บหอมรอมริบเอาจากเงินค่าแรงวันละ 150 บาทแล้วยิ้มหวานไปกับอาขยานที่ว่ามีสลึงพึงประจบให้ครบบาทอย่างนั้นหรือ?

ท่าน ราษฎรอาวุโส ค่าแรงวันละ 150 บาท นั้นเท่ากับเดือนละ 4,500 บาท ฉันแค่อยากรู้ว่าหลานของท่านดื่มนมเดือนละกี่บาท? กินขนมเดือนละกี่บาท



ท่าน ราษฎรอาวุโสที่เคารพ ค่าเช่าบ้านชนิดที่แค่คุ้มกะลาหัวเดือนละ 2,000 บาท ค่าน้ำค่าไฟเดือนละ 500 บาท (อันนี้ประหยัดที่สุดแล้ว และอย่าลืมว่าคนที่เช่าบ้านอยู่ใช้ค่าน้ำและไฟแพงกว่าราคาต่อยูนิตของการ ไฟฟ้าฯ และประปา), ค่าอาหาร กินอย่างเจียมตนที่สุด มื้อละ 30 บาท สามมื้อ 90 บาท เดือนละ 2,700 บาทเข้าไปแล้ว รวม 5,200

นี่ยังไม่มีค่ายาคุม ค่าถุงยางอนามัย ค่าพาราเซตามอล ค่าผ้าอนามัย ค่าสำลีแคะหู ครีมทาหน้าไม่มี อย. ราคาถูกที่ซื้อในตลาดนัด ค่ารถไปทำงาน ยังไม่ได้ส่งไปให้พ่อให้แม่ใช้ ยังไม่ได้กินโอเลี้ยงสัก 1 แก้ว นี่ยังไม่ได้ซื้อกางเกงลิงสักตัวเลยนะคะ ปาเข้าไป 5,200 บาทแล้ว

ท่านราษฎรอาวุโสคะ ตอนนี้ไข่ไก่ฟองสามบาทกว่าเกือบสี่บาท หมูโลละร้อยกว่าบาท ไก่โลละเกือบร้อย เนื้อวัวไม่ต้องพูดถึง ข้าวสารลิตรเท่าไหร่ กิโลละเท่าไหร่? ปลาทูตัวละเท่าไหร่? ปลานิล ปลาทับทิม อันเป็นปลาของคนจนนั้นกิโลกรัมละเท่าไหร่?

ถามว่า ท่านเคยเดินตลาดสดบ้างหรือไม่? เกิดมาท่านเคยซื้ออะไรกินด้วยตนเองบ้างหรือเปล่า? เกิดมาเคยซื้อข้าวสารด้วยตนเองซักลิตรสักกิโลฯ ไหม ก่อนจะมานั่งบอกว่าค่าแรงเดือนละ 4,500 บาทนั้นอยู่ได้ถ้าพอเพียง

อ้อ 4,500 บาทนี่จัดเต็ม ทำทุกวันไม่เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการนะคะ นี่ถ้าหากหักวันหยุดไปอาทิตย์ละวัน ก็จะเหลือแค่เดือนละ 3,600 บาท-ด้วยเงินเท่านี้ต่อการดำรงชีวิต ขอเสนอว่ากรรมกรต้องกินขี้กินเยี่ยวตนเองแล้วค่ะถึงจะอยู่ได้

อ้อ ราคาอาหารที่บอกไปข้างต้นนั้นเป็นราคาตลาดนัด ไม่ใช่ราคาในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่คนมีอันจะกินไปจับจ่าย เพราะหากบริโภคแบบคนมีอันจะกิน ไข่ไก่ออร์แกนิกส์ปลอดสารพิษมาจากไก่อารมณ์แบบที่ท่านน่าจะซื้อให้ลูกให้ หลานท่านกินนั้นราคาฟองละ 8 บาท หมูปาเข้าไปเกือบ 300 บาท ต้นหอมผักชีกำละ 20-25 บาท พริกชี้ฟ้าห้าเม็ดปาไปเกือบ 20 บาท


สุดท้ายนี้ ฉัน อยากจะบอกว่า ค่าแรงวันละ 150 บาทจากท่านนั้นเป็นความอำมหิต มันปิดไม่มิดจากหัวใจไร้ความเป็นธรรม ไร้ความปรานีจากคนที่เรียกตนเองว่าราษฎรอาวุโสที่เที่ยวป่าวประกาศว่าตนเอง รักความยุติธรรม ไม่อยากเห็นความเหลื่อมล้ำในสังคมและอยากปฏิรูปโครงสร้างประเทศ

ทุภาษิตประจำสัปดาห์ : โจรที่ซื่อสัตย์ต่อความเป็นโจรนั้นน่านับถือกว่าสังฆราชที่ฉ้อฉล