ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 6 July 2011

วิกิลีกส์: พรรคการเมืองใหม่ แตกแยกเพราะไม่ลงรอยเรื่องสถาบัน

ที่มา ประชาไท

เปลี่ยนสีตัวเองให้เป็นเขียว-เหลือง ก้าวเข้าสู่วงการเมือง และเปลี่ยนสีระหว่างทาง

เอกสารวิกิลีกส์ หมายเลข 09BANGKOK2855 วันที่ 11 เดือนกันยายน 2552
เอกสารลับ สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพฯ
Classified By: POL Counselor George Kent, reasons 1.4 (b, d)

09BANGKOK2855 COLOR ME GREEN – YELLOW-SHIRTS ENTER THE POLITICAL RING AND CHANGE COLORS ALONG THE WAY

สรุปและความเห็น
1. พรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ซึ่งนำโดยนักธุรกิจสื่อผู้ร่ำรวยและทรงอิทธิพล สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นพรรคล่าสุดที่ก้าวเข้าสู่การเดิมพันทางการเมืองของไทย สร้างคนเสื้อเหลือง/พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งแกนนำการเคลื่อนไหวผันมาเป็นแกนนำพรรค พรรคการเมืองใหม่ปรารถนาที่จะนำเอาพลังและจิตวิญญาณชาตินิยมของ “เสื้อเหลือง” ไปสู่กลไกทางการเมืองแบบทางการที่มีประสิทธิภาพ – ด้วยโทนสีเขียวอ่อน – มีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงนโยบายให้ก้าวหน้า

สนธิเป็นตัวแทนของความเชื่อว่า ฝ่ายชนชั้นนำในประชาธิปัตย์ไม่สามารถที่จะเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของพันธมิตรฯ ในการเมืองแบบตามระบบ และกระบวนการทางรัฐสภา แต่แม้ว่าจะมีโวหารเลิศลอยและมีความทะเยอะทะยานต่อผลการเลือกตั้งเพียงใด นักวิเคราะห์จำนวนมากก็คาดการณ์ว่าพรรคการเมืองใหม่จะประสบความสำเร็จเพียง เล็กน้อยเท่านั้นในการเลือกตั้งที่จะถึง และสร้างความเสียหายแก่ประชาธิปัตย์เล็กน้อย บางทีอาจจะสร้างปัญหาให้กับพรรคการเมืองใหม่มากกว่าด้วยซ้ำในการเดินหน้าต่อ เช่นเดียวกับกับ “เสื้อเหลือง” ความแตกแยกได้ขยายวงออกด้วยความเห็นที่ไม่ลงรอยกันภายในต่อประเด็นหลักการ สำคัญของพรรคว่า ควรจะส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในฐานะสถาบัน หรือต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันเท่านั้น

2. ทุกบทวิเคราะห์การเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่า พรรคการเมืองใหม่ยังต้องออกแรงอีกยาวนานและอย่างยากลำบากเพื่อจะได้รับชัย ชนะอย่างใกล้เคียงความจริง, พรรคอาจมีโอกาสได้ประมาณ 10 ที่นั่งในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นครั้งถัดไป สมาชิกของพรรคคนหนึ่งกล่าวอย่างกลางๆ ว่า ยังเห็นไม่ชัดเลยว่า การมีที่ตั้งหลักเล็กๆ อยู่ในรัฐสภาจะช่วยให้สนธิและเพื่อนร่วมพรรคได้เข้ามาปรับโครงสร้างพื้นฐาน ในระบบการเมืองได้อย่างไร

ยิ่งไปกว่านั้น ประเด็นการขึ้นดำรงตำแหน่งของXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX ก็อาจจะนำไปสู่การแตกหักระหว่างพันธมิตรฯ และพรรคการเมืองใหม่ หากสมาชิกพรรคคนสำคัญๆ ตั้งคำถามอย่างเปิดเผยถึงความเหมาะสมขององค์รัชทายาทผู้เป็นที่คาดหมายว่าจะ ขึ้นครองราชย์

สนธิและพรรคพวก ดูเหมือนจะป้องกันความเสี่ยงด้วยการรักษาบทบาทของพันธมิตรไว้ ขณะที่ก็สร้างพรรคการเมืองใหม่ไปด้วย

หากเป็นไปตามที่คาด, พรรคการเมืองใหม่แพ้การเลือกตั้ง และพบว่าการจะได้คะแนนเสียงเป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าการยึดสนามบิน สนธิและเหล่าผู้ติดตามยังสามารถกลับคืนสู่พื้นที่บนท้องถนนเพื่อให้สารของ เขาเป็นที่ได้ยิน

จบส่วนสรุปและความเห็น

พันธมิตรตัดสินใจ ถึงเวลาของพรรค
3. พรรคการเมืองใหม่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2552 ในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเมืองของพันธมิตรฯ เป็นการก่อตั้งพรรคขึ้นมาเพื่อเสริมมากกว่าเพื่อทำหน้าที่แทนพันธมิตร ทั้งพรรคและพันธมิตรฯ มีองค์ประกอบที่ร่วมกันอยู่ทั้งในแง่สมาชิก แหล่งทุน และวัตถุประสงค์

สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ บอกเราเมื่อวันที่ 3 พ.ย. (52) ว่าพันธมิตรฯ ยังคงโฟกัสที่การโจมตีทักษิณ ขณะที่พรรคการเมืองใหม่มีหน้าที่ทำให้เป้าหมายการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ลุล่วงไปผ่านกระบวนการในระบบ และกระบวนการทางรัฐสภา

เป็นพัฒนาการที่ไม่ได้สร้างความประหลาดใจใดๆ ผู้ที่เชื่อมั่นศรัทธาต่อพรรคเลือกสนธิเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกในการประชุม สมาชิกพรรคครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 ต.ค.

สนธิ ซึ่งฟื้นตัวอย่างเกือบจะสมบูรณ์แล้วจากการถูกลอบสังหารเมื่อช่วงต้นปี ตอบรับตำแหน่ง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว เคยกล่าวประโยคที่ลือเลื่องครั้งหนึ่งว่า “เอารองเท้าตบหน้าผมได้ทันที ถ้าวันไหนผมไปรับตำแหน่งอะไรทางการเมือง”

4. (SBU) การเปลี่ยนผ่านรวมถึงการเปลี่ยนสี จากสีเหลือง (ของพันธมิตร, แสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เป็นสีเขียวอ่อน (ของพรรคการเมืองใหม่) สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปมือสีเหลือง 4 ข้างเกาะเกี่ยวกัน (แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยทั้ง 4 ภาค) บนพื้นหลังสีเขียว โทนสีเขียวสื่อถึงพรรคและพันธสัญญาของพรรคในการสร้างธรรมาภิบาล พรรคการเมืองใหม่ยังมีวาระเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วยความเชื่ออย่างหนักแน่น เต่อเป้าหมายอีกประการหนึ่งของพรรคในการส่งเสริมความคิดเรื่องการพัฒนาที่ ยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของพรรค
5. (C) โดยที่ผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ซึ่งขณะนี้มาตั้งพรรคการเมืองใหม่นั้นเป็นผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้ประชาธิปัต ย์ นักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่าในสนามเลือกตั้ง พรรคการเมืองใหม่จะแย่งคะแนนเสียงจากประชาธิปัตย์มากกว่าที่จะดึงความสนใจ จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายใหม่ หรือดึงคะแนนเสียงจากฐานเสียงอื่นๆ

ตามข้อมูลของทางพรรค ผู้สนับสนุนพรรคส่วนใหญ่เป็นคนที่มีการศึกษา ผู้มีฐานะดีในเขตเมือง เลขาธิการพรรรค-สุริยะใสคาดว่าพรรคการเมืองใหม่น่าจะทำคะแนนได้ดีใน เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จ.พิจิตร (ภาคเหนือตอนล่าง) และภาคเหนือตอนบน

พรรคอาจจะแย่งที่นั่งอีกหลายแห่งที่ฐานคะแนนเอาใจออกห่างประชาธิปัตย์
(หมายเหตุ: การเลือกตั้ง ส.ส. โดยทั่วไปขึ้นกับตัวบุคคลมากกว่าความนิยมในพรรค. จบหมายเหตุ)

6. อย่างน้อยที่สุดก็ต่อสาธารณะ, พรรคการเมืองใหม่วางเป้าหมายที่ชัดเจนมากในการเลือกตั้งครั้งถัดไป แต่โดยส่วนตัวแล้ว สุริยะใส กล่าวว่าพรรคการเมืองใหม่คาดหวังว่าจะเป็นฝ่ายค้าน ไม่ว่าประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทยซึ่งหนุนหลังโดยทักษิณจะได้จัดตั้งรัฐบาล พวกเขาจะเล่นบทผู้ตรวจสอบการคอร์รัปชั่นและขาดธรรมาภิบาล

7. ในเดือนเมษายน, ตัวอย่างเช่น จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรบอกกับสื่อมวลชนว่า “เป็นเรื่องสำคัญสำหรับพรรคการเมืองใหม่ที่จะเป็นผู้นำในรัฐบาลผสม ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่มีความแตกต่างอะไรระหว่างการเมืองแบบเก่าซึ่งมีการซื้อ ขายเสียง สาดโคลน และการเมืองที่ใช้เงิน (money politics)

เดือน พ.ค.,ในตอนเย็นวันหนึ่งซึ่งมีการระดมทุน แกนนำพันธมิตรรายหนึ่ง (และขณะนี้เป็น ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์) ทำนายว่าพรรคการเมืองใหม่จะได้ที่นั่งถึง 30 ที่ในการเลือกตั้ง

เมื่อเร็วๆ นี้ สุริยะใสวิเคราะห์แบบมีสติมากขึ้นและบอกกับเราว่า พรรคการเมืองใหม่คาดหวังว่าจะได้ 20 ที่นั่ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่บรรดาผู้สังเกตการณ์ก็ยังรู้สึกว่ามองโลกในแง่ดีเกินไป จากการสนทนากับเครือข่ายในพรรคการเมืองต่างๆ ผู้สังเกตการณ์ที่มีข้อมูลมากๆ เชื่อว่าพรรคนี้จะได้ที่นั่งอยู่ระหว่าง 0-10

ประชาธิปัตย์ไม่หวาดหวั่น
8. สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์บอกกับเราเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ว่า เขาคาดหวังอย่างจริงจังว่าพันธมิตรฯ จะเปลี่ยนมาสู่การเป็นพรรคการเมืองและตระหนักว่า พรรคการเมืองนี้จะมาถ่ายเทคะแนนไปจากประชาธิปัตย์ ในขณะที่แสดงตัวเป็นพลังกดดันทางการเมืองแบบ “ชาตินิยม”

พรรคประชาธิปัตย์ดูจะไม่กังวลใจกับการตั้งพรรคการเมือง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ซึ่งเป็น ส.ส. เขตในกรุงเทพฯ ซึ่งต้องลงแข่งกับผู้สมัครจากพรรคการเมืองใหม่ที่ฐานเสียงแข็งแกร่งคนหนึ่ง (ซึ่งเขาประเมินว่ามีประมาณ 15,000-20,000 คน) บอกกับเราเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เขามีฐานเสียงประมาณ 60,000 คนจากการเลือกตั้งคราวที่แล้ว ฉะนั้นต่อให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองใหม่ลงแข่งกับเขาในเขตนี้ 2 คน แย่งคะแนนจากเขาไปสัก 40,000 เขาก็ยังคงได้รับการเลือกตั้งอย่างสบาย

9. ในการอธิบายว่าทำไมพรรคการเมืองใหม่ถึงต้องพยายามอย่างหนักในการแปรผู้สนับ สนุนไปสู่การได้ที่นั่งในสภา, อภิมงคลกล่าวว่า แม้ว่าพรรคการเมืองใหม่จะได้รับความนิยมและการสนับสนุนอยู่บ้าง แต่สมาชิกของพรรคการเมืองใหม่กระจายไปทั่วประเทศโดยไม่มีศูนย์รวมฐานคะแนน ของพรรค คะแนนของพรรคการเมืองใหม่กระจายยิบย่อยเกินไปทั่วประเทศและก็มีพื้นที่ที่ ฐานเสียงเข้มแข็งพอที่จะโอกาสจะแย่งเก้าอี้จากประชาธิปัตย์เพียง 1-2 ที่นั่งเท่านั้น เขาคาดการณ์ว่าพรรคการเมืองใหม่อาจจะได้ประมาณ 7-8 ที่นั่งในส่วนของปาร์ตี้ลิสต์ซึ่งใช้ฐานเปอร์เซ็นต์คะแนน และจะไม่ได้ที่นั่งจากระบบเขต

10. ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และเป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกับเราว่า พรรคการเมืองใหม่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยหรืออาจ จะไม่มีผลเลย

ชินวรณ์ชี้ว่า การเลือกตั้ง ส.ส. เขตใน จ. สุราษฎร์ธานีที่จัดขึ้นในเดือนสิงหาคม คือหลักฐานสำคัญที่แสดงความอ่อนแอของพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งโน้มน้าวให้ผู้สนับสนุนตนกาช่องไม่ลงคะแนน

ในการเลือกตั้งครั้งนั้น แม้ว่าจะมีการโหมประโคมโฆษณา แต่ก็มีผู้ลงคะแนน ไม่ประสงค์จะเลือกผู้ใดเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ชัยชนะอย่างง่ายได้

SOME IN NPP BELIEVE THIS PRINCE SHOULD BE A PAUPER
11. สำหรับพรรคการเมือง ในทางสาธารณะนั้น ถือได้ว่าอย่างน้อยที่สุดก็เป็นพรรคที่สถาปนารากฐานความจงรักภักดีในสถาบัน กษัตริย์, แต่ในพรรคการเมืองใหม่ ในแง่มุมส่วนบุคคลกลับมีบุคลิกภาพแตกต่างอย่างน่าประหลาดในประเด็นการสืบราช สมบัติ

สุริยะใส เปิดเผยกับเราว่า พันธมิตรฯ และพรรคการเมืองใหม่ แตกกันระหว่างคนที่ชัดเจนว่าสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ กับคนที่สนับสนุนเฉพาะกษัตริย์ในแง่ปัจเจกบุคล โดยเขาจัดตัวเองไว้ในกลุ่มหลัง XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX XXXXXXXXXXXXXXX XXXXXXXXXXXXX

คำถามว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับพรรค หากพระบรมโอรสาธิราชทรงสืบราชสมบัติ?

สุริยะใสกล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วเขาเชื่อว่า สถาบันกษัตริย์ต้องถูกปฏิรูป และให้ความเห็นว่า องค์ประกอบบางส่วนในการเคลื่อนไหวของฝ่ายราชานิยมมีความ “อันตราย” ซึ่งบางทีอาจจะมากกว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณ

จอห์น

ที่มา: “http://thaicables.wordpress.com/2011/06/23/09bangkok2855-color-me-green-yellow-shirts-enter-the-political-ring-and-change-colors-along-the-way/