เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 27 ก.ค.นี้ กลุ่มชาวบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้นัดรวมตัวกันไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อ นางพิมพ์สรณ์ ท้วมศรี นายกเทศบาลตำบลเมืองนะ และนายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ นายอำเภอเชียงดาว เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการคัดค้านการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน และขอให้นำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอและทบทวนการดำเนินการต่อไป
โดยก่อนหน้านี้ ชาวบ้านโป่งอางได้รวมพลังกันขึ้นป้ายคัดค้านการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอน บน ตั้งแต่ปากทางเข้าหมู่บ้าน ตามถนนหนทาง และหน้าบ้านของแต่ละครัวเรือน หลังจากรู้ข่าวแน่ชัดว่าจะมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงบริเวณบ้านโป่งอาง ซึ่งเคยมีเจ้าหน้าที่เข้ามาทำการสำรวจและจัดประชุมอยู่หลายครั้งแต่ไม่ได้ บอกรายละเอียดให้ชาวบ้านได้รับรู้
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 22 ก.ค.54 ที่ผ่านมา ตัวแทนชาวบ้านโป่งอาง นำโดยนายจตุกร กาบบัว ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโป่งอาง, นายเสาร์คำ เขื่อนเพชร สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเมืองนะ, นายแก้ว จองจาย แก่ฝายหลวงบ้านโป่งอาง ฯลฯ ได้ทำหนังสือไปยื่นต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ซึ่งได้เดินทางมาเปิดอาคารเรียนโรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มาแล้ว
โดยหนังสือระบุว่า ตามที่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการเข้ามาทำการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เบื้องต้นทางคณะศึกษาฯร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ได้เข้ามาจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิง 3 ครั้งที่ผ่านมา ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2554 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 เมษายน 2554 และครั้งที่ 3 วันที่ 24 มีนาคม 2554 ประเด็นการรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน
นอกจากการจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว คณะศึกษาฯ ยังได้ลงพื้นที่ ณ ที่ตั้งโครงการ คือ บ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดทำข้อมูลทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ระบบนิเวศพื้นที่ และสุขภาพของคนในชุมชน
ชาวบ้านชุมชนบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและได้รับผลกระทบโดยตรง ได้มีการประชุมหารือก่อนมีมติ เห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นลักษณะของกระบวนการที่ได้ละเมิดสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากรฯในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
1.การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานตามโครงการ ชุมชนไม่มีโอกาสเข้าถึง รับรู้ข่าวสาร รายละเอียดโครงการฯ
2.กระบวนการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจไม่ได้เกิดขึ้นจากคนในชุมชนอย่างแท้จริง
3.ขั้นตอน กระบวนการศึกษามีลักษณะเร่งรัดในการดำเนินการ ขาดความละเอียดของการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
4.ที่ตั้งโครงการฯ ดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ปิง ซึ่งถือว่าเป็นขุนน้ำสำคัญไหลหล่อเลี้ยงชุมชนในพื้นที่อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่จนถึงที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา
5.ที่ตั้งโครงการฯดังกล่าว เป็นพื้นที่ป่าของชุมชน ที่ชุมชนได้อาศัย พึ่งพาเป็นแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร ไม้ใช้สอยของคนในชุมชน
6.ไม่มีการใช้ฐานต้นทุนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในกระบวนการศึกษาความเหมาะสม และดำเนินการทั้งทางสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
โดยก่อนหน้านี้ ชาวบ้านโป่งอางได้รวมพลังกันขึ้นป้ายคัดค้านการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอน บน ตั้งแต่ปากทางเข้าหมู่บ้าน ตามถนนหนทาง และหน้าบ้านของแต่ละครัวเรือน หลังจากรู้ข่าวแน่ชัดว่าจะมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงบริเวณบ้านโป่งอาง ซึ่งเคยมีเจ้าหน้าที่เข้ามาทำการสำรวจและจัดประชุมอยู่หลายครั้งแต่ไม่ได้ บอกรายละเอียดให้ชาวบ้านได้รับรู้
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 22 ก.ค.54 ที่ผ่านมา ตัวแทนชาวบ้านโป่งอาง นำโดยนายจตุกร กาบบัว ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโป่งอาง, นายเสาร์คำ เขื่อนเพชร สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเมืองนะ, นายแก้ว จองจาย แก่ฝายหลวงบ้านโป่งอาง ฯลฯ ได้ทำหนังสือไปยื่นต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ซึ่งได้เดินทางมาเปิดอาคารเรียนโรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มาแล้ว
โดยหนังสือระบุว่า ตามที่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการเข้ามาทำการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เบื้องต้นทางคณะศึกษาฯร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ได้เข้ามาจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิง 3 ครั้งที่ผ่านมา ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2554 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 เมษายน 2554 และครั้งที่ 3 วันที่ 24 มีนาคม 2554 ประเด็นการรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน
นอกจากการจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว คณะศึกษาฯ ยังได้ลงพื้นที่ ณ ที่ตั้งโครงการ คือ บ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดทำข้อมูลทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ระบบนิเวศพื้นที่ และสุขภาพของคนในชุมชน
ชาวบ้านชุมชนบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและได้รับผลกระทบโดยตรง ได้มีการประชุมหารือก่อนมีมติ เห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นลักษณะของกระบวนการที่ได้ละเมิดสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากรฯในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
1.การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานตามโครงการ ชุมชนไม่มีโอกาสเข้าถึง รับรู้ข่าวสาร รายละเอียดโครงการฯ
2.กระบวนการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจไม่ได้เกิดขึ้นจากคนในชุมชนอย่างแท้จริง
3.ขั้นตอน กระบวนการศึกษามีลักษณะเร่งรัดในการดำเนินการ ขาดความละเอียดของการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
4.ที่ตั้งโครงการฯ ดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ปิง ซึ่งถือว่าเป็นขุนน้ำสำคัญไหลหล่อเลี้ยงชุมชนในพื้นที่อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่จนถึงที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา
5.ที่ตั้งโครงการฯดังกล่าว เป็นพื้นที่ป่าของชุมชน ที่ชุมชนได้อาศัย พึ่งพาเป็นแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร ไม้ใช้สอยของคนในชุมชน
6.ไม่มีการใช้ฐานต้นทุนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในกระบวนการศึกษาความเหมาะสม และดำเนินการทั้งทางสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ชาวบ้านชุมชนบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 เห็นว่า การเข้ามาศึกษาฯครั้งนี้ไม่ได้ตรงกับข้อเท็จจริงและสิ่งที่ชุมชนเสนอ ทั้งที่ผ่านเอกสาร และการศึกษาข้อมูล เพราะผลที่ออกมาเป็นรูปแบบของการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งความสูง พื้นที่รองรับน้ำ ความยาวของตัวเขื่อน ที่สำคัญการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเข้ามาดำเนินการกระบวนการศึกษา ไม่ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนได้รับรู้อย่างทั่วถึงหรือไม่เปิดเผยข้อมูลที่แท้ จริง ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมของคนในชุมชน ซึ่งได้สร้างความวิตกกังวลให้ชุมชนในพื้นที่เป็นอย่าง ยิ่ง
ดังนั้น ทางชุมชนบ้านโป่งอาง จึงขอให้พิจารณา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอ ทบทวน หรือยุติการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามโครงการฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของชุมชน แหล่งต้นน้ำปิงที่จะคงความยั่งยืนถึงลูกหลานต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านโป่งอางทุกคนยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าหากมีการสร้างเขื่อน จะทำให้กระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านและขอร่วมกันคัดค้านเพื่อปกป้องรักษา ชุมชน ผืนดินผืนป่านี้ไว้ให้ลูกหลานต่อไปให้ได้
นายสง่า แนะบือ ชาวบ้านโป่งอาง กล่าวว่าเขื่อนมันจะมาทำลายวีถีชีวิตชาวบ้าน เพราะว่าทุกวันนี้ ชาวบ้านเอาป่าเป็นชุบเปอร์มาเก็ต เวลาหิว เข้าป่าก็ได้อาหารมากิน เดินเลาะน้ำปิง ลงทอดแห ก็ได้ปลามากินแล้ว
ในขณะที่นางบัวเขียว ชุมภู ตัวแทนชาวบ้านโป่งอาง ก็ออกมากล่าวยืนยันว่า จะไม่ยอมให้สร้างเขื่อนอย่างเด็ดขาด ให้ตายกันไปข้างหนึ่ง จะสู้จนตาย เพราะว่ากว่าที่พ่อแม่เรารักษาผืนป่ามาไว้ให้ เมื่อตกมาถึงรุ่นเรา เราก็ต้องรักษาเอาไว้ให้ลูกหลานให้ได้.