ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 25 July 2011

ช่วง ร่วมๆ เดือนที่มีเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทดังมาเรื่อยๆ ผมสรุปได้ว่า

ที่มา thaifreenews

โดย Athaiman

ในขณะที่ ขอสารภาพตามตรงว่า ตอนประกาศนโยบายครั้งนี้ครั้งแรก ค่อนข้างไม่เห็นด้วย
และคิดว่าไม่ค่อยมีแรงผลักดันเท่าไหร่ รวมทั้งมองว่า มันเป็นกลไกที่ต้องขยับขึ้นเรื่อยๆ
พอครบ 4 ปี คงได้ 300 บาทเองซึ่งก็ไม่ได้ผิดคำพูด แต่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่ไม่ได้ปรับทันทีทันใด

แต่เวลานี้หลังจากการการเล่นการเมืองไม่ืลืมหูลืมตาของอีกฝาก ทำให้ผม เริ่มมองภาพรวมใหม่
ตอนนี้เหมือนครั้งแรกๆ ที่พวกมัน(ขออภัยใช้คำหยาบ เพราะไม่อยากใช้คำสุภาพกับพวกมัน)
พยายาม ขีดเส้นแบ่งพวก ซึ่งครั้งนี้ที่แบ่งคือ นายทุนกับลูกจ้าง โดยพยายามให้นายทุนได้กำไร
โดยละเลยคุณภาพชีวิตลูกจ้าง เหมือนเช่นเดียวกับ กรณี 30 บาทรักษาทุกโรคที่พยายามเหลือเกิน
ที่จะลดคุณภาพ การรักษาระหว่างคนรวยและคนจน ทำให้เกิดความแตกแยกมากมาย

ซึ่งในครั้งนี้ก็อีกเช่นกัน ผมว่าผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทครั้งนี้ รุนแรงไม่แพ้ 30 บาทรักษาทุกโรค
เพราะการต่อต้านครั้งค้านสุดลิ่มทิ่มประตู เช่นเดียวกัีบ เวลาที่ประกาศ 30 บาทรักษาทุกโรค
ดังนั้นนโยบายครั้งนี้คงไม่อาจปล่อยให้ ถ่วงเวลานานไป ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่
ภาพลักษณ์ ของคุณ ปู ก็จะยิ่งดูดี อาจเทียบเท่านายกทักษิณ ในกาลข้างหน้า

แต่แน่นอน การที่ขัดแย้งกับกลุ่มทุนใหญ่ในเวลานี้ย่อมส่งผลให้เกิด ความยากลำบากในการบริหารแน่ๆ
แต่ ครั้งนี้ในฐานะคนเสื้อแดง ในฐานะที่ความเห็นผม อาจเอียงข้างแต่ ขอให้ข้อคิดเห็นซักหน่อยว่า
ต่อให้ คุณ ปู ตามใจกลุ่มทุน แล้ว มันมีอะไรดีขึ้นกับคุณ ปู หรือเปล่า
ในเมื่อ กลุ่มทุนนั้น เลือกข้างไปแล้ว เหตุผลต่างๆ ที่อ้างมา หากมองในแง่ความจำเป็นแล้ว
ค่าแรงรอบๆ ประเทศเราต่ำกว่าเราทั้งนั้น ดังนั้น ที่ว่า ค่าแรงต่ำกว่า แล้วเป็นแรงจุงใจ
คงใช้ไม่ได้กับยุคสมัยนี้แล้ว ยิ่ง ทางไทยไม่ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เท่ากับเพื่อนบาทเราที่ได้
การที่ค่าแรงต่ำ ยังเป็นเหตุจุงใจได้อีกหรือ

หากมองในการพัฒนาเพื่อจุงใจ ผมมองว่า สาธารณูปโภค และการขนส่งต่างหากที่เป็นปัจจัยหลัก
รวมทั้งการติดต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่างหากคือการจุงใจชาวต่างชาติ
และกลับมาปะเด็นค่าแรงขั้นต่ำต่อ ในเมื่อค่าแรงไม่พอกิน แรงงานไทยจะัพัฒนาตนเองได้อย่างไร
แน่นอนเมื่อมีการปรับค่าแรงแบบก้าวกระโดด ก็ควรมีการตั้งศูนย์ พัฒนาฝีมือแรงงาน
เพื่อรองรับให้แรงงานที่ได้ปรับค่าแรงนั้น มีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่ได้รับค่าแรงนั้นด้วย
รวมทั้งการพัฒนาจังหวัดต่างๆ ภาคอีสานและเหนือ อย่าให้มีจังหวัดไหน หางานยาก พยายามสร้างงานในแต่ล่ะจังหวัด
แล้วเมื่อแรงงานไม่ไหลทะลักเข้าจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ค่าแรงมันเพิ่มขึ้นเองในอนาคต
ตามความจำเป็นแต่ล่ะเขต ไม่ใช่ปล่อยปละให้ แรงงานต้องโดนโยกย้ายออกจากบ้านเกิด เพื่อหางาน
จนทำให้โดนกดค่าแรงอย่างทุกวันนี้ นั่นต่างหากถึงเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน


ครั้งนี้เป็นทางแยกครั้งสำคัญ ของเพื่อไทย ของประชาชนไทย
ว่าเราจะถอยกลับไปใช้ค่าแรงขั้นต่ำดึงดูดใจนักลงทุนเหมือนประเทศด้อยพัฒนา หรือว่า
จะพยายามทำงานอย่างหนักเพื่อพลิกโฉมหน้าประเทศอีกครั้งหลังจากที่ นายกทักษิณเคยทำมาครั้ง
เพื่อยกระดับประเทศเราจากด้อยพัฒนา ไปสู่ประเทศทีพัฒนาแล้ว

Re:

โดย ลูกชาวนาไทย



ผมว่าเรื่องนี้ก็เหมือนกับเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค คือ ตอนเสนอตอนแรก คนจะคัดค้านว่าทำไม่ได้มากมาย จะทำลายระบบสาธารณสุขของไทย หายนะมากกว่าผลได้ คือ เรื่องมันใหญ่ฝืนความเคยชินของคนมากมาย คนไทยบางกลุ่มชินกับเรื่องเดิมๆ ก็ต้องค้านสุดลิ่มเอาไว้ก่อน

แต่เมื่อพรรคไทยรักไทย ผลัดดันเรื่องนี้อย่างแข็งขันสุดท้ายก็ทำได้
เรื่อง ค่าแรง 300 บาท/วันก็เหมือนกัน

ผม เชื่อว่าตอนที่ทักษิณยกเรื่องนี้ขึ้นมาครั้งแรก (ครั้งแรกคุณทักษิณพูด ไม่ใช่คุณปูพูดนะครับ) เขาก็คงพูดคุยหารือ ความเป็นไปได้ต่างๆ แล้ว และเขาคิดว่าน่าจะทำได้ เขาก็เสนอนโยบายนี้ขึ้นมา

พวกที่เสียผลประโยชน์ก็ต้องต่อต้าน เหมือนพวกแพทย์/พยาบาลต่อต้าน 30 บาทรักษาทุกโรค

แต่คุณปูจะต้องตามเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกและสำคัญ มันชี้ขาด ชี้เป็นชี้ตายอนาคตทางการเมืองของคุณปูและนายกฯทักษิณ

ดังนั้นมันจึงเป็น "วาระแห่งชาติของพรรคเพื่อไทย"

ก็อย่างที่ จขกท. บอกว่าเรื่องนี้เป็นการปฎิวัติระบบจากงานของไทย

หมดยุคขายค่าแรงกรรมกรถูกๆ แล้ว

เริ่มยุคค่าแรงสูง คุณภาพชีวิตที่ดี

คุณ ทักษิณมีกลักบริหารสำคัญคือ บริหารแบบใส่ใจ คือตามเรื่องตลอด จ้ำจี้จำไชให้มันออกมาให้ได้ ไม่ใช่ออกนโยบายแล้วก็ปล่อยให้หน่วยงานทำไป นายกรัฐมนตรีลอยตัว ได้เวลาก็มาประชุมเป็นประธานแบบอภิทธิ์ ซึ่งมันตามความก้าวหน้า และผลักดันไม่ได้

ผมคาดว่าคุณปูบริหาร งานบริษัทของทักษิณมาตลอด คงมีหลักเดียวกันคือ "บริหารแบบใส่ใจ" นายกฯต้องติดตามเรื่อง เรียกมาดู มาถก เข้าไปร่วมประชุมกับคณะทำงานเขาเป็นระยะ ๆ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ทันท่วงที

เรื่องนี้นักบริหารระดับองค์กรยักษ์อย่างคุณปูคงคุ้นเคยดี เพราะบริหารองค์กรขนาดใหญ่มาตั้งแต่ปี 2544 เกือบสิบปีแล้ว
การติดตามงานนั้น น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้บริหารระดับสูงดำเนินการ