ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 19 July 2011

จิตตา คชเดช: ค่าแรง 300 ขนหน้าแข้งนายทุนไม่ร่วง

ที่มา ประชาไท

จากการที่พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงข้างมากในการเลือกตั้งที่ผ่านมา นโยบายกำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาทที่พรรคเพื่อไทยใช้ในการหาเสียงจึงกลายเป็นประเด็นที่ทำให้สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) แถลงค้านทันทีว่าปรับ 300 บาทไม่ได้ ด้วยหลายเหตุผลเช่น ควรปล่อยให้ค่าแรงขั้นต่ำเป็นไปตามกลไกตลาด, เป็นการทำให้ต้นทุนสูงกว่า ประเทศอื่น ต่างชาติก็หนีไปลงทุนประเทศอื่น จนอาจทำให้ SMEs ที่มีอยู่กว่า 2 ล้านรายทั่วประเทศต้องปิดกิจการลงไปกว่าครึ่ง

ส.อ.ท.ยังมีข้อต่อรองว่าหากจะขึ้นจะต้องมีเงื่อนไข เช่นถ้ารัฐบาลต้องการจ่ายค้าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ให้รัฐบาลไปหาค่าจ้าง 300 บาท มาจ่ายเอง แต่หากรัฐบาลยืนยันจะขึ้นจริงๆ ให้ภาครัฐช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนต่างของค่าจ้างที่ปรับขึ้น รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยการออกคูปองชดเชยให้ผู้ประกอบการ ในสัดส่วน 70-80 % ของค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการนำคูปองนี้ไปใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ หรือเงินที่จะจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม หากไม่มีมาตรการใดรองรับ และเห็นว่าเหมาะสมอยู่ที่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 220 -240 บาท ต่อวัน

ส่วนความเห็นของกรรมกรอย่างพวกเรา เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่นายทุนต้องออกมาคัดค้าน เพราะการที่จะได้มาซึ่งกำไรก็คือการขูดรีดแรงงานซึ่งก็คือการกดค่าแรงนี่เอง ดังนั้นนายทุนก็ต้องออกมาคัดค้านเรื่องการปรับค่าจ้าง และหาข้อต่อรองเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเสมอ บางทีเผลอๆ การเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท อาจจะได้ส่วนต่างจากรัฐบาลเป็นกำไรอีกต่อ เนื่องจากรัฐบาลที่เคยหาเสียงไว้แล้วก็ต้องหาเงื่อนไขจูงใจให้เหล่าบรรดานาย ทุนเห็นด้วย

กรรมกรอย่างพวกเราเห็นว่าการปรับค่าจ้างวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้องของผู้ใช้แรงงานได้ทั้ง หมด เพราะเพียงแค่จะประกาศขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคคงแข่งกันขึ้นล่วงหน้าไป แล้ว ก็ทำให้คนงานก็ยังไม่พอกินอยู่ดี การปรับค่าจ้างต้องควบคู่ไปกับการควบคุมราคาสินค้า และการจัดสวัสดิการให้กับคนงาน เช่นลูกของคนงาน รัฐต้องจัดให้เรียนฟรี อาหารกลางวันฟรี ค่ารถโรงเรียนฟรี อุปกรณ์และเครื่องแบบฟรี เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ส่วนใหญ่คนงานเป็นแรงงานย้ายถิ่นสิ่งที่จำเป็นคือที่อยู่อาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟและรัฐต้องควบคุมราคาที่เหมาะสมกับพื้นที่และค่าจ้างเช่นค่าที่อยู่ อาศัยควรไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเพราะปัจจุบันที่อยู่อาศัยห้องเช่าอยู่ที่ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างขั้นต่ำ และแรงงานส่วนใหญ่จะส่งลูกไปให้พ่อแม่ที่ต่างจังหวัดดูแลจึงต้องส่งเงินค่า อาหาร และการศึกษารวมถึงเงินดูแลพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ที่ช่วยดูแลลูกให้

รัฐต้องควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นสำหรับคนงาน เช่น ข้าวเปล่า แกงถุง ก๋วยเตี๋ยว อาหารจานเดียว บะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง ไข่ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง ค่าไฟฟ้า/น้ำประปาจากห้องเช่า นมผงเด็ก สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก และร้านค้าขายปลีกตามหอพักห้องเช่าจะขายราคาสูงกว่าท้องตลาดทั่วไป รัฐก็จำเป็นต้องเข้ามาควบคุม

รัฐต้องสนับสนุนให้ลูกจ้างมีสหภาพแรงงานเพื่อจะได้นำไปสู่การรวมตัว ยื่นข้อเรียกร้องเจรจาต่อรองค่าจ้างสวัสดิการ ให้มีรายได้สวัสดิการเหมาะสมกับผลกำไรของบริษัท และทำให้ลูกจ้างเข้าถึงสิทธิของคนงาน เพราะบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทยักษ์ใหญ่มีกำไรมหาศาลและนำเงินออกนอกประเทศ ในขณะที่คนไทยได้แค่ค่าจ้างถูกๆ ในขณะเดียวกันรัฐกลับส่งเสริมการลงทุนทำให้บริษัทเหล่านี้ไม่เสียภาษี นำเข้าเครื่องจักร และภาษีรายได้ส่วนบุคคล และเตรียมจะลดภาษีอีกซึ่งขณะนี้สัดส่วนการจ่ายภาษีของนักลงทุนต่างๆ น้อยมากอยู่แล้ว

รัฐต้องจัดให้บริษัททำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อจะทำให้คนงานมีเงินออม และเมื่อเกษียณจะได้มีเงินส่วนหนึ่งไปใช้ดำรงชีพต่อไปและเงินรายได้ของ ลูกจ้างควรมีมากพอที่จะออมได้ด้วยตัวเองเพราะตอนแก่ไม่สามารถทำงานได้หรือ ความไม่มั่นคงของการทำงานเมื่อตกงานจะได้มีเงินสำรองในการกินอยู่

ในปัจจุบันคนงานส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ทำให้จำเป็นต้องกู้เงินนอกระบบและส่วนใหญ่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะเป็นหนี้สะสมมาอย่างยาวนาน เช่นหาเงินใช้หนี้ ธกส.ให้กับครอบครัว การผ่อนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้ในการศึกษาลูก ผ่อนมอเตอร์ไซค์ เล่นแชร์ ส่วนใหญ่คนงานดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานล่วงเวลา หรือหาอาชีพอื่นเสริมเช่น ธุรกิจขายตรง ขายประกัน เสริฟอาหาร หรือขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง (ซึ่งค่าเสื้อวินก็แพงมาก) ขับแท็กซี่ ไม่เช่นนั้นทำให้เงินไม่พอใช้ จึงเกิดธุรกิจรายย่อยเช่นการปล่อยเงินกู้ดอกแพง หรือการตั้งตัวเป็นคนรับหวยเถื่อนเพื่อกินเปอร์เซนต์ และส่งต่อเจ้าใหญ่ เพราะมันเป็นทางออกอีกอย่างของคนที่รายได้ไม่พอใช้คือการเสี่ยงโชค

บางบริษัทมีคนงานได้รับค่าจ้างมากกว่า 300 บาท/วัน แต่หลายบริษัทขึ้นค่าจ้างตามกฎหมายขั้นต่ำไม่สนใจว่าจะอายุงานเท่าไหร่ อยากแนะนำว่าถ้าบริษัทไหนที่ปรับค่าจ้างแล้วจะทำให้อยู่ไม่ได้ควรจะเรียกดู ผลกำไรของแต่ละปีว่าเท่าไหร่ถ้าปรับขึ้นค่าจ้างจะเสียหายหรืออยู่ต่อไปได้ หรือไม่ และควรเรียกดูเป็นระบบถึงบริษัทแม่ในประเทศและต่างประเทศด้วย เพราะจะได้เห็นว่าปัญหาที่แท้จริงที่ไม่สามารถปรับค่าจ้างได้คืออะไร ไม่มีเงินหรือไม่อยากสูญเสียกำไร เพราะบางบริษัทหมดเงินไปกับการโฆษณาสินค้า จ่ายเงินค่าโฆษณานางแบบนายแบบต่อครั้งเท่ากับการทำงานของคนงาน 1 ปี การจ่ายเงินเดือนสำหรับผู้บริหารมากกว่าคนงานถึง 17 เท่าต่อเดือน การลดช่องว่างระหว่างผู้บริหารและการใช้หลักการคนงานมีคุณภาพชีวิตดีสินค้า ที่ผลิตก็ดี การที่บริษัทโฆษณาการดูแล CSR ของบริษัทปลูกต้นไม้ ทำบุญ 9 วัด สร้างโรงเรียนกลับมาสร้างCSR กับพนักงานของตัวเอง จัดค่าจ้างสวัสดิการให้กับลูกจ้างแทนสิ่งเหล่านั้นและยกภาระการสร้างวัด สร้างโรงเรียนเป็นของรัฐบาลจะดีกว่า

การปรับค่าจ้างของคนงานที่ผ่านมาได้ปรับตามค่าจ้างขั้นต่ำยกตัวอย่าง กรุงเทพฯและปริมณฑลจากวันละ 206 บาทมาเป็น 215 บาท นายจ้างจ่ายค่าจ้างเฉพาะวันทำงานเท่ากับ 26วันต่อเดือนเท่านั้น เท่ากับคนงานมีรายได้ต่อเดือน 5590 บาทหรือเฉลี่ยวันละ 186 บาทเท่านั้นและเห็นว่ามีการปรับค่าจ้างเพิ่มมาประมาณ 4.5 เปอร์เซ็นต์ แต่มาดูการปรับค่าอุปโภคบริโภคจากปีที่แล้วมาปีนี้และอย่าลืมว่าคนต้องกิน อาหารทุกวันไม่เว้นวันหยุด

เปรียบเทียบราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ค่าที่อยู่อาศัยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน

ประเภทอาหาร

ลำดับ

ประเภทสินค้า

ปี 2553

ปี2554

ส่วนต่าง

เพิ่ม

1

ข้าวเปล่า1 ถุง

5

7

2

40%

2

แกงถุง 1 ถุง

20

25

5

25%

3

ก่วยเตี๋ยว+อาหารจานเดียว 1 จาน

20

25-30

5-10

25-50%

4

บะหมี่สำเร็จรูป 1 ซอง

5

6

1

20%

5

ปลากระป๋อง 1 กระป๋องสามแม่ครัว

13

17

4

30%

6

น้ำเปล่า 1 ขวด

5

6

1

20%

7

น้ำมันพืช 1 ลิตร ปาล์ม

27

44

17

ประมาณ 60%

8

ไข่เบอร์ศูนย์ 10 ฟอง

39

44

5

ประมาณ 12 %

9

น้ำตาลทรายขาว 1 กิโล

21

24

3

ประมาณ 15%

10

ประเภทที่อยู่อาศัยและค่าเดินทาง

ลำดับ

ประเภทสินค้า

ปี 2553

ปี2554

11

ค่าห้องเช่าห้องน้ำในตัวไกลถนน

1800

1900

100

ประมาณ 5 %

12

ค่าห้องเช่าห้องน้ำในตัวใกล้ถนน

2300

2350

50

ประมาณ 2 %

13

ค่ามอเตอร์ไซร์รับจ้างออกจากซอยในเมือง

10

12

2

20 %

14

ค่ามอเตอร์ไซร์รับจ้างออกจากซอยนอกเมือง

10

15

5

50%

15

ค่าน้ำประปาห้องเช่า/ยูนิค

15

16

1

ประมาณ 7%

16

ค่าไฟห้องเช่า

5

8

3

60 %

ประเภทค่าใช้จ่ายจำเป็น

ลำดับ

ประเภทสินค้า

ปี 2553

ปี2554

17

นมผงเด็กเอนฟาเลค/600กรัม

489

589

100

20%

18

ค่าเลี้ยงเด็ก/เดือน

2500

3000

500

20%

19

ค่ารถโรงเรียน/เดือน

600

700

100

17%

สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ผู้ค้าปลีกปรับเพิ่มอีกประมาณ 10 เปอร์เซ็น

ตัวอย่างค่าใช่จ่ายของคนงาน 1 คน ต่อเดือน

ค่าอาหาร 3000 บาท ค่าที่อยู่อาศัย 1800 บาท

ค่าน้ำประปา+ค่าไฟฟ้า 500 บาท ค่าอุปโภค 500 บาท

ค่าพาหนะ 1000 บาท ค่าโทรศัพท์ 300 บาท

รวม 7100 บาท

ซึ่งยังไม่รวมเครื่องนุ่งห่ม บันเทิง หรือผ่อนทีวี ตู้เย็นและภาษีสังคมเช่นซองผ้าป่า กฐิน งานศพ งานแต่งและที่สำคัญพ่อแม่ขั้นต่ำคนละ 1000/ เดือน เด็กเล็กเดือนละ 5000/เดือนลูกโต ขั้นต่ำ 3000/เดือน เปรียบเทียบให้เห็นว่าค่าจ้างเงินจะหมดไปกับค่าอาหารและที่อยู่อาศัย

โดยสรุปการปรับค่าจ้างวันละ 300 บาทไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับบริษัทใหญ่ๆและขนาดเล็ก และถ้าบริษัทไหนไม่พร้อมที่จะปรับค่าจ้างทำให้กำไรลดลงจนยอมไม่ได้ก็ต้องปิด กิจการ ประเทศไทยยังมีทรัพยากรเช่นที่ดินว่างเปล่าอีกมากถ้านักลงทุนต้องถอนทุนปิด กิจการ รัฐก็สนับสนุนให้คนงานบริหารจัดการทำกันเอง หรือจัดสรรที่ทำกินให้คนตกงาน จัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีที่ดิน มรดก ลดการใช้จ่ายภาษีที่ไม่จำเป็นเช่นพิธีกรรมที่ฟุ่มเฟือย งบประมาณทหารที่ไม่เกิดประโยชน์ส่วนใหญ่ของประชาชน พวกเราก็อยู่กันได้

เพื่อให้เป็นไปได้ตามนโยบายพรรคเพื่อไทย

1. ปรับค่าจ้างทันที 300 บาทเริ่มวันที่ 1 มกราคม 2555 และพิจารณาการปรับค่าจ้างสำหรับคนงานอายุงาน 3 ปีขึ้น(ที่ยังได้ค่าจ้างขั้นต่ำมาตลอด)ไปตามฝีมือแรงงานหรือตามอายุงาน

2. ให้บริษัทที่ไม่สามารถปรับค่าจ้างได้ตามกฎหมายกำหนด ให้นำหลักฐานทางการเงินเข้ามาให้กระทรวงแรงงานตรวจสอบและเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขว่าปรับค่าจ้างไม่ได้เพราะอะไร

3. ให้กระทรวงแรงงานสนับสนุนให้ทุกสถานประกอบการมีสหภาพแรงงาน เพื่อจะได้เกิดการยื่นข้อเรียกร้องเจราจาต่อรองค่าจ้างสวัสดิการตามผลกำไร บริษัท

4. ค่าจ้างสำหรับคนเรียนจบปริญญาตรีต้องไม่น้อยกว่า 15000 บาทตามสาขาอาชีพที่เรียนมา

หวังว่าคงไม่มีใครออกมาปฏิเสธหรือคัดค้านเพราะมนุษย์เราควรจะทำงาน 8 ชั่วโมง มีรายได้ที่เป็นธรรมคือดูแลตัวเองและคนอื่นได้อีกสองคน อย่าทำตัวเป็นนายทุนหน้าเลือด บริษัทอยู่ได้ ลูกจ้างอยู่ได้ การจ้างงานที่เป็นธรรมต้องเกิดขึ้นได้จริงตาม ปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights, 1948)

ข้อ 23 แต่ละคน มีสิทธิมีงานทำ ที่เสรี - เป็นธรรม - เหมาะสม / ค่าจ้างเท่ากัน สำหรับการทำงานที่เท่ากัน / ค่าจ้างที่เป็นธรรมและเหมาะสม / สิทธิที่จะก่อตั้ง - เข้าร่วมในสหภาพแรงงาน

ข้อ 24 แต่ละคน มีสิทธิพัก - ผ่อนคลาย - จำกัดชั่วโมงทำงาน – วันหยุดโดยมีค่าจ้าง

จิตรา คชเดช

18 กรกฎาคม 52554