ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 27 July 2011

300-อีกที

ที่มา มติชน



โดย ฐากูร บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2554)

ถ้า จะพูดกันถึงเรื่องเหตุผลในการสนับสนุนให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท (หรือมากกว่า) และเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

เผลอๆ จะเขียนเป็นนิยายเรื่องยาวได้

แต่เพื่อมิให้ยืดเยื้อ ขออนุญาตนำเสนอเฉพาะข้อมูลล้วนๆ แล้วข้อสังเกตอีกเล็กน้อย ว่าทำไมต้อง 300 และ 15,000 อีกครั้ง

แล้วรอไปจนกว่ามีรัฐบาลใหม่เข้ามาแถลงนโยบาย ค่อยว่ากันอีกที

ข้อสังเกตและเหตุผลในการสนับสนุน 300 และ 15,000 ของวันนี้อยู่ที่ ′ช่องว่าง′ ระหว่างคนทำงานทั่วไป กับ ′มนุษย์ทองคำ′ อันได้แก่ซีอีโอหรือผู้บริหารกิจการทั้งหลาย

ยิ่งนานก็จะยิ่งถ่างออกไปทุกที

เมื่อปี 2549 เคยมีสำรวจเงินเดือนและค่าตอบแทนซีอีโอของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พบว่า

30 อันดับแรกนั้น ได้ค่าตอบแทนระหว่าง 27,641,667 ลงไปถึง 6,635,682 บาท/ปี หรือประมาณเดือนละ 2.3 ล้านบาท-550,000 บาท

ขณะที่ผลตอบแทนของพนักงานในกิจการที่สำรวจมานั้น อยู่ที่ 1,298,816-253,293 บาท/ปี

หรือประมาณ 100,000 ลงไปถึง 21,000 บาท/เดือน

ตัว เลขจากตลาดหลักทรัพย์อีกเหมือนกันในปี 2552 ระบุว่า ปตท. จ่ายเงินผู้บริหาร 8 คน 88.779 ล้าน (ประมาณคนละ 11 ล้านบาท/ปี) ขณะที่ปี 2551 จ่าย 7 คน 74.338 ล้าน (ประมาณ 10.5 ล้าน/ปี)

2551 เอไอเอสจ่ายผู้บริหาร 7 คน 83.5 ล้านบาท เฉลี่ย 11.9 ล้าน/คน

และธนาคารกรุงเทพจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารสูงสุด 4 รายแรก 87.75 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วเกือบๆ 22 ล้าน/คน/ปี

ถามว่าผิดไหม-ถ้าตอบในเชิงการแข่งขันด้านธุรกิจ ที่คนเหล่านี้ต้องนำองค์กรออกไปสู้กับเสือสิงห์กระทิงแรด ทั้งไทยและเทศด้วยกัน

ไม่ผิด

ประเด็นมีอยู่ว่า ถ้าจ่ายระดับหัวกะทิแพงระยับขนาดนั้นได้

ทำไมจะยกระดับชีวิตพนักงานทั่วไปขึ้นมาบ้างไม่ได้?

มีตัวอย่างของเรื่องนี้จากสหรัฐอเมริกา

เมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว ความแตกต่างระหว่างเงินเดือนพนักงานธรรมดากับผู้บริหารจะอยู่ที่ 20-30 เท่า

แต่ถึงปลายทศวรรษ 1990 นิตยสารฟอร์จูนสำรวจะพบว่าค่าตอบแทนซีอีโอ 100 คนแรก เฉลี่ยแล้วขึ้นไปเป็น 37.5 ล้านเหรียญ

สูงกว่าคนงานทั่วไป 1,000 เท่า

แม้ในภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ ที่พนักงานทั่วไปถูกลอยแพ ผู้บริหารเหล่านี้ก็ไม่ได้กระทบกระเทือน

เพราะมี ′สต๊อก ออปชั่น′ และโบนัสพิเศษ แม้แต่ในปีที่บริษัทขาดทุน

เท่า นั้นยังไม่พอ ปี 1997 จอห์น สโนว์ ซึ่งต่อมาเป็น รมว.คลังของจอร์จ บุช แต่ขณะนั้นเป็นซีอีโอของซีเอสเอ็กซ์ บริษัทรถไฟที่ขาดทุนย่อยยับ

′หน้าด้าน′ เป็นตัวแทนนักธุรกิจใหญ่ไป ′ล็อบบี้′ ให้สภาสูงสหรัฐผ่านกฎหมายที่ไม่นับสต๊อก ออปชั่น หรือสัญญาจะให้หุ้นกับผู้บริหารเป็นรายจ่ายของบริษัท

นั่นคือไม่มีใครต้องเสียภาษี

แล้วก็ได้เสียด้วย

ที่รวยก็ยิ่งรวยขึ้นไปใหญ่

เงินที่เป็นใบเบิกทางไปสู่งเงินก้อนใหญ่กว่า และอำนาจ-เส้นสาย ก็ยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก

ไทยอยากจะเดินตามรอยนั้นหรือ?