โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
21 กรกฎาคม 2554
หมายเหตุไทยอีนิวส์:สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรง งานแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิก 130 สหภาพแรงงาน มีลูกจ้างที่จะต้องดูแลถึง 60,000 คน ประกาศขอสนับสนุนนโยบายพรรคเพื่อไทยในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ และสังคมต้องฟังเสียงผู้ใช้แรงงานด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้แต่นายทุนนายจ้างเสียงดังอยู่ข้างเดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้แถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2554
สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
เรื่อง “สนับสนุนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท
เสียงคัดค้านต่อต้านนโยบายค่าแรง 300 บาท ของพรรคเพื่อไทยดังไปทั่ว เมื่อเห็นได้ชัดแล้วว่า พรรคเพื่อไทยจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลแน่นอน
โดยเฉพาะในส่วนข้อคัดค้านของฝ่ายทุน เช่น สภาอุตสาหกรรมนั้น แม้ยังฟังไม่ขึ้น แต่ก็เข้าใจได้คือเป็นความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง พูดอะไรก็ถูกทุกที
แล้วมีใครที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทบ้างนอกจากแรงงาน เพราะสื่อไม่ขยันพอจะไปเที่ยวหาคนที่ไม่ใช่นักการเมือง ที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 300 บาท เพื่อเอาความเห็นของเขามานำเสนอบ้าง มีแต่คนด่ากันผ่านสื่อนั้นแหละที่สื่อจะเปิดพื้นที่ของตนให้
หากเป็นเช่นนี้ในไม่ช้า สังคมไทยก็จะคล้อยตามฝ่ายทุนว่า หากขึ้นค่าแรงระดับนี้ เศรษฐกิจทั้งระบบจะพังครืน (ทั้งๆ ที่อาจพังเพราะสาเหตุอื่น เช่นสหรัฐกำลังจะล้มละลายก็ได้)
นโยบายค่าแรง 300 บาท ของพรรคเพื่อไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย เห็นว่าไม่ใช่ตัวเลขลอยๆ ที่ได้มาจากการหาเสียง มีเหตุผลของชีวิตแรงงานในฐานะมนุษย์รองรับอยู่ เว้นแต่คนที่จะเห็นว่าชีวิตของแรงงานไม่ใช่ชีวิตของมนุษย์เท่านั้นที่คิดว่า 300 บาท เป็นตัวเลขที่สูงเกินไป หากแรงงานได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท แล้วจะทำให้สินค้าไทยราคาแพงขึ้นจนกระทั่งไม่อาจแข่งขันในตลาดโลกและตลาดภาย ในได้จริงหรือ ?
ค่าแรงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตก็จริง แต่ยังมีอีกหลายปัจจัย เมื่อค่าแรงเพิ่มขึ้น 40 บาทต่อวัน มิได้หมายความว่าสินค้าจะเพิ่มขึ้นชิ้นละ 40 บาท เพราะในกลไกการผลิตย่อมมีการดูดซับต้นทุนระหว่างกันจนกระทั่งราคาที่เพิ่ม ขึ้นเนื่องจากการเพิ่มค่าแรงอาจไม่มากนัก หากรัฐเข้าไปหนุนช่วยในกลไกการผลิตในส่วนอื่น
เช่น ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอะไหล่ หรือลดภาษีรายได้บริษัทลงเหลือ 23% ตามพรรคเพื่อไทยเสนอก็จะช่วยได้มาก
ยิ่งกว่านี้การหนุนช่วยของรัฐต้องมีจุดมุ่งหมายที่มากกว่าราคาสินค้าเฉพาะ หน้า ควรเป็นการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถของแรงงาน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้พ้นจากการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่การผลิต ที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น
ไม่ใช่ข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมที่จะให้รัฐเข้ามาช่วยจ่ายค่าแรง เสมือนรัฐต้องจ้างอุตสาหกรรมมิให้กดขี่แรงงาน อาจจะเป็นตรรกะเดียวกันที่นำเราไปสู่การจ้างโจรไม่ให้ปล้นด้วย
การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท จะนำไปสู่ของแพงขึ้นจริงหรือไม่ ก็คงมีผลให้ของแพงขึ้นในระยะหนึ่ง เพราะเมื่อครอบครัวแรงงานสามารถกินไข่ได้ทุกวัน ก็เป็นธรรมดาที่ไข่ย่อมแพงขึ้นในระยะหนึ่ง จนกว่าผู้ผลิตไข่ซึ่งขายดิบขายดีจะเร่งผลิตไข่ออกมาให้มากกว่าเดิม การเพิ่มรายได้ทำให้ของแพง ก็เมื่อสินค้าใดเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น ราคาสูงขึ้น ทำไมจึงไม่แย่งกันผลิตเพื่อทำกำไร และเมื่อแย่งกันผลิตราคาสินค้านั้น ก็น่าจะลดลงมาสู่ราคาที่สมเหตุสมผล
ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่รายได้ซึ่งเพิ่มขึ้น แต่น่าจะอยู่ที่ว่ากลไกตลาดของเราเองต้องมีอะไรบางอย่างบิดเบี้ยวทำให้ไม่มีใครแย่งกันผลิต
ดังนั้นการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมนั้นไม่มีจริงในตลาดไทย เราน่าจะไปจัดการกับการเก็งกำไรของอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งครอบงำตลาดไทยอยู่ และที่จริงก็มีมากเสียด้วย
การเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท จึงต้องมาพร้อมกับมาตรการที่จะทำลายอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ ไม่ใช่ไปห้ามไม่ใช้จ่าย 300 บาท มิเช่นนั้นไม่ควรมีใครในโลกได้รายได้เพิ่มขึ้นสักคนรวมทั้งนักวิชาการด้วย
การลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่ผู้ประกอบการ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต ปัจจุบันธนาคารเอาเปรียบผู้ประกอบการและประชาชนมาก ธนาคารสามารถขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตามใจชอบ แต่ดอกเบี้ยเงินฝากถูกกดให้ต่ำติดดิน
นักวิชาการ นายทุน ผู้ประกอบการ น่าจะถามคำถามว่า ทำไมธนาคารจึงมีเสรีภาพในการเอารัดเอาเปรียบเช่นนี้ แทนที่จะโจมตีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวัน
อันที่จริงนโยบาย 300 บาท นี้ก็เดินตามนโยบายของรัฐบาลของพี่ชายว่าที่นายกฯ เป็นการฟื้นเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง (แทนการแจกเงินเฉยๆ แก่ข้าราชการและลูกจ้างและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) คือทำให้เกิดความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยในตลาดให้มากขึ้น อันจะเป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจทั้งระบบ เพียงแต่ว่าไม่ได้มุ่งเน้นแต่ตลาดต่างประเทศอย่างที่สภาอุตสาหกรรมให้ความ สำคัญ แต่เพิ่มกำลังซื้อภายในให้สูงขึ้น อย่าลืมด้วยว่าตลาดภายในนับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น
บางคนแสดงความห่วงใยว่า 300 บาท จะดึงเอา พม่า ลาว กัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาอีกมากมายก็คงจะดึงจริงแน่ และถึงจะมีหรือไม่มี 300 บาท อีก 5 ปีข้างหน้า ในเงื่อนไขของเศรษฐกิจเสรีอาเซียน การหลั่งไหลของแรงงานข้ามชาติ ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว
ปัญหาอยู่ว่าเหตุใดนายจ้างไทยจึงนิยมจ้างแรงงานต่างชาติ ส่วนหนึ่งก็เพราะแรงงานไทยขาดแคลน และงานบางอย่างแรงงานไทยไม่ทำ การมีแรงงานต่างชาติเข้ามาก็ดี เป็นการช่วยอุตสาหกรรมบางประเภทให้อยู่ได้
แต่สาเหตุส่วนนี้ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า แรงงานต่างชาติรับค่าจ้างและสวัสดิการต่ำกว่าแรงงานไทย แม้กฎหมายไทยไม่ได้ยกเว้นแรงงานต่างชาติจากสิทธิทั้งหลายที่กฎหมายกำหนด แต่ในความเป็นจริงนายจ้างจ่ายค่าแรงต่ำกว่ามาก อีกทั้งไม่ได้ให้สวัสดิการใดๆ ที่กฎหมายกำหนดเลย
หยุดกดขี่แรงงาน หยุดขูดรีดแรงงาน หยุดการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน
คืนความเป็นธรรมให้คนในสังคม แล้วความสันติสุขจะกลับคืนมา
ขอบพระคุณพรรคเพื่อไทยที่มีนโยบายดี
สภาลูกจ้างยังได้ส่งเอกสารประกอบเรื่อง เปรียบเทียบราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ค่าที่อยู่อาศัยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของแรงงานไทยเพื่อให้พิจารณาดังนี้
******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง: ปวดตับกับนายทุนห้าร้อย
การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของรัฐบาลเพื่อไทยนั้น มาเป็นแพ็กเก็จคู่กับการลดภาษีกำไรธุรกิจจาก 30%ลงมาที่ 23% พูดง่ายๆว่ากำไรดีขึ้น เถ้าแก่ก็นำผลกำไรที่ไม่ต้องจ่ายภาษีนั่นเองมาจ่ายค่าจ้างลูกน้องให้สูงขึ้น สุดท้ายก็WIN-WINด้วยกันทั้งนายจ้าง-ลูกจ้างแต่ที่โดนต้านซะเยอะก็เพราะถึง จะลดภาษีลงมาเท่าไหร่ก็ช่าง นายทุนหน้าเลือดพวกที่มันหลบภาษีโกงประเทศชาติซะจนเป็นสันดานทำความเสียหาย ให้บ้านเมืองยิ่งกว่าพวกโจร500ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
การก่อกระแสต้านนโยบายขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ของสภาหอการค้า และสภาอุตสาหกรรมนั้น ที่ไทยอีนิวส์ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ว่าอาจมีมูลเหตุจูงใจทางด้านการเมือง มากกว่าเหตุผลที่แท้จริงทางด้านธุรกิจ(ดูรายงานข่าวเรื่อง :เบื้องหลังการกวนตีนจากสภาหอการค้า-การต่อต้านค่าแรง300จากสภาอุตฯ องค์กรซ่อนเงื่อนของใคร..? ) ก็เนื่องจากว่ามีการก่อกระแสการโจมตีด้านเดียว
ไม่มีการพิจารณาแบบองค์รวม นายทุนไทยในสภาหอฯ-สภาอุตฯยังมีมิติไม่ต่างไปจากตอนเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับแรกเมื่อ 54 ปีที่แล้วคืออาศัยแรงงานราคาถูก เป็นปัจจัยสำคัญชี้ขาดในการแข่งขัน แม้จะเต็มไปด้วยปัญหาการกระจายรายได้ และการกดขี่ผู้ใช้แรงงาน
ที่สำคัญ 54 ปีมานี้รวยกระจุกกันอยู่ที่ตระกูล จนกระจายไปทั่วหล้า เอะอะก็โยนขี้ให้คนจนกรรมกรยอมเสียสละเรื่อยมา อ้างว่าเพื่อให้ทุนไทยแข่งขันได้...ฟังแล้วปวดตับ!
และหากพิจารณาอย่างเป็นธรรมแล้ว เรื่องการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของว่าที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยนั้นมาเป็น แพ็กเก็จคู่กับการลดภาษีกำไรธุรกิจจาก 30%ลงมาที่23% พูดง่ายๆว่ากำไรดีขึ้น ก็นำผลกำไรนั่นเองมาจ่ายค่าจ้างที่สูงขึ้น สุดท้ายก็WIN-WINด้วยกันทั้งนายทุนและกรรมกร
ประเทศที่แข่งขันได้หรือเจริญแล้วจะจ่ายภาษีไม่สูง อย่างสิงค์โปร์เก็บภาษีนิติบุคคล 18 % ในย่านอาเซียนมีฟิลิปปินส์กับไทยเก็บ 30 % โดยรัฐบาลเพื่อไทยจะปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เหลือ 23 % ในปี พ.ศ. 2555 และเหลือเพียง 20 %ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อให้บริษัทต่างๆนำเงินกำไรที่สูงขึ้นนั้น ไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท แรงงานขั้นต่ำของกรรมกรเเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน
การลดภาษีและเพิ่มรายได้ประชาชนจะทำให้มีกำลังเงินมากขึ้น มีกำลังซื้อสูงขึ้น ในที่สุดก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น เป็นหลัก "เก็บน้อยเพื่อได้มาก" เพราะเก็บมากก็เจอพวกหลบภาษีเพียบ
หลังจบการเลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคมนั้น เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทะยานสูงขึ้น 50 จุด ในวันนั้นนักลงทุนต่างประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 10,000 ล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับแต่ก่อตั้งตลาดหุ้ยไทยมา 36 ปี เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศมองในทางบวกว่านโยบายลดภาษีดังกล่าว จะส่งผลให้กำไรของบริษัทในตลาดหุ้นไทยสูงขึ้นโดยเฉลี่ย6.1%ทั้งนี้จากรายงาน บทวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์โนมูระซิเคียวริตี้
ลองดูตารางด้านล่างนี้ ช่องแรก เป็นชื่อย่อหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย ช่องที่สองเป็นการประมาณการณ์ว่าบริษัทไหนจะกำไรดีขึ้นเท่าไหร่หลังนำโยบาย นี้มาใช้ ช่องที่สามเป็นอัตราภาษีที่จ่ายกันอยู่ในเวลานี้ ช่องสุดท้ายเป็นอัตราส่วนของราคาต่อกำไร
เป็นต้นว่าเดิมSCB หรือธนาคารไทยพาณิชย์เคยจ่ายภาษีกำไรธุรกิจอยู่เกือบ30%เต็มเพดาน แต่เมื่อนำนโยบายนี้มาใช้ คาดว่าจะทำให้กำไรสูงขึ้น8.8% หรือBEC(โทรทัศน์ช่อง3)เคยจ่ายเต็มเพดาน30% หากลดลงมาก็จะกำไรสูงขึ้น10.3% เป็นต้น
ภาษีเงินได้ที่จะลดลง ถ้าเอาไปขึ้นเงินเดือนให้พนักงานทั้งหมด พนักงานปูนซิเมนต์ได้คนละเท่าใด
ข้างบนนี้คุณNirvanaเขียนลงกระทู้ประชาทอล์ก ว่า ภาษีเงินได้ที่จะลดลง ถ้านำมาจ่ายเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานทั้งหมด พนักงานของบริษัทซิเมนต์ไทย จะได้เพิ่มเงินเดือนคนละประมาณ 97,000 บาทต่อปีพนักงานของธนาคารไทยพาณิชย์จะได้เพิ่มเงินเดือนคนละประมาณ 115,000 บาทต่อปี
ถ้าทุกบริษัททำเช่นนี้ได้เงินก็จะสะพัดน่าดู แต่ย้ำว่านี่เป็นแค่การสมมุติ แต่ที่นำมาเปรียบเทียบแบบนี้ก็เพื่อจะบอกว่า การเริ่มค่าจ้างปริญญาตรีหมื่นห้า กรรมกรรายวันสามร้อย ก็เอามาจากกำไรที่สูงขึ้นนี่แหละ
*****
อย่างไรก็ดีคนที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรก็มี คือพวกบริษัททำกิจการด้านการส่งออก ที่ผ่านมาก็แทบไม่มีรายใดเสียภาษีเต็ม30% เพราะได้รับสิทธิพิเศษส่งเสริมการลงทุนจากBOIโปรโมชั่นลดแหลแจกแถมภาษี สารพัดอยู่แล้ว ขณะที่ต้องจ่ายค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องทำให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่ายแบบWIN-WINกันต่อ ไป
สุดท้ายที่เสียประโยชน์แน่ๆคือไอ้พวกนายทุนที่ไม่เคยจ่ายภาษีเข้ารัฐเต็ม เม็ดเต็มหน่วย ทำบัญชี2บัญชี3ทำกำไรให้ขาดทุน กำไรมากมายก็โชว์กำไรนิดเดียว ตั้งบริษัทในเครือยุบยับไปหมดเพื่อหมกเม็ดไม่ต้องจ่ายภาษี หากนึกไม่ออกก็เช่น เครือธุรกิจใหญ่โตที่ออกมาโวยวายเป็นเจ้าแรกว่าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ300จะเป็น จะตายนั่นแหละ พวกนี้เขาเรียกว่าจัญไรไฟไหม้ เมื่อวานเลนโดนไหม้ให้คนเขาสมน้ำหน้าไปแล้ว เพราะอยากทำตัวเป็นนายทุนหน้าเลือดที่ดีแต่เลียอำมาตย์ จนถูกบอยคอตขนานใหญ่
บริษัทพวกนี้ถึงพรรคเพื่อไทยจะลดภาษีลงมาแค่ไหน มันก็ไม่เคยได้ประโยชน์ เพราะมันหลบภาษีเป็นอาชีพ แล้วอ้างหน้าตายว่าเป็นการจัดการทางภาษี หรือTAX MANAGEMENTนั่นเอง แต่พอจะเอากำไรที่เม้มรัฐ เอารัดเอาเปรียบสังคมมาเพื่มค่าจ้างให้ลูกจ้างก็ต่อต้านกันจะเป็นจะตาย
เพราะลดลงมายังไงมันก็ไม่ได้อะไร เพราะมันหลบเลี่ยงซะเคยตัวจนเป็นสันดาน
*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง
ไทยอีนิวส์:เบื้องหลังการกวนตีนจากสภาหอการค้า-การต่อต้านค่าแรง300จากสภาอุตฯ องค์กรซ่อนเงื่อนของใคร..?
-ASTVผู้จัดการออนไลน์:เว็บเสื้อแดงโวยจะเอาค่าแรง 300 บาท โยงมั่วหอการค้า-สภาอุตฯ ค้านเพราะ “อำมาตย์” ไม่ให้ขึ้น
-หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ ฉบับวันที่ 14 กรกฎาคม 54:เสื้อแดงมั่วดึงอำมาตย์เอี่ยว สกัดค่าแรง300 เอกชนถล่มเอสเอ็มอีสูญพันธุ์
-ถึงASTVผู้จัดการ:เห็นฝีมือลูกน้องแล้วสงสารลูกพี่ลิ้ม