โดย มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
แต่เรายังไม่ ได้ยินนักการเมืองโดยเฉพาะพรรคใหญ่ทั้งสองพรรคที่กำลังต่อสู้กันในเวทีเลือก ตั้งที่จะถึง และเป็นการเลือกตั้งที่ว่ากันว่าเป็นครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย พูดถึงเรื่องนี้อย่างจริงๆ จังๆ ว่าจะ "เอาไง" กับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
พรรคประชาธิปัตย์ซึ่ง ก่อนหน้านี้มีรัฐมนตรีรับผิดชอบโดยตรงต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และ เป็นผู้ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2554 หรือเรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ.ศอ.บต. ที่เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ก่อนที่รัฐบาลจะยุบสภาไปเพียงไม่กี่เดือน
ประ ชาธิปัตย์หมายมั่นปั้นมือว่า ศอ.บต.ภายใต้ พ.ร.บ.นี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาภาคใต้โดยได้เพิ่มอำนาจให้แก่เลขาธิการ ศอ.บต. และมีคณะกรรมการที่ปรึกษาที่มาจากหลากหลายภาคส่วนร่วมกันทำงาน
แต่ จากเหตุการณ์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและไม่มีท่าทีว่าจะมีสัญญาณไปในทิศทาง ที่จะสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวแนวทางในการแก้ไขปัญหาแบบ conventional ของพรรคประชาธิปัตย์
นั่นคือการเพิ่มหน่วยงานราชการเข้าไป ราชการเป็นตัวหลักแล้วดึงมุสลิมที่อยู่บนส่วนยอดของสังคมที่อ้างว่าเป็นตัว แทนของมุสลิมในพื้นที่เข้าร่วม ขณะที่โครงสร้างทางอำนาจยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ประชา ธิปัตย์ควรชี้แจงแถลงไขมาให้พวกเราซึ่งจะเข้าคูหากาบัตรในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ ฟังหน่อยว่า เมื่อเป็นแบบนี้ ถ้ากลับมาเป็นรัฐบาลจะเอาไงต่อ?
สำหรับพรรคเพื่อไทยนั้นนับตั้งแต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่เคยเสนอเรื่องนครรัฐปัตตานี และยังไม่ชัดเจนว่ารูปแบบจะเป็นอย่างไร และขณะนี้ตัว พล.อ.ชวลิตได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทยไปแล้ว ยิ่งทำให้แนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของพรรคเพื่อไทยมืดสนิท พรรคเพื่อไทยซึ่งถือกำเนิดมาจากพรรคพลังประชาชนโดยมีปู่คือพรรคไทยรักไทย และถูกสังคมตราหน้า (อย่างน้อยจากพรรคคู่แข่ง) มาตลอดว่าเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาความรุนแรง "ระลอกใหม่" ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนโยบายยุบหน่วยงานทางทหาร และนโยบายปราบยาเสพติด
พรรคเพื่อไทยซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานจะทำอย่างไรกับมรดกตกทอดของเจ้าคุณปู่ที่ทิ้งเอาไว้และจะกู้ชื่อเสียงคุณปู่กลับคืนมาอย่างไร?
คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ช่วยพาน้องๆ ทหาร ตำรวจ โดยเฉพาะระดับล่างๆ ที่กรำแดดกรำฝน ลาดตระเวนตามท้องถนนตั้งแต่ อ.จะนะ ไปยันนราธิวาส "กลับบ้าน" ได้มีโอกาสไปพบลูกเมียด้วยเถิด! ถ้ายังไม่มีไอเดีย ผมแนะนำให้ไปดูข้อเสนอจากภาคประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐ ธรรมนูญไทย (ดูได้ที่ www.deepsouthwatch.org)
พรรคมาตุภูมิที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าพรรคดูเหมือนจะเป็นพรรคที่เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ เอาไว้บ้าง โดยพรรคมาตุภูมิได้ไปปรับเอาข้อเสนอในงานวิจัยของ รศ.ดร.สมภพ จิตภิรมณ์ศรี (คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี) และ ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ (คณะศิลปศาสตร์ ม.อิสลามยะลา) คือเสนอให้มีทบวงบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มารับผิดชอบเป็นการเฉพาะ (จริงๆ แล้วข้อเสนอของอาจารย์ศรีสมภพ และอาจารย์สุกรีมีรายละเอียดและครอบคลุมมากกว่านั้น โปรดดู www.deepsouthwatch.org/sites/default/files/SriSukri_Extinguish.pdf) แต่รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา เช่น จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในระดับกัมปง (ชุมชน) ให้เป็นรูปธรรมอย่างไร จะทำอย่างไรกับที่นารกร้างว่างเปล่าที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ลองกองกิโลละ 5 บาท จะประกันราคาให้เหมือนลำใยหรือพืชเศรษฐกิจตัวอื่นได้มั้ย?
คนหนุ่มสาววัยทำงานที่เป็นพลังอันสำคัญทางเศรษฐกิจได้หนีความยากจนและสถานการณ์ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านกันหมดจะทำอย่างไร
ความยุติธรรมซึ่งเป็นปัญหาหลักและว่ากันว่าเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาทั้งหลายทั้งปวงจะมีกระบวนการยกเครื่องอย่างไร?
ปัญหาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่เด็ก ม.3 ยังอ่านหนังสือไม่ออกจะแก้กันอย่างไร?
และ หัวใจสำคัญที่สุดจะ approach (ขออภัยท่านผู้อ่านที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ) ผู้ก่อความไม่สงบซึ่งเป็นตัวแสดงสำคัญในปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร?
จะ ไล่ล่ากันอย่างนี้ต่อไป จะพูดคุยกัน (dialogue) หรือจะมีแนวทางหรือพื้นที่ (space) ให้พวกเขาได้แสดงความต้องการออกมาอย่างไร? เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่คนในพื้นที่มีความหวังที่จะได้รับคำตอบ
ใน ตอนที่ท่าน พล.อ.สนธิเป็นผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งมีอำนาจมากมายมหาศาล แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ผู้คนต่างสงสัยว่าแล้วหน่วยงานระดับทบวงจะแก้ปัญหาได้หรือ? ท่าน พล.อ.สนธิ คุณนัจมุดดีน หรือคุณอารีเพ็ญ ช่วยคลายข้อสงสัยให้หน่อย ประชาชนจะได้มีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพรรคของท่านให้มาแก้ไข ปัญหาภาคใต้
การที่พรรคการเมืองประกาศนโยบายหรือแนวทางในการแก้ไข ปัญหาสำคัญๆ อย่างปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วประชาชนเห็นด้วยและเลือกเข้ามาทำหน้าที่ โดยมีทหาร ตำรวจ ตลอดจนระบบราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นเครื่องมือหรือกลไกเพื่อทำงานให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ตั้งไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งนั่นแหละ คือการเมืองนำการทหาร ดังเช่นที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ประกาศตอนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งว่า เขาจะถอนทหารออกจากอิรักถ้าได้เป็นประธานาธิบดี และเขาก็ทำเช่นนั้นจริงๆ ทั้งๆ ที่เรื่องการถอนทหารเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ (อย่างน้อยในสายตาของฝ่ายต่อต้าน) ซึ่งฝ่ายmหารไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทหาร) แล้วปัญหาการรบที่ยืดเยื้อ ทหารลูกหลานอเมริกันตายเป็นผักเป็นปลา ก็หมดไป
ในเมื่อเป็น ที่ยอมรับกันจากทุกฝ่ายว่าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ต้องใช้การเมืองนำการทหาร ดังนั้น นักการเมืองต้องออกมาพูด สร้างเจตจำนงทางการเมือง (Political will) และรวบรวมเสียงสนับสนุน (gathering supports) ขณะนี้ได้เวลาอันสมควรที่นักการเมืองจะต้องออกมานำแล้วครับ!