แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นโคลนนิ่งของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
เหตุ ปัจจัย 1 เพราะว่าการได้เป็นนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นไปตามพิมพ์เขียวที่การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กำหนดเอาไว้
กำหนดเอาไว้เหมือนกับที่เชิด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งๆ ที่กลุ่มรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 รวมทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ล้วนสำแดงตนเป็น "คนดี" แล้วเหตุใดชาวบ้านจึงบังเกิดอาการ "สยอง" แล้วกลายเป็นโรคระบาดแพร่ลามมาถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย
เพราะการรัฐประหารก่อสภาพงันชะงักในการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าของประเทศ และอีกปัจจัยอันทำให้นำไปสู่บทสรุปอย่างเดียวกัน
นั่นก็คือ ปัจจัยที่ "คนดี" เหล่านี้ทำงานไม่เป็น บริหารบ้านเมืองไม่เอาอ่าว
ความเป็น "คนดี" ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทในเรื่องเขา ยายเที่ยง
และการยึดกุมหลักการ "บริหารโดยไม่บริหาร" ในแบบพรรคประชาธิปัตย์
ความเป็น "คนดี" ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทตลอด 2 ปีเศษที่เป็นนายกรัฐมนตรี
1 ก่อให้เกิดข้าวยากหมากแพงทุกหย่อมย่าน ชาวบ้าน เดือดร้อน
1 ผลงานอันโดดเด่นยิ่งของรัฐบาลก็คือ การตายจำนวน 90 กว่าศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คนในเหตุการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
1 การโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระ ทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ตำแหน่งนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี ไปจนถึงปลัดกระทรวง
ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นในยุค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เมื่อนำเอาผลงานของ "คนดี" อย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประสานเข้ากับ "คนดี" อย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อาการ "สยอง" ย่อมบังเกิดติดตามมา
ยิ่ง คำนึงถึงความเป็นจริงที่บ้านเมืองแตกแยก ขัดแย้ง บ้านเมืองอยู่ในภาวะหยุดชะงักไม่ก้าวเดินไปข้างหน้านับแต่รัฐประหารเมื่อ เดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา
ยิ่งบังเกิดอาการ "สยอง" ในระดับขนลุกขนพอง
ความต้องการ "ร่วม" อย่างหนึ่งซึ่งตรงกันก็คือ ต้องการยุติความขัดแย้ง แตกแยก ต้องการเดินไปข้างหน้าอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นธรรม
ถามว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์นำเสนอในโค้งสุดท้ายสะท้อนให้เห็นแนวคิดอะไร
เด่น ชัดยิ่งว่าสะท้อนแนวคิดก่อนและหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 อันเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการสะดุดหยุดชะงักการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและการ เมือง
ยิ่งสร้างความกลัว ชาวบ้านยิ่งจะกลัวพรรคประชาธิปัตย์เป็นทวิ ทวีคูณ