รอยเตอร์ตีข่าวหลายหมู่บ้านในอีสานกว่า 300 หมู่บ้าน เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงที่นิยม ทักษิณ′ ฐานที่มั่นสำคัญ พท. ส่วนใหญ่เป็นคนรายได้ต่ำ ชี้หลังเลือกตั้งจะผลัก′ดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าไปใกล้กับสถานการณ์ความขัด แย้งระหว่างพลเรือนแบบเต็มรูปแบบ เผยหมู่บ้านแดงอุดรธานี ติดธงแดง หน้าบ้าน แกนนำเผยเมื่อพ่ายแพ้ก็ต้องหาวิธีต่อสู้ที่แตกต่าง
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน สำนัก ข่าวรอยเตอร์ เผยแพร่รายงานข่าวไปทั่วโลกว่า ท่ามกลางบรรยากาศการหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ในไทย มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 320 แห่งใน จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น ที่ประกาศตัว เป็น "หมู่บ้านเสื้อแดง" และทำหน้าที่เป็นเหมือนสำนักงานส่วนท้องถิ่นของกลุ่มแนวร่วมประชา ธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคเพื่อไทย
นายคงชัย ชัยกัน ผู้นำหมู่บ้านหนองหูลิง ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งแรก กล่าวว่า หลังเหตุการณ์ที่กรุงเทพฯ ผู้คนหวาดกลัวที่จะสวมเสื้อแดงเพราะกลัวว่าจะถูกตำรวจรังแกหรือถูกติดตามโดย เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ สิ่งที่ทำคือการสนับสนุนให้พวกเราสามารถรวมตัวกันไว้ได้ แกนนำ นปช.ใน จ.อุดรธานี ระบุว่า เมื่อพ่ายแพ้ในปีที่ผ่านมา พวกเขาได้ตัดสินใจที่จะต่อสู้ในวิธีที่แตกต่าง แต่เดิมการตั้งหมู่บ้านคนเสื้อแดงเป็นเพียงการแสดงออกถึงความสนับสนุนการ เคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ตอนนี้ยังเป็นเครื่องมือในการระดมคนอีกด้วย
รอย เตอร์ระบุว่า แนวคิดดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมอย่างยิ่ง ก่อนที่การเลือกตั้งทั่วไปจะมาถึง หมู่บ้านหลายแห่งในภาคอีสานของไทย ซึ่งเป็นบ้านของประชาชนในชนบทกว่า 1 ใน 3 ของไทยก็พากันประกาศตนว่าเป็นหมู่บ้านคนเสื้อแดง โดยคนส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ต่ำที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ยิ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลที่ทำให้ กลุ่มต่อต้านสงบลงก่อนที่การเลือกตั้งจะมาถึง ท่ามกลางความหวาดวิตกของคนส่วนใหญ่ว่ามันจะเป็นการเลือกตั้งที่ยิ่งทำให้ ความแตกแยกระหว่างคนเมืองกับคนชนบทที่ยากจนของไทยย่ำแย่ลงไปอีก และอาจเป็นความแตกแยกที่ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าไปใกล้กับสถานการณ์ความ ขัดแย้งระหว่างพลเรือนแบบเต็มรูปแบบอย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้ง นี้ ชาวบ้านและผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลยังระบุถึงความล้มเหลวในความพยายามที่จะ สร้างความปรองดองในชาติมานานนับปี และเน้นย้ำความวิตกกังวลว่าผู้แพ้เลือกตั้งอาจไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และอาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่เห็นได้ชัดเจนให้กับประเทศที่ผ่านการปฏิวัติมา แล้ว 18 ครั้ง และเผชิญกับความไม่สงบทางการเมืองต่อเนื่องกันมานานถึง 5 ปี
สำหรับ หมู่บ้านเสื้อแดง เกิดขึ้นครั้งแรกที่ จ.อุดรธานี ว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ที่บ้านหนองหูลิง ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ร.ต.ต.กมลศิลป์ สิงหสุริยะ เป็นประธาน ซึ่งการตั้งหมู่บ้านดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อทำกิจกรรมแสดงสัญลักษณ์ในเชิง การต่อสู้ ซึ่งการเปิดหมู่บ้านในครั้งนั้นมีกิจกรรมทำบุญที่วัดในหมู่บ้าน จัดบายศรีสู่ขวัญ ผูกด้ายฝ้ายสีแดงแล้วจัดขบวนแห่ไปรอบหมู่บ้าน จากนั้นเลือกสถานที่ติดป้าย "หมู่บ้านเสื้อแดง" ขณะที่สมาชิกก็จะนำธงสีแดงไปประดับไว้ที่หน้าบ้าน
ปัจจุบันหมู่บ้าน เสื้อแดงที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ใน จ.อุดรธานี จะใช้วิธีรวมหมู่บ้านที่มีเจตนารมณ์เดียวกันเข้าด้วยกันหลายๆ หมู่ แล้วใช้เรียกกันเองภายในกลุ่มว่า "ตำบลเสื้อแดง" โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากพบว่าบางตำบลมีคนเสื้อแดงอยู่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันมีหมู่บ้านเสื้อแดงรวมทั้งสิ้น 213 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขต 2 อุดรธานี หรือเขต อ.เมือง รวมทั้งสิ้น 14 ตำบล
นายสุทิน คลังแสง ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือประธาน นปช.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้เปิดหมู่บ้านประชาธิปไตยหรือหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งแรกของ จ.มหาสารคาม ที่บ้านดอนกลอย หมู่ที่ 6, 17 และหมู่ที่ 20 ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย เพื่อเรียกร้องเอาประชาธิปไตยกลับคืน เพราะตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่มีความสุขแต่อย่างใด มีแต่การกดขี่ข่มเหงจากคนบางกลุ่ม บางพรรคการเมืองที่มีอำนาจ มี โอกาสเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลแบบเผด็จการ ประชาชนคนยากจนไม่มีโอกาสได้ต่อสู้ นอกจากนี้ ในคืนวันที่ 2 กรกฎาคม ก่อนวันเลือกตั้ง กลุ่ม นปช.มหาสารคาม จะปล่อยโคมแดงจากทุกหมู่บ้าน เพื่อประกาศให้รู้ว่าถึงเวลาแล้วที่ปีศาจแดงจะออกอาละวาดพร้อมใจกันออกไปใช้ สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.อย่างพร้อมเพรียงกัน
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 8 มิ.ย.)