ผู้อำนวยการยูเนสโกแสดงความเสียใจกรณีไทยถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก ย้ำได้พยายามหาทางออกโดยจัดเจรจาสองฝ่ายหลายครั้ง แต่ไม่เป็นผล หวังไทยทบทวนท่าทีและใคร่ครวญถึงความสำคัญของอนุสัญญามรดกโลกและหันกลับมา เป็นประเทศภาคีทีมีความกระตือรือร้นต่อความร่วมมือในประชาสังคมนานาชาติ
เอรินา โบโควา ผู้อำนวยการยูเนสโก ภาพจาก http://blogunesco.blogspot.com
วันที่ 26 มิ.ย. เว็บไซต์องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยู เนสโก) เผยเอรินา โบโควา ผู้อำนวยการยูเนสโก แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการประกาศถอนตัวการเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญา มรดกโลก 1972 ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากประเทศไทย ซึ่งประกาศในระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกวาระที่ 35 ที่สำนักงานใหญ่ของยูเนสโกในกรุงปรารีส ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-29 มิ.ย. 2554
ผู้อำนวยการยูเนสโกกล่าวสำทับว่า อนุสัญญามรดกโลก 1972 นั้นไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการอนุรักษ์และปกป้อง วัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติของโลกซึ่งมีคุณค่าเป็นสากล แต่ยังได้รับการยอมรับกว้างขวางว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้าง ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนอภิปรายในระดับนานาชาติ
และในทางตรงกันข้ามกับที่สื่อมวลชนรายงาน คณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้มีการอภิปรายวาระแผนการจัดการปราสาทเขาพระวิหาร และไม่มีการเรียกให้ส่งรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องปราสาทเขาพระวหาร ยิ่งไปกว่านั้น ก็จำเป็นจะต้องอธิบายให้กระจ่างด้วยว่าสำนักงานมรดกโลกไม่ได้ถูกยคณะกรรมการ มรดกโลกผลักดันให้อภิปรายวาระแผนการพัฒนาปราสาทเขาพระวิหารแต่ประการใด
การตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลกในกรณีปราสาทเขาพระวิหารฝั่งประเทศ กัมพูชาเป็นเพียงการถามย้ำถึงความต้องการที่จะปกป้องและอนุรักษ์ตัว ทรัพย์สินจากความเสียหายประการใดก็ตามที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้ทั้งสองประเทศหันมาใช้อนุสัญญามรดกโลกปี 1872 เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และส่งเสริมสนทนาระหว่างทั้งสองประเทศ
คณะกรรมการมรดกโลกได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ ภายหลังจากทีประเทศไทยวอล์คเอาท์จากที่ประชุม โดยข้อเรียกร้องจากประเทศไทยที่ขอให้เลื่อนวาระพิจารณาออกไปนั้นไม่ได้รับ เสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกรายใดทั้งสิ้น
และโดยที่ตระหนักในความสำคัญและคุณค่าของปราสาทเขาพระวิหาร ผู้อำนวยการยูเนสโกได้เปิดโอกาสหลายครั้งในการเรียกให้ประเทศกัมพูชาและ ประเทศไทยสร้างความมั่นใจว่าจะปกป้องและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวอย่างยั่งยืน ทั้งย้ำด้วยว่าปราสาทเขาพระวิหารไม่ควรกลายเป็นประเด็นสำหรับสร้างความขัด แย้ง หากแต่ควรเป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างบทสนทนาและความสมานฉันท์ ในช่วงเดือน ก.พ. 2554 ผู้อำนวยการยูเนสโกได้ส่งทูตพิเศษ นายโคอิชิโร มัตสึอุระ มายังสองประเทศอันเนื่องจากการปะทะกันบริเวณใกล้กับตัวพระวิหาร ผู้อำนวยการยูเนสโกยังได้อำนวยความสะดวกในการจัดให้มีการปรึกษาหารือกัน ระหว่างประเทศสมาชิกทั้งสองในกรุงปรารีสเมื่อเดือน พ.ค. 2554 ด้วย
นอกจากนี้ยังจัดให้มีการเจรจาต่อรองในระดับเข้มข้นซึ่งจัดให้มีการ อภิปรายกันระหว่างสองประเทศตลอดระยะเวลา 5 วัน คู่ขนานไปกับการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกวาระที่ 35แต่ก็ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆ
ผู้อำนวยการยูเนสโกแสดงความหวังว่าประเทศไทยจะไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนอีก ครั้งถือผลของการแสดงออกครั้งนี้ โดยใคร่ครวญถึงความสำคัญของอนุสัญญามรดกโลกและหันกลับมาเป็นประเทศภาคีทีมี ความกระตือต่อร้นต่อความร่วมมือในประชาสังคมนานาชาติเพื่อปกป้องมรดกโลกที่ สำคัญร่วมกันต่อไป