ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 29 June 2011

3 กรกฏา "ไม่เลือกคนดีเข้าสภา!!"

ที่มา ประชาไท

การเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ถือว่าเป็นครั้งที่มีประชาชนตื่นตัวมากที่สุด สามารถวัดได้จากจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าที่มากเป็นประวัติการณ์ เพราะครั้งนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในช่วงหัว เลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ

เมื่อคิดถึงการเลือกตั้ง ตลอดระยะเวลาที่ผมมีโอกาสไปใช้สิทธิ เรามักจะเจอกับวาทกรรมที่ค่อนข้างฟังดูดี แต่ก็แฝงไปด้วยอคติค่อนข้างมากนั่นก็คือ "เลือกคนดีเข้าสภา" เพราะเหตุใดจึงพูดแบบนั้น

“การเลือกคนดีเข้าสภา"นั้น ฟังเผินๆ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักของ "อภิปรัชญา" (metaphysics) ที่ยิ่งพูดอีกก็ถูกอีก และสำหรับคนที่เชื่อว่าความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวก็ไม่สามารถถกเถียงได้ เพียงแต่ลองมานั่งคิดให้ลึกกว่านั้นไหมว่า อะไรคือ "คนดี" ตามที่เขานิยามกัน ? และคนดีนั้นเป็นคนดีของใคร?

ดังนั้นในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้เราจึงได้เห็นผู้ที่มีอำนาจในประเทศแห่งนี้ เข้ามาพูดทำนองว่า เราควรจะเลือกคนดี เลือกคนที่ทำให้บ้านเมืองไปต่อได้ แน่นอน! ฟังเผินๆ ก็ย่อมเป็นเรื่องที่ถูกต้องอีกเช่นกัน แต่ถ้ามันไม่ประกอบกับบริบทใน "ตำแหน่ง หน้าที่ และอำนาจ" ที่คนเหล่านั้นดำรงอยู่ การพูดในลักษณะแบบนี้ย่อมบอกเป็นนัยๆ ว่าท่านเหล่านี้ต้องการให้เราสนับสนุนใครขึ้นมาปกครอง หรือถ้าแปลแบบตรงไปตรงมาก็คือ คนที่ขึ้นมาปกครองก็น่าจะเป็นคนที่เอื้อประโยชน์ให้ท่านๆ เหล่านี้ด้วย

คนดีของคนบางกลุ่มอาจจะหมายถึงคนที่สามารถทำให้เขาสามารถปากท้องอิ่มได้ คนดีสำหรับบางกลุ่งอาจจะหมายถึงคนที่ดูน่าเชื่อถือ คนดีของท่านผู้มีอำนาจบางกลุ่มอาจจะหมายถึงคนที่จัดสรรงบประมาณซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ให้กับท่านแบบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือคนดีบางกลุ่มอาจจะหมายถึงคนที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ที่มีอำนาจและเกาะ โครงสร้างเดิมๆ ในการแสวงหาสิทธิพิเศษเหนือประชาชน

อย่าปฏิเสธกันว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของ "ผลประโยชน์" คำผสม ระหว่างคำว่า "ผล" และคำว่า "ประโยชน์"สองคำที่ฟังดูมีความหมายเชิงบวก แต่เมื่อพอมาอยู่รวมกันกลับทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเชิงลบ จริงๆ แล้วผลประโยชน์ไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ หากการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองและปฏิสัมพันธ์กันเชิงผลประโยชน์ แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันน่ารังเกียจอาจเป็นเพราะชุดความคิดที่หลายคน ถูกฝังหัวมาว่า "นักการเมืองเลวเหมือนกันหมด เพราะมันคอร์รัปชั่น!!"

ซึ่งอดแปลกใจและรู้สึกสงสารนักการเมืองที่มีสภาพไม่ต่างกับถังขยะที่ไว้ รองรับอารมณ์ พอเกิดเรื่องราวอะไรก็มักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้คอร์รัปชั่นเสียหมด หรืออย่างมากอาจจะพาดพิงไปยังข้าราชการประจำ แต่เราเคยลองตั้งคำถามกันไหมว่าจริงๆ คอร์รัปชั่นเกิดขึ้น ณ จุดใดก่อน "คนให้" หรือ"คนรับ"?

เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องไก่กับไข่ ประเทศไทยดำรงอยู่ได้ด้วยระบบอุปถัมภ์มาช้านาน เราอาจยกตัวอย่างบางกรณีให้เห็นภาพและลองตั้งคำถามเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น ได้ง่ายขึ้น สมมติมีการตั้งด่านสกัดของตำรวจจราจรตามหน้าที่ ความรู้สึกแรกของพวกคนใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่คืออะไร? “แม่ง พวกหัวปิงปองทำมาหาแดกกันอีกแล้ว" แต่เราลืมไปหรือเปล่าว่าบางทีก็เป็นหน้าที่ของเขา การตั้งด่านสกัดจับ บางทีก็เป็นความผิดเช่น โทรศัพท์ขณะขับรถ ไม่ขาดเข็มขัด ขาดต่อทะเบียน

แล้วเวลาเราโดนจับเรารู้สึกอย่างไร? หลายคนคิด “อะไรวะ แม่งหาเรื่องจับผิดไถตังค์กันชัดๆ" อ้าว! แทนที่เราจะหันมาต่อว่าตัวเองว่า "โอ๊ย!ฉันสะเพร่าจังเลยทำผิดกฎหมายจนได้" พอตำรวจจะเรียกเราปรับคำแรกที่เราจะพูดคืออะไร? หลายคนๆ พูดว่า "ขอโทษครับจ่า ช่วยๆ กันหน่อย" ซึ่งคำว่า "ช่วยๆ กันหน่อย"นี้หลายๆ ครั้งหมายถึงว่าผู้ที่ทำผิดก็กำลังเสนอ "ผลประโยชน์"ให้กับเจ้าหน้าที่ ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ว่าจะตัดสินใจรับหรือไม่รับ (เวลาเขาไม่รับเราก็มักสบถกันว่า "เหี้ยแม่งหยิ่งว่ะ" แต่พอเขารับเราก็บอกว่า "ตำรวจแม่งก็เหมือนกันแดกกันหมด") และเวลาถูกจับได้ว่ารับส่วยส่วนใหญ่ก็โดนเฉพาะตัวเล็กตัวน้อย เพราะที่มันสูงกว่านั้น "ไม่สามารถตรวจสอบได้"

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ สำหรับการคอร์รัปชั่นที่เกิดในชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งพวกม็อบหรือกลุ่มคนที่ออกมาต่อต้านคอร์รัปชั่น ผมว่าหลายๆ คนก็เคยฝากลูกเข้าโรงเรียน ติดสินบนเจ้าหน้าที่ แม้กระทั่งข้อครหา "ม็อบมีเส้น"ก็ไม่สามารถปัดพ้นกับระบบอุปถัมภ์อันเป็นต้นกำเนิดของการ คอร์รัปชั่นได้ การมองโลกแบบคนนั้นดีไปหมด หรือคนนั้นเลวไปหมดนั้นเป็นเรื่องเหลวไหลและไร้เดียงสาเกินไป

ถึงแม้หลายคนที่ออกมาแอบอ้างในนามแห่งคุณธรรม แต่ทุกคนย่อมมีแผลกันทั้งนั้นเพียงแต่ใครจะปกปิดได้เนียนกว่ากัน ซึ่งการจะแก้ปัญหาตรงนี้ประกอบด้วย 2 สิ่งสำคัญ ก็คือ "อำนาจในการตรวจสอบ" หากคนมีคุณธรรมที่ไม่สามารถวิพากษ์หรือตรวจสอบได้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหลังฉากที่สวยงามนั้นอาจจะมีความผุพังเน่าเฟะเต็มไป หมด และอีกข้อที่อยากให้ลองกลับไปตั้งคำถามกันเองว่า แท้จริงแล้วระบบอุปถัมภ์ที่ใหญ่ที่สุดในสังคมเริ่มที่ตรงไหน? และเราจะแก้ไข ปรับปรุงหรือถอดถอนโครงสร้างแบบนี้ได้อย่างไร? หรือว่าเราจะทนและรู้สึกเฉยๆกับระบบแบบนี้ รอวันที่จะยื่นขึ้นเป็นมรดกโลก (ไม่แน่ใจว่าUNESCO เขาจะยอมรับไหม?)

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าคนดีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป สิ่งที่สำคัญของประชาชนคือเราต้องรู้สึกว่า คนที่เราเลือกคือคนที่เป็น "ตัวแทน"เพื่อไปปกป้องผลประโยชน์ของเราและของสังคม หน้าที่ของเราไม่ใช่เพียงแค่การไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง แต่ต้องคอยตรวจสอบและร่วมปกป้องผลประโยชน์ด้วย เหมือนกับว่าเวลาเราเกิดมาไม่มีใครเป็นคนดีโดยกำเนิด แต่ก็ต้องผ่านกระบวนการ "การขัดเกลาทางสังคม"(socialize)ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งการขัดเกลาของตัวแทนนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนร่วมกันตรวจสอบการทำงาน และเรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตยจากประสบการณ์พร้อมไปด้วย

ถ้าเป็นเช่นนั้น วันที่ 3กรกฏาคม 2554 เราอาจจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่แทนที่จะ "เลือกคนดีเข้าสภา" แต่อาจจะต้องเลือกคนที่เข้าไปพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของเราและสังคม อาจจะไม่ใช่คนที่ดี100%แต่เราสามารถตรวจสอบได้ ดีกว่าคนที่ดีมีบารมีอำนาจแต่ไม่สามารถตรวจสอบได้!!