8 มิ.ย.54 นายใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนตอบโต้รายงานกระทรวงต่างประเทศไทยที่รายงานคำพูดของ Peter Leyland ศาสตราจารย์กฏหมายอังกฤษที่บรรยายในมหาวิทยาลัยที่กรุงลอนดอน ซึ่งปรากฏในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย
http://www.thaireform.in.th/component/flexicontent/item/5944--112-qq.html และประชาไทนำมารายงาน http://prachatai.com/journal/2011/06/35321
โดยใจชี้แจงว่าบางย่อหน้ามีการบิดเบือนคำพูดของผู้บรรยายไปโดยสิ้นเชิง โดยที่ผู้บรรยายไม่เคยพูดเช่นนั้น เช่น ในข้อ 3. กระทรวงการต่างประเทศสรุปว่า Peter Leyland มีจุดยืนว่า“ในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นาย Leyland เห็นว่าด้วยบริบทเฉพาะของสังคมไทย โดยเฉพาะสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย การมีอยู่ของกฎหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่รับได้”
ใจหยิบยกต้นฉบับมาแปลเพื่อเทียบเคียงกับฉบับกับกระทรวงการต่างประเทศสรุป โดยนำมาจากบทความวิชาการชื่อเดียวกันกับหัวข้อบรรยาย “The struggle for freedom of expression in Thailand: Media Moguls, the King, Citizen Politics and the Law”ตีพิมพ์ไว้ใน Journal of Media Law (2010) 2(1) 115-137 ซึ่ง Peter Leyland มีข้อสรุปดังนี้
"It was argued that the lèse-majesté law has been applied recently by certain sections of the Thai elite to re-establish their grip on political power. Obviously, such conduct by the Thai authorities in the name of the King is strongly at variance with a commitment to a democratic constitution guaranteeing the protection of individual human rights in Thailand, as well as a breach of the country’s international treaty obligations. This law must be abolished or radically reformed not simply because the right to free expression is integral to the recent 1997 and 2007 Constitutions, but because the law is placed beyond constitutional oversight.
"ในบทความนี้ ข้าพเจ้าเสนอว่ากฏหมายหมิ่นฯ ถูกใช้ในช่วงนี้โดยบางส่วนของอภิสิทธิ์ชนไทย เพื่อรื้อฟื้นอิทธิพลในอำนาจทางการเมือง มันเป็นเรื่องชัดเจนว่าการกระทำดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่ไทย ในนามของกษัตริย์ ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับจุดยืนของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่รับประกันและปกป้อง สิทธิมนุษยชนของบุคคลในประเทศไทย และนอกจากนี้เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับสัญญาสากลที่ประเทศไทยร่วมลงนามอีกด้วย กฏหมายนี้จะต้องถูกยกเลิกไป หรือไม่ก็ปฏิรูปอย่างถอนรากถอนโคน เพราะนอกจากสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ และปี ๕๐ แล้ว กฏหมายนี้ยังมีสถานภาพนอกรัฐธรรมนูญอีกด้วย
ในอีกส่วนหนึ่งมีการเสนอว่า“In essence, it will be argued that the law (lèse-majesté law) as applied in its current form, which has included measures intended to close down internet sites and control use of the web, fundamentally undermines freedom of expression.”
“โดยแก่นแท้แล้ว ข้าพเจ้าจะเสนอว่ากฏหมายหมิ่นฯ ในรูปแบบที่บังคับใช้ทุกวันนี้ ซึ่งรวมถึงมาตรการที่มีเจตนาในการปิดไซท์ทางอินเตอร์เน็ท และควบคุมการใช้เวป์ ทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยสิ้นเชิง”
และในส่วนที่กล่าวถึง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 Leyland เสนอว่า
“There is increasing evidence that this law (Computer Crime Act) is being employed as a political weapon…..In other words, lèse-majesté, which has been shown in this article to be a thoroughly discredited law, is being used under this legislation as a pretext to intimidate any parties, groups or persons opposed to the government and thereby to stifle political debate.”
“มีหลักฐานมากขึ้นว่า พ.รบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง.... พูดง่ายๆ กฏหมายหมิ่นฯ ซึ่งในบทความนี้ได้อธิบายไปแล้วว่าเป็นกฏหมายที่ขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง กำลังถูกใช้ภายใต้ (พรบ. คอมพิวเตอร์) เพื่อเป็นข้ออ้างในการข่มขู่ องค์กร กลุ่มคน หรือบุคคล ที่คัดค้านรัฐบาล ซึ่งมีผลในการปิดกั้นการโต้เถียงทางการเมือง
นอกจากนี้ Peter Leyland ยังฟันธงว่ากระบวนการยุติธรรมในกรณีคุณดาร์ ตอร์บิโด ขาดมาตรฐานยุติธรรมและมีปัญหามาก
ทั้งนี้ บทความภาษาอังกฤษของ Porfessor Peter Leyland อ่านได้ที่ http://www.mediafire.com/?vrlq19yhpwqa1jc
นอกจากนี้ใจยังระบุว่า Leyland ได้ส่งอีเมล์หาใจโดยตรง โดยยืนยันจุดยืนตามบทความดังกล่าวที่ได้หยิบยกมา และเชื่อว่าคำพูดของตัวเขาถูกบิดเบือนโดยเว็บไซต์ภาษาไทย