ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Thursday, 3 February 2011

ยุคแห่งการ "ลุกขึ้นสู้" ของประชาชนโลก เกรงว่าทศวรรษนี้คือปฎิวัติประชาธิปไตยแน่

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย



ดูจากข่าวการลุกขึ้นสู้ของประชาชนที่ดูนีเซีย แล้วลามมาที่อียิปต์ เยเมน และประเทศอื่นๆ ในโลกอาหรับแล้ว ผมค่อนข้างจะคิดว่า "นี่อาจเป็นทศวรรษแห่งการลุกขึ้นสู้ของประชาชน" เป็นการปฎิวัติประชาธิปไตยครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของโลก นอก "โลกตะวันตก"

ที่จริงการลุกขึ้นปฎิวัติประชาธิปไตยของโลกตะวันตกที่เกิดขึ้นจริงๆ และลามไปทั่วยุโรปคือ "การปฎิวัติในปี ค.ศ. 1848" เกิดขึ้นที่จักรวรรดิ์ออสเตรีียฮังการี แล้วขยายออกไปทั่วยุโรป การปฎิวัติใหญ่ของฝรั่งเศสในปี 1789 เป็นแค่การจุดชนวนเริ่มต้นเท่านั้น แต่ความคิดเรื่องประชาธิปไตย ที่ลามไปทั่วยุโรปเกิดขึ้นประมาณปี 1848

ผมว่าการลุกขึ้นสู้ของประชาชนในโลกอิสลามครั้งนี้ ผมอยากจะตั้งสมมุติฐานว่ามันเริ่มขึ้นจาก Bangkok Model ที่คนเสื้อแดงต่อสู้กับรัฐบาลทรราชย์ยาวนานกว่าสองเดือน เป็นการปักหลักประท้วงที่ยาวนานมาก ทำให้เป็นข่าวไปทั่วโลก การล้อมปรามต่างๆ กลายเป็นข่าวใหญ่ต่อเนื่อง ผมคิดว่าประชาชนประเทศต่างๆ ก็คงได้เห็นข่าวและมีการเรียนรู้

นอกจากนี้ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำมาสองสามปีแล้ว สร้างความยากลำบากให้กับประชาชนในการหางานทำ และประเทศอาหรับแทบทั้งหมด ปกครองด้วยระบอบเผด็จการกันมาอย่างยาวนาน ไม่มีประเทศใดที่เป็นประชาธิปไตยเลย ดังนั้น เมื่อคนเดือดร้อน รัฐบาลก็อยู่มายาว มีแต่ความเฉี่อยชา ทำให้คนเริ่มประท้วงและลามออกไปอย่างรวดเร็ว

ผมคิดว่าโลกระบาดนี้อาจลามออกไปทั่วโลก

ผมคาดเดาว่า มันอาจลามไปที่จีนด้วยไม่วันใดก็วันหนึ่ง
ผมเคยคุยกับเพื่อนที่เป็นคนจีน สมัยเรียนอยู่ที่อังกฤษ เขาวิตกกันว่า ประเทศจีนอาจเปิดประเทศไม่เร็วพอ ทำให้วันหนึ่งคนชั้นกลางที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง หากเปิดประเทศไม่เร็วพอ (สำหร้บประชาธิปไตย) ก็อาจเกิดจลาจล แต่เขาก็เกรงว่าหากเปิดประเทศเร็วไป ก็จะเกิดความโกลาหลแบบรัสเซียก่อนหน้านั้น

ตอนนี้เรายังคงคาดเดาปรากฎการณ์ได้ยาก แต่การลุกขึ้นมาของคนอียิปต์ครั้งนี้ไม่ใช่น้่อยๆ

ซาอุดิอารเบีย ก็คงหายใจไม่ทั่วท้อง เพราะปกครองด้วยระบอบ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" ล่าหลังที่สุดในโลกอาหรับ ประชากรซาอุดิฯ ก็มากขึ้นกว่าสมัยก่อน วัยรุ่นไม่มีงานทำ

ความวุ่นวายหากนานเกินไป และรัฐบาลไม่ยอมให้มีการเลือกตั้ง ผมค่อนข้างเชื่อว่า ประชาชนไม่มีทางเลือก "กลุ่มอัลกอร์อิดะห์" จะเข้ามามีอีทธิพลในการนำประชาชนต่อสู้กับรัฐบาล และเมื่อนั้นโลกอาหรับอาจสวิงกลับอย่างรุนแรงแบบเดียวกับอิหร่าน

สำหรับอเมริกา ยุคเดโมแครท นโยบายต่างประเทศค่อนข้างจะแตกต่างกับยุคบุช แต่จะมีวิสัยทัศน์เพียงพอหรือไม่เท่านั้น หากเข้าข้างฝ่ายรัฐบาลขณะนี้มากเกินไป ก็จะผลักดันให้ประชาชนอาหรับไม่มีทางเลือกตั้งหันไปทางอัลกอร์อิดะห์แน่

วันนี้ "อำมาตย์ในประเทศไทย" คงหายใจไม่ทั่วท้อง เหตุเกิดที่ประเทศอื่นๆ น่าจะมีสายตาที่มองอะไรได้ไกลกว่าเหตุเกิดกับตัวเอง

หากไม่ยอมประชาชน ความวุ่นวายก็จะไม่จบและนำไปสู่จุดจบของระบอบดั่งเดิมก็เป็นได้

วันนี้เรายังประเมินสถานการณ์ในอียิปต์ได้ยาก

มูบารัก เริ่มเรียนแบบ "อำมาตย์ไทย" แล้ว