ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Sunday, 30 January 2011

อียิปต์อาณาจักรเก่าแก่โบราณของโลก ถูกผลพวงลมพายุทะเลทราย…จากตูนิเซีย

ที่มา thaifreenews

โดย fee-faw-fum

อียิปต์อาณาจักรเก่าแก่โบราณของโลก ถูกผลพวงลมพายุทะเลทราย…จากตูนิเซีย

อียิปต์โบราณหรือไอคุปต์ เป็นหนึ่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อารยธรรมชาตินี้ เริ่มมากว่า 3 พันปี
มาปรากฏในประวัตศาสตร์31ปีก่อนคริสตศักราช ต้องมาพ่ายแพ้ต่อสงครามชาติอื่น และเป็นการสิ้นสุด
อารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่ง
ในจักรวรรดิโรมัน ดังจะเห็น จักรวรรดิ์โรมันส่งผู้สำเร็จราชการหรือกงสุลและนำกองกำลังทหารเข้ามาควบ
คุมดูแล ไม่ว่าจะเป็นจูเลียส ซีซ่าร์และมาร์ค แอนโทนี่ขุนศึกใหญ่แห่งโรมัน ในหนังเรื่องคลีโอพัสตรา

อียิปต์เป็นอาณาจักรที่เกรียงไกลในด้านกองทัพเรือทางทวีปแอฟริกาตอนเหนือ มีเมืองท่าเรือโบราณที่สำคัญ
ในประวิติศาสตร์คือเมืองท่าอเล็กซานเดีย ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวอียิปต์ทำอาชีพเกษตรกรรมมา
แต่โบราณ เพราะมีแม่น้ำไนล์สายที่ยาวที่สุดในโลกไหลผ่านจนกลายเป็นที่ราบลุ่ม จึงทำให้ประชากรมีอาชีพ
การเพาะปลูกและเชี่ยวชาญในเรื่องระบบชลประทานตามมาด้วย

ไม่ใช่ว่าชาวอียิปต์โบราณจะเก่งทางด้านเกษตรกรรมเท่านั้น ยังได้สร้างสรรค์อารยธรรม ทั้งยังเป็นนักคิด, นัก
ปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 3 พัน ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิ
ภาพทางด้านการแพทย์ในการทำมัมมี่(ศพอาบน้ำยากันเน่าเปื่อย), อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือ
ศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆเช่นปิรามิด สพิงซ์ที่ปรากฏในอียิปต์
กลางทะเลทราย ต่างก็ดึงดูดนักท่องเที่ยว จากทั่วโลกเข้าไปสัมผัสและศึกษาสิ่งมหัศจรรย์ของสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น

เหตุการณ์ฟาโชดา(ปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆหนึ่งของซูดาน) เป็นกรณีพิพาทระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสเพื่อแข่งขันกัน
ช่วงชิงลุ่มแม่น้ำไนล์ตอนบนและดินแดนในทวีปแอฟริกาเป็นอาณานิคมของตน เหตุการณ์รุนแรงมากจนถึงขั้นวิกฤติ
เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองฟาโชดาได้ก่อนอังกฤษ แต่ในที่สุด อังกฤษและฝรั่งเศสก็ได้แบ่งปันผลประโยชน์และแก้ไข
กรณีพิพาทนี้ได้ด้วยการลงนามในอนุสัญญา และเลิกรากันไป อียิปต์และซูดานบางส่วนเคยอยู่ในการปกครองของ
อังกฤษในระยะสั้น ช่วง ค.ศ.1882 และช่วง 1917-1922 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เสร็จสิ้น อียิปต์ก็ได้เอกราชจากอังกฤษ ต่อจากนั้นระบอบราชาธิปไตย โดยมีพระเจ้าฟาอัดที่ 2 แห่งราชวงศ์มูอาหมัดอาลี ก็หมดอำนาจลง ถูกคณะ
ทหารทำการรัฐประหาร ในปี ค.ศ.1952

ช่วงประเทศอียิปต์สถาปนารัฐใหม่เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ค.ศ.1953 ประธานาธิบดี อับเดล นัสเซ่อร์ ได้ดำรงตำ
แหน่งเป็นคนแรก มูฮัมหมัด อันวาร์ อัล ซาดัตดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513-24 นักการทหารและนักการเมือง
ถูกยิงเสียชีวิตในพิธีสวนสนามจนกระทั่งปีเดียวกัน 2524 นาย โมฮัมเหม็ด ฮอสนี่ มูบารัค( Mohamed Hosni
Mubarak)ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นี่ก็มาจากทหารอีกเหมือนกัน ดำรงตำแหน่งอยู่ถึง 4 สมัย
จนมาถึงปัจจุบันนี้(รายละเอียดจากด้านล่าง)
:
"ประชาธิปไตยและเสรีภาพในการพูดเป็นลมจากการเปลี่ยนแปลงที่พัดผ่านแอฟริกาและส่วนที่เหลือของโลก."
คำพูดนี้มาจากส่วนหนึ่งของคนที่อยู่ในทวีปแอฟริกา ตูนิเซียเป็นต้นเหตุของทฤษฎี ชี้ทางสว่าง มองเห็นอนา
คตของผู้คนที่ถูกปกครอง ได้นำลมพายุทะเลทราย หอบเม็ดทรายและฝุ่นละอองปลิวว่อนเข้าปกคลุม ไปยัง
ประเทศรอบข้าง ด้วยลักษณะรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน พายุนั้นมาถึงประเทศอียิปต์ช่วงเวลาไม่กี่วัน เพราะ
อำนาจที่ใช้ในการปกครองประเทศนี้ เกินขอบเขต ก้าวล่วงลึกจนได้ทำลายระบบทุกด้านของชีวิตในอียิปต์ การ
ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายทั้งหมดทรัพยากรประเทศกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลไม่สนใจ ใส่ใจความต้องการของประชาชน

รัฐบาลนี้กลับยอมเป็นหุ่นเชิดทางการเมืองระหว่างประเทศทางซีกตะวันตก ดันหลังมูบารัคอยู่ กำลังถูกประชาชน
ลุกขึ้นมาขับไล่ จนเกิดการจลาจลทั่วเมืองไคโร อเล็กซานเดียและสุเอซ มีผู้เสียชีวิตทั้งประชาชนและตำรวจคาด
ว่ามีไม่ต่ำกว่า 45 คนและบาดเจ็บร่วม 2 พันคน หลังจาก 5 วันที่ถูกแรงพายุทะเลทรายของประชาชนโหมกระหน่ำ
เข้าใส่ให้ ประธานาธิบดี บูมารัค ต้องออกไปและไปจากประเทศนี้ เป็นเจตจำนงอันแน่วแน่ที่แท้จริงของประชาชน
ไม่ต้องการอำนาจทหารที่ยึดครองประเทศนี้มาไม่ต่ำกว่า 60 ปีหลังจากระบอบราชาธิปไตยได้ล่มสลายลง ไม่ต้อง
การให้มาปกครองบริหารประเทศนี้อีกต่อไป

หางเลขนำเอาก้อนกรวดเม็ดทรายของพายุจากอียิปต์ ได้อ่อนตัวปลิวว่อนจนไปกระทบถึงประเทศเยเมน ไม่รุนแรง
มากนัก นักข่าวอัลจาซีรารายงานว่า กลุ่มนักเคลื่อนไหวหลายสิบคนที่เรียกร้องให้ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ก้าวลงจากตำแหน่ง ได้ปะทะกับกลุ่มประชาชนผู้สนับสนุนรัฐบาล ณ กรุงซานา เมืองหลวงของประเทศเยเมน

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบได้บุกเข้าจู่โจมกลุ่มผู้ ชุมนุมประท้วงที่เดินขบวนไปยัง
สถานทูตอียิปต์ประจำกรุงซานา พร้อมกับร้องตะโกนว่า "อาลีออกไป อาลีออกไป" และ "ที่ตูนิเซียก็ไปแล้ว, อียิปต์
จะเป็นรายต่อไป ส่วนเยเมนก็กำลังจะไปในอนาคต" อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะดังกล่าว

เยเมนที่ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกอาหรับ รวมทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากกลุ่มอัลเคด้า,
กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ และกลุ่มกบฏในภาคเหนือ ก่อนจะหนีไม่พ้นจากกระแส "ปฏิวัติดอกมะลิ" ที่แพร่กระ
จายไปในหลายชาติอาหรับ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้นัดแนะที่จะออกมาร่วมกันเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อขับไล่ ประธานาธิบดี
ซาเลห์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ โดยพวกเขาเรียกชื่อวันดังกล่าวว่า "วันแห่งความเดือดดาล"

เงียบสงบยามเมื่อย่างเขตหน้าหนาว แต่เสียงซุบซิบจากข้างสนามกอล์ฟกลางเมือง มาจากเด็กในสนามกอล์ฟ หึ่ง
กันทั่วสนามกอล์ฟ ได้ยินมาจากปากของอดีตกระบี่คุ้มครองรุ่นแรกของฤๅษีผมขาวแห่งบ้านมากเสา กลุ่มบูรพา
พยัคฆ์ อักษรย่อ ดอเอ๋ยดอเด็ก กำลังอุตริจุดไฟ สุมขอน ล้อมวงยังไงไฟก็จุดไม่ติดสักที เขาว่าจะมีการนำกำลังแสนยานุภาพออกมาแสดงโชว์ให้เด็กๆได้ชม แต่ยังตกลงผลประโยชน์ไม่ลงตัวหรือกลัวคนเสื้อแดงจะออกมาต่อ
ต้าน อันหลังนี่สำคัญ ไม่ใครก็ใคร…ต้องหมดอนาคตแน่นอน…รู้มั้ยกำลังเล่นอยู่กับใคร

ที่มา http://www.oceansmile.com/Egypt/EpOld.html
และ
ที่มา http://www.readyholiday.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=28127&Ntype=4
และ
ที่มา http://www.mslion.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=345643&Ntype=6