ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Friday, 28 January 2011

ผมคิดว่า “กรณีฟ้องศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ” จะมีน้ำหนักกดดันอำมาตย์ไปอีกนาน

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย



เรื่องนี้ไม่ว่าจะทำปฎิวัติ รัฐประหาร หรือ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมตัวเองอย่างไร ก็ไม่สามารถขว้างชนัฎติดหลังนี้ออกไปได้ เรื่องนี้เป็นเหมือนกับที่ฝ่ายอำมาตย์ชอบใช้คดีต่างๆ เพื่อกดดันนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามให้มีชนัฎติดหลังเอาไว้

การนำเรื่องขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ ของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จะกลายเป็นประเด็นที่ทิ่มแทงอำมาตย์ไปตลอดชีวิต ไม่ว่าใครก็ตามที่มีชื่อเข้าเกี่ยวข้องหรือสาวไปถึง การใช้วิธีการวิ่งล็อบบี้ อิทธิพลระหว่างประเทศจะไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ แม้ว่าวันนี้ ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศจะไม่สามารถเอาตัวผู้กระทำผิดไปขึ้นศาลได้ก็ตาม เนื่องจากสภาพของ ICC นั้น ไม่มี “กองกำลังบังคับ” ที่จะจับกุมผู้กระทำผิดไปลงโทษ แต่ในเมื่อคดีมีมูลและเข้าข่ายการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หากในวันหนึ่ง มีคนจับตัวผู้กระทำผิดเหล่านี้ไปขึ้นศาล วันนั้นคดีก็ดำเนินต่อไปได้ทันที ไม่มีอำนาจอะไรจะช่วยได้

ผู้กระทำผิดในเวลานี้ “รักษาอำนาจของตัวเองให้ได้ตลอดไป” ก็แล้วกัน หากวันใดพลาด วันนั้นก็จะโดนทันที หากฝ่ายประชาธิปไตยขึ้นมากุมอำนาจได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้วในอนาคต ที่ไม่มีทางเผด็จการพวกนี้จะครองอำนาจไปได้ 10-20 ปี ภายในสิบปีนี้ พวกเขาก็ต้องหมดพลังในการรักษาอำนาจ อาจสั้นกว่าสิบปีด้วยซ้ำ เมื่อนั้นความผิดที่ได้ทำอาชญากรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในประเทศ ก็จะตามมาตอบสนองผู้กระทำผิดทันที การให้สัตยาบันในอนาคต เป็นสิ่งที่รัฐบาลหรือรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง จะต้องถูกมวลชนเสื้อแดงกดดันอยู่แล้ว

นายอภิสิทธ์ นายสุเทพ พล.อ.อนุพงษ์ พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ดาวพงษ์ และระดับอื่นอีก ทั้งที่สูงกว่านี้ หรือต่ำกว่านี้ ผมไม่คิดว่ากว่าท่านจะตายท่านจะหนีความผิดพ้น สุขสบายกับอำนาจชั่วคราวในวันนี้ให้ดีเถอะครับ เพราะมันไม่จีรัง

และเมื่อวันนั้นมาถึง ผมไม่คิดว่าผู้มีบารมีคนใดในประเทศนี้จะช่วยท่านได้ เพราะพวกเขาก็อาจเอาตัวไม่รอดเช่นกัน

Re:

ผมคิดว่ากระบวนการรวบรวมหลักฐาน หาข้อมูล และพิจารณาข้อกฎหมายระหว่างประเทศ กรณีตัวอย่างต่างๆ ของคดีนี้ของ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทำอย่างเป็นระบบที่สุด และคาดว่าจะเป็นคดีระหว่างประเทศที่คลาสสิกที่สุด ที่มีทนายมือดีจากภาคเอกชน ลงมือก่อน ทำให้การหาข้อมูล หาหลักฐานต่างๆ เต็มไปด้วยความรอบคอบรัดกุม รวมทั้งการกระทำที่ผ่านมาของฝ่ายอำมาตย์ นั้นลุแก่อำนาจ เพราะเคยฆ่าคนโดยไม่มีความผิดมาก่อน เลยไม่ได้ปกปิดเนียนเท่าที่ควร และฝ่ายทหารที่ใช้กำลังฆ่าประชาชน ก็ทำตามที่ได้รับคำสั่ง ไม่มีผลประโยชน์ของตนเองทำแบบเสียไม่ได้ จึงไม่ได้มีความเนียนอะไร เอาป้าย “เขตกระสุนจริง” ไปปัก ให้นักข่าวทั่วโลกได้ได้ภาพ เอาสไนเปอร์แบกปืนต่อหน้ากล้องจำนวนมหาศาล และซุ่มยิงคนกลางสายตาคนจำนวนมาก หลักฐานมันจึงมีมากมาย และในช่วงกระทำผิด ก็มีนักข่าวอยู่ในเหตุการณ์มหาศาล

ไม่เหมือนกับการสังหารหมู่ที่ยูโกสลาเวีย ที่หลักฐานมีแต่ศพ เท่านั้น แต่ไม่มีภาพถ่าย คลิปต่างๆ ยืนยันขนาดนี้ แต่อาชญากร ก็ขึ้นศาลโลกและได้รับโทษเช่นกัน

เรื่องนี้พิสูจน์ “จริยธรรม” ความน่าเชื่อถือของ “ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ” ด้วยว่าจะสามารถนำความยุติธรรมมาสู่มวลหมู่มนุษยชาติชาวโลกได้หรือไม่ เพราะหากเรื่องนี้ทำสำเร็จ การสังหารประชาชนของเผด็จการต่างๆ ทั่วโลกจะเบาบางหรืออย่างน้อยก็กลัว แม้จะมีอำนาจในประเทศเต็มที่ก็ตาม

หากศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ ยอมให้กลุ่มที่ครองอำนาจในไทย (ประเทศเล็กๆ) ล็อบบี้ได้ ศาลนี้ก็เป็นแค่เจว็ด หมดประโยชน์
ผมเชื่อว่ากรณีนี้เป็นกรณี ท้าทาย Moral หรือ ศีลธรรมของระบบโครงสร้างทางกระบวนการยุติธรรมระดับโลก ว่าจะสามารถ “สถาปนา” ขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ได้หรือไม่

คดีนี้ผมว่าสามารถดึงนักกฎหมายระดับโลกเข้ามาได้อย่างดี เพราะมันคือ “การวางรากฐานระบบยุติธรรมของโลกในอนาคต”