ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 1 November 2010

รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53

ที่มา Thai E-News



วีระประชาชน-กลุ่ม คนเสื้อแดงสร้างรูปปั้นนวมทอง ไพรวัลย์ ที่บริเวณ"สะพานลอยนวมทอง" หรือสะพานลอยหน้าสำนักพิมพ์ไทยรัฐ ถนนวิภาวดีฯ บริเวณที่เขากระทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อ 31 ตุลาคม 2549 หรือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (ชมภาพชุดทางface book)

4ปีรำลึกนวมทอง-สุ รชัย แซ่ด่าน แกนนำแดงสยาม ทำความเคารพรูปปั้นนวมทอง ไพรวัลย์ ซึ่งคนเสื้อแดงและผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจัดกิจกรรมรำลึก 4 ปีการจากไปของเขา ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน (ชมภาพกิจกรรมทั้งหมดทางfaxe book)

โดย อรรคพล สาตุ้ม
31 ตุลาคม 2553

รูป ปั้นลุงนวมทอง ในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53 : บริบทเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53กับศิลปะแห่งความทรงจำเป็นสัญลักษณ์ของความใกล้ชิดธรรมชาติของแผ่นดินใน ประชาธิปไตยไทย และพรมแดนของสื่อมวลชนต่อความกล้าหาญของการตัดสินใจต่อสู้แนวสันติวิธี ยังรอคอยพิสูจน์ตอนจบในปัจจุบัน


ผู้เขียนเริ่มต้นตั้งใจเขียนงานขนาดไม่ยาวชิ้นนี้ โดยภาพร่างของความคิดเกี่ยวโยงปัญหาของทหาร

เช่น ปฏิรูปกองทัพเลิกเกณฑ์ทหารไปรัฐประหาร หรือเกณฑ์ไปฆ่าคนเหมือนเกณฑ์ไพ่รพลในอดีต และปฏิรูปสื่อเกี่ยวโยงทหาร กรณีททบ.5 เป็นต้น

แต่ ว่าผู้เขียนโดยส่วนตัวประสบขีดจำกัดของเวลา หน้าที่การงาน จึงต้องกระชับพื้นที่การเขียนให้ชัดเจนง่ายๆ เพราะว่า ผู้เขียนวิเคราะห์รูปปั้นลุงนวมทอง

โดยผู้เขียนคิดปรับชื่อบทความ ขนาดยาว คือ รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ตุลา 53 : บริบทเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 กับศิลปะแห่งความทรงจำเป็นสัญลักษณ์ของความใกล้ชิดธรรมชาติของแผ่นดิน ประชาธิปไตยไทย และพรมแดนของสื่อมวลชนต่อความกล้าหาญของการตัดสินใจต่อสู้แนวสันติวิธี ยังรอคอยพิสูจน์ตอนจบในปัจจุบัน

จากชื่อของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องการเขียนประเด็นใหญ่เพียงประเด็นเดียว ทำให้ต้องพยายามตั้งชื่อบทความนั้นให้สั้นลง ขณะนั้นก็ระลึกถึงมุมมองบางอย่างต่ออดีตของวันวาน เหมือนขอบเขตจำกัดของกรอบรูปภาพ ในคำว่าframe แปลว่า กรอบรูป(N.) และใส่ความ(V.) ได้ทั้งสองความหมาย ในการใช้คำว่า Frame สร้างกรอบรูปภาพ หรือ สร้างความเข้าใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

แน่นอนว่า เราอาจจะเห็นนัยยะบางอย่างของภาพเหมือนเราไม่อาจใช้คำหนึ่งคำเป็นองค์รวม ทั้งหมด เช่น ภาพLas Meninas โดยฟูโกต์ ผู้ศึกษาเรื่องวาทกรรม เกี่ยวกับอำนาจและความรู้ ซึ่งพวกเราหลายคนคงรู้จักฟูโกต์กันดี และฟูโกต์ ก็นำกรอบวาทกรรมมาวิเคราะห์ภาพLas Meninas ในหนังสือ The order of Things เป็นต้น

ถ้าผู้สนใจสามารถค้นหาภาพโดยกูเกิ้ลจะเจอภาพLas Meninas และนัยยะของฟูโกต์ คือ สื่อถึงเราไม่อาจมองเห็นตัวการสร้างภาพความจริงได้จากมุมมองทั้งหมดทุกซอก ทุกมุม

อีกนัยหนึ่งเราไม่สามารถอ้างตำแหน่งพิเศษของความเป็นนัก วิจัยหรือผู้เขียน ว่าสามารถกระโดดออกมานอกกรอบของบริบทการศึกษาแล้ว มองเห็นภาพในเชิงองค์รวมทั้งหมด(totality)

แม้ว่าการมองเห็นภาพทั้ง หมดเป็นเรื่องยาก แล้วรูปภาพยังถูกใส่กรอบรูป และบูชาอีกต่างหาก ดังนั้น ผู้เขียนเน้นย้ำถึงรูปปั้นลุงนวมทอง ในมุมมอง 3แบบและการต่อสู้ในปัจจุบัน(*)

1.รูปปั้นลุงนวมทอง คือ ศิลปะแห่งความทรงจำเป็นสัญลักษณ์ธรรมชาติของแผ่นดินประชาธิปไตยไทย

ย้อน อดีตโดยผลกระทบของ 19 กันยา 49 ต่อลุงนวมทอง มาจากสาเหตุการรัฐประหารและผู้เขียนเคยเขียนในแง่มุมหนึ่งต่อลุงนวมทองไป แล้ว โดยผู้เขียนในฐานะคนเล็กๆ คนหนึ่งก็ยังคงระลึกถึงลุงนวมทอง(1)

จน กระทั่งต่อมา เมื่อคนสร้างรูปปั้นลุงนวมทอง คือ ศิลปะแห่งความทรงจำเป็นผู้พิสูจน์ตนใกล้ชิดธรรมชาติของประชาธิปไตยไทย ที่มีลุงนวมทองเป็นผู้พิทักษ์สภาวะของประชาธิปไตยไทย โดยศิลปะความทรงจำของความใกล้ชิดประชาธิปไตย

โดยผู้เขียนเคยเขียน เรื่องธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประชาธิปไตย แล้วล่าสุดผู้เขียนได้รับคำถามหนึ่งที่สำคัญ คือ เมื่อคุณถูกถามว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550(ที่มาจากการรัฐประหาร) ในมาตรา 1 คือ อะไร? คุณอาจจะตอบไม่ได้

เพราะ ว่าสิ่งที่หลงลืมไปจากความทรงจำ ดังนั้น ผู้เขียนเฉลย คือ หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1) คือ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ซึ่งพวกเราจะตีความ หรือแปลความว่า แผ่นดินนี้แบ่งแยกไม่ได้ หรือ พรมแดนอันหนึ่งอันเดียว

โดยถ้าพวกเราคิดถึงแนวคิดแผนที่อันเป็นพรมแดนของความเป็นไทย โดยธงชัย วินิจจะกูล เคยเขียนถึงปัญหารัฐธรรมนูญเป็นของนอก หรือหากการปลูกวัฒนธรรมประชาธิปไตย และสมมติว่ารัฐธรรมนูญ ดั่งเปรียบเป็นเมล็ดพันธุ์ จึงเป็นรัฐธรรมนูญพันธุเทศ ที่นำเข้ามาปลูกในวัฒนธรรมไทย

ซึ่งถ้ามองดูในแง่ความใกล้ชิดของ ประชาธิปไตย ถูกทำให้ไกลตัวเป็นของนอก ทั้งรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยต้องทำให้เป็นเรื่องใกล้ตัว ก็เป็นปัญหาต่อพัฒนาการ อันเป็นธรรมชาติของการเติบโตทางประวัติศาสตร์ ที่มีวิวัฒนาการกับประชาธิปไตย โดยพวกเรามักเห็นข้อโต้แย้งต่อฝรั่งไม่เข้าใจคนไทย หรือของนอกไม่เหมาะกับความเป็นไทย จากความไกลห่างของฝรั่ง ไม่ใกล้ชิดวัฒนธรรมไทย (2)

ดังนั้น เมื่อชาตินิยมไทย ก็เติบโตบนแผ่นดินของไทย ในการปลูกสร้างธรรมชาติให้วัฒนธรรมของไทย ก็มีลักษณะของความใกล้ชิดกัน เหมือนเครือญาติ ครอบครัวเดียวกัน โดยผู้เขียนยกตัวอย่างสิ่งที่เร้าอารมณ์ความรู้สึกของคนในหัวสมองกับหัวใจ โดยเบน แอนเดอร์สัน ผู้แต่งหนังสือชุมชนจินตกรรมก็เคยบอกว่า ในประเทศไทย"รัฐ"กับ"ชาติ"แต่งงานกัน แล้วพวกเราก็ต้องเข้าใจการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติ สัมพันธ์กับรัฐ

ซึ่งผู้เขียนขยายความ โดยเพิ่มเติมอธิบายต่อความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันของประชาชนกับรัฐบาลที่ผ่าน การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย หรือการตั้งโจทย์ คือ ชาติ+อารมณ์ความรู้สึกใกล้ชิดประชาชน+แต่งงาน+ประชาธิปไตย

เหมือน สมมติว่าคนที่มีความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนม เมื่อพวกเขาเลือกตัดสินใจเป็นคู่ครองแต่งงานกัน (ถ้ายกตัวอย่างเปรียบเทียบข่าวเหตุการณ์ในปี53กรณีสาวบุกทวงสัญญาแต่งงาน แฟนทหาร กลางราบ11 และสิ่งตรงกันข้ามทหารเกณฑ์ คือพลทหาร เครียด ผูกคอตาย กลัวถูกส่งสลายม็อบ)

เพราะฉะนั้น จากการเรียนรู้ และประสบการณ์ของชีวิต ที่ผ่านมาโดยแบบเรียนตั้งแต่ประถม ซึ่งพวกเราเรียนรู้ ผ่านอนุสาวรีย์ และวัฒนธรรมผลิตสร้างความทรงจำในหัวสมอง และหัวใจของพวกเรา ก็ถูกบันทึกประวัติศาสตร์ในศิลป์ของความทรงจำของพวกเรา

คือ รัฐธรรมนูญ กับความเป็นมาจากของฝรั่งก็เป็นพันธุ์ผสมไทย เหมือนกับศาสนาพุทธ ที่มาจากอินเดีย และรัฐธรรมนูญ ก็ควรน่าจะปลูกสร้างได้ลงตัวโดยไม่ต้องรัฐประหารตัดตอน และไม่ทำให้เกิดคนแบบลุงนวมทองมาฆ่าตัวตาย และลุงนวมทอง เขียนจดหมายโดยลายมือเขียนลาตายต่อครอบครัว และลูก รวมทั้งชี้แจงว่า เทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และลุงเขียนขีดฆ่ารัฐทหาร และรัฐตำรวจ (ต้องไม่มี)เป็นสัญลักษณ์ปรากฏในสื่อใหม่ทางอินเตอร์เน็ตโดยดูวิกีพีเดีย

ซึ่ง พวกเราไม่ต้องใช้เทคโนโลยียุคเก่าแบบโทรเลข ที่มีสมัยสร้างรัฐชาติ แผนที่ก็เริ่มวางสายโทรเลข จนกระทั่งพวกเรารู้ว่าเลิกใช้โทรเลขไป ซึ่งพวกเรารับรู้สื่อใหม่ทางอินเตอร์เน็ตเฟซบุ๊ค บล็อก สเปซเป็นเครือข่ายทางสังคมสำหรับเก็บข้อมูล และเผยแพร่นอกเหนือจากการออกอากาศทางทีวี หนังสือ หนังสือพิมพ์ โดยจดหมายของลุงนวมทอง ก็ปรากฏในสื่อใหม่ของวิกิพีเดียไว้

กระนั้น ผู้เขียนยกตัวอย่างที่สะท้อนการสร้างการปลูกฝังธรรมชาติของอุดมการณ์ ประชาธิปไตยให้เติบโต ในแผ่นดินไทยในเรื่องคุณค่าของความหมายของความตาย และความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิดของลุงนวมทอง คือ ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก เป็นสิ่งที่ปรากฏในจดหมาย และพวกเราคงไม่ต้องรอคอยประชาธิปไตย แล้วพวกเราต้องทำเหมือนค่ำคืนวันที่ 31 ต.ค.2549 เป็นต้น
ฉะนั้น

กรณีรูปปั้นลุงนวมทอง เมื่อกลุ่มศิลปินเสื้อแดง กล่าวว่ารูปปั้นดินเหนียวนี้ เมื่อเสร็จแล้วจะนำไปถอดเป็นแม่พิมพ์ซิลิโคน จากนั้นจะหล่อด้วยปูนซีเมนต์ผสมเลือดของคนเสื้อแดงที่ได้เจาะออกมาแสดง สัญลักษณ์การต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี โดยจะตั้งชื่อรูปปั้นว่า "นวมทองไพรวัลย์ ประชาทิพย์พิทักษ์ไทย" และตั้งไว้บริเวณด้านล่างเวทีการชุมนุม เพื่อให้ผู้ร่วมชุมนุมได้มาปิดทองระลึกถึงและคารวะต่อใจที่เด็ดเดี่ยวของนาย นวมทองต่อไป ขณะลงมือปั้นรูปเหมือนดินเหนียว(3) ซึ่งสะท้อนความเป็นดินจากธรรมชาติของแผ่นดิน และต่อมาหล่อด้วยปูนซีเมนต์ผสมเลือดของไพร่ ที่มีกระแสทางการเมืองของขบวนการเคลื่อนไหว ในขณะนั้น เพื่อธรรมชาติของประชาธิปไตยให้แข็งแรงไม่เสื่อมสลายหายไป โดยประชาธิปไตยไทยเติบโตต่อไป

2.ความเสื่อมของสื่อมวลชน ทำ ให้สร้างเส้นแบ่งพรมแดนของมวลชน ไม่มีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดรูปปั้นลุงนวมทอง เมื่อการเปรียบเทียบเรื่องความเสื่อมของสื่อมวลชน กรณีนับตั้งแต่เรื่องลุงนวมทอง ก็มีเพียงสถานีโทรทัศน์ ITV เท่านั้นที่นำเสนอรายละเอียดของบทสนทนาก่อนที่ลุงนวมทองจะตัดสินใจทำในสิ่ง ที่เกิดขึ้น (4)

แน่นอนว่า หลายคนมีวิธีเขียนเรื่องราวเป็นบันทึกให้ลุงนวมทอง บางคนเขียนบทกวีให้ลุงนวม เช่น จิ้น กรรมาชน และผู้เขียนเคยเขียนถึงการเมืองเชิงตราสัญลักษณ์ของทีวีไทย จึงเลือกนำเสนอผ่านภาพลุงนวมทองเกี่ยวโยงสถานีไอทีวีในอดีต

สิ่งที่ สะท้อนให้ภาพลักษณ์โดยการสร้างภาพของสื่อมวลชนให้ขัดแย้งก่อเกิดความเสื่อม ต่อมวลชน และสร้างพรมแดนทางอารมณ์ความรู้สึกอันน่ากลัว คือ กรณีเช่นพาดหัวข่าวว่า “แดงไม่กลัวเอดส์!! ปั้นหุ่นลุงนวมทองผสมเลือด จ่อตั้งสี่เสาฯ” (5)

แต่ ว่า ภาวะหลังฝุ่นตลบจากสงครามกลางเมือง ผู้เขียนเคยเขียนถึงการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติกับฺBig Cleaning Dayในเดอะเฮดว่ารัฐใช้สื่อมวลชน นอกจากปิดสื่อ แล้วใช้สื่อมวลชนสร้างภาพให้เมืองกรุงเทพฯ เหมือนล้างสมองของคน(6)

ทั้ง นี้ ประเด็นปัญหาต่อสื่อมวลชน ในเรื่องความตายของลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ในฐานะเพื่อชาติ เพื่อประชาธิปไตยในเดือนตุลาคม 2549 ก็ไม่ได้ถูกยอมรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งสองมาตรฐานอย่างแน่นอน และสังคมอาจจะยอมรับได้เหมือนการฆ่าตัวตายของสืบ นาคะเสถียรในอนาคต ก็ยังไม่แน่นอน แล้วทุกคนคงไม่ลืมลุงนวมทอง ต้องระวังถูกล้างหายไปจากในมันสมองเหมือนวันชาติไทย(7) โดยการกระทำของรัฐไทย ทั้งปิดกั้นสื่อเพื่อลบลืมเลือนความจริง

3.รูปปั้นลุงนวมทอง เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ สันติวิธี และผู้พิสูจน์อุดมการณ์ประชาธิปไตย เป็นโจทย์ท้าทายความเคลื่อนไหวหลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา กรณีสันติวิธีไทยในปัจจุบัน

ส่วน ประเด็นหลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา ซึ่งผู้เขียน ก็มีโอกาสไปกรุงเทพฯ สังเกตการณ์ช่วงเดือนเมษายน และหลังเหตุการณ์พฤษภาคม ก็มีโอกาสที่พวกผู้เขียน ได้รับฟังข้อมูลจากมุมมองของคนภายในขบวนการ คือ ไม้หนึ่ง ก.กุนที หลังจากภาวะฝุ่นตลบแล้ว ทั้งสถานการณ์ในการรับรู้เรื่องแกนนำ และรูปปั้นลุงนวมทอง โดยผู้เขียนขอกล่าวย่อๆ ในแง่มุมดังกล่าว เป็นต้น โดยประเด็นเพิ่มเติมต่อสถานการณ์การเมืองไทยที่ผ่านมา ในมุมมองของธงชัย วินิจจะกูล ที่มองการเมืองในฐานะของประชาธิปไตยและความใกล้ชิดของสันติ อหิงสาของไทย โดยแนวคิดและชื่อของคน ผู้นำความคิดใช้สันติ อหิงสา ใกล้ชิดผูกผันกับศาสนา โดยข้อเสนอของธงชัย ล่าสุดในวารสารอ่าน(8) ก็น่าสนใจไม่น้อยว่า ทำให้ผู้เขียนคิดถึงสื่อมวลชน กับการเปิดพื้นที่สื่อสารให้คนรุ่นใหม่ แสดงออกสันติวิธีกับรูปปั้นลุงนวมทอง เป็นสัญลักษณ์สันติวิธีมากขึ้น

พวก เราจะตัดสิน(ใจ)ให้ความยุติธรรมต่อคนที่ใช้สันติวิธี ทำให้มีพื้นที่ในแผ่นดินไทย เนื่องจากเหตุการณ์ของลุงนวมทอง จนกระทั่ง ลุงนวมทองกลายเป็นรูปปั้นลุงนวมทอง และเหตุการณ์เมษา-พฤษภา เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยและสันติวิธี เพราะนักสันติวิธี และ นักประชาธิปไตย จะตอบคำถามได้อย่างไร? โดยยกตัวอย่างของผู้เขียนจากคิดตั้งคำถาม คือ ถ้าพวกเขาถูกถามว่า รัฐฆ่าผู้ก่อการร้าย ถูกต้องไหม? โดยถ้าพวกเขา คิดโดยตรรกะของเหตุผล ซึ่งยอมรับว่าธรรมชาติของคนไม่ฆ่าคน จะยอมรับอย่างไร? และพวกเขา ก็ต้องตอบว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่สันติวิธีอย่างที่นิยามไว้ เพราะพวกเขาใช้อาวุธ จึงเกิดคำถามต่อว่า พวกเขาเหมาะสมที่ควรถูกฆ่าหรือ? และถ้าคนเสื้อแดง ตั้งคำถามต่อว่าทำไมต้องยิงประชาชนที่ไม่ใช้อาวุธในเขตวัดปทุมฯ ? และคำถามอันเป็นปัญหาประการต่อมา ในแง่การนิยามสันติวิธีแคบๆ ทำให้ลุงนวมทอง ก็ไม่ใช่สันติวิธีแบบนั่งสมาธิอดข้าวประท้วง แน่นอน คำตอบต่อความสนใจของปัจเจกบุคคลของนักสันติวิธี ซึ่งสนใจต่อเหตุการณ์นี้ อาจจะแตกต่างกัน ซึ่งพวกผู้เขียน ขอเล่าโดยย่อก็ได้มีโอกาสสนทนากับนารี เจริญผลพิริยะ ณ สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพของมหาวิทยาลัยพายัพ ต่อกรณีรูปปั้นลุงนวมทอง และเหตุการณ์ภายในวัดปทุมฯ จากภายในมุมมองของนารี ซึ่งเล่าว่าได้เห็นรูปปั้นและถ่ายรูปตอนทหารยกรูปปั้นหายไป เป็นต้น

ส่วน ปัญหาของสิ่งที่สำคัญ โจทย์ท้าทายการแสวงหาอิสรภาพของความคิดในการเปิดพื้นที่ส่วนร่วมอันหลากหลาย เพื่อสร้างกรอบคิดในสันติวิธี สำหรับประเด็นของเนื้อหาเพื่อกำหนดรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบสันติแนวใหม่ จากปัญหาข้อจำกัดเดิมก็น่าสนใจมาก และการตัดสินใจในการสลายการชุมนุมของการเคลื่อนไหว จากการจัดการเวที จนกระทั่งหลังปัญหาเรื่องRoad Map ซึ่งแค่คนเดียวคิดก็ไม่ง่าย เมื่อตอนเกิดเหตุการณ์นั้น โดยประสบการณ์ของพวกเราในเชียงใหม่รวมกลุ่มเคลื่อนไหว ก็คิดต่อคำถามในประเด็นการประกาศสลายการชุมนุมต่อหลายแง่มุม ซึ่งมุมมองต่างๆ จากประสบการณ์ และจินตนาการถึงสลายหรือไม่สลาย ก็ไม่ง่ายเป็นตัวอย่างให้พวกเราตั้งคำถามและคำตอบกันเอง จึงเป็นประเด็นการสลายการชุมนุมอย่างสันติวิธี ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายได้ไง ในเมื่อเสื้อแดงถูกป้ายสีให้ถูกฆ่าตาย โดยการโจมตีของศอฉ.และสื่อมวลชน อันเสื่อมจริยธรรม ศีลธรรมอันดี ในการไม่เข่นฆ่ามนุษย์กันอง ทำให้พวกเสื้อแดงโกรธแค้นเผาเมืองกรุงเทพฯ รวมทั้งต่างจังหวัด และคำถามที่พวกเรารู้แก่ใจว่า รัฐกำลังสร้างสิ่งทีทำให้พวกเขากลายเป็นพวกผู้ก่อการร้าย และทำให้ประเทศไทยแบ่งแยกกันไป โดยรัฐจงอย่าทำร้าย แลัวทำให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติ ไม่มีแผ่นดินอยู่ในประเทศไทย โดยการสร้างแผนที่ของสายตา(the creation of a Visual Map) ร่วมมองเห็นความจริงให้คนไทยร่วมคิดอย่างสร้างสรรค์เป็นแผนที่ทางออกของ ชุมชนจินตกรรมใกล้ชิดประชาธิปไตยร่วมกันในแผ่นดินเดียวกันของประเทศไทย

อย่าง ไรก็ดี ผู้เขียนต้องการเน้นย้ำชี้ให้เห็นเรื่องธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงจากการ เห็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ และการสร้างธรรมชาติประชาธิปไตย ในแผ่นดินไทย ซึ่งธรรมชาติในฐานะทางประวัติศาสตร์ ที่มีประชาธิปไตยไทยยังปลูกสร้างไม่เต็มใบ โดยพวกเรา ก็เห็นความเสื่อมสลายหายไปของระยะเวลาในอดีตของความนิยมชมชอบการเมืองแบบพ่อ ขุนอุปถัมภ์เผด็จการแบบสฤษดิ์ จากข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ และการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสร้างธรรมชาติประชาธิปไตยครึ่งใบในยุคต่อมา หลัง 14 ตุลา 2516-6 ตุลา 2519 บางด้านเป็นสิ่งที่ประชาธิปไตยสร้างไม่เสร็จ หรือการเรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ โดยผู้เขียนยังไม่ได้อธิบายตัวงานศิลปะของรูปปั้นลุงนวมทองอย่างยาวนัก แต่ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ โดยรูปปั้นของสามัญชน คนธรรมดาเป็นลักษณะกายภาพร่างกายดูเข้มแข็ง คล้ายแนวคิดรูปแบบศิลปะสัจนิยม รับใช้มวลชนในสังคมของชุมชนจินตกรรม โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นตัวแทนของจิตสำนึกในการสร้างสรรค์ หรือศิลปะสมัยใหม่ ต่างๆนานา

แต่ว่าผู้เขียน คิดว่า เสื้อแดงทุกคน ก็คงมีความต้องการเน้นชัดในเรื่องการลุกขึ้นสู้โดยไม่ใช่พ่ายแพ้แบบเดิม และการต่อสู้ต้องไม่สิ้นหวัง โดยยึดมั่นแนวทางสันติวิธีเชิงสัญลักษณ์ลุงนวมทอง ก็น่าสนใจมากต่อสื่อมวลชน เช่น สมมติจัดงานวาดรูปลุงนวมทอง หรือจัดงานปั้นรูปปั้นลุงนวมทอง เพื่อความเคลื่อนไหวของมวลชนในทุกจังหวัดเพื่อให้ยกเลิกพรก.ฉุกเฉินฯใน กรุงเทพฯ แม้ว่าปรากฏบทความข้อถกเถียงเรื่องแกนนำพวกเราเห็นกันมาพอสมควร จากบทเรียนเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วย กับคนที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเขียนเรื่องกรณีหาคนรับผิดชอบต่อคนตาย และนักข่าวต่างชาติ ฯลฯ ดังนั้น เมื่อผู้เขียนสร้างขอบเขตจำกัดของกรอบภาพเหมือนโครงเรื่องโดยผู้เขียน เพราะว่าคนเรามีมุมมองของแต่ละคน และผู้เขียนเคยเขียนถึงการเคลื่อนไหว 26 มีนา 52 (9)

ต่อมาอย่างที่พวกเรารู้ว่าผลลัพธ์ คือ เมษา 52 แล้วผู้เขียนตั้งข้อสังเกตเล็กน้อยว่า จากการเปรียบเทียบสองเหตุการณ์เมษา 52 และเมษา-พฤษภา 53 ที่มีการเริ่มต้นเคลื่อนไหวแนวสันติโดยจุดเริ่มต้นวันที่ 12 มีนา 53 ในอดีตเป็นวันที่คานธี เริ่มเดินทางไกลเพื่อประท้วงเจ้าอาณานิคมอังกฤษ และพวกแกนนำ ก็พยายามชูสันติวิธีเท่าที่ทำได้ แต่พวกเราก็ยังต้องจากจุดเริ่มต้นเดินทางไกลสู่ประชาธิปไตย และแนวทางในปัจจุบันของสมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นแนวแกนนอน และสมยศ พฤษาเกษมสุข จะมีข่าวออกมาเป็นภาพดูไม่ดี เช่น คำนูณ สิทธิสมานระบุในคอลัมน์ นสพ.เอเอสทีวีผู้จัดการ ชี้การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของ “สมบัติ บุญงามอนงค์” อันตรายกว่าการต่อสู้แบบใช้ความรุนแรง(10) หรือเสื้อแดงไม่ยอมจบพร้อมพลีชีพ-ป่วนเมือง…และนายสมยศกล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมคนเสื้อแดงส่งท้ายเดือนต.ค. ได้กำหนดให้มีกิจกรรมเคลื่อนไหวในวันที่ 31 ต.ค.ที่หน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยจะนำรูปปั้นนายนวมทอง ไพรวัลย์ ที่ประกาศสละชีพเพื่อประชาธิปไตยเพื่อให้คนไทยไม่ลืมเหตุการณ์ประวัติ ศาสตร์(11)

และแล้วความเคลื่อนไหวจะกลับมาอีกครั้ง ยังไม่จบ ในท้ายที่สุดของบทความนี้ เมื่อผู้เขียนไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ได้ทั้งหมด ซึ่งพวกเรา อาจจะจำเนื้อหาไม่ได้ทั้งหมด สิ่งสำคัญเพียงพวกเราจำได้ว่ารู้สึกเจ็บปวดก็เพียงพอโดยผู้เขียนไม่ได้มอง โลกแง่ร้าย หรือ สร้างคำคมๆ ชวนให้ระลึกถึงว่าประชาธิปไตยไทยกำลังไปสู่ลักษณะน้ำท่วมป่าช้า แต่ว่าผู้เขียนขอเลือกให้เป็นความหวังในทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ คนยังคง ยืนเด่นโดยท้าทายโดยจบลงที่ความสวยงามของความทรงจำของบทกวี"ประชาทิพย์ พิทักษ์ไทย"(12)

ขึ้นรูปลุงนวมทอง
ผู้กล้าท่องถนนเถื่อน
กี่วัน กี่ปี เดือน
ยังเหมือนอยู่ให้รู้เห็น

สงครามของคนไพร่
ผองเพื่อนไทยผู้ลำเค็ญ
ลุกฮือเพราะจำเป็น
เขาไม่เห็นเราเป็นคน

ขึ้นรูปลุงนวมทอง
ตระกองดินเริ่มตั้งต้น
ปฏิมาสามัญชน
ประชาทิพย์ พิทักษ์ไทย



*หมายเหตุ : จากการอ่านหนังสือดูข้อมูลเอกสาร ต่างๆ ซึ่งงานเขียนจำกัดการอ้างอิง โดยส่วนตัวจริงๆ แล้วผู้เขียนยาวกว่า 6 หน้า A4 แล้วปรากฏว่าผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ย่นย่อได้แค่ 4 หน้า ซึ่งผู้เขียนมี4 มุมมอง แต่ผู้เขียนต้องลดลงเหลือ 3มุมมอง ก็ยังเป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าจะย่อเหลือ2 หน้า โดยสาเหตุของความจำเป็น คือ ผู้เขียนตั้งใจย่อสำหรับเผยแพร่เพื่อให้ทันวันที่ 31 ตุลา 53 ในเว็บไซต์

เชิงอรรถ

1.อรรคพล สาตุ้ม ระลึกถึงลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ในฐานะญาติร่วมชาติไทยในเดือนตุลาคม

2.ผู้ เขียนนำแนวคิดในการเขียนโดยที่มาของธงชัย วินิจจะกูล เขียนเรื่องชาติไทย,เมืองไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์ :คำนำ ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชาติไทย,เมืองไทย.แบบเรียนและอนุสาวรีย์”และดูเพิ่มเติม อรรคพล สาตุ้ม“24 มิถุนา , 28 กรกฏา,14-6ตุลา,4 ธันวา-10 ธันวา”จากYoung PAD-คนรุ่นใหม่ มุมมองผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไทย

3.บทกวีแด่รูปปั้น "นวมทอง ไพรวัลย์" โดย "ไม้หนึ่ง ก.กุนที" วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 18:15:00 น. มติชนออนไลน์

4.สัมภาษณ์: จอม เพชรประดับ และถ้อยคำสุดท้ายของ "นวมทอง ไพรวัลย์

5. “แดงไม่กลัวเอดส์!! ปั้นหุ่นลุงนวมทองผสมเลือด จ่อตั้งสี่เสาฯ” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 เมษายน 2553 16:00 น.

6.อรรคพล สาตุ้ม การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติกับฺBig Cleaning Dayในเดอะเฮด(โปรดรอดูฉบับเต็มยังไม่ได้เผยแพร่)

7.อรรคพล สาตุ้ม เล่าเรื่องเอกสารในวันประกาศเป็นวันชาติอย่างทางการ กับหนังสือมันสมองของหลวงวิจิตรวาทการ

8.ธงชัย วินิจจะกูล ฝุ่นตลบหลังมีคนถูกฆ่าตายตรงราชประสงค์ วารสารอ่านปีที่ 2 ฉบับที่ 4 เมษายน-กันยายน 2553

9.อรรคพล สาตุ้ม 26 มีนา 2520 หรือ 26 มีนา 2552: ผลกระทบของผีเสื้อ-กระแสแดงทั่วแผ่นดิน

10. “คำนูณ” ระบุการต่อสู้ของ “สมบัติ บุญงามอนงค์” อันตรายกว่าใช้ความรุนแรง

11.เสื้อแดงไม่ยอมจบพร้อมพลีชีพ-ป่วนเมือง เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม 2553 เวลา 22:00 น.

12.บทกวีแด่รูปปั้น "นวมทอง ไพรวัลย์" โดย "ไม้หนึ่ง ก.กุนที"เพิ่งอ้าง